เวียดนามขาดดุลการค้าในช่วงครึ่งเดือนแรกธันวาคม

กรมศุลกากรเวียดนาม เผยว่าเวียดนามขาดดุลการค้า 883 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งแรกของเดือนธันวาคม หลังจากเกินดุลการค้ามาหลายเดือน โดยยอดส่งออกลดลงร้อยละ 8.3 จากครึ่งหลังของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นมูลค่า 12.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มสมาร์ทโฟน เครื่องจักร เหล็กและยานยนต์ที่ลดลงเป็นตัวเลข 2 หลัก ในขณะเดียวกัน การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 คิดเป็นมูลค่า 13.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงวันที่ 15 ธันวาคม เวียดนามยังคงเกินดุลการค้าอยู่ที่ 19.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ ในปีที่แล้ว มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ  517 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นครั้งแรกของเวียดนามที่มีตัวเลขอยู่ในระดับสูง ซึ่งตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ยุโรปและอาเซียน

  ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-posts-trade-deficit-halfway-into-december-4211443.html

เวียดนามเผยการเติบโตของสินเชื่อ 10.14%

ภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อ ณ วันที่ 21 ธันวาคม อยู่ที่ร้อยละ 10.14 เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นายดาว มินห์ ทู รองผู้ว่าการธนาคารกลางเวียดนาม เปิดเผยการเติบโตของสินเชื่อเวียดนาม แตะร้อยละ 13 ขณะที่ ธนาคารกลางตั้งเป้าการเติบโตไว้ที่ร้อยละ 14 ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปีนี้ ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย นับเป็นครั้งที่ 4 ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ โดยเมื่อวันที่ 30 กันยายน ปรับลดอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ ลงมากถึงร้อยละ 0.5 เป็นต้น ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ลงจากร้อยละ 4.5 ต่อปี สู่ระดับร้อยละ 4, ปรับอัตราดอกเบี้ย rediscount rate ลงจากร้อยละ 3 สู่ระดับร้อยละ 2.5, อัตราดอกเบี้ยข้ามคืน ลงจากร้อยละ 5.5 สู่ระดับร้อยละ 5 และอัตราดอกเบี้ยผ่าน OMO ลงจากร้อยละ 3 สู่ระดับร้อยละ 2.5 นอกจากนี้ สถาบันสินเชื่อได้ปรับโครงสร้างการชำระหนี้ให้กับลูกค้ากว่า 270,000 รายที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยมีสินเชื่อคงค้างรวมทั้งสิ้น 15.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-credit-growth-hits-1014-as-of-december-21-315538.html

แบงก์เวียดนามเตรียมทำกำไรต่อเนื่องในปีหน้า

คุณ Le Dat Chi รองหัวหน้าสาขาวิชาการเงิน มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์โฮจิมินห์ซิตี้ กล่าวว่าถึงแม้ธนาคารกลางเวียดนามสั่งผู้ให้กู้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาเงินกู้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 จำนวนธุรกิจส่วนใหญ่ได้รับสิทธิดังกล่าว ดังนั้น รายได้และกำไรของธนาคารยังคงไม่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายการขยายตัวของ GDP ที่ร้อยละ 6 ในปีหน้า และมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายด้านสาธารณะสำหรับเมืองสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารมีโอกาสที่จะปล่อยกู้มากขึ้น ทั้งนี้ ตามรายงานของ VNDirect นายหน้าหลักทรัพย์โฮจิมินห์ซิตี้ เผยว่าเมื่อเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัว ความต้องการเงินกู้ก็จะเพิ่มขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้และจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า ขณะที่ การเติบโตของสินเชื่อในปีนี้ อยู่ที่ราวร้อยละ 9 และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 13-14 ในปีหน้า

  ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-banks-to-continue-making-profits-next-year-experts-4210813.html

เวียดนามตั้งเป้าส่งออกอาหารทะเลปี 64 อยู่ที่ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พุ่ง 6%YoY

ถึงแม้จะเกิดการระบาดของเชื้อไวรัส แต่กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ได้ตั้งเป้าการส่งออกในปี 2564 ที่ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเล กล่าวว่าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ การส่งออกอาหารทะเลลดลง เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตามสถานการณ์เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากเดือนกรกฎาคมและมีการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักตั้งแต่เดือนกันยายน เป็นผลมาจากการส่งออกกุ้งที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและสัญญาเชิงบวกจากผลิตภัณฑ์อาหารทะเลตั้งแต่เดือนสิงหาคม

