‘เวียดนาม’ เผยดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง 11 เดือนแรกของปี 64 เพิ่มขึ้น 1.84%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) รายงานว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้น 1.84% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ทั้งนี้เงินเฟ้อในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้น 0.11% จากเดือนก่อน ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีเพิ่มขึ้น 0.85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นับว่าเป็นตัวเลขเงินเฟ้อต่ำสุดตั้งแต่ปี 2554

อย่างไรก็ตาม นาย Nguyen Bich Lam อดีตผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม กล่าวว่าทั้งราคาน้ำมัน ข้าวและอาหาร มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงสิ้นสุดเทศกาลวันตรุษญวน รวมถึงมีความต้องการวัสดุก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น ดัชนี CPI ปีนี้ อาจอยู่ที่ระดับ 2% ซึ่งต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 4%

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1088337/cpi-increases-by-just-184-per-cent-in-11-months.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนามเผย 7 เดือนแรก ‘ดัชนี CPI’ ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 59

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) ได้ออกมาเปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดิอนก.ค.64 เพิ่มขึ้น 0.62% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และ 2.64% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาอาหารที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโควิด-19 ตลอดจนราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นและความต้องการไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน สำหรับดัชนี CPI ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้นั้น อยู่ในระดับต่ำที่สุดหากนับตั้งแต่ปี 2559 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) เดือนก.ค. ลดลง 0.06% แต่เพิ่มขึ้น 0.89% จากเดือนม.ค.-ก.ค. อย่างไรก็ดี นายเหงียน บิช ลัม ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม กล่าวว่ามีแนวโน้มว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ โดยเฉพาะเดือนธ.ค. โดยคาดว่าจะอยู่ในช่วง 3.3-3.6% ต่ำกว่าสมัชชาแห่งชาติตั้งเป้าไว้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/sevenmonth-cpi-lowest-since-2016-gso/205478.vnp

ผู้เชี่ยวชาญชี้เงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำลง 4% ในปีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ระบุว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในช่วงครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้น 1.47% นับว่าเป็นการเติบโตต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2559 และยังคงรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 4% ปีนี้ การเติบโตของเงินเฟ้อดังกล่าว เป็นผลมาจากราคาเชื้อเพลิงและราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ดัชนี CPI ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มาจากราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ดัชนี CPI โดยรวมเพิ่มขึ้น 0.61% นอกจากนี้ ความต้องการเดินทางและการท่องเที่ยวของผู้คนลดลง เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 ทำให้ค่าแพคเกจทัวร์ ลดลง 2.85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/expert-believes-inflation-could-fall-below-4-this-year-869965.vov

เวียดนามเผยดัชนีราคาผู้บริโภค เม.ย. ลดลง 0.04%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ระบุว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนเมษายน ลดลง 0.04% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เพิ่มขึ้น 1.27% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมปีที่แล้ว สาเหตุส่วนใหญ่ที่ดัชนีดังกล่าวปรับตัวลดลง เนื่องมาจากปริมาณสินค้าที่ล้นตลาดและความต้องการบริโภคไฟฟ้าและน้ำอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ ดัชนี CPI เดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่ ดัชนี CPI  เฉลี่ยในช่วง 4 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้น 0.89% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559

ที่มา :https://english.vov.vn/en/economy/cpi-in-april-records-decline-of-004-853791.vov

ธนาคารกลางกัมพูชารายงานสถานการณ์ดัชนีราคาผู้บริโภค

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ภายในประเทศประจำเดือนธันวาคม 2020 อยู่ในเกณฑ์ชะลอตัวแสดงถึงความมีเสถียรภาพมากขึ้นในส่วนของราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของกำลังซื้อภายในท้องถิ่น โดยธนาคารกลางกล่าวว่า CPI ของเดือนธันวาคมลดลงเหลือร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลง และราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดไว้ โดยอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันอยู่ที่ 4,069 เรียลต่อดอลลาร์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนพฤศจิกายน 2020 แม้จะมีการระบาดของโควิด-19 ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลกัมพูชาได้ทำงานอย่างหนักในการลดอำนาจค่าเงินดอลลาร์ลงเพื่อทำการควบคุมและเป็นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในประเทศในระยะถัดไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50832887/central-bank-december-data-indicates-an-increase-in-purchasing-power/

เวียดนามคาดดัชนีราคาผู้บริโภค ปี 64 ต่ำกว่า 4%

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนาม ถือเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อที่สำคัญ และคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 4% ในปี 2564 เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศจะฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ซึ่งในปี 2562 ที่ผ่านมา ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาลได้อย่างรวดเร็ว ทำให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ 2.91% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในส่วนของดัชนี CPI ปี 2563 ขยายตัว 3.23 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้จากสมัชชาแห่งชาติที่ 4% ในขณะที่ อัตราเงินเฟ้อขยายตัว 2.31% ทั้งนี้ ถึงแม้จะเผชิญกับการระบาดของโรคไวรัสครั้งใหญ่ของโลก ไข้หวัดหมูแอฟริกันและภัยธรรมชาติในปี 2562 แต่ว่าเวียดนามยังคงประสบความสำเร็จในแง่ของเศรษฐกิจ การดำเนินงานที่ดีของภาครัฐฯ และการควบคุมทางด้านอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ เรื่องวัคซีนโควิด-19 และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและในประเทศ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-consumer-prices-forecast-to-stay-below-4-in-2021-315763.html

ดัชนี CPI เวียดนาม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือน ก.ค.

จากรายงานเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ทางสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ในเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน และร้อยละ 3.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสินค้าโภคภัณฑ์หลัก 9 จาก 11 รายการที่ราคาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.91 ขณะเดียวกัน ที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น 0.47, วัฒนธรรม บันเทิงและการท่องเที่ยว (0.3%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.17%) แต่ราคาในภาคร้านอาหารและงานบริการ รวมถึงไปรษณีย์และโทรคมนาคม ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.18 และ 0.02 ตามลำดับ ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น เกิดจากราคาน้ำมันเบนซิน ก๊าซ ไฟฟ้าและน้ำที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับราคาทองคำในประเทศอยู่ที่ประมาณ 50 ล้านด่ง (2,160 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตำลึง ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสด พลังงาน บริการสุขภาพและการศึกษา) ในเดือนกรกฎาคมและช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.31 และ 2.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/770319/consumer-price-index-up-04-per-cent-in-july.html

เวียดนามเผยช่วงครึ่งปีแรก ดัชนี CPI ทำสถิติสูงสุด 5 ปีที่ผ่านมา

สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ถือว่าสูงสุดตั้งแต่ปี 2559-2563 ทั้งนี้ ดัชนี CPI เดือนมิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเดือนที่แล้ว เป็นผลมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันและเนื้อสุกร อย่างไรก็ตาม ดัชนี CPI เดือนมิ.ย. ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.59 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. ซึ่งต่ำที่สุดในช่วงปี 2559-2563 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสสองของปีนี้ ดัชนี CPI ลดลงร้อยละ 1.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว นอกจากนี้ ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นร้อยละ 1.71 เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย. เหตุจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 และข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน

ที่มา : http://dtinews.vn/en/news/018/68638/cpi-records-five-year-high-in-h1.html

“โควิด” ฉุดความเชื่อมั่นดิ่งเหว คลายล็อกดาวน์สะพัด 2 แสนล้าน

ดัชนีความเชื่อมั่นไทยติดลบในรอบเกือบ 22 ปี หลังโควิด-19 ฉุดเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรก 2563 ติดลบ 10% เข้าสู่ภาวะถดถอยเชิงเทคนิค ส่วนผลการคลายล็อกดาวน์ระยะที่ 1 ช่วยเงินสะพัด 6-9 หมื่นล้าน ลุ้นเศรษฐกิจฟื้นไตรมาส 4 ายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเมษายน 2563 อยู่ที่ระดับ 47.2 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2563 ที่อยู่ในระดับ 50.3 ซึ่งติดลบต่อเนื่องต่ำสุดในรอบ 259 เดือน หรือ 21 ปี 7 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 39.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำอยู่ที่ระดับ 46.0 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 56.4 โดยเป็นผลจากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อเศรษฐกิจ ธุรกิจ และรายได้โดยรวม และการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อบริหารจัดการและควบคุมสถานการณ์ ทั้งนี้การรีสตาร์ตธุรกิจส่งผลต่อธุรกิจ การจับจ่ายใช้สอยในประเทศ มาตรการช่วยเหลือของรัฐ การกระตุ้นเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน จะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เพราะจากปัญหาปัจจุบัน การล็อกดาวน์ทำให้เม็ดเงินหายไปจากระบบวันละ 10,000 ล้านบาท จากการชะลอจับจ่ายของประชาชนในทุกกลุ่มสินค้า การท่องเที่ยว สินค้าจำเป็น สินค้าฟุ่มเฟือย สำหรับแนวโน้มการปลดล็อกให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศเป็นสัญญาณที่น่าจะเกิดขึ้นได้ในไตรมาส 3 และถ้าสถานการณ์ของการปลอดเชื้อโควิด-19 ในเอเชีย และทั้งโลกดีขึ้น คาดว่าไตรมาส 4 นักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะเริ่มกลับมา 6 ล้านคน หรือเดือนละประมาณ 2 ล้านคน ขึ้นอยู่กับมาตรการของรัฐ โดยจะทำให้การท่องเที่ยวไทยฟื้นเร็วขึ้น

ทีมา: https://www.prachachat.net/economy/news-462105

INFOGRAPHIC : เวียดนาม เผย CPI เดือน เม.ย.63 หดตัว 1.54% ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2559-2563

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเมษายน 2563 หดตัว 1.54% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2563

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cpi-down-154-lowest-in-20162020-period/172720.vnp