กัมพูชาและจีนร่วมลงนามข้อตกลงทางด้านการค้า

กัมพูชาและจีนได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ณ พนมเปญ โดยมีนายกรัฐมนตรีฮุนเซน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีนเข้าร่วมพิธีลงนาม ซึ่งนายฮุนเซนพูดถึง FTA ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองต่อประเทศกัมพูชา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของจีนกล่าวว่าเขตการค้าเสรีจะช่วยให้กัมพูชาก้าวข้ามจากผลกระทบที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันในหลายด้าน ซึ่งฝ่ายกัมพูชามีความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ที่จะเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมระหว่างกัมพูชาและจีน โดยจะยังคงสนับสนุนจีนอย่างต่อเนื่องในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างจีนและยินดีที่จะทำงานร่วมกับจีนเพื่อกระชับความร่วมมือที่ส่งผลประโยชน์ร่วมกันในด้านต่างๆต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50772642/cambodia-china-sign-trade-deal/

การลงนามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัมพูชาและจีน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนจะเดินทางเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการในวันที่ 11-12 ตุลาคม 2020 ตามการแถลงข่าวของกระทรวงการต่างประเทศ โดนจะจัดการประชุมอย่างเป็นทางการกับรองนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีในสาขาต่างๆตลอดจนประเด็นในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนจะเป็นสักขีพยานในการลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา – จีน (CCFTA) ซึ่งการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของตัวแทนประเทศจีนแสดงถึงความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างกัมพูชาและจีน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50771818/cambodia-china-free-trade-agreement-to-be-signed-by-monday-during-chinese-state-councilors-visit/

การปิดเมืองชายแดนอาจส่งผลต่อการค้าเมียนมากับจีน

การค้าระหว่างเมียนมาและจีนอาจหยุดชะงักหลังจากชายแดนหลุ่ยลี่ (RUILI) ซึ่งเป็นจุดผ่านแดนสำคัญใกล้กับมูเซในรัฐฉานถูกปิดไปเมื่อวันที่ 15 กันยายน 63 หลังตรวจพบเชื้อ COVID-19  คาดว่าจะปิดเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์และห้ามเดินทางออกนอกเมือง ซึ่งการซื้อขายผ่านชายแดนผ่านกำลังดำเนินการในเมือง Wan Ting ทางฝั่งจีน อย่างไรก็ตามสำนักงานศุลกากรของจีนส่วนใหญ่ปิดตัวการซื้อขายลง แต่ยังสามารถซื้อขายผลไม้ได้ ในขณะที่ทางหลวงของจีนถูกปิดกั้นการขนส่งจึงจำเป็นต้องใช้ถนนเส้นเก่าในการค้าขาย และหากยืดเยื้อต่อไปการค้าชายแดนอาจส่งผลเสียหายสำหรับผู้ค้าในพื้นที่ ผู้ค้าในมูเซให้ข้อมูลว่าการปิดชายแดนเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐได้ทำการตรวจสอบประชากรราว 400,000 คน ในเมืองซ่วยหลี่ (Shweli )เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดจากการติดไวรัสหากพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอาจขยายระยะเวลาการปิดชายแดนออกไป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/border-town-lockdown-might-affect-myanmar-china-trade.html

โครงการรถไฟสปป.ลาว – จีนกำลังดำเนินการแล้วเสร็จแม้จะมีการระบาดของ COVID-19

การก่อสร้างทางรถไฟสปป.ลาว – ​​จีนกำลังดำเนินไปตามแผนซึ่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ไปแล้วกว่าร้อยละ 91.11 ของโครงการแม้จะมีอุปสรรคจากการระบาดของ COVID-19 ตามรายงานล่าสุดใน China Daily อุโมงค์ทางรถไฟสำหรับข้ามพรมแดนมีความยาว 9.59 กิโลเมตรเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่แล้วเสร็จและได้รับการขนานนามว่า “อุโมงค์มิตรภาพ” ประกอบด้วยอุโมงค์ 7.17 กิโลเมตรในมณฑลยูนนานประเทศจีนและ 2.42 กิโลเมตรที่ชายแดนสปป.ลาว ในช่วงการระบาดของ COVID-19ที่ผ่านมาคาดการณ์อาจส่งผลให้โครงการมีความล่าช้า แต่จากการที่รัฐบาลมีความกระตือรือร้นที่จะเดินหน้าก่อสร้างทางรถไฟโดยได้มีการอำนวยความสะดวกในงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แม้จะมีข้อจำกัดในการเดินทางแต่รัฐบาลได้อนุญาตให้เปิดสายการบินเที่ยวบินระหว่างเวียงจันทน์และคุนหมิงเป็นกรณีพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการก่อสร้างทางรถไฟและโครงการขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่กำลังดำเนินการในสปป.ลาว โครงการทางรถไฟสปป.ลาว – ​​จีน       ถือเป็นยุทธศาสตร์ของแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน (One Belt One Road) และแผนของสปป.ลาวในการเปลี่ยนประเทศจากการไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นการเชื่อมโยงทางบกภายในภูมิภาค รัฐบาลสปป.ยังเชื่อว่าโครงการรถไฟเชื่อมต่อสปป.ลาว-จีน จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในสปป.ลาวในอนาคตอันใกล้นี้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laosc181.php

