“นิกเกอิ เอเชีย” เผยเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตได้ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 64

ตามข้อมูลของนิกเคอิ เอเชีย (Nikkei Asia) เผยว่าในปีที่แล้ว เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัว 2.9% เนื่องมาจากประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งได้รับอนิสงค์จากการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสินค้าอุปโภคบริโภค ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ ไว้ที่ 6.5% ทั้งนี้ นาย Gareth Leather นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากบริษัท Capital Economics ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการส่งออกของเวียดนามควรได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง สหรัฐฯ ดำเนินเล็งจัดเก็บภาษีจากสินค้าจีน อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายมาเป็นจุดหมายปลายทางด้านการลงทุน และกลุ่มประชากรที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ประกอบไปด้วยแรงงานจำนวนมากที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถือว่าเป็นความได้เปรียบในการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ แต่สิ่งสำคัญที่สุดในระยะสั้น คือ การควบคุมเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/nikkei-aisa-vietnam-will-be-southeast-asian-growth-leader-in-2021-839093.vov

“Bamboo Airways” สายการบินเวียดนาม ประกาศเพิ่มทุนกว่า 457.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

สายการบินแบมบูแอร์เวย์ส (Bamboo Airways) ประกาศจะเพิ่มส่วนของทุน 3.5 ล้านล้านด่อง ทำให้มูลค่าทุนรวมอยู่ที่ 10.5 ล้านล้านด่อง (457.3 ล้านเหรียญสหรัฐ) การปรับเพิ่มทุนครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 5 และเป็นการเพิ่มเงินทุนครั้งใหญ่ที่สุด ภายใต้งบประมาณของธุรกิจ ทั้งนี้ โครงสร้างของผู้ถือหุ้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลง บริษัท FLC ถือหุ้น 51.29% ณ สิ้นปีที่แล้ว โดยเมื่อพิจารณางบการเงินของธุรกิจ พบว่ากำไรก่อนภาษีในปี 2563 มีมูลค่ากว่า 300 พันล้านด่อง จำนวนผู้โดยสารทั้งหมดราว 4 ล้านคน เพิ่มขึ้น 41% ในแง่ของจำนวนเที่ยวบิน และ 40% ในแง่ของจำนวนผู้โดยสาร เมื่อเทียบกับปี 2561 นอกจากนี้ ในปัจจุบัน สายการบินดังกล่าวมีเครื่องบินจำนวน 30 ลำ ประกอบไปด้วยโบอิ้ง 787-9 ดรีมไลเนอร์, แอร์บัส A321neo และเครื่องบิน Embraer E195s ซึ่งคาดว่ากองบินจะมีเครื่องบิน 50 ลำในปีนี้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/bamboo-airways-raises-charter-capital-to-4573-million-usd/196625.vnp

เวียดนามก้าวขึ้นเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี

ตามข้อมูลของนิกเคอิ (Nikkei) เผยว่าบริษัทอินเทล (Intel) ประกาศลงทุน 475 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปใช้ในบริษัทอินเทลโปรดักส์ เวียดนาม คอร์ป (IPV) ซึ่งเป็นศูนย์กลางทดสอบและประกอบชิปที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมในช่วงครึ่งหลังของปี 63 บริษัทมีเป้าหมายเพื่อทำการผลิตสินค้า 5G และโปรเซสเซอร์  Intel Core มาพร้อมกับเทคโนโลยีอินเทล ไฮบริด และซีพียูตัวใหม่ล่าสุด ‘Intel Gen 10’ ทั้งนี้ Apple เร่งดำเนินย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามและอินเดีย บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ มีกำหนดการผลิตไอแพด (iPad) ในเวียดนามช่วงกลางปี 64 นอกจากนี้ ยังจะขยายสายการผลิตลำโพง HomePod mini smart นอกจากนี้ บริษัท Savills Vietnam ระบุว่าบริษัท ‘Pegatron’ ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวัน ได้เข้ามาทุ่มเงิน 19 ล้านเหรียญสหรัฐในเมืองไฮฟอง สำหรับแผนการขยายการลงทุนในช่วงเฟสแรก อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้บริษัทข้ามชาติบางแห่งย้ายฐานการผลิตมายังเวียดนาม หรือขยายการปริมาณการผลิต

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-becomes-attractive-destination-to-technology-giants-28437.html

เวียดนามคาดเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 3.5% ปี 64

บริษัทหลักทรัพย์ Viet Dragon Securities (VDSC) เปิดเผยว่าราคากลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเวียดนาม ปี 2564 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าที่สมัชชาแห่งชาติได้ตั้งเป้าไว้ที่ 4% อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเวียดนามดำเนินมาตรการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของเงินเฟ้อ รวมถึงดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข็มงวด ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาทางด้านอุปทาน พบว่าสถานการณ์การผลิตของกลุ่ม OPEC และพันธมิตรอยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่หินดินดานของสหรัฐฯ อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลไบเดน ในขณะเดียวกัน ทางฝั่งอุปสงค์ ความต้องการนำเข้ายังไม่ฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ระบาด แต่มีสัญญาว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตและคาดว่าจะสูงกว่าทางฝั่งอุปทาน นอกจากนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เวียดนาม ปี 2563 เพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี สาเหตุหลักที่ทำให้ดัชนีปรับตัวมาจากราคาของกลุ่มอาหารที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีนี้

  ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-inflation-expected-to-rise-to-35-in-2021-316245.html

เวียดนามมีความพร้อมทางด้านอีคอมเมิร์ซ

ตามรายงานการจัดอันดับดัชนีอีคอมเมิร์ซแบบธุรกิจ B2C เผยเวียดนามมีค่าดัชนี 61.6 คะแนน (เต็ม 100 คะแนน) อยู่ในระดับที่ดีกว่าอินโดนีเซีย (อันดับที่ 83) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ (96), สปป.ลาว (101), กัมพูชา (117) และพม่า (130) การจัดอันดับดัชนีดังกล่าว พิจารณาตาม 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ความสัมพันธ์ของการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่อยู่ในระดับสูง 2) ความน่าเชื่อถือของการจัดส่งพัสดุ 3) จำนวนประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ต และ 4) จำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 15 ปี ที่มีบัญชีกับสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์ ทั้งนี้ มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซของทั่วโลก คาดว่าประมาณ 4.4 ล้านล้านด่องในปี 2561 เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม โควิด-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซของเวียดนาม ขยายตัว 18% ในปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่า 11.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ นับว่าเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีตัวเลขเติบโตในอัตราเลขสองหลักในภาคธุรกิจนี้ ท่ามกลางโควิด-19 ระบาด

  ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-moves-up-in-e-commerce-readiness-28362.html

การค้าชายแดนปี’ 64 มีลุ้นเติบโต 4.3% จับตาการค้าข้ามแดนไปประเทศที่ 3

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch)

การค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยในปีที่ผ่านมาเผชิญความท้าทายอย่างมากจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทั่วโลกต้องประสบเป็นปีแรกไม่เพียงทำให้กำลังซื้อของคู่ค้าชะลอตัว ยังทำให้พรมแดนระหว่างประเทศจำเป็นต้องจำกัดจุดผ่านแดนเหลือเพียงเฉพาะช่องทางที่สำคัญเท่านั้น รวมทั้งเพิ่มมาตรการเข้มงวดในการตรวจปล่อยรถขนส่งสินค้า สิ่งเหล่านี้กดดันการส่งออกชายแดนและผ่านแดนของไทยในภาพรวมให้หดตัวร้อยละ 2.16 มีมูลค่า 766,314 ล้านบาท ในปี 2563

สำหรับปี 2564 เป็นอีกปีที่โควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้นกว่าเดิม มีทั้งปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่เข้ามาช่วยเสริมให้ตัวเลขการค้าชายแดนพลิกฟื้นกลับมา ขณะที่โครงสร้างการส่งออกสินค้าของไทยที่พึ่งพาตลาดประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทยเกินกว่าครึ่ง (เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชาและมาเลเซีย) กลายเป็นจุดอ่อนสำคัญที่ฉุดการส่งออกชายแดนในภาพรวมลดลงตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าในปี 2564 การส่งออกชายแดนไปตลาดเหล่านี้จะยังมีทิศทางเติบโตเชื่องช้าต่อไปขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 มีมูลค่าการส่งออก 454,005 ล้านบาท ดังนี้

  • การส่งออกชายแดนของไทยเริ่มมีปัญหามีมูลค่าการค้าลดลงเรื่อยมา ด้วยข้อจำกัดด้านกำลังซื้อและจำนวนประชากรของคู่ค้า จึงทำให้ทิศทางการส่งออกไปยังตลาดเหล่านี้เติบโตได้อย่างจำกัด โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทยอย่าง สปป.ลาว และกัมพูชา
  • โครงสร้างการส่งออกสินค้าแบบเดิมของไทยตอบโจทย์ตลาดคู่ค้าได้น้อยลง