ที่มา : https://e.nhipcaudautu.vn/economy/vietnam-targets-2021-seafood-exports-to-reach-9-bln-up-6-yoy-3338706/

เวียดนามส่งออกหน้ากากอนามัยพุ่ง 20% เดือนพฤศจิกายน

กรมศุลกากรเวียดนาม (GDVC) รายงานประจำเดือนว่าในเดือนพฤศจิกายน เวียดนามส่งออกหน้ากากอนามัยประมาณ 173 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว ส่วนใหญ่ร้อยละ 50 ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สิงคโปร์ เกาหลีใต้และประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกหน้ากากอนามัยรวมกว่า 1.3 พันล้านชิ้น และเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีเหงียน ซวน ฟุก ได้อนุมติให้ส่งออกหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ป้องกัน รวมถึงเตรียมรองรับกับความต้องการในประเทศและเก็บสำรองไว้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนกรกฎาคม ตัวเลขการส่งออกหน้ากากลดลง หลังจากควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ในหลายๆประเทศ ประกอบกับคนในพื้นที่มีความสงบมากขึ้นและมีประสบการณ์ในการรับมือต่อเชื้อไวรัส ต่อมาในเดือนกันยายน ความต้องการหน้ากากอนามัยกลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากประเทศทั่วโลกยังคงดิ้นรนหาทางออกจากวิกฤติโควิด-19 โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ธุรกิจสิ่งทอในเวียดนามสามารถรักษาการประกอบกิจการและชดเชยกับการสูญเสียรายได้ที่ลดลงในปีนี้วมถึงไว้รับกับความต้องการในประเทละอุปกรารเงินร

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnams-exports-of-medical-face-masks-surge-over-20-in-november-315493.html

เวิลด์แบงก์ คาดเศรษฐกิจเวียดนามปี 64 โต 6.8%

ธนาคารโลก (World Bank) ออกรายงานอัพเดทด้านเศรษฐกิจ โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มฟื้นตัวเป็นบวก จะเติบโตขึ้นร้อยละ 6.8 ในปี 2564 และหลังจากนั้นจะอยู่ในระดับทรงตัวประมาณร้อยละ 6.5 ซึ่งการคาดการณ์ตัวเลขดังกล่าว อยู่ภายใต้สมมติฐานว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะการปล่อยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม นาง Carolyn Turk ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำเวียดนาม กล่าวว่าเวียดนามกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจากการฟื้นตัวหลังวิกฤติโควิด-19 และมีโอกาสที่จะกำหนดเส้นทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฉลาดขึ้นและครอบคลุมมากขึ้น ช่วยให้ในอนาคตสามารถรับมือกับการระบาดใหญ่และภัยธรรมชาติ ทั้งนี้ เวิลด์แบงก์ คาดว่า เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวร้อยละ 3 ในปี 2563 ขณะที่เศรษฐกิจโลกจะหดตัวร้อยละ 4 ท่ามกลางภัยพิบัติครั้งใหญ่ในรอบหลาย 10 ปีที่ผ่านมา

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economy-to-grow-68-percent-in-2021-world-bank/193558.vnp

เวียดนามน่าจะยังคงความสามารถทางการแข่งขันไว้ได้ แม้ค่าเงินดองมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในระยะข้างหน้า

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

รายงานว่าด้วยการบิดเบือนค่าเงินเพื่อหวังผลทางการค้า (Currency Manipulation) รอบล่าสุดที่เปิดเผยในเดือนธันวาคม 2563 กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุให้เวียดนามเป็นประเทศที่บิดเบือนค่าเงิน ภายใต้กฎหมายภายในของสหรัฐฯ ทั้ง 3 เกณฑ์ โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากกระบวนการแทรกแซงค่าเงินดองของเวียดนามที่ทางสหรัฐฯ ติดตามมาอย่างต่อเนื่อง โดยสะท้อนได้จากยอดซื้อเงินตราต่างประเทศสุทธิของเวียดนามสูงถึงร้อยละ 5.1 ต่อ GDP[1] (สูงกว่าเกณฑ์ที่ร้อยละ 2.0 ต่อ GDP) นอกเหนือจาก 2 เกณฑ์หลักซึ่งได้แก่ มูลค่าการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ และยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งอยู่ในระดับสูงมาโดยตลอด

