เวียดนามเกินดุลการค้า แตะ 19.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค. ปี 63

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ายอดเกินดุลการค้าในเดือนต.ค. อยู่ที่ประมาณ 2.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลักดันให้ยอดเกินดุลการค้าในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค. อยู่ที่ระดับ 19.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยยอดการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามอยู่ที่ 440.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออก 229.79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า 210.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ โทรศัพท์และชิ้นส่วนเป็นสินค้าส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค. อยู่ที่ 42.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.3 ของยอดการส่งออกรวม รองลงมาคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน, เสื้อผ้า, อุปกรณ์และชิ้นส่วน, รองเท้า, ไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ ตามลำดับ นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดในช่วงดังกล่าว ด้วยมูลค่า 62.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รองลงมาจีนและสหภาพยุโรป ในขณะที่ จีนยังคงเป็นตลาดนำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 65.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รองลงมาเกาหลีใต้และอาเซียน

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-trade-surplus-hits-us195-billion-in-jan-oct-314851.html

Vietnam Economic Factsheet : October.2563

เศรษฐกิจเวียดนาม ประจำเดือนตุลาคม 2563

หัวข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้

ด้านการผลิต

  • พื้นที่การเกษตรกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IPI)
  • ยอดการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ
  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ด้านการใช้จ่าย

  • ยอดขายรถยนต์ส่วนบุคคล
  • การใช้จ่ายภาครัฐบาลรวม
  • การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่, ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์
  • การค้าระหว่างประเทศ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
  • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
  • ทุนสำรองระหว่างประเทศ
  • ดุลบัญชีเดินสะพัด

ภาคการเงิน

  • ปริมาณเงินความหมายกว้าง (M2)
  • อัตราแลกเปลี่ยน
  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
  • สินเชื่อในประเทศ

ที่มา : General Statistics Office of Vietnam, CEIC Data

การค้าเวียดนาม-จีน สูงถึง 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10 เดือนแรกของปี 63

กรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าเมื่อเดือนต.ค. เวียดนามมีมูลค่าส่งออกประมาณ 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปยังจีน ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าระหว่างประเทศมากกว่า 37.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วย 10 รายการสินค้าที่มีรายได้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าจะได้รับสัญญาเขิงบวกหลายด้านด้วยกัน แต่ว่าความตึงเครียดของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และการระบาดของไวรัสโควิด-19 คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการนำเข้าและส่งออกของเวียดนามในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า จะดำเนินงานให้เกิดความสะดวกในการส่งออกสินค้าไปยังจีน ได้แก่ ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจง่ายขึ้น ปฏิรูประบบให้ดีขึ้นและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการลงทุน เพื่อลดต้นทุนการทำธุรกิจ

  ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-china-trade-turnover-reaches-us100-billion-in-ten-months-817862.vov

เวียดนามเผยส่งออกมะม่วงไปยังสหรัฐ พุ่ง 2 เท่า

จากรายงานของหน่วยงานการค้าต่างประเทศ ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่ามูลค่าการนำเข้ามะม่วงของสหรัฐฯ อยู่ที่ 2.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ ราคานำเข้าเฉลี่ยอยู่ที่ 2,064.8 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นผลไม้สดและผลไม้แช่แข็ง ทั้งนี้ ในแง่ของปริมาณ พบว่าเวียดนามเป็นตลาดนำเข้ารายใหญ่ที่สุด อันดับที่ 12 ของสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.3 ของยอดมูลค่าทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเวียดนามจำเป็นต้องติดตามเรื่องกฎระเบียบที่เข็มงวดเกี่ยวกับการทำฟาร์ม การบรรจุหีบห่อและแหล่งกำเนิดสินค้า นอกจากนี้ การส่งออกมะม่วงของเวียดนามไปยังสหรัฐฯ ที่พุ่งสูงขึ้นนั้น นับว่าเป็นไปได้ยากมากในช่วงสถานการณ์ของการแพร่ระบาด COVID-19 ที่ส่งผลการส่งออกทั่วโลกลดลง โดยสหรัฐฯ เป็นผู้ซื้อผลผลิตทางการเกษตรของเวียดนามรายใหญ่ อันดับที่ 4 ในปีที่แล้ว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.7 ของการส่งออกรวม รองลงมา จีน สหภาพยุโรปและอาเซียน

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-mangoes-export-volumnes-to-us-doubles-25849.html

