พาณิชย์เมียนมาเร่งเปิดด่านตามู หวังกระตุ้นค้าชายแดน

การค้าชายแดน (Tamu) ระหว่างอินเดียและเมียนมาจะกลับมาดำเนินการโดยเร็วที่สุดตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขและกีฬา นาย Hla Maung ประธานสมาคมพ่อค้าการค้าชายแดนด่านตามู (Tamu) เผย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของสหภาพแรงงานเรียกร้องให้เปิดการค้าชายแดนตามูแนวทางและกฎเกณฑ์ของการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19  โดยทำการจัดประชุมระหว่างรัฐบาลภูมิภาคและรัฐมนตรีแบบทวิภาคีในสัปดาห์หน้า เนื่องจากการปิดการค้าชายแดนทำให้ผู้ค้าขาดทุน โอกาสในการทำงานในท้องถิ่นลดลงเรื่อย ๆ การค้าผิดกฎหมายเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การค้าชายกลับมาดำเนินได้อย่างปกติ การระงับการค้าชายแดนตามูเกือบ 9 เดือนได้นำไปสู่ความเสียหายต่อสินค้าและส่งผลต่อผู้ค้าเป็นอย่างมาก ทั้งนี้การเปิดชายแดนจะไม่ตั้งเป้าไปที่ผู้ค้าที่มีรายได้สูงเพียงอย่างเดียวเนื่องจากเมืองนี้มีรายได้จากค่าจ้างรายวันจำนวนมาก เนื่องจากตลาด Nanfarlon ในตามู ซึ่งมีผู้คนจากชายแดนอินเดียพึ่งพาตลาดจึงประสบปัญหาทางการเงิน ในขณะเดียวกันการค้าผิดกฎหมายทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อ COVID-19 ด้วยเช่นกัน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/tamu-border-trade-to-resume-promptly-in-line-with-health-guidelines

เวียดนามส่งออกหน้ากากอนามัยพุ่ง 20% เดือนพฤศจิกายน

กรมศุลกากรเวียดนาม (GDVC) รายงานประจำเดือนว่าในเดือนพฤศจิกายน เวียดนามส่งออกหน้ากากอนามัยประมาณ 173 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว ส่วนใหญ่ร้อยละ 50 ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สิงคโปร์ เกาหลีใต้และประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกหน้ากากอนามัยรวมกว่า 1.3 พันล้านชิ้น และเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีเหงียน ซวน ฟุก ได้อนุมติให้ส่งออกหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ป้องกัน รวมถึงเตรียมรองรับกับความต้องการในประเทศและเก็บสำรองไว้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนกรกฎาคม ตัวเลขการส่งออกหน้ากากลดลง หลังจากควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ในหลายๆประเทศ ประกอบกับคนในพื้นที่มีความสงบมากขึ้นและมีประสบการณ์ในการรับมือต่อเชื้อไวรัส ต่อมาในเดือนกันยายน ความต้องการหน้ากากอนามัยกลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากประเทศทั่วโลกยังคงดิ้นรนหาทางออกจากวิกฤติโควิด-19 โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ธุรกิจสิ่งทอในเวียดนามสามารถรักษาการประกอบกิจการและชดเชยกับการสูญเสียรายได้ที่ลดลงในปีนี้วมถึงไว้รับกับความต้องการในประเทละอุปกรารเงินร

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnams-exports-of-medical-face-masks-surge-over-20-in-november-315493.html

