ปีงบฯ 63 –64 เมียนมาส่งออกสัตว์น้ำลดฮวบ 8.6%

กระทรวงพาณิชย์ .เผย มูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำของเมียนมาร์ในปีงบประมาณ 2563-2564 (ต.ค.-63-ก.ย.64) ลดลง 784.889 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อน ต่ำกว่าถึง 74 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกมูลค่า 858.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2562-2563 สหพันธ์ประมงแห่งเมียนมา (MFF) พยายามขยายการส่งออก แม้มีการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบในการส่งออกทางทะเล การปิดพรมแดน และความไม่แน่นอนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ด้าน Mawlamyine Commodity Center ระบุ ราคาปลาลดลง แต่ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น เช่น อวนจับปลา ราคาน้ำมัน ควบคู่ไปกับค่าเงินจัตที่อ่อนค่าของตลาดฟอเร็กซ์ MFF จึงหันไปมองตลาดบังคลาเทศและร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้การส่งออกเติบโตอย่างยั่งยืน ณ ปัจจุบันการส่งออกประมงผ่านพรมแดนจีน-เมียนมาต้องหยุดชะงักหลังผลกระทบของโควิด-19  ซึ่งตลาดจีนคิดเป็นร้อยละ 65 ของการส่งออกสินค้าประมงทั้งหมดของเมียนมา :ซึ่ง MFF ระบุว่ามีเพียงข้อตกลงแบบ G2G เท่านั้นที่สามารถจัดการกับปัญหาการส่งออกสินค้าประมงได้ ทั้งนี้เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปลา กุ้ง และปู ไปยังตลาดใน 40 ประเทศ ได้แก่ จีน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไทย และประเทศในสหภาพยุโรป

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-aquaculture-exports-down-by-8-6-in-2020-2021fy/

ราคาหัวหอมในประเทศพุ่ง ผลจากความต้องการของบังคลาเทศเพิ่มขึ้น

ความต้องการหัวหอมเมียนมาที่เพิ่มขึ้นจากบังกลาเทศ ทำให้ราคาหัวหอมในตลาดเมียนมาสูงขึ้น ในเดือนมี.ค.64 ราคาอยู่ระหว่าง 250-300 จัตต่อ viss (1 viss = 1.6 กิโลกรัม) จากนั้นราคาก็แตะระดับต่ำสุดที่ 200 วอนต่อครั้ง จึงไม่สามารถส่งออกไปยังจีนได้เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ด้านบังคลาเทศมักจะนำเข้าหัวหอมจากอินเดีย แต่ในตอนนี้อินเดียได้ระงับการส่งออกหัวหอม ดังนั้นบังคลาเทศจึงหันนำเข้าจากเมียนมาแทน ส่งผลให้ ตอนนี้ราคาหัวหอมได้เพิ่มขึ้นเป็น 500 จัตต่อ viss ปัจจุบันสต๊อกหัวหอมในตลาดมัณฑะเลย์ลดน้อยลง ดังนั้นราคาค้าปลีกจึงอยู่ที่ 700 จัตต่อ viss ปัจจุบันหัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มะกเว ย่างกุ้ง เนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/domestic-onion-price-rises-due-to-demand-from-bangladesh/#article-title

กัมพูชาส่งออกพริกไทยเพิ่มขึ้นเกือบ 563%

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกพริกไทยมากกว่า 27,316 ตัน เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 563 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อ้างอิงจากข้อมูลของกระทรวงเกษตรกัมพูชา โดยพริกไทยจำนวนนี้ส่งออกไปกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ เวียดนาม เยอรมนี ไทย ฝรั่งเศส เบลเยียม เป็นสำคัญ ตามรายงานสถิติ เวียดนามถือเป็นผู้นำเข้าพริกไทยรายใหญ่ของกัมพูชาด้วยจำนวน 26,686 ตัน ตามด้วยเยอรมนี 314 ตัน ไทย 180 ตัน ฝรั่งเศส 31 ตัน และเบลเยียมเกือบ 16 ตัน ซึ่งพริกไทยถูกปลูกอยู่ในหลายพื้นที่ของกัมพูชา โดยเฉพาะในจังหวัดกำปงจาม ตบูงขมุม กำปอต และแกบ ซึ่งพริกไทยที่ถูกปลูกในจังหวัดกำปอตถือเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาสูง โดยพริกไทยกัมพูชาได้รับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากสหภาพยุโรป (EU) ในปี 2016 และจากองค์การการค้าโลก (WTO) ในปี 2010

