กัมพูชา-ไทย ตั้งเป้าการค้าระหว่างกันแตะ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ภายในปี 2025

นายกรัฐมนตรีกัมพูชาและไทย มีกำหนดการพบปะกันที่กรุงเทพฯ ในสัปดาห์นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับขั้นตอนในการส่งเสริมการค้าในระดับทวิภาคี รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน และการขจัดอุปสรรคระหว่างทั้งสองประเทศ โดยประเทศไทยถือเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของกัมพูชาเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่มูลค่าการค้ารวม 3.71 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2023 ลดลงร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มูลค่า 4.47 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2022 ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิต ซึ่งสินค้าส่งออกหลักของกัมพูชาไปยังไทย ได้แก่ สิ่งทอ สินค้าเกษตร อัญมณี วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป ด้านสินค้านำเข้าจากไทย ได้แก่ ปลา เนื้อสัตว์ ผัก รถยนต์ ปุ๋ยอินทรีย์ อาหาร และวัสดุก่อสร้าง เป็นสำคัญ สำหรับการเดินทางไปเมืองไทยของนายกรัฐมนตรี ฮุน มาเนต จะเดินทางเยือนเมืองไทยในวันพุธนี้ (7 ก.พ.) ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ซึ่งจะทำการเจรจาเกี่ยวกับความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501434816/cambodia-thailand-target-15-billion-trade-by-2025/

การส่งออกทางทะเลของเมียนมาร์ทะลุ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 19 มกราคม

ตามสถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ระบุว่า การส่งออกทางทะเลของเมียนมากับประเทศคู่ค้ามีมูลค่า 7.136 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 19 มกราคมของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้ามีมากกว่าการส่งออกที่ 10.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นมูลค่าการค้ารวม 17.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ทั้งนี้มูลค่าการค้าทางทะเลเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้วสะท้อนถึงการลดลง 2.376 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  อย่างไรก็ดี เมียนมามีเป้าหมายการค้าต่างประเทศในปีงบประมาณ 2566-2567 อยู่ที่ 32.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งประกอบด้วยการส่งออกมูลค่า 16.5 พันล้านดอลลาร์ และการนำเข้ามูลค่า 16 พันล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกัน การค้าชายแดนของเมียนมาร์กับประเทศเพื่อนบ้าน (จีน อินเดีย บังกลาเทศ และไทย) อยู่ที่ประมาณ 6.53 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณนี้ ซึ่งลดลงจาก 6.6 พันล้านดอลลาร์ที่จดทะเบียนในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมายังแสดงให้เห็นถึงการค้าต่างประเทศรวมของเมียนมา ณ วันที่ 17 มกราคมปีงบประมาณนี้ มีมูลค่ารวม 24.337 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลงจากบันทึกไว้ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้วที่มีมูลค่า 27.145 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-seaborne-exports-surpass-us7-billion-by-19-january/

ปริมาณการค้าระหว่าง กัมพูชา-ฝรั่งเศส แตะ 515 ล้านดอลลาร์

ปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและฝรั่งเศสสูงถึง 515.21 ล้านดอลลาร์ ส่งผลทำให้ปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชาและสหภาพยุโรป (EU) อยู่ที่ 4.6 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วงปี 2023 กล่าวโดยนายก ฮุน มาเนต ในระหว่างการเป็นประธานในการประชุม ‘French-Cambodian Business Forum’ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (15 ม.ค.) โดยทั้งสองประเทศมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งเชื่อมโยงกันในหลายด้านทั้งสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม อาหาร ภาษา ระบบการบริหาร กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับในสังคมกัมพูชา โดยกัมพูชาตั้งอยู่ใจกลางพื้นที่ยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการมีอยู่ของข้อตกลงการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงตลาดที่หลากหลาย หากเข้ามาลงทุนหรือทำการค้ากับกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501424116/cambodia-france-trade-volume-reaches-515m/

การค้าระหว่างประเทศกัมพูชาลดลงร้อยละ 1.9 ที่ 46.82 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2023

