เวียดนามส่งสัญญาฟื้นตัว จากการส่งออกสินค้าประมงไปยังจีน

เวียดนามส่งออกปลาสวายไปยังจีน มูลค่าราว 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งเดือนแรกมีนาคม ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ นับว่าเป็นสัญญาที่ดีในการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าประมงของเวียดนามไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) ระบุว่ายอดคำสั่งซื้อสินค้าประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ากุ้งและปลาสวายจากจีนที่กลับมาสั่งซื้อตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน และคาดว่าการส่งออกปลาสวายของเวียดนามไปยังจีน อาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 40-50 ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า รวมถึงคาดการณ์ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสจะสามารถควบคุมในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ โดยการผลิตจะกลับมาเป็นปกติในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ นอกจากนี้ เกาหลีใต้เป็นตลาดสำคัญอีกแห่งหนึ่งของสินค้าเวียดนามและได้ส่งสัญญาว่าความต้องการจะกลับมาฟื้นตัวในไม่ช้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/aquatic-exports-to-china-shows-sign-of-recovery/172015.vnp

เวียดนามส่งออกข้าวพุ่งไปยังจีน ในไตรมาสแรก

จากรายงานของสำนักงานศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกข้าวไปยังจีนเพิ่มขึ้น 4 เท่า ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ปริมาณส่งออก 162,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11 ของปริมาณการส่งออกรวม โดยเฉพาะที่จีนนำเข้าข้าวจากเวียดนามส่งผลให้ราคาซื้อสูงสุด ปัจจุบันราคาส่งออกข้าวไปยังจีนเฉลี่ยอยู่ที่ 12.7 ล้านด่องต่อตัน เพิ่มขึ้นกว่า 1.7 ล้านด่องต่อตัน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นผลมาจากราคาข้าวนำเข้าของเพื่อนบ้านทางตอนเหนือสูงกว่าฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นผู้บริโภคข้าวเวียดนามรายใหญ่ ทั้งนี้ ยอดนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของเวียดนาม เนื่องจากจีนเผชิญกับการขาดแคลนอาหาร ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/exports-of-rice-to-china-skyrocket-in-q1-412752.vov

อุตสาหกรรมกาแฟเวียดนาม เผชิญขาดทุนหนักไตรมาส 2

สมาคมกาแฟและโกโก้เวียดนาม (VICOFA) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมกาแฟเวียดนาม เผชิญกับการขาดทุนอย่างหนักในช่วงไตรมาสที่ 2 เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายๆประเทศทั่วโลกประกาศใช้มาตรการ ‘Social Distancing’ หรือเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลร้านอาหารและร้านกาแฟต้องปิดตัวลง ด้วยเหตุที่ความต้องการลดลง ทำให้ผู้ผลิตกาแฟส่วนใหญ่ใช้สินค้าคงคลัง ดังนั้น ผู้ประกอบการท้องถิ่นจึงได้สัญญาส่งออกกาแฟได้น้อยลง ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการผลิตในประเทศและส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้ บริษัทกาแฟแห่งชาติเวียดนาม (VINACAFE) เป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ในเวียดนาม เผชิญกับอุปสรรคมากมายในการเสนอขายสินค้าแก่พาร์ทเนอร์ โดยการบริโภคกาแฟทั่วโลกนั้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 เมื่อเทียบก่อนการแพร่ระบาด นอกจากนี้ ความต้องการสินค้าอุปโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการแพร่ระบาด แต่กาแฟไม่ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็น ส่วนภาครัฐควรจะส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ เพื่อแก้ไขอุปสรรคจากสถานการณ์ดังกล่าว ประกอบกับภัยแล้งในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรลดลง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/coffee-industry-to-face-more-losses-in-q2/171969.vnp

THACO ส่งออกรถกึ่งพ่วงไปยังสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม

บริษัท Truong Hai Auto Corporation (THACO) กล่าวว่าในปลายเดือนพฤษภาคม บริษัทส่งออกรถกึ่งพ่วง หรือเรียกว่า ‘รถเทรลเลอร์’ ด้วยจำนวน 69 คัน ไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาที่มีข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เข็มงวด ด้วยข้อมูลข้างต้นเป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างบริษัท THACO และ PITTS ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถกึ่งพ่วงรายใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในการจำหน่ายรถกึ่งพวกในตลาดสหรัฐฯ ทั้งนี้ รถกึ่งพ่วงของ THACO ที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯนั้น มีบริษัท Dorsey Intermodal เป็นผู้จำหน่ายรถยนต์ดังกล่าวในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ PITTS นอกจากนี้ THACO คาดว่าในปี 2563 จะส่งออกรถยนต์ทุกประเภทมากกว่า 1,600 คัน คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/thaco-to-export-semitrailers-to-us-in-may/171990.vnp