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50947511/pepper-exports-up-nearly-563-percent/

กระทรวงเกษตรและป่าไม้ เตรียมส่งออกพืชผลไปจีน

กระทรวงเกษตรและป่าไม้หวังว่าจะใช้ประโยชน์จากการรถไฟลาว-จีน ซึ่งจะเปิดดำเนินการในเดือนธันวาคม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรกล่าวว่ากระทรวงกำลังแนะนำให้หน่วยงานด้านการเกษตรปรับปรุงคุณภาพและผลผลิตของพืชผล 9 ชนิดเพื่อให้สามารถขายให้กับจีนได้หลังจากที่รัฐบาลลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัทจีนในเดือนพฤษภาคมปีนี้ มีมูลค่ารวมกันกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อการรถไฟลาว-จีนเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม จะเป็นเส้นทางเชื่อมหลักระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งคาดว่าจะปรับปรุงการเชื่อมโยงทางการค้าและสนับสนุนกลยุทธ์ของสปป.ลาว โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าระบุว่าตั้งแต่ปี 2558-2562 มูลค่าการส่งออกของลาวไปยังจีนเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีและเมื่อรถไฟเริ่มดำเนินการ ก็จะเพิ่มมูลค่าการค้าให้ทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นอีกระดับ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent /FreeConten_Ministry_195_21.php

ในช่วง 8 เดือน เวียดนามส่งออกไปกัมพูชาเพิ่มขึ้น

เวียดนามส่งออกสินค้าไปยังกัมพูชามูลค่ารวม 3.15 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2021 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อย่างไรก็ตาม เวียดนามได้รายงานถึงการขาดดุลการค้ากับกัมพูชาอยู่ราว 354.4 ล้านดอลลาร์ ในช่วงดังกล่าว มีสาเหตุหลักจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์หลัก 6 รายการ จากกัมพูชาเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการนำเข้า เม็ดมะม่วงหิมพานต์และยางพาราเพิ่มขึ้นสูงสุด ซึ่งเวียดนามนำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์จากกัมพูชาในช่วง 8 เดือนแรก เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เท่าเมื่อเทียบปีต่อปีคิดเป็นมูลค่า 1.83 พันล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกัน การนำเข้ายางของเวียดนามจากประเทศเพื่อนบ้านนั้นสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 5.3 เท่า ซึ่งอยู่ที่มูลค่า 821.8 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50942886/vietnams-exports-to-cambodia-up-16-7-percent-in-eight-months/

อินเดียยืดเวลานำเข้าถั่วแระเมียนมา หนุนราคาพุ่งเป็น 2 เท่า !

ผู้ค้าในถั่วมัณฑะเลย์ เผย ราคาของถั่วแระเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาหลังจากข่าวการขยายเวลาการนำเข้าของอินเดียแพร่กระจายออกไป ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวของเดือนมีนาคม ราคาถั่วแระอยู่ที่ 6,800 จัตต่อ 3 ถุงตะกร้า หลังจากข่าวยืดเวลาการนำเข้า ราคาพุ่งขึ้นเป็น 135,000 จัตต่อถุง โดยอินเดียขยายระยะเวลาการนำเข้าจากเดือนตุลาคมเป็นธันวาคม 64 นอกจากนี้ ยังมีผลมาจากค่าเงินจัตที่อ่อนค่าและความต้องการที่ที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรพอใจกับราคาที่เพิ่มขึ้น โดยตลาดถั่วแระเมียนมาอาศัยอินเดียเป็นหลัก การปลูกถั่วแระส่วนใหญ่มักพบในตอนบนของภูมิภาค เช่น มะกเว มัณฑะเลย์ และซะไกง์ ซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ทั้งนี้สภาพอากาศต้องเอื้ออำนวยจะทำให้ถั่วแระเติบโตและให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-prices-double-on-extension-of-import-validity-period-by-india/?__cf_chl_managed_tk__=pmd_B7qlq6wvmcQXIk4pOwFeaKVO9EufyEzJ3z4KoOpIf7o-1632320088-0-gqNtZGzNA5CjcnBszTAl#article-title

