สิงหาคมที่ผ่านมาการส่งออกข้าวกัมพูชาลดลงอย่างมาก

จากรายงานของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงการส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.05 ที่ 448,203 ตันในช่วงแปดเดือนแรกของปี รายงานระบุว่าจนถึงขณะนี้กัมพูชาส่งออกข้าวได้ 448,203 ตันมื่อเทียบกับ 342,045 ตันในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 อย่างไรก็ตามในเดือนสิงหาคมเพียงอย่างเดียวการส่งออกข้าวกัมพูชาร้อยละ 22 มีจำนวน 130 ตันเมื่อเทียบกับ 34,032 ตันในเดือนสิงหาคม 2562 ในการส่งออกข้าวทั้งหมด 352,802 ตัน เป็นข้าวหอม 89 ตัน ข้าวขาว 699 ตัน ข้าวนึ่ง 5,679 ตัน และข้าวอื่นๆ 23 ตัน จีนเป็นตลาดนำเข้าอันดับต้นของกัมพูชา กัมพูชาส่งออกประมาณ 159,253 ตันในช่วง 8 เดือนแรกตามด้วยฝรั่งเศส 56,964 ตัน อย่างไรก็ตามในกลุ่มประเทศอาเซียน มาเลเซีย นำเข้าจากกัมพูชาประมาณ 23,201 ตัน เวียดนาม 12,836 ตัน บรูไน 10,500 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50759273/cambodias-rice-exports-drop-drastically-in-august/

จีนเตรียมจัดจ่ายวัคซีน COVID -19 ให้ประเทศในลุ่มน้ำโขงเมื่อพัฒนาสมบูรณ์

นายหลี่เค่อเฉียงนายกรัฐมนตรีจีนเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือล้านช้าง – แม่โขง (LMC) ครั้งที่สามผ่านลิงก์วิดีโอซึ่งตามรายงานในซินหัว นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า “จีนจะให้ความสำคัญกับการเข้าถึงประเทศในลุ่มน้ำโขงเพื่อจัดหาวัคซีน COVID-19 เมื่อพัฒนาจนสมบูรณ์แบบ” จีนตั้งใจที่จะจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในสปป.ลาว ภายใต้กรอบของกองทุนพิเศษ LMC และจะจัดหาวัสดุป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 รวมถึงการสนับสนุนมาตราฐานทางการแพทย์ที่ดีขึ้น ในที่ประชุมยังได้มีการเสนอแนวทางการร่วมมือด้านอื่นๆ ที่จะเป็นผลดีต่อประเทศในกลุ่มแม่น้ำโขลง ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปันข้อมูลอุทกวิทยาของแม่น้ำโขลงรวมถึงการค้าและการท่องเที่ยว ในส่วนของสปป.ลาวเองยังคงได้รับสนับสนุนในการขยายเส้นทางรถไฟสปป.ลาว-จีนที่จะเชื่อมต่อมายังจีนและไทยได้ เป็นส่วนช่วยในการส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาคและจะเป็นเส้นทางที่สำคัญด้านการค้าและการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/08/26/china-to-provide-mekong-countries-with-covid-19-vaccine/

ประเทศกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง-จีน ยกย่องผลสำเร็จของความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง (MLC)

ผู้นำของประเทศลุ่มน้ำโขงและจีนกล่าวว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับความสำเร็จของความร่วมมือในช่วงสองปีที่ผ่านมาซึ่งช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของคนในภูมิภาค การประเมินดังกล่าวมีขึ้นในการประชุมสุดยอดความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง (MLC) ครั้งที่สามซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายในกรอบ MLC (2018-2022) ตลอดจนการดำเนินโครงการผ่านกองทุนพิเศษ MLC ที่จีนสนับสนุนด้วยเงิน 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่ง ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สปป.ลาวถือเป็นประเทศที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้อย่างมากจากการเกิดขึ้นของหลายโครงการในสปป.ลาวที่ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาชนบทและการลดความยากจน ในการประชุมผู้นำยังได้มีการหารือในหัวข้อที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในการปราบปราม COVID-19 และแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการระบาดใหญ่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Mekong_164.php

ทุนญี่ปุ่น เบนเข็มสู่อาเซียน ใครได้ประโยชน์?

