เวียดนามเผยตลาดอีคอมเมิรซ์อาจขาดทุน 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เหตุโควิด-19

ตามรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซของเวียดนามอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง คาดว่าจะสูญเสียรายได้ถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  โดยตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงอัตราการเติบโตของรายได้ร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในปี 2562 รายได้จากยอดขายอีคอมเมิร์ซ B2C อยู่ที่ 10.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.9 ของยอดค้าปลีกและบริการรวม ในขณะที่อัตราการซื้อของออนไลน์ถึงร้อยละ 42 ปัจจัยดังกล่าวทำให้รายได้ของอีคอมเมิร์ซสูงถึง 13.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 อย่างไรก็ตาม การระบาดของโรคโควิด-19 จะส่งผลต่อการประมาณการครั้งใหญ่ นอกจากนี้ จากผลการสำรวจ ระบุว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 57 สร้างรายได้จากตลาดอีคอมเมิร์ซต่ำกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ร้อยละ 24 สร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 51

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-e-commerce-market-may-lose-us26-billion-on-covid-19-314570.html

เวียดนามเผยธุรกิจในประเทศแสวงหาช่องทางการส่งออกสินค้าไปยังไทย

ตามการประชุมที่นครโฮจิมินห์ จัดขึ้นโดยศูนย์กลางลงทุนและส่งเสริมการค้า (ITPC) ระบุว่าไทยเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนามในภูมิภาคอาเซียน มูลค่าการส่งออกและนำเข้าทั้งสองประเทศ คิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ของยอดการค้าระหว่างประเทศรวมของเวียดนามในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งออกของเวียดนามมายังไทย ติดอันดับ 1 ใน 5 ของยอดส่งออกรวมไปยังอาเซียนและไทยยังเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการของศูนย์ฯ กล่าวว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนาม-ไทย มีการพัฒนาในหลายๆด้านด้วยกัน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการค้า อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้การค้าทวีภาคีลดลงร้อยละ 12.2 ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกของเวียดนามไปยังตลาดหดตัวร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ จุดประสงค์ของงานดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสและให้ธุรกิจในประเทศได้รับโอกาสจากการนำสินค้าไปสู่ ‘Big C, Go !’ และจับมือกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ เพื่อจัดส่งสินค้าไปยังประเทศไทย

  ที่มา : https://vnexplorer.net/domestic-businesses-seek-ways-to-export-products-to-thailand-a2020111121.html

ราคาเนื้อหมูตกต่ำ เหตุเวียดนามนำเข้าเพิ่มขึ้น

นาย Le Xuan Huy รองผู้อำนวยการทั่วไปของบริษัท CP Livestock Joint Stock Company กล่าวว่าราคาเนื้อหมูที่ปรับตัวลดลง เนื่องมาจากการนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งหมูแช่แข็งและหมูมีชีวิต รวมถึงความต้องการที่ลดลง ขณะที่กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) ระบุว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามนำเข้าเนื้อหมูมากกว่า 93,248 ตัน ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากแคนาดา เยอรมนี โปแลนด์ บราซิล สหรัฐฯ สเปนและรัสเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 223 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 อีกทั้ง กระทรวงฯยังได้อนุมัติให้นำเข้ากีบหมูจากไทยในชาวงกลางเดือนมิ.ย. และเมื่อเดือนสิ.ค. มีบริษัท 36 แห่งได้จดทะเบียนให้กักสุกรไว้มากกว่า 4.7 ล้านตัวจากไทยไปยังเวียดนาม นอกจากนี้ รองประธานสมาคมปศุสัตว์ด่งนาย กล่าวว่าราคาสุกรมีชีวิตในภาคใต้ ราคาอยู่ที่ราว 70,000 ด่องต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตาม สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาเนื้อหมูลดลง เป็นเพราะอยู่ในช่วงเดือนวูลาน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หลายๆครอบครัวไม่ทานเนื้อสัตว์ (ศาสนา)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pork-prices-fall-as-vietnam-increases-imports/188824.vnp

Vietnam Economic Factsheet : Q3/2563

GDP ของเวียดนามในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 2.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือว่าเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดในทุกไตรมาสที่ 3 ปี 2554-2563 เป็นผลมาจาก [1] ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) อย่างเข็มงวด แต่คาดว่าเศรษฐกิจจะค่อยๆกลับมาฟื้นตัวเป็นภาวะปกติ ด้วยเหตุนี้ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ จะเติบโตได้อย่างดีเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ พบว่าขยายตัวร้อยละ 1.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว, การปรับเงินทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.79,  การส่งออกสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.86 และการนำเข้าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.88

หัวข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้

ด้านการผลิต

  • ภาคเกษตรกรรม (พื้นที่การเกษตร (ผลผลิตข้าว), ผลผลิตไม้ และผลผลิตประมง)
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IPI)
  • ยอดการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ
  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ด้านการใช้จ่าย

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT/GST)
  • การใช้จ่ายภาครัฐบาลรวม
  • การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่, ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์
  • การค้าระหว่างประเทศ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
  • ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)
  • อัตราการว่างงาน
  • ดุลบัญชีเดินสะพัด

ภาคการเงิน

  • อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate)

ที่มา : General Statistics Office of Vietnam, CEIC Data, International Monetary Fund

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยสินค้าส่งออกสำคัญ 5 รายการ มีมูลค่ารวมกว่า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม จำนวน 5 รายการที่มีมูลค่ามากกว่า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่

