การส่งออกของเมียนมาร์มีมูลค่าเกือบ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา

ตามการรายงานของการค้าภายนอก กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาร์ ในช่วงต้นเดือนธันวาคมสำหรับปีการเงินปัจจุบันปี 2566-2567 การส่งออกของเมียนมาร์มีมูลค่าเกือบ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยมีสินค้าส่งออกได้แก่ ถั่วดำ ข้าว ข้าวหัก ข้าวโพด กรัมเขียว ยางพารา ถั่วพีเจ้น งา ถั่วลิสง หัวหอม มะขาม ขิง คอนยัค เมล็ดละหุ่ง เมล็ดกาแฟ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ฝ้าย มันสำปะหลัง แตงโม แตงกวา มะม่วงและกล้วยทิชชู่ในหมวดผลิตผลทางการเกษตร นอกจากนี้ ปลา กุ้ง ปู ปลาไหล และปลาแห้งยังเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ประมงอีกด้วย ทั้งนี้ เมียนมาร์ส่งออกสินค้าไปยัง 117 ประเทศระหว่างเดือนเมษายนถึงธันวาคม โดยมีประเทศคู่ค้าที่โดดเด่นซึ่งมีอุปสงค์สูง ได้แก่ ไทย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย สหรัฐอเมริกา เยอรมนี โปแลนด์ เกาหลีใต้ อังกฤษ สเปน เบลเยียม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย อย่างไรก็ดี จีนกำลังส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกอย่างแข็งขัน รวมถึงเสาเข็มวัสดุคอมโพสิต ไม้เนื้อดี ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ทำจากไม้ เสื้อผ้า น้ำตาล และสินค้าขั้นสุดท้ายอื่นๆ นอกจากนี้ รายงานระบุอีกว่าบริษัท 5,938 แห่งดำเนินธุรกิจส่งออกและนำเข้าผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เส้นทางทะเล เส้นทางการค้าชายแดน และเส้นทางการบิน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-reach-almost-us10-bln-in-last-eight-months/#article-title

FTA ระหว่าง กัมพูชา-เกาหลีใต้ ดันการส่งออกเครื่องนุ่งห่มแตะ 173 ล้านดอลลาร์

FTA ดันการส่งออกสินค้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาไปเกาหลีใต้แตะ 173 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.84 สำหรับในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2023 ขณะที่ในปี 2022 กัมพูชาส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวไปยังเกาหลีใต้ที่มูลค่า 191.37 ล้านดอลลาร์ โดยการเพิ่มขึ้นนี้เกิดขึ้นหลังจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2022 ขณะที่การส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวโดยภาพรวมของกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) มีสิทธิประโยชน์ด้านการลดภาษีนำเข้าสินค้าจากกัมพูชาหลายรายการ รวมทั้งเสื้อผ้า ทำให้สินค้ากัมพูชามีราคาที่สามารถแข่งขันได้มากขึ้นในตลาดเกาหลีใต้ สำหรับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญของกัมพูชาด้วยการมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 16 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และมีการจ้างงานประมาณกว่า 700,000 คน ในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501401901/fta-boosts-cambodias-apparel-export-to-south-korea-reaches-173-million/

การส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมาร์มีรายได้ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 8 เดือน

ตามการรายงานของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ ระบุว่า การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาร์สร้างรายได้มากกว่า 1.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตามสถิติตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึง 24 พฤศจิกายน ระบุว่าการส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่าอยู่ที่ 1.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงประมาณ 286 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีรายได้ 2.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยผู้ส่งออกเชื่อว่าการลดลงนี้เป็นผลมาจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นภายในประเทศ อย่างไรก็ดี การส่งออกของประเทศครอบคลุมผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแบบตัดบรรจุ (CMP) และสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ในขณะที่ เมียนมาร์นำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบ สินค้าอุปโภคบริโภค และวัสดุสำหรับผลิตสินค้า CMP เป็นหลัก นอกจากนี้ ผลิตผลทางการเกษตรส่วนใหญ่ประกอบด้วยข้าว ข้าวหัก ถั่วและถั่ว ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และสินค้าเกษตรอื่นๆ โดยประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agri-exports-earn-us1-9-bln-in-eight-months/#article-title