ญี่ปุ่นติดอันดับ 3 ของประเทศที่เมียนนาส่งออกสินค้า ในปีงบประมาณปัจจุบัน

ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เผย มูลค่าการค้าระหว่างเมียนมาและหุ้นส่วนการพัฒนาของญี่ปุ่นมีมูลค่ามากกว่า 1.049 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณปัจจุบัน (2563-2564) และญี่ปุ่นถูกจัดให้เป็นคู่ค้าส่งออกรายใหญ่อันดับ 3 ของเมียนมา การส่งออกของเมียนมาร์ไปญี่ปุ่นในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) อยู่ที่ประมาณ 768 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ามีเพียง 281.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์จากทะเล ข้าว งาดำ ถั่วเขียว ยางและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในทางกลับกันด้านการนำเข้าจะเป็น เครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ยา รถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ขณะที่ปีงบประมาณนี้ มีบริษัทสามแห่งจากญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติให้ลงทุนในประเทศเริ่มต้น 518 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 34.7% ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/japan-ranks-myanmar-third-largest-export-country-this-fy/?__cf_chl_managed_tk__=pmd_6TWYMCUi3RM5JgxKjHymCjuLm_A_yPQOvBsl04lnqxE-1632277432-0-gqNtZGzNAvujcnBszRNl

FTA กู้วิกฤตดันส่งออกสินค้าเกษตร 7 เดือนปี 64 ทะลุ 1 หมื่นล้าน!

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงข้อมูลการส่งออกสินค้าเกษตร (กสิกรรม ประมง และปศุสัตว์) ไป 18 ประเทศคู่เจรจา FTA ช่วง 7 เดือนปี 64 ทะลุ 11,664.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 33% ความตกลงการค้าเสรี (FTA) มีส่วนสำคัญในการสร้างแต้มต่อทางการค้าให้กับสินค้าเกษตรของไทยในตลาดโลก เนื่องจากประเทศที่มี FTA กับไทยได้ยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้าเกษตรที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่แล้ว ทำให้สินค้าไทยได้เปรียบด้านราคาและต้นทุนทางภาษีเมื่อต้องแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่น ช่วยให้สินค้าเกษตรมีการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้พบตลาดเกาหลีใต้โตแรง มั่นใจ! แนวโน้มส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง หลังเศรษฐกิจตลาดสำคัญฟื้นตัว

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-757862

‘เวียดนาม’ เผยทิศทางการส่งออกขึ้นอยู่กับการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19

ตามรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่าสิ้นปีนี้ ยอดการส่งออกสูงถึง 313 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี หากเวียดนามสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ ขณะที่ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมียอดการส่งออก/นำเข้ารวม ประมาณ 242.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 27.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นผลมาจากช่วงครึ่งแรกของปีเติบโตได้ดีและมั่งคง ทั้งนี้ สินค้าที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ โทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วน 35.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 33.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี อย่างไรก็ดี การส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี เนื่องจากความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าการระบาดของโควิดระลอกที่ 4 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหลักและศูนย์กลางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศ ตลอดจนก่อให้เกิดการอพยพของคนงานจำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1026158/export-outlook-depends-on-virus-control.html

กัมพูชาส่งออกมะม่วงสดเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 251 ในช่วง 8 เดือนแรกของปี

ทางการกัมพูชารายงานถึงการส่งออกมะม่วงสดภายในประเทศไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากกว่าร้อยละ 251 หรือคิดเป็นกว่า 163,828 ตัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปี ตัวเลขดังกล่าวรายงานโดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) ซึ่งในเวลาเดียวกันกัมพูชาได้ทำการส่งออกแยมมะม่วงไปอีกกว่า 14,087 ตัน และน้ำเชื่อมจากมะม่วงกว่า 4,000 ตัน คิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 195 และ ร้อยละ 79 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของมะม่วงกัมพูชา ได้แก่ เวียดนาม ไทย จีน เกาหลี ฮ่องกง สิงคโปร์ คูเวต ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา คาซัคสถาน และรัสเซีย เป็นต้น ซึ่งกัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกมะม่วงมากกว่า 100,000 เฮกตาร์ และสามารถสร้างผลผลิตได้ประมาณ 1.5 ล้านตันต่อปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50931274/fresh-mango-exports-up-251-percent-in-first-eight-months/