ค่าเงินดองที่อ่อนค่าเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่เอื้อให้การส่งออกสินค้าต่างๆ ของเวียดนามที่มีความได้เปรียบในการผลิตอยู่แล้วมีแรงดึงดูดการลงทุนมากกว่าคู่แข่งประเทศอื่น ทำให้เวียดนามสามารถผลิตและส่งออกได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี การที่เวียดนามได้ถูกสหรัฐฯ กล่าวหาเรื่องบิดเบือนค่าเงิน จะมีผลให้การดำเนินการในการแทรกแซงค่าเงินในระยะข้างหน้าเป็นไปได้ยากขึ้น อีกทั้ง เมื่อพิจารณาโครงสร้างดุลการชำระเงินที่น่าจะอยู่ในทิศทางเกินดุลสูง เนื่องจากการส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศที่สูง อาจเป็นแรงกดดันที่ทำให้ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) จำเป็นต้องทยอยปรับค่าเงินดองให้แข็งค่าขึ้น (Revaluation) เพื่อลดทอนความเสี่ยงที่อาจจะถูกสหรัฐฯ ปรับใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้าเพิ่มเติม

[1] เป็นการติดตามการแทรกแซงค่าเงินในช่วง 4 ไตรมาสล่าสุดก่อนการรายงาน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/z3172-Veitnam.aspx

วิเคราะห์ส่งออก ‘เวียดนาม’ ไม่สะเทือน แม้ถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีปั่นค่าเงิน

โดย ศรัณย์ กิจวศิน I THE STANDARD

เวียดนามถือเป็น 1 ใน 2 ประเทศที่ถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำเป็นประเทศบิดเบือนค่าเงินร่วมกับสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งทำให้เวียดนามอาจไม่สามารถเข้าดูแลค่าเงินได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้ค่าเงินดองมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น แต่ประเด็นนี้อาจไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของเวียดนามมากนัก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่ทางการเวียดนามจะทยอยปรับค่าเงินดองให้สูงขึ้นในช่วง 5-7% สอดคล้องกับข้อมูลของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ที่พบว่าเวียดนามกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่าความเป็นจริง 4.2-5.2% ในปี 2562 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินดองจะไม่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของเวียดนามลดลงอย่างมีนัยสำคัญทั้งในระยะสั้นถึงกลาง เนื่องจากโครงสร้างการผลิตของเวียดนามส่วนมากเน้นการใช้แรงงานเข้มข้น

สำหรับในระยะข้างหน้าด้วยค่าเงินดองมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันให้แข็งค่าต่อเนื่องจากโครงสร้างทางการค้าที่เกินดุล ทางการเวียดนามคงทยอยปรับค่าเงินดองให้แข็งค่าขึ้นในจังหวะที่เหมาะสม อันช่วยให้เศรษฐกิจเวียดนามมีระยะเวลาในการปรับตัวเพียงพอต่อทิศทางการแข็งค่าของเงินดองในระยะข้างหน้า ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยลดทอนผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกสินค้าและการตัดสินใจลงทุนในระยะยาวของนักลงทุน ขณะที่ยังสามารถที่จะลดแรงกดดันจากข้อกล่าวหาในการบิดเบือนค่าเงิน

อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวคงไม่ทำให้เวียดนามสูญเสียความได้เปรียบในการทำตลาดส่งออก เนื่องจากหากค่าเงินดองแข็งค่าขึ้นก็น่าจะเอื้อประโยชน์ช่วยลดต้นทุนการนำเข้าปัจจัยการผลิตขั้นกลางของเวียดนามที่ยังต้องพึ่งพาจากต่างประเทศถึง 54% ของการนำเข้าทั้งหมด ประกอบกับโครงสร้างการผลิตที่เอื้อให้สินค้าเวียดนามมีต้นทุนต่ำ จึงน่าจะบริหารจัดการลดส่วนแบ่งกำไรลงบางส่วนเพื่อรักษาตลาดไว้ได้ ทำให้เวียดนามจะยังคงความสามารถในการแข่งขันในด้านการผลิตและส่งออกไว้ได้อีกระยะหนึ่ง

ที่มา : https://thestandard.co/vietnam-export-not-effecting-united-states-currency/