เมียนมาร์ให้ความสำคัญกับเวียดนามในการส่งออกน้ำตาล

เมียนมาร์หันมาให้ความสำคัญกับเวียดนามในการส่งออกน้ำตาลมากขึ้น เนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อน้ำตาลจำนวน 10,000 ตันจากเวียดนาม ตามการระบุของสมาคมที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลและอ้อยของเมียนมาร์ โดยเมียนมาร์วางแผนที่จะส่งออกน้ำตาลไปยังบังกลาเทศ อินโดนีเซีย และต่างประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากการบริโภคในประเทศ ในขณะที่การส่งออกน้ำตาลไปยังเวียดนามจะถูกจัดเตรียมก่อนเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา ทั้งนี้ การดำเนินการบดอ้อยของเมียนมาร์ดำเนินไปอย่างเต็มที่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ซึ่งมีผลผลิตอ้อยประมาณ 400,000 ตันต่อปี อย่างไรก็ดี น้ำตาลล็อตใหม่จะเริ่มไหลเข้าสู่ตลาดภายในประเทศ เดือนธันวาคมปีนี้ นอกจากนี้ โรงงานน้ำตาลขึ้นราคาอ้อยเป็น 150,000 จ๊าดต่อตันสำหรับฤดูอ้อยปี 2566-2567 จากอัตราที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ที่ 110,000 จ๊าดต่อตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-to-prioritize-viet-nam-for-sugar-export/#article-title

RCEP ดันการเข้าถึงตลาดต่างประเทศของกัมพูชา

Sok Siphana รัฐมนตรีอาวุโสฝ่ายความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กล่าวว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เป็นแรงผลักดันสำคัญต่อการส่งออกของกัมพูชา ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยรัฐมนตรีได้กล่าวไว้ในระหว่างการบรรยายเรื่อง ‘การวิเคราะห์แง่มุมทางกฎหมายของข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค’ ณ กระทรวงสารสนเทศ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (21 พ.ย.) ซึ่งสิทธิพิเศษทางการค้าของ RCEP นอกจากจะกระตุ้นทางด้านการค้าแล้ว ยังส่งผลต่อภาคการลงทุน และการไหลเวียนของภาคประชาชนข้ามพรมแดนมากขึ้น จากการเร่งบูรณาการทางเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ RCEP มูลค่ารวม 5.8 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มูลค่า 4.7 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นกว่าสัดส่วนร้อยละ 33 ของการส่งออกรวมกัมพูชาที่มีมูลค่ารวม 17.59 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วง 3 ไตรมาสของปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501395909/rcep-helps-international-market-access-to-cambodia/

อินโดนีเซียตั้งเป้าดันการค้าระหว่างกัมพูชาติดอันดับ 5 ประเทศคู่ค้ารายสำคัญ

ปัจจุบันอินโดนีเซียถือเป็นคู่ค้ารายสำคัญอันดับที่ 6 ของกัมพูชา ซึ่งมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 1 พันล้านดอลลาร์ ในปัจจุบัน เน้นหนักไปที่การส่งออกถ่านหินของกัมพูชา และการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ของอินโดนีเซียมายังกัมพูชา โดยอินโดนีเซียตั้งเป้าดันการค้าระหว่างกัมพูชาติดอันดับที่ 5 ภายในปีหน้า ซึ่ง ดร.Santo Darmosumarto เอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย ประจำกัมพูชา ได้กล่าวไว้ในระหว่างการพูดคุยกับ Khmer Times สื่อประจำท้องถิ่น รวมถึงยังได้พูดคุยถึงความท้าทายที่ต้องเผชิญต่อภาคการค้าระหว่างอินโดนีเซียและกัมพูชา โดยปัจจุบันความเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ภายในกัมพูชายังคงต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่สูง ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เวียดนามและไทย ได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตยังได้กล่าวเสริมว่ากัมพูชายังมีศักยภาพอีกมากมาย สำหรับการพัฒนาความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น ภาคเกษตรกรรม รวมถึงศักยภาพของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งกำลังเร่งฟื้นตัวจากสถานการณ์ต่างๆ ในช่วงก่อนหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501395286/indonesia-aims-to-achieve-top-five-status-as-cambodias-trade-partner/

การค้าสปป.ลาว-รัสเซีย มองเห็นความหวังในการเติบโต แม้ปัจจุบันจะซบเซาลง

การค้าระหว่าง สปป.ลาว-รัสเซีย หดตัวลงอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่รัสเซียเริ่มทำสงครามกับยูเครนเมื่อต้นปี 2565 การชะลอตัวนี้ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทั่วโลก ตามรายงานของ Russia Briefing การค้าระหว่างทั้งสองประเทศในเดือนมกราคม 2566 มีมูลค่า 312,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 83.2% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การนำเข้าจากรัสเซียไปยังลาวมีมูลค่าเพียง 118,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การส่งออกไปยังรัสเซียมีมูลค่า 194,000 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 88% จากเดือนมกราคม 2565 อย่างไรก็ตาม รายงานการเปลี่ยนแปลงทางการค้าและการลงทุนประจำปี 2023/24 ได้ให้ข้อมูลเชิงบวกบางประการสำหรับการเพิ่มขึ้นของการค้าระหว่างลาวกับรัสเซีย เนื่องจากรถไฟลาว-จีน กลายเป็นความจริงในระดับภูมิภาคและการค้าขายระหว่างรัสเซียและจีนก็เติบโต จึงมีความเชื่อร่วมกันว่าการเข้าถึงตลาดรัสเซียและลาวจะราบรื่นยิ่งขึ้น คาดว่าจะประกาศแนวโน้มการค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ลาวนำเข้าสินค้าจากรัสเซียส่วนใหญ่ ได้แก่ ไม้ ผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษและกระดาษ อุปกรณ์เครื่องจักร ยานพาหนะ และผลิตภัณฑ์เคมี ในขณะที่สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ ได้แก่ สิ่งทอ อาหาร และวัตถุดิบทางการเกษตร

