กระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยการส่งออกข้าวโพดมีแนวโน้มดีขึ้น

ในขณะที่ความต้องการของต่างประเทศในนำสินค้าอุปโภคของเมียนมาบางส่วนในปีนี้ลดลงต่ำกว่าที่คาดไว้ในปีนี้เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 แต่การส่งออกพืชผลหลายชนิดยังคงเพิ่มขึ้นและบางส่วนก็ดูมีแนวโน้มดี กระทรวงพาณิชย์ระบุว่า การส่งออกข้าวโพดเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 เมื่อเทียบเป็นรายปีในปีงบประมาณปัจจุบันและแนวโน้มการเติบโตดูสดใส การส่งออกในปีนี้อยู่ที่ 2.5 ล้านตันเทียบกับ 1.5 ล้านตันในปีที่แล้ว โดยปกติแล้วข้าวโพดจะส่งออกไปยังจีน แต่ความต้องการจากไทยเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เริ่มปีงบประมาณ 2562-2563 กว่าร้อยละ 60 ของการส่งออกข้าวโพดในปีนี้ผ่านชายแดนท่าขี้เหล็กและเมียวดี ความต้องการจากประเทศอื่น ๆ เช่น เวียดนามและฟิลิปปินส์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน  ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมากำลังเชื่อมโยงเกษตรกรกับธนาคารเพื่อหาทุนในการปลูก ส่วนพืชอื่น ๆ ของที่มีความต้องการในต่างประเทศมากคืออะโวคาโด ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากสิงคโปร์และจีน โดยอะโวคาโดพันธุ์แฮส (Hass) เป็นอะโวคาโดที่ปลูกกันมากที่สุดในโลก ซึ่งมักจะพบทางตอนใต้ของรัฐฉาน และถือว่าอะโวคาโดพันธุ์แฮส (Hass) มีสัดส่วนร้อยละ 80 ของอะโวคาโดที่บริโภคกันทั่วโลก การปลูกอะโวคาโดในปีนี้ประสบความสำเร็จและล่าสุดจีนเสนอให้นำเข้า 500 ตันต่อปี และสิงคโปร์ 15 ตันต่อสัปดาห์เช่นกัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/commerce-ministry-myanmar-says-corn-exports-very-promising.html

ส่งอออกข้าวโพดเมียนมาคาดอุปสงค์ตลาดเพิ่ม

กระทรวงพาณิชย์พร้อมหนุนธนาคารปล่อยสินเชื่อเพื่อปลูกข้าวโพดในประเทศซึ่งคาดว่าความต้องการจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างกระทรวงกับสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมาที่ถูกจัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 เมียนมามีพื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณ 1.9 ล้านเอเคอร์ทั่วทั้งภูมิภาค Ayeyarwady, Nay Pyi Taw, รัฐ Shan, รัฐ Kayah และรัฐ Kayin ซึ่งให้ผลผลิตมากกว่า 3 ล้านตันต่อปีตามข้อมูลของปีที่แล้ว การบริโภคภายในประเทศนั้นน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตทั้งหมดส่วนอีกครึ่งหนึ่งส่งออกไปยังประเทศไทยเป็นหลัก ปัจจุบันเมียนมาเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหญ่อันดับสองของอาเซียน ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2562-2563 ความต้องการข้าวโพดได้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากประเทศไทยซึ่งมีความต้องการข้าวโพดเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมและอาหารสัตว์มีปริมาณเพิ่มขึ้น จากข้อมูลพบว่าในปีนี้ส่งออกข้าวโพดไปแล้วประมาณ 1.8 ล้านตันซึ่งมากกว่าหนึ่งล้านตันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว  มากกว่าร้อยละ 60 ส่งออกไปยังประเทศไทย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/corn-traders-myanmar-get-organised-anticipation-more-demand.html

สำรวจแหล่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4 จ. ภาคเหนือ เจาะสถานการณ์นำเข้าจากเมียนมาผ่านด่านแม่สอดไทย

เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดตาก น่าน พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทางภาคเหนือ โดยข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบว่า เนื้อที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2562/63 รวม 4 จังหวัด มีจำนวน 2.319 ล้านไร่ ลดลงจากปี 2561/62 ที่จำนวน 2.419 ล้านไร่ (ลดลงร้อยละ 4) ผลผลิต 1.509 ล้านตัน ลดลงจากปี 2561/62 ที่จำนวน 1.743 ล้านตัน (ลดลงร้อยละ 13) เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง อีกทั้งยังประสบปัญหาหนอนกระทู้ระบาด ภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) กำหนดให้มีการนำเข้าโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคมของทุกปี ในอัตราภาษีนำเข้า 0% และโดยในช่วงวันที่ 1 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2563 พบว่า มีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากแหล่งผลิตที่สำคัญของเมียนมา ได้แก่รัฐฉาน อิระวดี ซึ่งมีแนวชายแดนติดต่อกับจีน จำนวนมากถึง 279,000 ตัน โดยนำเข้าทางด่านพรมแดนแม่สอดจังหวัดตาก เนื่องจาก มีการระบาดของโรคอหิวาต์อาฟริกาในสุกร ทำให้จีนมีนโยบายไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเมียนมา ส่งผลให้ราคาข้าวโพดในประเทศมีแนวโน้มลดลงโดยราคาเฉลี่ยในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์อยู่ที่กิโลกรัมละ 7.77 บาทลดลงจาก 8.65 บาท (ร้อยละ 10) ในช่วงเดียวกันของปี 2562 ทั้งนี้ จากการสอบถามเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดตาก น่าน พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ เกษตรกรมีความพึงพอใจที่รัฐบาลให้การช่วยเหลือ แต่เกษตรกรในบางพื้นที่ยังไม่เข้าใจหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการช่วยเหลือ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการให้เกษตรกรทราบ และแนะนำให้ไปขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับกรมส่งเสริมการเกษตรภายหลังจากที่ได้ทำการเพาะปลูกไปแล้ว 15 – 60 วัน เพื่อรับสิทธิในการช่วยเหลือต่อไป

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3104872

ผู้ส่งออกข้าวโพดเมียนมาเล็งหาตลาดใหม่

นาย U Min Khaing ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมากล่าวว่า ผู้ค้าข้าวโพดกำลังมองหาตลาดใหม่ ๆ โดยเป้าหมายที่คือ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินเดีย เดือน มิถุนายนตัวแทนจากสมาคมจะไปเยือนจีนเพื่อโปรโมตข้าวโพดที่ผลิตในรัฐฉาน ทั้งนี้ยังได้ตกลงที่จะส่งออกไปยัไทย แต่ยังรอการอนุญาตอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามภาษีนำเข้าที่สูงยังเป็นความท้าทายที่สำคัญ ภายใต้ข้อตกลงทวิภาคีระหว่างไทยกับเมียนมาการส่งออกข้าวโพดได้รับการยกเว้นภาษีระหว่างเดือนก.พ. – ส.ค 62 ช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.ส่งออกข้าวโพดมากกว่า 100,000 ตัน เมื่อเทียบกับ 200,000 ตันในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ช่วงปีงบประมาณ 61-62 ส่งออกข้าวโพด 1.5 ล้านตันมูลค่า 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐเทียบกับ 1.1 ล้านตันมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 58-59 พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเมียนมามีมากกว่า 1.9 ล้านเอเคอร์ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐสะกาย มาเกว คายิน ชีน ฉาน และกะยา  โดยราคาข้าวโพดปัจจุบันอยู่ที่ 480 จัตถึง 495 จัตต่อ viss (1.65 กิโลกรัม)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/demand-falters-corn-traders-seek-new-markets.html

ความต้องการข้าวโพดของเมียนมาเพิ่มสูงสุดในอาเซียน

ความต้องการข้าวโพดของเมียนมาได้เพิ่มขึ้นในงอาเซียนในปีนี้ทำให้การส่งออกไปจีนลดลงหลังจากรัฐบาลหยุดการส่งออกข้าวโพดเป็นเวลาเก้าเดือนซึ่งเป็นความพยายามในการควบคุมการค้าผิดกฎหมายที่ชายแดนระหว่างสองประเทศ ไทยนำเข้า 400,000 ตันเทียบกับ 100,000 ตันในปีที่แล้ว การขนส่งไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 – 40,000 ตันในปีนี้จาก 10,000 ตันในปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามการถูกห้ามนำเข้าของจีนทำให้พื้นที่เพาะปลูกปีนี้ลดลงเหลือ 323,000 เฮกตาร์จาก 404,000 เฮกเตอร์ รัฐบาลจำเป็นต้องส่งเสริมการเพาะปลูกและช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งความต้องการจากไทยช่วยยกระดับราคาให้สูงขึ้น ในขณะที่การส่งออกไปประเทศอื่น ๆ มีการปรับตัวลดลง แต่ก็ไม่ได้สูญเสียตลาดจีนไปซะทีเดียว เพราะจีนเคยซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของพม่าถึง 80% ปีที่แล้วส่งออกข้าวโพดจำนวน 1.67 ล้านตันไปยังจีน หากรวมการส่งออกที่ผิดกฎหมายอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านตัน ทุกปีเมียนมาผลิตข้าวโพดได้ประมาณ 3.2 ล้านตันจากพื้นที่ 607,000 เฮกเตอร์ โดยเฉพาะในรัฐฉานและเขตสะกาย และเขตมะกเว โดยรัฐฉานมีพื้นที่เพาะปลูกคิดเป็น 46% ของการเพาะปลูกข้าวโพดทั้งประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/asean-demand-myanmar-maize-rises.html