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (มิติ) ของญี่ปุ่น ได้ประกาศว่ามีกลุ่มบริษัทญี่ปุ่นรวม 87 แห่งมีความประสงค์ย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ให้เงินอุดหนุนในการโยกย้ายหรือกระจายการลงทุนในวงเงิน 70,000 ล้านเยน หรือประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาฐานการผลิตในจีน และเพื่อให้ญี่ปุ่นสามารถบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สาเหตุการย้ายฐานการผลิตของบริษัทญี่ปุ่นออกจากจีน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม หลายอุตสาหกรรมต้องชะงักงันจากการปิดประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ส่งผลกระทบต่อระบบซัพพลายเชน ทั้งนี้ 87 บริษัทญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตออกจากจีนแล้วไปไหน พบว่า 57 บริษัทจะย้ายการดำเนินการกลับไปญี่ปุ่น โดยใช้วัสดุท้องถิ่นทั้งหมด ขณะที่อีก 30 บริษัทจะย้ายฐานการผลิตมายังอาเซียน ซึ่งพบว่าจะย้ายมาเวียดนาม 15 บริษัท อาทิ บริษัทผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดไดร์ฟ บริษัทผลิตแร่เหล็กหายาก, ไทย 6 บริษัท ได้แก่ บริษัทผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อ บริษัทผลิตโลหะผสม บริษัทผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ บริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ บริษัทผลิตเสื้อกาวน์, มาเลเซีย 4 บริษัท อาทิ บริษัทผลิตถุงมือยาง, ฟิลิปปินส์ 3 บริษัท, ลาว 2 บริษัท, อินโดนีเซีย 1 บริษัท และเมียนมา 1 บริษัท

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/894038?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic=10473&index

จีนและกัมพูชาอาจจะลงนาม FTA ภายในสิ้นเดือนสิงหาคม

การลงนาม FTA ระหว่างจีนกับกัมพูชาที่อาจจะเกิดขึ้นภายในสิ้นเดือนสิงหาคม จะเพิ่มรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากเดิมอีกราว 340 รายการ ที่จะส่งออกไปยังประเทศจีนภายใต้ข้อตกลง โดยกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าสินค้าส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเกษตรและแปรรูปสินค้าทางการเกษตร รวมถึงสินค้าที่นอกเหนือจากที่กัมพูชาได้รับ FTA จากกลุ่มประเทศอาเซียนและจีน ซึ่งผลิตภัณฑ์ 340 รายการ จะประกอบด้วยพริกไทย พริก สับปะรด ผัก ผลไม้ ปลา เนื้อสัตว์ (รวมทั้งแปรรูป) ธัญพืช ปู อาหารทะเล และผลิตภัณฑ์กระป๋อง อื่นๆ โดยกว่าร้อยละ 95 ของสินค้าเหล่านี้จะไม่ต้องเสียภาษี และในส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 5 จะทยอยลดหย่อนภาษีลงมาภายในระยะเวลา 10 ปี รวมถึงการลงนามบน FTA ในครั้งนี้ยังคาดว่าจะกระตุ้นการแปรรูปสินค้าทางการเกษตรและการลงทุนในภาคส่วนนี้ โดยเฉพาะจีนและบริษัทอื่น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากผลประโยชน์ของข้อตกลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50755511/china-cambodia-fta-signing-may-be-inked-by-late-august/

จีนบริจาคเวชภัณฑ์แพทย์ต่อต้านการแพร่ระบาด COVID-19 แก่สปป.ลาว

รัฐบาลจีนได้บริจาคชุดเวชภัณฑ์ต่อต้านการแพร่ระบาด COVID-19 โดยขนส่งจากเมืองคุนหมิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเมื่อเช้าวันศุกร์มุ่งหน้าไปยังสปป.ลาว ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วย รถพยาบาล เครื่องเครื่องช่วยหายใจและเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด Hu Baoguo รองนายกเทศมนตรีเมืองคุนหมิงกล่าวว่า “นครเวียงจันทน์และภาคส่วนต่างๆของสังคมได้บริจาคเวชภัณฑ์มูลค่า 261,000 หยวน (37,500 เหรียญสหรัฐ) ให้แก่คุนหมิงนับตั้งแต่มีรายงานการแพร่ระบาดครั้งแรกในจังหวัดเราจะจดจำและรักมิตรภาพของความทุกข์ยากที่มีร่วมกันนี้ตลอดไปและหวังว่าเวชภัณฑ์จะสามารถช่วยงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของสปป.ลาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ” การช่วยเหลือของจีนมีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สปป.ลาวเผชิญกับการแพรระบาดของ COVID-19 ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่พบการระบาดครั้งแรกของสปป.ลาวรัฐบาลจีนได้ส่งทีมแพทย์เพื่อช่วยในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสปป.ลาวและบริจาควัสดุป้องกันการระบาดมูลค่า 4.17 ล้านหยวน

ที่มา: https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2020/08/09/china039s-kunming-donates-anti-pandemic-supplies-to-laos

กัมพูชาและจีนมองเขตการค้าเสรีจะเป็นตัวส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้า

ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกัมพูชาและจีนคาดจะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น กล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชา ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการเจรจา FTA ทวิภาคีไปแล้วในวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยข้อตกลงดังกล่าวมีความหมายอย่างมากต่อเศรษฐกิจของกัมพูชาเนื่องจากเข้าถึงตลาดของประเทศคู่ค้าได้มากขึ้นทำให้กัมพูชาสามารถกระจายผลิตภัณฑ์และขยายตลาดของกัมพูชาได้ และลดการพึ่งพาคู่ค้าเพียงไม่กี่ราย เช่นยุโรป สหรัฐฯและแคนาดา ซึ่งปกติแล้วจะทำการค้ากับกัมพูชาแบบสัมปทานเช่น Everything But Arms (EBA ), Generalized System of Preferences (GSP)” เป็นต้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกล่าวว่าการลงนาม FTA ระดับทวิภาคีนี้จะช่วยกระตุ้นความรวดเร็วของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกัมพูชา รวมถึงโครงการภายใต้ Belt and Road Initiative (BRI) อีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50752996/cambodia-china-fta-to-boost-bilateral-trade-investment-ties/

เวียดนามเผยเดือน มิ.ย. ส่งออกน้ำมันดิบไปยังจีนเพิ่มขึ้น แม้ว่าภาพรวมจะลดลงก็ตาม

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าปริมาณส่งออกน้ำมันดิบของเวียดนามประมาณ 395,074 ตัน (99,000 บาร์เรล) เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2 ในเดือน พ.ค. จีนยังคงเป็นผู้ซื้อน้ำมันดิบรายใหญ่ของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของยอดส่งออกน้ำมันดิบทั้งหมดของเวียดนาม โดยปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของเวียดนามไปยังจีนอยู่ที่ 74,000 บาร์เรลในเดือน มิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 จากเดือน พ.ค. เป็นผลมาจากความต้องการใช้น้ำมันของจีนเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงเดือน มิ.ย. ในขณะที่ ในช่วงเวลาดังกล่าว ปริมาณน้ำมันดิบที่เหลือ เวียดนามส่งออกไปยังมาเลเซีย (5,000 บาร์เรล, ลดลง 50% จากเดือน พ.ค.), ญี่ปุ่นกับไทย ประมาณ 10,000 บาร์เรล (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และ 7 จากเดือน พ.ค. ตามลำดับ) ทั้งนี้ ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบของเวียดนามอยู่ที่ 717,691 ตัน (174,000 บาร์เรล) ในเดือน มิ.ย. ลดลงร้อยละ 28 จากเดือน พ.ค.

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-crude-oil-exports-to-china-higher-in-june-despite-a-decrease-in-total-23148.html

ไทยนำอาเซียนหารือจีน ยกระดับความตกลงทางการค้า เร่งเปิดตลาดเสรีเพิ่มเติม หลังโควิด-19 คลี่คลาย

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการร่วมกำกับการดำเนินงานภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีน (ASEAN – China Free Trade Agreement – Joint Committee : ACFTA-JC) ครั้งที่ 13 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2563 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศสมาชิกอาเซียน สำนักงานเลขาธิการอาเซียน และ Ministry of Commerce สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่ง สศก. ได้เข้าร่วมประชุมในฐานะองค์ประกอบผู้แทนไทย ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการประชุมดังกล่าวที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับแผนการดำเนินการตามประเด็นที่จะเจรจาต่อไปในอนาคต (Future Work Programme) ภายใต้พิธีสารยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีน (ACFTA Upgrading Protocol) ได้แก่ การหารือแนวทางการเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติม การหารือการเปิดเสรีและการคุ้มครองการลงทุน รวมถึงการหารือความร่วมมือในสาขาใหม่ๆ เพื่อยกระดับความร่วมมือ ACFTA อาทิ อุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3147253

การวางรางรถไฟสปป.ลาว – จีน คืบหน้าไปกว่า 20%

บริษัท Laos-China Railway จำกัด ได้แจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการระยะทาง 414.3 กม. ว่าการดำเนินงานของรากฐานจากนครเวียงจันทน์ไปยังชายแดนสปป.ลาว-​​จีนในแขวงหลวงน้ำทาเสร็จสมบูรณ์100% และการวางรางเหล็กคืบหน้าไปกว่า 21.4% ซึ่งปัจจุบันมีการเจาะอุโมงค์ 71 แห่งใน 75 อุโมงค์และการก่อสร้างสะพานรถไฟคืบหน้าไปกว่า 88% การติดตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูงดำเนินการไปแล้ว 57.4 % อย่างไรก็ตามบางสถานียังไม่ได้เริ่มก่อสร้างเนื่องจากผลกระทบรุนแรงจาก COVID-19 และหลายพื้นที่ยังอยู่ในระหว่างการไกล่เกลี่ยกับผู้ถือครองที่ดิน ตามที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ 8 ของรัฐสภา (NA) ยังมีกระแสความคิดเห็นสาธารณะที่มั่นคงเกี่ยวกับค่าตอบแทนที่ไม่แน่นอนในแขวงอุดมไซและนครเวียงจันทน์ ดังนั้น NA จึงแนะนำให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องของทั้งสองแขวงยังคงทำงานร่วมกับผู้ที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้ได้ข้อยุติที่น่าพอใจ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_china_148.php