อาเซียน-ญี่ปุ่น จับมือฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด พร้อมบรรลุข้อตกลงหุ้นส่วนฉบับใหม่เริ่ม 1 สิงหา

นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มอบหมายให้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ว่าด้วยการตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด-19 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยที่ประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมถึงการเป็นห่วงโซ่การผลิตที่สำคัญของภูมิภาคและของโลก ดังนั้นที่ประชุมจึงร่วมกันรับรองแผนปฏิบัติการด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเป็นรูปธรรม โดยแผนดังกล่าวมุ่งเน้นเป้าหมาย 3 ประการ คือ รักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างกัน บรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ ผ่านกิจกรรมต่างๆ กว่า 50 โครงการ เช่น มุ่งให้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ภายในปีนี้ เร่งส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยานยนต์และเคมีภัณฑ์ ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานในภาคอุตสาหกรรมให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี พัฒนาการค้าดิจิทัลระดับภูมิภาค ผลักดันการใช้เทคโนโลยีในการเสริมสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพของธุรกิจ MSMEs เป็นต้น

ที่มา : https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2286193

ภาคโลจิสติกส์กัมพูชาต้องการความช่วยเหลือจากทางภาครัฐบาล

ภาคการขนส่งของกัมพูชาซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ COVID-19 กำลังมองหาการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาล โดยประธานสมาคมโลจิสติกส์กัมพูชา (CLA) กล่าวว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทำให้บริการขนส่งโดยรวมลดลงมากถึงร้อยละ 70 ในขณะที่การขนส่งทางอากาศของกัมพูชาหยุดชะงักถึงร้อยละ 98 ของการขนส่งทางอากาศทั้งหมด อย่างไรก็ตามการขนส่งสินค้าทางน้ำและทางบกมีการฟื้นตัวมากกว่าร้อยละ 10 เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับบางภาคส่วนไปแล้ว เช่น SMEs และบริการด้านการท่องเที่ยว แต่ไม่ใช่สำหรับการขนส่งซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยสินค้าของกัมพูชาส่วนใหญ่ถูกจัดส่งผ่านทางท่าเรือทั้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เสื้อผ้า รองเท้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการสนับสนุนด้านการผลิต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50749687/logistics-sector-seeks-cash-aid-but-its-not-yet-a-priority/

การส่งออกไม้ของเวียดนามกลับมาฟื้นตัว ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่ามูลค่าส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ของเวียดนามอยู่ที่ 5.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา โดยในเดือนมิ.ย. ยอดส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ของเวียดนามที่ 769 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าเดือนมิ.ย. การส่งออกที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่ชะลอตัวลงในบางตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ จีน แคนาดาและออสเตรเลีย เป็นต้น และมีข้อสังเกตสำคัญชี้ให้เห็นว่าตลาดยุโรป มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายระดับภูมิภาค รวมถึงประเทศในยุโรปส่วนใหญ่ป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 แบบคลื่นลูกที่ 2 ส่งผลให้กระตุ้นอุปสงค์ของผู้บริโภคในยุโรปเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) จะมีผลบังคับใช้วันที่  1 สิ.ค. และบรรลุในการคุ้มครองการลงทุนทวิภาคี

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnamese-wood-exports-recover-during-the-first-half-of-the-year-22790.html

ภาพรวมเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลัง COVID-19

หัวข้อสำคัญของเอกสาร มีดังต่อไปนี้

1.สภาวะเศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

2.สถานการณ์การค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว

3.ผลกระทบทางธุรกิจที่นักธุรกิจไทยในสปป.ลาวควรรู้ในสถานการณ์ COVID-19

4.โอกาสของนักธุรกิจไทยใน สปป.ลาวหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19

5.นโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการไทย

6.สรุปมาตรการการรับมือการแพร่ระบาดของ COVID-19 ของสปป.ลาว

เรียบเรียงโดย : นายชลันธร จิววุฒิพงค์ นางสาวศิกาญจน์ รักใหม่

ที่มา : ISB, World Bank, IMF, CEIC, Globthailand , scbeic

ภาพรวมเศรษฐกิจของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หลัง COVID-19

หัวข้อสำคัญของเอกสาร มีดังต่อไปนี้

  1. ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2563
  2. สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
  3. แนวโน้มเศรษฐกิจเมียนมา หลัง COVID-19