จะเห็นได้ว่าโครงสร้างการส่งออกของไทยไม่เอื้อต่อการส่งออกไปยังตลาดชายแดนหลักของไทยดังเช่นในอดีต ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดดาวรุ่งที่จะมาสนับสนุนการค้าชายแดนของไทยอยู่ที่การส่งสินค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 (สิงคโปร์ จีน เวียดนาม และประเทศอื่นๆ) ซึ่งเริ่มมีสัญญาณเติบโตมาระยะหนึ่ง โดยสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 43 ของการส่งออกชายแดนและผ่านแดน (จากที่เคยมีสัดส่วนร้อยละ 37 ในปี 2561) อีกทั้งสินค้าไทยที่ไปตลาดนี้มีศักยภาพโดดเด่นจึงน่าจะเติบโตได้ดีกว่าตลาดอื่นๆ โดยคาดว่าปี 2564 จะเติบโตที่ร้อยละ 8.5 มีมูลค่าส่งออกราว 345,191 ล้านบาท

โดยสรุป ด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน ซึ่งได้ผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 มาได้อีกปีหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าหลายประเทศยังต้องพึ่งพาการบริโภคสินค้าจากไทย รวมถึงสินค้าในกลุ่ม IT มีสัญญาณเร่งตัวตามกระแสโลกอย่างต่อเนื่องยิ่งผลักดันการส่งออกสินค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 ให้มีบทบาทสำคัญ ด้วยแรงขับเคลื่อนดังกล่าว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกชายแดนและผ่านแดนของไทยปี 2564 จะพลิกกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 มีมูลค่าการส่งออก 799,195 ล้านบาท (กรอบประมาณการเติบโตที่ร้อยละ 3.3-5.5 มีมูลค่าการส่งออก 791,602-808,461 ล้านบาท) โดยขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าในการรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ได้ดีเพียงใด การส่งออกไปตลาดส่วนใหญ่กลับมาขยายตัวยกเว้นบางประเทศที่หดตัวจากปัจจัยเฉพาะ อาทิ เมียนมาที่มีปัญหาการเมืองในประเทศฉุดเศรษฐกิจ และโรคระบาดในสุกรที่กัมพูชาทำให้ฐานปีก่อนสูงผิดปกติอย่างมาก

นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องจับตาในระยะต่อไป ต้องยอมรับว่าโครงสร้างการผลิตและส่งออกของไทยในปัจจุบันไม่เอื้อให้ค้าชายแดนไทยเติบโตได้อย่างมั่งคงนัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสินค้ามีมูลค่าเพิ่มน้อยในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม ขนาดตลาดมีจำกัดจึงไม่สามารถผลักดันค้าชายแดนให้เร่งตัวได้มาก ทำได้เพียงแค่ประคองการเติบโตไปตามภาวะเศรษฐกิจของคู่ค้าเป็นหลัก ขณะที่สินค้าที่ใช้วัตถุดิบในไทยอย่างยางพารากับผลไม้เมืองร้อน ซึ่งมีศักยภาพโดดเด่นในตัวเองมีส่วนช่วยขับเคลื่อนค้าชายแดนไทยไปยังประเทศจีนและเวียดนามได้อย่างต่อเนื่องและยังคงมีช่องทางอันสดใส แต่สินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงในกลุ่มยานยนต์ เทคโนโลยีโดยเฉพาะสินค้า IT ที่อยู่ในกระแสความต้องการของตลาดโลกยังมีโอกาสเติบโตได้อย่างไม่หยุดยั้ง นับว่ามีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการค้าชายแดนของไทยนับจากนี้ไป แต่สินค้าเหล่านี้จะยังคงเป็นแรงส่งให้แก่ไทยได้อีกนานแค่ไหนนั้นคงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจลงทุนของต่างชาติว่าจะเลือกลงทุนในไทยหรือย้ายไปตั้งฐานการผลิตที่อื่น ดังนั้น การกระตุ้นการค้าชายแดนซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการค้าในภาพรวมของไทยก็คงต้องเริ่มจาการแก้ปัญหาโครงสร้างการผลิตของไทยให้ยกระดับไปอีกขั้น จนสินค้าไทยเกิดความโดดเด่นเป็นที่ต้องการของคู่ค้าเหนือคู่แข่งชาติอื่นๆ

ที่มา :

/1 https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Border-Trade-z3191.aspx

/2 https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/kresearch-frontier-19022021