เวิลด์แบงก์ คาดเศรษฐกิจเวียดนามปี 64 โต 6.8%

ธนาคารโลก (World Bank) ออกรายงานอัพเดทด้านเศรษฐกิจ โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มฟื้นตัวเป็นบวก จะเติบโตขึ้นร้อยละ 6.8 ในปี 2564 และหลังจากนั้นจะอยู่ในระดับทรงตัวประมาณร้อยละ 6.5 ซึ่งการคาดการณ์ตัวเลขดังกล่าว อยู่ภายใต้สมมติฐานว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะการปล่อยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม นาง Carolyn Turk ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำเวียดนาม กล่าวว่าเวียดนามกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจากการฟื้นตัวหลังวิกฤติโควิด-19 และมีโอกาสที่จะกำหนดเส้นทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฉลาดขึ้นและครอบคลุมมากขึ้น ช่วยให้ในอนาคตสามารถรับมือกับการระบาดใหญ่และภัยธรรมชาติ ทั้งนี้ เวิลด์แบงก์ คาดว่า เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวร้อยละ 3 ในปี 2563 ขณะที่เศรษฐกิจโลกจะหดตัวร้อยละ 4 ท่ามกลางภัยพิบัติครั้งใหญ่ในรอบหลาย 10 ปีที่ผ่านมา

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economy-to-grow-68-percent-in-2021-world-bank/193558.vnp

DITP สั่ง“ทูตพาณิชย์” ชี้แจงผู้ซื้อ ผู้นำเข้า สินค้าอาหารทะเลไทยมีคุณภาพ ปลอดโควิด-19

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) สั่งการทูตพาณิชย์ที่เป็นตลาดเป้าหมายการส่งออกสินค้าอาหารทะเลไทย เร่งสร้างความเชื่อมั่น สร้างความเข้าใจให้กับผู้ซื้อ ผู้นำเข้าว่าสินค้าไทยมีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดโควิด-19 เพื่อป้องกันผลกระทบต่อการส่งออก นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้หารือร่วมกับผู้ส่งออกและได้ประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น และได้ประสานงานและกำชับให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศที่เป็นตลาดเป้าหมายการส่งออกสินค้าอาหารทะเลของไทย ให้เร่งดำเนินการสร้างความเชื่อมั่น และสร้างความเข้าใจให้กับผู้ซื้อ ผู้นำเข้า ในการสั่งซื้อสินค้าจากไทยว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และมีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยในการสร้างความเชื่อมั่นในการส่งออกสินค้าประมง ได้มีการจัดทำ “หนังสือรับรองการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกระบวนการผลิตอาหารส่งออก (COVID – 19 Prevention Best Practice)” ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากไทย และเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารของไทยให้เพิ่มมากขึ้น โดยมีข้อมูลล่าสุดจากกรมประมงรายงานว่า มีผู้ส่งออก โรงงาน ได้ประสานงานติดต่อกับประมง เพื่อขอเข้ากระบวนการออกหนังสือรับรองดังกล่าวแล้ว จำนวน 51 ราย อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในสินค้าประมง โดยเฉพาะสินค้ากุ้ง ล่าสุดได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ประสานสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสมุทรสาครและสำนักงานพาณิชย์ในจังหวัดใกล้เคียง ในการทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าประมงอย่างใกล้ชิด เพื่อนำข้อมูลมาประเมินสถานการณ์และหาวิธีการรับมือต่อปัญหาที่จะตามมาในอนาคตแล้ว

ที่มา: https://mgronline.com/business/detail/9630000130044

โควิด-19 ทุบอุตสาหกรรมการบินของเวียดนาม ทรุดหนัก

ตามรายงานของสำนักการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ระบุว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปยังทั่วโลกและสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการเดินทาง ทำให้จำนวนผู้โดยสารในปีนี้ทรุดลงหนัก โดยในปี 2563 สายการบินเวียดนามรองรับจำนวนเที่ยวบิน 340,000 เที่ยวบิน หดตัวร้อยละ 31.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตัวเลขประมาณการผู้โดยสารในปีนี้ อยู่ที่ 66 ล้านคน ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 43.5 ทั้งนี้ ในปี 2564 คาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อยังคงร้ายแรง ด้วยเหตุนี้ ผู้ให้บริการสายการบินในประเทศและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานและดำเนินขั้นตอนขององค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการสายการบินแห่งชาติ ‘Vietnam Airlines’ รวมถึงสายการบินเอกชน ‘Vietjet’ และ ‘Bamboo Airlines’ ได้ร้องขอการสนับสนุนจากรัฐบาลและการกู้เงินรีไฟแนนซ์ โดยสายการบินดังกล่าว ประเมินถึงสถานการณ์ว่าอุตสาหกรรมการบินจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2566 อย่างเร็วที่สุด

