การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ CLMVIP : ความเหมือนที่แตกต่าง

โดย ศูนย์วิจัยกรุงศรี

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ทำให้เศรษฐกิจของประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ (ในที่นี้จะเรียกโดยย่อว่า “CLMVIP”) ได้รับผลกระทบอย่างหนักในปี 2020 อย่างไรก็ดี ในปี 2021 หลายประเทศในกลุ่มนี้ มีแนวโน้มเติบโตในอัตราสูงราวร้อยละ 4-7 ปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของประเทศ CLMVIP ที่สำคัญ 3 ประการ คือ (i) ผลของมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากทั้งนโยบายการเงินและการคลัง โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (ii) การส่งออกที่ได้อานิสงส์จากวัฏจักรการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ (iii) กระแสการรวมตัวกันภายในภูมิภาค (Regionalization) ที่เข้มแข็งขึ้น แม้ว่าประเทศในกลุ่ม CLMVIP จะมีปัจจัยสนับสนุนการเติบโตที่คล้ายคลึงกัน ในรายประเทศอาจมีลำดับการฟื้นตัวที่แตกต่าง เวียดนาม มีโอกาสฟื้นตัวโดดเด่นด้วยพื้นฐานเศรษฐกิจในประเทศที่แข็งแกร่ง และรายรับจากภาคต่างประเทศที่ขยายตัวดี ผนวกกับข้อได้เปรียบจากความตกลงการค้าเสรีสำคัญ อาทิ ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ความตกลงการค้าเสรีสหราชอาณาจักร-เวียดนาม (UKVFTA) รวมทั้งยังมีการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ดี

ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ใน CLMVIP มีระดับการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปกว่าด้วยข้อจำกัดที่แตกต่างกัน โดยอินโดนีเซียและกัมพูชา อาจฟื้นตัวเป็นลำดับถัดจากเวียดนาม แม้อินโดนีเซียมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูง แต่คาดว่าภาคส่งออกจะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อีกทั้งยังได้ผลบวกจากแผนการขยายมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ รวมถึงแผนการฉีดวัคซีนและแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ กัมพูชาอาจได้แรงสนับสนุนจากการส่งออก นำโดยตลาดจีนและสหรัฐฯ ซึ่งอาจช่วยลดผลกระทบจากการถูกระงับสิทธิพิเศษทางภาษีบางส่วนจากสหภาพยุโรป ฟิลิปปินส์ แม้มีปัจจัยหนุนจากขนาดวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐมากถึงร้อยละ 4 ของ GDP   แต่การเบิกจ่ายยังเป็นไปอย่างล่าช้า และสถานการณ์การระบาดในประเทศค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้ตลาดแรงงานยังอ่อนแอ และกระทบต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายเพื่อบริโภคในประเทศ สปป.ลาว มีโครงสร้างเศรษฐกิจที่ค่อนข้างอ่อนแอ อีกทั้งขนาดการกระตุ้นเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด ผลกระทบจากโควิด-19 จึงทำให้ฟื้นตัวล่าช้า ขณะที่เมียนมา เผชิญประเด็นด้านเสถียรภาพทางการเมืองหลังจากผู้นำทางทหารของเมียนมาเข้ายึดอำนาจและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ซึ่งส่งผลฉุดรั้งความเชื่อมั่นของนักลงทุนและคู่ค้าในระยะนับจากนี้ และอาจมีผลให้พัฒนาการทางเศรษฐกิจของเมียนมาในระยะยาวหยุดชะงักลงไปได้

อ่านต่อ : https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/regional-recovery-2021

เวียดนามเผย ม.ค. นำเข้ารถยนต์ 212 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตามข้อมูลของกรมศุลกากร ระบุว่าในเดือนมกราคม เวียดนามนำเข้ารถยนต์เพิ่มขึ้นราว 85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 เป็นรถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ (CBU) จำนวน 8,343 คัน คิดเป็นมูลค่ารวม 212.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่จะนำเข้ารถยนต์จากไทยและอินโดนีเซีย จำนวน 4,341 คัน (84.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) และ 1,437 คัน (19.2 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ ทั้งนี้ ในปี 2563 เวียดนามนำเข้ารถยนต์ทุกประเภทที่ผลิตในต่างประเทศ จำนวน 100,000 คัน ด้วยมูลค่ารวม 2.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 24.5% ในแง่ของปริมาณ และ 25.6% เมื่อเทียบกับปี 2561 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นตลาดนำเข้ารถยนต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม จำนวน 52,647 คัน รองลงมาอินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-spends-over-us-212-million-importing-cars-in-january-28233.html

เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน เวียดนามนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ (CBU) จำนวน 86,000 คัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงมูลค่าการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์อยู่ที่ 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ เวียดนามนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ อยู่ที่ราว 5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 1.3 พันล้านดอลลาราสหรัฐ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทยและอินโดนีเซีย มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 350 ล้านด่อง (15,000 ดอลลาร์สหรัฐ) – 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (51,700 ดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ ทางผู้เชี่ยวชาญ มองว่าขนาดของการผลิต, การยกเว้นภาษี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเข้าถึงส่วนแบ่งทางการตลาดขนาดใหญ่

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnamese-spend-1-9-bln-on-imported-cars-4195897.html

เวียดนามนำเข้ารถยนต์จำนวนมากจากไทย อินโดนีเซีย

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา เวียดนามนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศมากที่สุด (CBU) จากไทย จำนวน 38,800 คันและอินโดนีเซีย จำนวน 28,900 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 84 ของการนำเข้ารวม ทั้งนี้ ในภาพรวม มูลค่าการนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ อยู่ที่ 1.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวนมากกว่า 80,000 คัน ในช่วงเวลาดังกล่าว ลดลงร้อยละ 33.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในเดือนตุลาคม เวียดนามนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศทั้งหมด อยู่ที่ 13,650 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-imports-most-cars-from-thailand-indonesia-818105.vov

‘ไทย อินโดนีเซีย’ เป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ของเวียดนาม ในเดือน ก.ค.

กรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าไทยและอินโดนีเซีย ยังคงเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ในตลาดเวียดนาม ด้วยสัดส่วนรวมกันร้อยละ 76 ของยอดนำเข้ารวม โดยในเดือน มิ.ย. เวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทยและอินโดนีเซีย อยู่ที่ 3,552 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67 ของยอดนำเข้ารวมของเวียดนาม (97.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ ในเดือน ก.ค. เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 4,761 คัน เป็นมูลค่าราว 108 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในแง่ของปริมาณ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว และในแง่ของมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ซึ่งจากตัวเลขทั้งหมดนั้น จำนวนรถยนต์ที่นำเข้าจากไทยอยู่ที่ 2,324 คัน (48.8% ของยอดนำเข้ารวม) อีกทั้ง ราคารถยนต์เฉลี่ยจากไทยอยู่ที่ 16,308 ดอลลาร์สหรัฐต่อคัน ในขณะที่ รถยนต์ที่นำเข้าจากอินโดนีเซีย มีราคาเฉลี่ยต่ำกว่า 10,900 ดอลลาร์สหรัฐต่อคัน ในเดือน ก.ค. นอกจากนี้ เวียดนามนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่อยู่ที่ 347 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่มาจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไทยและจีน

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20200901/thailand-indonesia-stand-as-vietnams-major-auto-exporters-in-july/56499.html

กัมพูชาและอินโดนีเซียจัดสัมมนาทางการค้าร่วมกัน

ตัวแทนจากบริษัทอินโดนีเซียและกัมพูชากว่า 70 ราย เข้าร่วมเวทีสัมมนาธุรกิจในกรุงพนมเปญเมื่อวานนี้เพื่อสำรวจโอกาสทางธุรกิจและหาพันธมิตรใหม่ระหว่างกัน โดย Sudirman Haseng เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียกล่าวว่าเป้าหมายของการจัดงานคือการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับผู้ประกอบการชาวอินโดนีเซียและชาวกัมพูชาเพื่อพบปะสร้างโอกาสทางธุรกิจและส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการค้าระหว่างประเทศมีมากถึง 558 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018 โดยจากเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคมปีนี้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 352 ล้านเหรียญสหรัฐแล้วเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศย้ำว่ารัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญกับการพัฒนาบรรยากาศทางธุรกิจและเน้นย้ำถึงความพยายามครั้งล่าสุดในการช่วยเหลือธุรกิจ โดยได้จัดตั้งศูนย์บริการครบวงจรในสภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชาสำหรับชาวต่างชาติและคนในท้องถิ่นที่ต้องการลงทุนในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50671082/indonesia-trade-event-attracts-70-firms/

ธนาคาร Mandiri ของอินโดนีเซียเข้าลงทุนในกัมพูชาและสปป.ลาว

ธนาคาร Mandiri ของอินโดนีเซียซึ่งเป็นสถาบันของรัฐได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะเข้าสู่ตลาดกัมพูชาและสปป.ลาว และได้จัดตั้งกองทุนการลงทุนขนาดใหญ่ โดยจะทำการศึกษาวิธีที่ดีที่สุดในการเจาะตลาดใหม่ ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกของปี 62 ธนาคาร Mandiri เติบโดถึง 11.1% และมีการประกาศจากธนาคารแห่งชาติกัมพูชาซึ่งจะเน้นการเติบโตที่แข็งแกร่งของธนาคารในประเทศและภาคการเงินรายย่อย ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของปีสินเชื่อในสาขาธนาคารและสินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้นประมาณ 22.4%

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50630496/indonesias-mandiri-bank-to-enter-cambodia-laos/