ชวน หารือ ปธ.สภาเวียดนาม เร่งแก้ปัญหาส่งออกผลไม้ไทยไปจีน ช่วยเกษตรกร

นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า จากรายงานการประชุมหารือทวิภาคีระหว่าง นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กับ นายเวือง ดิ่งห์ เหวะ (H.E.Mr.Vung Finh hue) นายเวือง ประธานสภาแห่งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา มีการหารือเรื่องความร่วมมือและกำจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างไทย-เวียดนาม โดยนายชวนได้หารือเรื่องความเดือดร้อนของเกษตรกรในการส่งออกผลไม้จากไทยไปจีน เพราะตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา เป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลไม้ของไทยและจะมีการส่งผลไม้จากไทยไปจีนมากกว่าช่วงเวลาอื่นของปี แต่มีปัญหาคือรถบรรทุกผลไม้ติดสะสมที่ด่านจังหวัดหล่าง เชิน (Lang Son) ของเวียดนามที่จะเข้าประเทศจีน จนทำให้ผลไม้เน่าเสียเกษตรกรเดือดร้อน ดังนั้น นายชวน จึงขอให้ประธานสภาแห่งชาติเวียดนามได้พิจารณาหาแนวทางแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าว

ที่มา : https://www.matichon.co.th/politics/news_2927653

ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมา โตทะลุ 25%

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ระบุ การส่งออกสินค้าเกษตรในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมา (1 ต.ค.63 – 20 ส.ค.64) ของปีงบประมาณ 63-64 มีมูลค่า 4.30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พุ่งขึ้น 25% ท่ามกลางการปิดด่านชายแดนสำคัญอย่างด่านมูเซ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ว่าการส่งออกในกลุ่มอื่น ๆ มีแนวโน้มลดลงเป็นผลมาจากมาตรการคุมเข้มการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในแถบชายแดนและต้นทุนการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงตัวเลขเพิ่มขึ้น 877 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่า 3.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน โดยในภาคการส่งออก อุตสาหกรรมการเกษตรมีอนาคตที่สดใสที่สุด โดยคิดเป็น 34% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็นหลัก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-agro-exports-grow-25-per-cent-as-of-20-aug/

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.7 ในช่วง 8 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรปริมาณรวม 5.54 ล้านตัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 89.7 จากปริมาณ 2.92 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ซึ่งกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปยัง 66 ประเทศ โดยสร้างรายรับรวม 3.23 พันล้านดอลลาร์ จากการส่งออกในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคมของปีนี้ ซึ่งสินค้าเกษตรหลักของกัมพูชา ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง มะม่วง กล้วยสด พริกไทย เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพด น้ำมันปาล์ม และยาสูบ เป็นต้น โดยจีนยังคงเป็นผู้ซื้อข้าวสารรายใหญ่ของกัมพูชา โดยคิดเป็นกว่าร้อยละ 48 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของกัมพูชา หรือคิดเป็นจำนวน 165,612 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50927787/cambodias-agricultural-exports-up-89-7-percent-in-first-8-months-netting-3-23-billion-in-revenue/

9 เดือน เมียนมาส่งออกไปญี่ปุ่น แตะ 694 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63 – มิ.ย.64) ของปีงบประมาณ 63-64 แตะระดับ 694.964 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เมียนมาได้ดุลการค้า 271.7 964 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 966.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณปัจจุบัน ดังนั้นญี่ปุ่นจึงถูกจัดเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดันสามของเมียนมาร์ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทางทะเล ข้าว งาดำ ถั่วเขียว ยางและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้านการนำเข้าจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์เ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ยา รถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) พบว่า ปีงบประมาณนี้ มีบริษัทสามแห่งจากญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติให้ลงทุน 518 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเมียนมา ซึ่งญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 34.7% ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา อีกทั้งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นหรือ JICA ได้เสนอเงินกู้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ หรือ ODA (Official Development Assistance) เพื่อพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/exports-to-japan-top-694-mln-in-nine-months/#article-title

ราคาส่งออกถั่วแระเมียนมา มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น

เมื่อปลายเดือนส.ค.64 ราคาถั่วแระ เพิ่มขึ้นกว่า 1,320,000 จัตต่อตัน พุ่งจากช่วงเดือนเม.ย.64 ที่ราคา 1,000,000 จัตต่อตัน ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นอินเดีย และมีบางส่วนส่งออกไปยังสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 63 ถึง 13 ส.ค. 64 ของปีงบประมาณ 63-64 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกถั่วแระคิดเป็น 183,507 ตัน สร้างรายได้ 122.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 60 เป็นต้นมาอินเดียกำหนดโควตานำเข้าถั่ว ซึ่งรวมถึงถั่วดำและถั่วแระ เมียนมาสามารถส่งออกถั่วดำ (urad) จำนวน 250,000 ตันและถั่วแระจำนวน 100,000 ตันภายใต้ข้อตกลง G-to-G (รัฐบาลต่อรัฐบาล) ในปีงบประมาณ 64-65 และปี 68-69 ตาม MoU สองประเทศที่ลงนามไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 64 ขณะที่ผลผลิตถั่วดำของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 400,000 ตันต่อปีและถั่วแระ 50,000 ตันต่อปี ทั้งนี้เมียนมาส่งถั่วพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 1.6 ล้านตัน โดยเฉพาะถั่วดำ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปยังต่างประเทศ โดยในปีงบประมาณ 62-63 มีการส่งออกไปแล้วกว่า 1.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-price-remains-on-upward-trend/