ที่มา : http://hanoitimes.vn/covid-19-takes-a-heavy-toll-on-vietnam-aviation-industry-in-2020-315448.html

เอกชนนัด อุตฯ สมุทรสาคร หารือรับมือโควิด-19

ส.อ.ท.ถกอุตฯ สมุทรสาคร ประเมินสถานการณ์โควิด-19 พร้อมแผนรับมือ ยืนยันโรงงานสมาชิกตรวจคัดกรองเข้มข้นปลอดการแพร่ระบาด นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 21 ธ.ค.2563 (พรุ่งนี้) สมาชิกส.อ.ท.จะร่วมกันหารือประเมินสถานการณ์และผลกระทบหลังมีการประกาศล็อกดาวน์พื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากมีการตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครแล้วกว่า 500 คน เพื่อกำหนดแผนรับมือของภาคอุตสาหกรรมโดยมีนายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมแถลงข่าวด้วย ทั้งนี้ ยืนยันว่าแรงงานต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในโรงงานซึ่งเป็นสมาชิกส.อ.ท. เป็นแรงงานในระบบ มีการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวและมีใบอนุญาตถูกต้อง ตามกฎหมาย จึงมั่นใจได้ว่าโรงงานต่างๆ มีกระบวนการตรวจคัดกรองโรคอย่างเคร่งครัดตามที่กำหนด ไม่มีปัญหา นอกจากนี้ เบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงานว่ามีโรงงานสมาชิกของส.อ.ท.ปิดโรงงานจนส่งกระทบต่อกระบวนการผลิต แต่อาจมีบางส่วนอนุญาตให้สามารถทำงานจากที่บ้านได้ ส่วนแรงงานที่ยังเดินทางเข้าทำงานในโรงงานส่วนใหญ่เป็นบุคลากรในพื้นที่ ซึ่งแต่ละโรงงานยังคงปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอย่างเข้มข้นมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมีโรงงานสิ่งพิมพ์ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมสินสาคร แต่ไม่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวแม้แต่ 1 คนทั้งยังมีมาตรการตรวจคัดกรองโรคอย่างละเอียด พร้อมมีโรงอาหารของตัวเอง จึงมั่นใจในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยปราศจากการแพร่ระบาดของโรคได้

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/813930

COVID-19 กระทบส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปยังไทย

ปีงบประมาณนี้ การส่งออกข้าวโพดของเมียนมาไปยังไทยอาจลดลงเนื่องจากการระบาดของโควิด -19 ตลาดจะหดตัวในปีหน้าความล่าช้าอาจเกิดขึ้นได้ในการขนส่งจากเมียวดีไปยังไทยในช่วงที่โควิด -19 ระบาด แนวทางการป้องกัน COVID-19 ผู้ขับรถบรรทุกต้องได้รับการกักกัน 14 วัน ดังนั้นจึงมีคนขับน้อยซึ่งทำให้ไม่เพียงพอ ทั้งยังได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของการเมืองของไทย เนื่องจากการส่งออกไปยังประเทศจีนถูกระงับตั้งแต่ปี 61 ผลผลิตข้าวโพดถูกส่งออกไปไทยมากกว่าหนึ่งล้านตันเพิ่มขึ้นจาก 700,000 ตันในปีก่อนหน้า

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-maize-exports-thailand-take-hit-due-covid-19.html

ธุรกิจเวียดนามและจีน ลงนามสัญญาราว 760 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ธุรกิจเวียดนามลงนามสัญญา 18 ฉบับกับทางผู้ประกอบการจีน ด้วยมูลค่า 758.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในงานแสดงสินค้าชายแดนเวียดนาม-จีน ครั้งที่ 20 เกี่ยวกับธุรกรรมการส่งออก-นำเข้าแร่โลหะ, สารเคมี, สินค้าทางการเกษตร ป่าไม้และประมง และปุ๋ย เป็นต้น โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม นับว่าเป็นครั้งแรกที่จัดงานในลักษณะ Virtual Platform เนื่องจากอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของงานนี้ เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวระดับทวิภาคีระหว่างเมืองลาวไค (Lao Cai) – มฑฉลยูนนาน (Yunnan) มีส่วนทำให้ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างสองประเทศ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-china-firms-sign-contracts-worth-nearly-us760-million-at-trade-fair-315354.html