การค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาในช่วงปี 2023 ลดลงร้อยละ 1.9 อยู่ที่ 46.82 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.8 แต่การนำเข้ากลับลดลงร้อยละ 5 ตามข้อมูลการค้าที่เผยแพร่โดยกรมศุลกากร และสรรพสามิต (GDCE) สำหรับการส่งออกรวมของกัมพูชาในช่วงปี 2023 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 22.64 พันล้านดอลลาร์ และการนำเข้ามีมูลค่ารวมอยู่ที่ประมาณ 24.18 พันล้านดอลลาร์ ส่งผลทำให้กัมพูชาขาดดุลการค้าอยู่ที่ 1.53 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว โดยจีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาด้วยมูลค่าการค้าทวิภาคี 12.26 พันล้านดอลลาร์ ภายใต้ความไม่แน่นอนจากภาวะสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ การปะทุของความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ฮามาส และความกดดันด้านเงินเฟ้อที่ตามมา อีกทั้งการไม่ต่ออายุของระบบสิทธิพิเศษทั่วไป (GSP) จากสหรัฐฯ และผลประโยชน์จาก EBA จากสหภาพยุโรป (EU) ก็เป็นส่วนที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้ากลุ่ม GFT ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชาเป็นอย่างมาก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501421111/cambodias-trade-declines-1-9-to-46-82-billion-in-2023/

เมียนมาร์มีรายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่ารวม 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 9 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาร์สร้างรายได้ 2.313 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวลดลงจาก 2.688 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว โดยลดลง 374.172 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้า CMP และสินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ เมียนมาร์ได้ดำเนินยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) พ.ศ. 2563-2568 เพื่อกระตุ้นการส่งออก ภาคส่วนที่มีลำดับความสำคัญของ NES ประกอบด้วยการผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรม และภาคผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agri-export-earnings-in-myanmar-total-us2-3-bln-in-9-months/

การส่งออกประมงของเมียนมาร์มีมูลค่า 448 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากกว่า 290,000 ตัน

อู ยุนท์ วิน ผู้อำนวยการกรมประมงในกรุงเนปิดอว์ กล่าวว่า เมียนมาร์มีการส่งออกประมงมากกว่า 290,000 ตัน มูลค่า 448 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปยังต่างประเทศมากกว่า 40 ประเทศในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ทั้งนี้ สินค้าประมงดังกล่าวถูกส่งไปยังญี่ปุ่น ประเทศต่างๆ จากตะวันออกกลาง ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย ซึ่งสหพันธ์ประมงเมียนมาร์และกรมประมงทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนการส่งออกประมง อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ให้ความสำคัญกับกระบวนการประมงตามหลักปฏิบัติที่ดีในการผลิต เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของอาหารทะเล และปฏิบัติตามกฎและระเบียบการนำเข้าของประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกเหนือจากการส่งออกทางทะเลแล้ว เมียนมาร์ยังส่งการประมงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีนและไทย ผ่านจุดชายแดนเมียวดี มูเซ เกาะสอง ซิตเวย์ มะริด และหม่องตอ นอกจากนี้ กรมและผู้ส่งออก ได้ร่วมมือกันในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศที่นำเข้าประมงของเมียนมาร์ และพยายามร่วมกันไม่ลดปริมาณการส่งออก รวมทั้งปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับการส่งออกอาหารทะเลที่กำหนดโดยประเทศต่างๆ เช่น จีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-fisheries-exports-bag-us448-mln-from-over-290000-tonnes-in-apr-nov/

สหรัฐฯ ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางด้านการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา (MoC) ระบุว่า กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2023 มูลค่ารวม 8,144 ล้านดอลลาร์ ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2022 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.25 ของปริมาณการส่งออกรวมทั้งหมดที่มีมูลค่าอยู่ที่ 21,292 ล้านดอลลาร์ ขณะที่การนำเข้าจากสหรัฐฯ ของกัมพูชา ปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 23.97 ที่มูลค่า 223 ล้านดอลลาร์ ภายใต้โครงการอย่างสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ซึ่งหมดอายุไปในช่วงปี 2020 โดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ขณะที่สินค้าส่งออกหลักของกัมพูชาที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์เสื้อผ้า เครื่องหนัง สินค้าสำหรับเดินทาง กระเป๋าถือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นสำคัญ ในขณะที่กัมพูชานำเข้ายานพาหนะ เครื่องจักรและเครื่องใช้เครื่องจักรกล เครื่องมือทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์ยาจากสหรัฐฯ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501416446/us-remains-cambodias-biggest-export-destination-2/

เมียนมาร์มีความพยายามที่จะขยายส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกในภาคส่วนที่หลากหลาย