สปป.ลาว เหยื่อกับดักหนี้จีนรายล่าสุด

รถไฟความเร็วสูงจีน – สปป.ลาวมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กำลังดำเนินการแล้วเสร็จในปลายปี 64 โครงการรถไฟความเร็วสูงถือเป็นความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมที่ประสบความสำเร็จภายใต้พรรคปฏิวัติของประชาชนลาว แต่ความก้าวหน้าดังกล่าวอาจมาพร้อมกับการสูญเสียอธิปไตยบางอย่างให้กับเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ทางเหนืออย่างจีนที่  เป็นนายทุนใหญ่ของโครงการดังกล่าว รายงานล่าสุดชี้ให้เห็นว่าสปป.ลาวจะเป็นประเทศล่าสุดที่ตกเป็นเหยื่อของกับดักหนี้ Belt and Road Initiative (BRI) โดยประเทศต่างๆ หากผิดนัดชำระหนี้ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานหรือโครงการ จะถูกกดดันในการยกสัมปทานบางอย่างให้แก่จีนแทนการชำระหนี้ ปัจจุบันทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของสปป.ลาวลดลงต่ำกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้งวดประจำปีของโครงการ ซึ่งจะนำไปสู่การทำให้สปป.ลาวต้องสูญเสียอธิปไตยของประเทศไปบางส่วน รายงานข่าวยังชี้ให้เห็นอีกว่ากระทรวงการคลังสปป.ลาว ได้ขอให้จีนซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต่างชาติรายใหญ่ที่สุดปรับโครงสร้างหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ข้อมูลจากรายงานชี้ให้เห็นว่าการเติบโตสปป.ลาวอาจมีการขยายตัวได้ดีจากการเข้ามาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของนักลงทุนจีน แต่สิ่งที่สปป.ลาวยังเป็นกังวลและให้ความสนใจคือความสามารถในการชำระหนี้ ที่อาจหากไม่มีประสิทธิภาพอาจนำซึ่งการสูญเสียอธิปไตยของชาติก็เป็นได้

ที่มา : https://asiatimes.com/2020/09/laos-the-latest-china-debt-trap-victim/

อุโมงค์ข้ามพรมแดนรถไฟจีน-สปป.ลาว แล้วเสร็จเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

“อุโมงค์มิตรภาพข้ามพรมแดนจีน-สปป.ลาว” ความยาวรวม 9.59 กม. จากจีนมายังสปป.ลาวซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน – สปป.ลาวที่จะเป็นเส้นทางจากคุนหมิไปยังเวียงจันทน์เมืองหลวงของสปป.ลาว แล้วเสร็จเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โครงการดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือระหว่าง Liu Juncheng จาก China Railway Kunming Group Co. Ltd.ของประเทศจีนและรัฐบาลสปป.ลาว ทางรถไฟถูกมองว่าเป็นโครงการเชื่อมต่อเชิงกลยุทธ์ตามแผนโครงการ one belt one road  สอดคล้องไปกับยุทธศาสตร์ของสปป.ลาวในการเปลี่ยนจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลไปเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงทางบก  ที่จะมีส่วนสำคัญการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสปป.ลาว ผ่านด้านการค้าและการท่องเที่ยวที่โครงการดังกล่าวจะเป็นส่วนช่วยส่งเสริมให้มีการเติบโต

ที่มา : http://www.china.org.cn/business/2020-09/14/content_76699866.htm

กล้วย ทำรายได้สูงสุดในการส่งออกสินค้าเกษตรของสปป.ลาว ไปยังจีน

ทางการสปป.ลาวยืนยันว่าปีนี้กล้วยยังคงทำรายได้สูงสุดในบรรดาสินค้าเกษตรส่งออกไปยังประเทศจีน แม้ว่ารัฐบาลจะสั่งห้ามปลูกกล้วยมากขึ้นก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า รายงานว่าสปป.ลาวส่งออกกล้วยไปยังจีนเป็นมูลค่า 116 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ปีที่แล้วมีรายได้ราว 185.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้ว่าจำนวนนักลงทุนและสวนกล้วยในประเทศจะลดลง หลังจากที่รัฐบาลบังคับใช้คำสั่งห้ามไม่ให้มีพื้นที่ปลูกใหม่และปิดบริษัทที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบ แต่มูลค่าการส่งออกกล้วยยังคงอยู่ในระดับสูง การค้าขายระหว่างสปป.ลาวและจีนในปีนี้ได้รับผลกระทบจากโควิด -19 แต่การส่งออกสินค้าโดยเฉพาะกล้วยยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากความร่วมมือและการเจรจาที่ดีระหว่างทางการสปป.ลาวและจีนยุทธศาสตร์การเกษตรปี 68 ระบุว่ากล้วยเป็นสินค้าส่งออกทางการเกษตรอันดับต้น ๆ สร้างโอกาสในการทำงานและสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่นเพื่อให้อยู่เหนือความยากจน แต่พื้นที่เพาะปลูกบางแห่งทำร้ายสิ่งแวดล้อม เนื่องจากรัฐบาลขาดการจัดการการจัดสรรที่ดินที่ไม่สมบูรณ์และการจดทะเบียนธุรกิจที่หละหลวม ด้วยเหตุนี้ผู้ค้าและนักลงทุนจึงได้รับการสนับสนุนให้ทำสัญญากับครอบครัวเกษตรกรรมเพื่อปลูกพืช แต่ยังไม่มีการบังคับใช้กฎระเบียบโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับองค์กรการส่งเสริมการลงทุนการจัดการสารเคมีการคุ้มครองพืชการคุ้มครองผู้บริโภคและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/bananas-largest-slice-laos-export-pie-china