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเมียนมามุ่งผลิต-ส่งออกที่หลากหลายขึ้น

อุตสาหกรรมเสื้อผ้าของเมียนมาจำเป็นต้องเน้นความหลากหลายโดยการกระจายตลาดเนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดน้อยลงอันเป็นผลมาจากสถานการณ์ COVID-19  ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของเมียนมาต้องเอาชนะความท้าทายที่เกิดจากการระบาดในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความไม่แน่นอนว่าจะมีวัคซีนป้องกัน COVID-19 เมื่อใด ปัจจุบันตลาดเครื่องนุ่งห่มของเมียนมา ได้แก่ สหภาพยุโรป เกาหลี ญี่ปุ่น และเยอรมนี และอีกเล็กน้อยในตลาดสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของหลายประเทศเหล่านี้กำลังได้รับผลกระทบส่งผลให้มีคำสั่งซื้อน้อยลง ทั้งนี้ประเทศที่นำเข้าผ้าดิบจากจีนและเมียนมาอาจพิจารณาหันมานำเข้าจากอินเดียหรือปากีสถานแทน การระบาดของ COVID-19 ยังส่งผลให้อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมนี้สูงขึ้น และการยกเลิกคำสั่งซื้อซึ่งส่งผลให้งานหายากขึ้นและการปลดแรงงานออกเนื่องจากนักการถอนการลงทุนของต่างชาติ ขณะนี้โรงงาน CMP (Cut-Make-Pack) ปิดตัวลงมากถึง 64 แห่งส่งผลให้มีผู้ตกงานมากกว่า 25,000 คน ยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติจึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนจาก CMP ไปเป็นแบบ FOB (Free on Board) เพื่อะเพิ่มขีดความสามารถของแรงงานและการขยายตลาด ทั้งนี้ภายใต้โครงการที่ริเริ่มโดยสหราชอาณาจักรซึ่งสนับสนุนให้โรงงานเสื้อผ้า 5 แห่งในย่างกุ้งและพะโคเริ่มผลิต อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) แทน เมียนมามีรายได้เกือบ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกเสื้อผ้าในปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งลดลงกว่า 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmars-garment-sector-told-diversify.html

สปป.ลาวเสี่ยงต่อการเกิดโควิด -19 ระลอกสอง

คณะทำงานด้านการป้องกันและควบคุม COVID -19 แห่งชาติสปป.ลาวระบุว่าสปป.ลาวมีความเสี่ยงที่จะเกิด COVID -19 ระลอกที่สอง เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านต่อสู้เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด รองอธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อภายใต้กระทรวงสาธารณสุขกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ว่าสปป.ลาวยังคงเสี่ยงต่อการเกิด COVID -19 ระลอกสองแม้ว่าประเทศจะมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดก็ตาม สถานการณ์เลวร้ายในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาร์ซึ่งมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในช่วงสามเดือนที่ผ่านมามากกว่า 100,000 รายโดยมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2,000 ราย ทางการสปป.ลาวได้สั่งปิดเขตต้นผึ้งในแขวงบ่อแก้วเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID -19  หลังจากชาวจีน 2 คนที่ติดเชื้อโควิด -19 เข้ามาในเขตนี้อย่างผิดกฎหมายผ่านเมียนมาร์ สถานการณ์การแพร่ระบาด COVID -19 ในปัจจุบันของสปป.ลาวอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและประชาชนให้ความร่วมมืออย่างดีแต่ถึงอย่างไรรัฐบาลยังคงเข้มงวดต่อเนื่องในการติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID -19 ของประเทศเพื่อนบ้าน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Farmers_243.php