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ (MoC) กำลังพยายามเพิ่มผลผลิตและส่งออกสินค้าจากภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะพืชผลและผัก ผลิตภัณฑ์ประมง หยก ปุ๋ย เชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ตามสถิติและแถลงการณ์ของกระทรวง มูลค่าการส่งออกรวมของเมียนมาร์เพิ่มขึ้น 221 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ผ่านเส้นทางการขนส่งและการค้าชายแดน เนื่องจากปัจจุบันเป็นฤดูกาลที่เฟื่องฟูสำหรับผลิตผลทางการเกษตร กระทรวงคาดการณ์ว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นในภาคส่วนนี้ ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมง มีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในหนึ่งสัปดาห์ โดยส่งออกผ่านการขนส่งทั้งทางเรือและทางอากาศ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปลา ปลาป่น และปลาแห้งยังถูกขนส่งผ่านด่านการค้าเกาะสอง มะริด มอตอง และเมียวดี อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากการส่งออกของภาคเอกชนแล้ว ภาครัฐยังขนส่งหยก 3,228 กิโลกรัมที่จำหน่ายโดยห้างสรรพสินค้าอัญมณีไปยังจีนอีกด้วย รวมทั้งศูนย์บริการแบบครบวงจรของบริษัท Myanma Gems Enterprise ยังจำหน่ายเครื่องประดับหยกมูลค่าเพิ่ม เช่น กำไล ลูกปัด และโซ่มือ โดยส่งออกไปยังตลาดจีนโดยการขนส่งทางอากาศ ในส่วนรายได้จากการส่งออกยาง ได้รับอนุญาตให้นำไปลงทุนในสินค้าภายในประเทศที่จำเป็น เช่น ปุ๋ยและเชื้อเพลิง โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของสินค้าโภคภัณฑ์และเพิ่มผลกำไรให้กับผู้ส่งออก การส่งออกยางจึงเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงต้นเดือนธันวาคมเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน ตามสถิติ เช่นเดียวกับ การส่งออกหนังดิบและเครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์ไม้สำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น น้ำตาลและผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม CMP ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอเชิญชวนหน่วยงาน สมาคม และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันส่งเสริมภาคการค้าของประเทศ เพิ่มความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้า ขยายตลาดโลก และส่งออกสินค้ามากขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-seeks-to-expand-global-market-shares-in-versatile-sectors/

มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาในช่วง 11 เดือนแรกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

การส่งออกสินค้าของกัมพูชาในช่วง 11 เดือนแรกของปี ขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 1.2 หรือคิดเป็นมูลค่าเกือบ 2.05 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการรายงานล่าของกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) สำหรับตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรกของกัมพูชา ได้แก่ สหรัฐฯ เวียดนาม จีน ไทย และญี่ปุ่น โดยสหรัฐฯ ยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาที่มูลค่าการนำเข้ารวม 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะเดียวกัน มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังเวียดนามและจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 37.8 และร้อยละ 18.5 ที่มูลค่า 2.61 พันล้านดอลลาร์ และ 1.31 พันล้านดอลลาร์ ตามลำดับ ซึ่งเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้จากการส่งออกกัมพูชามากที่สุด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501407510/cambodias-export-turnover-slightly-rises-in-11-months/

กัมพูชาส่งออกแตะ 2.05 หมื่นล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย.

กรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) เผยว่าการส่งออกของกัมพูชาในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2023 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 2.049 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.2 เป็นผลมาจากภาคอุตสาหกรรมหลักอย่าง เสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าเดินทาง กลับมาขยายตัว โดยสหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกหลักของกัมพูชา คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรวม 8.14 พันล้านดอลลาร์ ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่การส่งออกไปยังเวียดนาม ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.8 สู่มูลค่า 2.61 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 1.89 พันล้านดอลลาร์ รวมถึงการส่งออกไปยังจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันร้อยละ 18.5 คิดเป็นมูลค่า 1.31 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งอุตสาหกรรมดังกล่าวมีโรงงานและสถานประกอบการรวมกว่า 1,133 แห่ง ก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณกว่า 840,000 คน และด้วยความตกลง RCEP และ FTA ร่วมกับจีนและเกาหลีใต้ ที่มีผลบังคับใช้ในปี 2022 มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการส่งเสริมสินค้าของกัมพูชาและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501405278/cambodias-exports-touch-20-5-billion-in-jan-nov/