ที่มา : https://laotiantimes.com/2023/11/15/laos-russia-bilateral-trade-sees-hope-for-growth-despite-current-dip/

การค้า “กัมพูชา-จีน” ยังคงแข็งแกร่ง แม้อุปสงค์ทั่วโลกอ่อนตัว

การค้าระหว่าง กัมพูชา-จีน ยังคงแข็งแกร่ง ท่ามกลางอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนตัวลง เป็นผลมาจากการมีข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-จีน (CCFTA) สำหรับมูลค่าการค้าสินค้าระหว่างกัมพูชาและจีนในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่าอยู่ที่ราว 1 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิตของกัมพูชา (GDCE) โดยสินค้าศักยภาพของกัมพูชาที่ได้ทำการส่งออกไปยังจีน ได้แก่ ข้าวสาร กล้วย มะม่วง ลำไย และพริกไทย เป็นสำคัญ ขณะเดียวกันปริมาณการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของกัมพูชาในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ที่ 3.87 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 3.1 จากมูลค่า 3.99 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501390478/cambodia-china-trade-stays-robust-amid-weakening-global-demand/

‘สปป.ลาว ประสบปัญหาขาดดุลการค้า’ 7 เดือนจาก 9 เดือนแรกของปี 2566

สปป.ลาว ประสบปัญหาขาดดุลการค้า 7 เดือนจาก 9 เดือนแรกของปี 2566 มูลค่ารวม 675 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และข้อมูลล่าสุดดุลการค้าในเดือนกันยายน ขาดดุล 218 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นการขาดดุลสูงสุดในรอบ 9 เดือนของปีนี้ โดยสาเหตุหลักเกิดจากการนำเข้าที่ยังคงแซงหน้าการส่งออก โดยมูลค่าการส่งออกมีเพียง 394 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้าสูงถึง 612 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญ คือ ทองคำผสมและทองคำแท่งที่มีมูลค่าส่งออกรวม 53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญรายการอื่นๆ ได้แก่ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ แร่ทองคำ เกลือโพแทสเซียม ยาง เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ แร่เหล็ก น้ำตาล เสื้อผ้า และกล้วย ตลาดส่งออกหลัก คือ จีน เวียดนาม ไทย ออสเตรเลีย และอินเดีย ในขณะสินค้าการนำเข้ามากที่สุด คือ น้ำมันดีเซลที่มีมูลค่า 69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  สินค้านำเข้าที่สำคัญรายการอื่นๆ เช่น อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยานพาหนะทางบก ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ พลาสติก น้ำมันเบนซิน และเยื่อและเศษกระดาษ ตลาดนำเข้าหลัก คือ ไทย โดยมีมูลค่า 264 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วยจีน เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย

ที่มา : https://laotiantimes.com/2023/11/07/laos-records-seven-months-of-trade-deficit-in-2023-totaling-usd-675-million/

การค้าระหว่าง เวียดนาม-กัมพูชา มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

ปัจจุบันเวียดนามถือเป็นคู่ค้ารายสำคัญอันดับสามของกัมพูชา และใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียน ภายในปี 2022 โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.25 สำหรับการนำเข้าของกัมพูชาจากเวียดนามเพิ่มขึ้นเช่นกันกว่าร้อยละ 26.20 ส่งผลทำให้กัมพูชาขาดดุลการค้าระหว่างเวียดนามที่มูลค่า 1.799 พันล้านดอลลาร์ ขยายตัวร้อยละ 55.25 ในปี 2022 เมื่อเทียบกับปี 2021 ซึ่งสินค้าหลักที่กัมพูชาทำการนำเข้าจากเวียดนาม ได้แก่ ผ้าถักที่ทำจากยางเบามูลค่า 450 ล้านดอลลาร์ ปิโตรเลียมกลั่นมูลค่า 396 ล้านดอลลาร์ และแท่งเหล็กดิบมูลค่า 296 ล้านดอลลาร์ โดยในช่วง 21 ปีที่ผ่านมาการส่งออกของเวียดนามไปยังกัมพูชาขยายตัวขึ้นทุกปีจากมูลค่า 217 ล้านเหรียญดอลลาร์ในปี 2000 เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 4.91 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2022 สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังเวียดนามมูลค่ารวมกว่า 2.03 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501384968/vietnams-trade-with-cambodia-on-upward-swing/