Vietnam Economic Factsheet : September.2563

เศรษฐกิจเวียดนาม ประจำเดือนกันยายน 2563

หัวข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้

ด้านการผลิต

  • พื้นที่การเกษตรกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IPI)
  • ยอดการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ
  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ด้านการใช้จ่าย

  • ยอดขายรถยนต์ส่วนบุคคล
  • การใช้จ่ายภาครัฐบาลรวม
  • การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่, ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์
  • การค้าระหว่างประเทศ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
  • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
  • ทุนสำรองระหว่างประเทศ
  • ดุลบัญชีเดินสะพัด

ภาคการเงิน

  • ปริมาณเงินความหมายกว้าง (M2)
  • อัตราแลกเปลี่ยน
  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
  • สินเชื่อในประเทศ

ที่มา : General Statistics Office of Vietnam, CEIC Data

เศรษฐกิจเวียดนามคาดแซงโตสิงคโปร์ ในปี 2029

ธนาคารแห่งชาติสิงคโปร์ (DBS) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเวียดนามจะเติบโตร้อยละ 6-6.5 ในอีก 10 ปีข้างหน้า หากสามารถรักษาอัตราการเติบโตดังกล่าวได้ เศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตจนมีขนาดใหญ่กว่าสิงคโปร์ในอีก 10 ปี ด้วยแรงหนุนจากเงินลงทุนที่ไหลเข้าจากต่างประเทศและกำลังการผลิตที่เติบโตสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า ทั้งนี้ เศรษฐกิจของเวียดนามในปัจจุบัน มีมูลค่าอยู่ที่ 224 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แสดงให้เห็นถึงขนาดเศรษฐกิจถึงร้อยละ 69 ของเศรษฐกิจสิงคโปร์ หรือประมาณ 324 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

  ที่มา : https://baodanang.vn/english/business/202011/viet-nams-economy-forecast-to-grow-bigger-than-singapore-by-2029-3872550/

เวียดนามร่วมลงนาม ‘RECEP’ ตั้งเขตการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในโลก

การร่วมลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เมื่อผู้นำ 15 ประเทศ จากกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก คิดเป็นสัดส่วนรวมกันร้อยละ 29 ของ GDP โลก รวมถึงอาเซียน 10 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์และเกาหลีใต้ ซึ่งการลงนามในครั้งนี้เป็นหนึ่งในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 37 โดยเวียดนามเป็นประธาน ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) จะช่วยให้เวียดนามสามารถเข้าถึง 1 ใน 3 ของประชากรโลก และมีโอกาสที่จะขยายการส่งออกไปยังตลาด ด้วยมูลค่าราว 26 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากข้อตกลงการค้าเสรีแล้วนั้น ยังรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา, อีคอมเมิร์ซ, การแข่งขัน, SMEs ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น เวียดนามสามารถนำเข้าชิปอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และนำเข้าวัสดุสิ่งทอจากจีน เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ก็ต้องปฏิบัติตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายในกลุ่ม นอกจากนี้ สนธิสัญญาดังกล่าว จะช่วยให้เวียดนามเข้าถึงตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุด ภายใต้ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-inks-world-s-largest-trade-pact-rcep-4192071.html

ยอดขายรถยนต์ของเวียดนามในเดือน ต.ค. พุ่ง 15%

สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ของเวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่ายอดขายรถยนต์ในเดือนตุลาคม อยู่ที่ 33,254 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แบ่งออกเป็นประเภทของรถยนต์ ดังนี้ รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล 25,339 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตามมาด้วยรถยนต์เชิงพาณิชย์ 7,528 คัน (17%) และรถยนต์ใช้งานเฉพาะด้าน 387 คัน (71%) ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม ยอดขายรถยนต์อยู่ที่ 212,409 คัน ลดลงร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ “THACO” เป็นผู้นำตลาดรถยนต์ของเวียดนามในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.8 ของยอดขายรวม รองลงมา TC Motor และ Toyota ตามลำดับ นอกจากนี้ ในส่วนของการนำเข้ารถยนต์ของเวียดนาม สำนักงานศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าปริมาณการนำเข้ารถยนต์ของเวียดนามในเดือนกันยายน อยู่ที่ 12,670 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากไทย อินโดนีเซียและจีน อย่างไรก็ตาม การผลิตรถยนต์ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม  คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของ GDP อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนี้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : http://hanoitimes.vn/car-sales-in-vietnam-surge-15-in-october-314798.html