กัมพูชาเร่งหาตลาดส่งออกใหม่เพื่อรองรับผลผลิตลำไยภายในประเทศ

เกษตรกรชาวกัมพูชาคาดการว่าจะเก็บเกี่ยวลำไยในฤดูได้จำนวน 111,000 ตัน ในปีนี้ โดยกัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 13,600 เฮกตาร์ ในพื้นที่ 14 จังหวัด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่เพราะปลูกพร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยวแล้ว ซึ่งกัมพูชาจะส่งออกลำไยในรูปแบบอบแห้งหรือบรรจุกระป๋องในน้ำเชื่อมเป็นสำคัญ โดยกระทรวงเกษตรพยายามเพิ่มยอดขายด้วยการเปิดตลาดส่งออกใหม่มากขึ้น ซึ่งลำไยถูกกำหนดให้เป็นผลไม้กัมพูชาชนิดที่ 3 ที่จะส่งออกไปยังประเทศจีนหลังจากก่อนหน้าได้ทำการส่งออก กล้วยและมะม่วง ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไปแล้ว โดยจีนตกลงที่จะเริ่มนำเข้ามะม่วงของกัมพูชาจากโรงงานแปรรูป 5 แห่ง และจากสวน 37 แห่ง ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืชที่ทางการกำหนดไว้สำหรับการส่งออก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50923413/new-export-markets-will-be-needed-to-absorb-the-looming-longan-surplus-from-new-yield-forecast/

ปีงบฯ 64 ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมาพุ่ง ! 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นเป็น 4.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) ของปีงบประมาณ 63-64 แม้ว่าการส่งออกสินค้าอื่นๆ มีแนวโน้มลดลงจากผลกระทบของโควิด-19 สะท้อนการเพิ่มขึ้น 913.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้ ซึ่งการส่งออกเมื่อปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งมีมูลค่า 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ส่งผลกระทบความต้องการจากต่างประเทศในกลุ่มสินค้าอื่นๆ สินค้าเกษตร ประมง ปศุสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ โดยการส่งออกของอุตสาหกรรมการเกษตร คิดเป็น 35% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกที่สำคัญในภาคเกษตร ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล ฯลฯ ส่วนตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็นหลัก ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์กำลังเร่งช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา เช่น ต้นทุนการผลิต การจัดหาเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการเพาะ และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agro-exports-surge-to-us-4-2-bln-during-oct-july-period/

‘เวียดนาม’ ส่งออกโทรศัพท์และชิ้นส่วนพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการส่งออกโทรศัพท์และชิ้นส่วน 29.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยโทรศัพท์และชิ้นส่วนยังคงเป็นสินค้าส่งออกชั้นนำของเวียดนาม ด้วยสัดส่วน 15.8% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศ ตั้งแต่เดือนม.ค.-ก.ค. รองลงมาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบที่มีมูลค่า 27.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ตลาดส่งออกรายใหญ่ของเวียดนาม ได้แก่ จีน สหรัฐฯ ยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ อีกทั้ง เวียดนามจำเป็นต้องแสวงหาตลาดส่งออกไปยังตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ อาทิ แอฟริกา ละตินอเมริกา ตะวันออกกลางและอินเดีย เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-exports-of-phones-components-continue-to-surge/206250.vnp

กัมพูชาส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 37 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.26 ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค. หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 3.8 พันล้านดอลลาร์ ประกอบด้วยสินค้าประเภทเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์การเดินทางเป็นหลัก โดยกัมพูชาทำการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯมูลค่ารวมกว่า 209 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เป็นยานพาหนะ อาหารสัตว์ และเครื่องจักร คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.62 จากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2020 ซึ่งในระยะถัดไปสหรัฐฯ จะขยายระบบ Generalized System of Preferences (GSP) โดยทำการลดภาษีสินค้านำเข้าจากกัมพูชา เป็นการช่วยกระตุ้นการส่งออกของกัมพูชา ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้เมื่อเดือนที่แล้วว่าเศรษฐกิจกัมพูชามีโอกาสจะเติบโตร้อยละ 2.5 ในปีนี้ ภายใต้การส่งออกของสินค้าเกษตรที่ยังคงแข็งแกร่ง แต่การท่องเที่ยวจะยังคงไม่ฟื้นตัวจนกว่าอัตราการฉีดวัคซีนภายในประเทศจะถึงร้อยละ 80 ของประชากร ที่ทางกัมพูชาได้กำหนดไว้ในการเปิดประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50914249/exports-to-us-jump-more-than-37-percent-imports-also-gain-january-to-july/

เวียดนามเผยยอดส่งออกสินค้าเกษตรและประมง ม.ค.-ก.ค. พุ่ง 27%

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เผยว่าเดือนม.ค.-ก.ค. มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง อยู่ที่ 28.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่ามากกว่า 12.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบเป็นรายปี  ในขณะที่ ยอดการส่งออกสินค้าป่าไม้และประมง 10.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ พุ่ง 54% และกว่า 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ พุ่ง 12% ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเดือนก่อน กลุ่มสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ พริกไทย ผักผลไม้ กุ้ง ปลาสวายและงานไม้ โดยเฉพาะการส่งออกยางพารา เพิ่มขึ้น 33.6% ในแง่ของปริมาณและ 73.6% ในแง่ของมูลค่า อย่างไรก็ดี สหรัฐฯ เป็นผู้ซื้อสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 8.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาจีนและญี่ปุ่น มง ม.ค.-ก.ค. พุ่งต้นนั้น

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/83551/agro-forestry-fishery-exports-up-27-in-jan-jul.html