  • โทรศัพท์และชิ้นส่วน มีมูลค่าส่งออก 36.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (18.1% ของยอดส่งออกรวม)
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มีมูลค่าส่งออก 32.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (15.9% ของยอดส่งออกรวม)
  • เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ มีมูลค่าส่งออก 22.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (10.9% ของยอดส่งออกรวม)
  • เครื่องจักร อุปกรณ์และชิ้นส่วนประกอบ มีมูลค่าส่งออก 18.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (9.0% ของยอดส่งออกรวม)
  • รองเท้า มีมูลค่าส่งออก 12.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (6.0% ของยอดส่งออกรวม)

ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญดังกล่าว 5 รายการ มีมูลค่าส่งออกรวมกันร้อยละ 69.4 ของยอดส่งออกทั้งหมดของเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/5-commodities-record-export-values-of-over-10-billion-usd/188129.vnp

IMF เผยเวียดนามก้าวเป็นอันดับที่ 4 ของเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในสัปดาห์นี้ โดยคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในปีนี้ จะสูงถึง 340.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามก้าวเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับที่ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ นิตยสาร Investement Bridge อ้างจาก IMF ระบุว่าเวียดนามยังคงเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเศรษฐกิจเติบโตในปีนี้และปีหน้า และคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวร้อยละ 6-7 ต่อปี ในขณะที่ เศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 2-5 แสดงให้เห็นว่าส่วนหนึ่งมาจากการประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับโรคโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจในเชิงบวกปีนี้ นอกจากนี้ ทาง IMF คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากรเวียดนาม อยู่ในอันดับที่ 6 ในอาเซียน แตะ 3,497 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนในปีนี้ รองลงมาฟิลิปปินส์ สปป.ลาว กัมพูชาและเมียนมา ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จีนยังคงเป็นเศรษฐกิจสำคัญเพียงประเทศเดียวที่คาดว่าขยายตัวร้อยละ 1.9 ในปีนี้ และจะสูงถึงร้อยละ 8.2 ในปี 2564 สำหรับสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่า GDP จะหดตัวลงร้อยละ 4.3 ในปีนี้

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-to-become-4th-largest-economy-in-southeast-asia-said-imf-25227.html

World Bank คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามโต 2.5-3% ในปี 2563

ธนาคารโลก (WB) เปิดเผยรายงานเศรษฐกิจมหภาคของเวียดนาม เมื่อเดือนตุลาคม 2563 ระบุว่า GDP ของเวียดนามเติบโตขึ้นร้อยละ 2.5-3 ในปี 2563 ถึงแม้ว่าเวียดนามจะเผชิญกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิดรอบที่ 2 ก็ตาม แต่ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เศรษฐกิจเวียดนามส่งสัญญาฟื้นตัว จะขยายตัวร้อยละ 2.62 เมื่อเทียบกับปีที่แล้วและสูงกว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 0.39 นับว่าขยายตัวขึ้น 2 เท่า ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวและยอดค้าปลีกในเดือนก.ย.เมื่อเทียบกับเดือนสิ.ค. ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามเกินดุลการค้าอยู่ที่ 16.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ในเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าของเดือนสิ.ค. อย่างไรก็ตาม ธนาคารโลกระบุว่าเวียดนามควรให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงของการคลังภาครัฐ เมื่อเผชิญกับความไม่แน่นอนทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสทำให้เวียดนามสามารถเปิดธุรกิจใหม่ได้อย่างรวดเร็วและคาดว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกในปีนี้ ในขณะที่ หลายประเทศกำลังเผชิญกับการหดตัวทางเศรษฐกิจอย่างมากและวิ่งเข้าหากองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงิน

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/wb-vietnams-gdp-forecasted-to-grow-at-25-3-in-2020-25216.html

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปส่วนใหญ่ 81% มองว่ามีแนวโน้มที่ดี

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) เปิดเผยผลสำรวจภาวะการดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจในประเทศส่วนใหญ่คาดว่าการดำเนินงานดีขึ้นหรือยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเท่าไรนักเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3

สถานการณ์การดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ (ร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง)

  • โดยภาพรวม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 45.6 มองว่าการดำเนินธุรกิจดีขึ้น รองลงมาร้อยละ 35.4 ไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม และร้อยละ 19 แย่ลง
  • ธุรกิจ FDI ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 82.8 มองว่าการดำเนินธุรกิจดีขึ้น และร้อยละ 17.2 แย่ลง
  • รัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 81.7 มองว่าการดำเนินธุรกิจดีขึ้น และร้อยละ 18.3 แย่ลง
  • ธุรกิจภาคเอกชน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 80.2 มองว่าการดำเนินธุรกิจดีขึ้น และร้อยละ 19.8 แย่ลง

.ผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ (ร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง)

  • ปริมาณการผลิต ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 45.9 มองว่าปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น รองลงมาร้อยละ 36.6 ไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม และร้อยละ 17.5 ลดลง
  • ยอดคำสั่งซื้อ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 43.2 มองว่ายอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น รองลงมาร้อยละ 39.1 ไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม และร้อยละ 17.7 ลดลง
  • ยอดคำสั่งซื้อเพื่อส่งออก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 44 มองว่ายอดคำสั่งซื้อเพื่อส่งออกไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม รองลงมาร้อยละ 35.6 เพิ่มขึ้น และร้อยละ 20.4 ลดลง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/81-processingmanufacturing-firms-optimistic-about-business-outlook/188531.vnp