เวียดนามเล็งผลักดันช่องทางค้าสินค้าเกษตรไปยังจีน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม หารือกับเอกอัครราชทูตจีนประจำเวียดนาม ณ กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 16 เมษายน เพื่อหาช่องทางการค้าสินค้าเกษตรระหว่าง 2 ประเทศ ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งการค้าของภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ระหว่างเวียดนามและจีน ลดลงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในช่วงเดือนแรกของปีนี้ จีนได้อนุมัตินำเข้าผักผลไม้ 9 รายการจากเวียดนาม และยังมีสินค้าเกษตรอีก 8 รายการที่กำลังดำเนินตามขั้นตอนอยู่ ทั้งนี้ รัฐมนตรีฯ ระบุเสริมว่าหวังว่าขั้นตอนการดำเนินงานนั้นจะเป็นไปโดยเร็วที่สุด เพื่อให้เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีนมากขึ้น รวมถึงเรียกร้องให้จีนขยายเวลาทำงานของสำนักงานศุลกากร เพียงแค่ 5-6 ชั่วโมง นอกจากนี้ เวียดนามและจีนควรจะหาแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดของโวรัส ด้วยระดับความร่วมมือของรัฐบาลและการดำเนินงานร่วมกันระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-china-seek-ways-to-push-agriculture-trade/171849.vnp

เวียดนามเผยสินค้า 12 รายการ อาจเปิดไต่สวนการฉ้อโกงแหล่งกำเนิดสินค้า

หน่วยงานกำกับดูแลด้านมาตรการการค้าของเวียดนาม (TRAV) ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยสินค้า 12 รายการที่เข้าข่ายทุจริตแหล่งกำเนิดสินค้าหรือลักลอบขนส่งสินค้าผิดกฎหมาย อาทิ ไม้อัดที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง, เบาะฟอง, ตู้ไม้, หินอัด, ท่อทองแดง, ข้อต่อเหล็กสำเร็จ, ล้อเหล็ก และเหล็กแปรรูปเรียบร้อยแล้ว เป็นต้น สินค้าดังกล่าวมีมูลค่าส่งออกสูงอย่างมากในปี 2562 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายได้ของตู้ไม้ปรับตัวขึ้น 1.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว จากปี 2561 อยู่ที่ 913 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนสหรัฐฯยังคงเป็นผู้นำเข้าหินอัดรายใหญ่จากเวียดนาม ด้วยมูลค่าในปี 2562 อยู่ที่ 118.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นกว่า 2.5 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ ยังมีการสอบสวนเพิ่มและไต่สวนการการทุ่มตลาดแก่สินค้าประเภทเดียวกันจากประเทศอื่นๆ ได้แก่ จีน อินเดียและตุรกี ข้อมูลข้างนั้นอยู่ภายใต้คำสั่งนายกรัฐมนตรี (824/QD-TTg) เกี่ยวกับการป้องกันในการหาทางจัดการหลีกเลี่ยงทางการค้าและทุจริตแหล่งกำเนิดสินค้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/twelve-products-may-face-trade-origin-fraud-investigation-authority/171837.vnp

ราคาที่ดินพื้นที่การเกษตรพุ่ง ในช่วงโควิด-19

ในขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่พยายามดิ้นรนเอาตัวรอดในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่พื้นที่การเกษตรยังคงได้รับการลงทุนที่ร้อนแรง เนื่องจากผู้คนหันกลับไปพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น สำหรับมุมมองของนายหน้าซื้อขายที่ดิน กล่าวว่าราคาพื้นที่การเกษตรพุ่งสูงขึ้น 2 เท่าและ 3 เท่า ในจังหวัดทางตอนใต้ของเวียดนาม เป็นผลมาจากผู้คนย้ายจากเมืองไปยังพื้นที่ชานเมืองมากขึ้นและจากการแพร่ระบาดของไวรัส รวมถึงระยะห่างทางสังคมทำให้คนจำนวนมากเล็งสวนและพื้นที่การเกษตรแทนที่จะอาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งในเมืองด่าหลัด พื้นที่สูงตอนกลาง แต่ละแปลงของพื้นที่การเกษตร 1,000 ตารางเมตร ด้วยต้นทุน 400-700 ล้านด่ง (17,000-30,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ในปีที่แล้ว โดยปัจจุบัน ราคาพื้นที่พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 3-6 พันล้านด่ง ในขณะเดียวกัน พื้นที่การเกษตรรอบนครโฮจิมินห์ อาทิ จังหวัดด่งนาย ราคาพื้นที่แตะ 2-2.5 พันล้านด่งต่อแปลง นอกจากนี้ เมื่อความกังวลต่อสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความสนใจในการลงทุนในพื้นที่ชนบทมากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลราคาพื้นที่การเกษตรพุ่งสูงขึ้นในตลาด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/agricultural-land-price-increases-during-covid19/171770.vnp