สิงหาคมที่ผ่านมาการส่งออกข้าวกัมพูชาลดลงอย่างมาก

จากรายงานของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงการส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.05 ที่ 448,203 ตันในช่วงแปดเดือนแรกของปี รายงานระบุว่าจนถึงขณะนี้กัมพูชาส่งออกข้าวได้ 448,203 ตันมื่อเทียบกับ 342,045 ตันในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 อย่างไรก็ตามในเดือนสิงหาคมเพียงอย่างเดียวการส่งออกข้าวกัมพูชาร้อยละ 22 มีจำนวน 130 ตันเมื่อเทียบกับ 34,032 ตันในเดือนสิงหาคม 2562 ในการส่งออกข้าวทั้งหมด 352,802 ตัน เป็นข้าวหอม 89 ตัน ข้าวขาว 699 ตัน ข้าวนึ่ง 5,679 ตัน และข้าวอื่นๆ 23 ตัน จีนเป็นตลาดนำเข้าอันดับต้นของกัมพูชา กัมพูชาส่งออกประมาณ 159,253 ตันในช่วง 8 เดือนแรกตามด้วยฝรั่งเศส 56,964 ตัน อย่างไรก็ตามในกลุ่มประเทศอาเซียน มาเลเซีย นำเข้าจากกัมพูชาประมาณ 23,201 ตัน เวียดนาม 12,836 ตัน บรูไน 10,500 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50759273/cambodias-rice-exports-drop-drastically-in-august/

จีนเตรียมจัดจ่ายวัคซีน COVID -19 ให้ประเทศในลุ่มน้ำโขงเมื่อพัฒนาสมบูรณ์

นายหลี่เค่อเฉียงนายกรัฐมนตรีจีนเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือล้านช้าง – แม่โขง (LMC) ครั้งที่สามผ่านลิงก์วิดีโอซึ่งตามรายงานในซินหัว นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า “จีนจะให้ความสำคัญกับการเข้าถึงประเทศในลุ่มน้ำโขงเพื่อจัดหาวัคซีน COVID-19 เมื่อพัฒนาจนสมบูรณ์แบบ” จีนตั้งใจที่จะจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในสปป.ลาว ภายใต้กรอบของกองทุนพิเศษ LMC และจะจัดหาวัสดุป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 รวมถึงการสนับสนุนมาตราฐานทางการแพทย์ที่ดีขึ้น ในที่ประชุมยังได้มีการเสนอแนวทางการร่วมมือด้านอื่นๆ ที่จะเป็นผลดีต่อประเทศในกลุ่มแม่น้ำโขลง ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปันข้อมูลอุทกวิทยาของแม่น้ำโขลงรวมถึงการค้าและการท่องเที่ยว ในส่วนของสปป.ลาวเองยังคงได้รับสนับสนุนในการขยายเส้นทางรถไฟสปป.ลาว-จีนที่จะเชื่อมต่อมายังจีนและไทยได้ เป็นส่วนช่วยในการส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาคและจะเป็นเส้นทางที่สำคัญด้านการค้าและการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/08/26/china-to-provide-mekong-countries-with-covid-19-vaccine/

ประเทศกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง-จีน ยกย่องผลสำเร็จของความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง (MLC)

ผู้นำของประเทศลุ่มน้ำโขงและจีนกล่าวว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับความสำเร็จของความร่วมมือในช่วงสองปีที่ผ่านมาซึ่งช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของคนในภูมิภาค การประเมินดังกล่าวมีขึ้นในการประชุมสุดยอดความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง (MLC) ครั้งที่สามซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายในกรอบ MLC (2018-2022) ตลอดจนการดำเนินโครงการผ่านกองทุนพิเศษ MLC ที่จีนสนับสนุนด้วยเงิน 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่ง ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สปป.ลาวถือเป็นประเทศที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้อย่างมากจากการเกิดขึ้นของหลายโครงการในสปป.ลาวที่ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาชนบทและการลดความยากจน ในการประชุมผู้นำยังได้มีการหารือในหัวข้อที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในการปราบปราม COVID-19 และแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการระบาดใหญ่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Mekong_164.php