ที่มา:

  • CEIC DATA
  • International Monetary Fund (IMF)
  • Statista
  • Directorate of Investment and Company Administration (DICA)
  • Ministry of Commerce (Myanmar)
  • Economic Intelligence Center (EIC)
  • Asian Development Bank (ADB)
  • World bank

ภาพรวมเศรษฐกิจของราชอาณาจักรกัมพูชา หลัง COVID-19

หัวข้อสำคัญของเอกสาร มีดังต่อไปนี้

  1. สรุปภาพรวมของประเทศกัมพูชา
  2. สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ
  3. สถานการณ์เศรษฐกิจ และผลกระทบจาก COVID-19
  4. ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
  5. นโยบาย รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
  6. มาตรการป้องกันและรับมือกับการระบาดของ COVID-19

เรียบเรียงโดย : นายทัตเทพ เอี่ยมเวช

ที่มา : NBC, World bank, IMF, ADB, K-Reserch, CEIC data, DITP และ SCB EIC

ภาพรวมเศรษฐกิจของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม หลัง COVID-19

หัวข้อสำคัญของเอกสาร มีดังต่อไปนี้

  1. สรุปภาพรวมทั่วไปในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
  2. สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
  3. สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  4. แนวโน้มเศรษฐกิจของเวียดนาม

เรียบเรียงโดย : นายกวิน งามสุริยโรจน์

ที่มา : CEIC DATA, General Statistics Office, IMF, FitchRatings และ ADB

รัฐบาลสปป.ลาวให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับสหภาพยุโรป

รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมากกับความร่วมมือระหว่างประเทศกับสหภาพยุโรปในช่วง 45 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากทั้งสองฝ่ายได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตรวมถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ โดยสหภาพยุโรปให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาต่อสปป.ลาวภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างปี 2559-2563 มูลค่า 500 ล้านยูโร โดยมีโครงการต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็น ความมั่นคงด้านอาหาร สิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม การสร้างรัฐภายใต้หลักนิติธรรม การพัฒนาภาคเอกชนให้มีส่วนรวมต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสปป.ลาว ซึ่งสหภาพยุโรปได้ให้ความช่วยเหลือสปป.ลาวในกรอบการทำงานพหุภาคีผ่านองค์กรระหว่างประเทศที่หลากหลาย ในปัจจุบันที่มีการระบาดของCOVID-19 ทั่วโลกสหภาพยุโรปกำลังเตรียมที่จะช่วยเหลือสปป.ลาวในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุคหลังโควิด -19

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt140.php

เวียดนามปิดเส้นทางการบินของสายการบินใหม่ในปัจจุบัน

จากรายงานของหน่วยงานภาครัฐ เผยว่านาย Trinh Dinh Dung รองนายกรัฐมนตรีเวียดนามเห็นด้วยกับข้อปฏิบัติในการระงับเที่ยวบินชั่วคราวตามที่กระทรวงคมนาคมยื่นข้อเสนอไปในช่วงกลางเดือนพ.ค. ซึ่งเหตุผลของข้อเสนอดังกล่าว เพื่อหาทางออกของบริษัทการบินในประเทศที่เผชิญกับการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี สำหรับการฟื้นตัวของตลาดการบินภายในปี 2562 อีกทั้ง ทางกระทรวงฯ คาดว่าอุตสาหกรรมการบินของเวียดนามจะรองรับจำนวนผู้โดยสาร 42.7 ล้านคนในปีนี้ ลดลงร้อยละ 46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่ ผู้ให้บริการสายการบินคาดว่าจะรองรับจำนวนผู้โดยสาร 32.6 ล้านคน ลดลงร้อยละ 40 นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้ว สนามบินเวียดนามรองรับจำนวนผู้โดยสารประมาณ 116 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยสายการบินเวียดนามแอร์ไลน์กับสายการบินเวียดเจ็ทแอร์ เป็นผู้ครองตลาดการบินเวียดนามรายใหญ่ที่สุด

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-closes-skies-to-new-airlines-for-now-416334.vov

จัดเที่ยวบินเช่าเหมาลำสำหรับนักธุรกิจชาวเกาหลีใต้เดินทางไปยังเวียดนาม

จากรายงานของสำนักข่าว Yonhap News Agency เปิดเผยว่าสาธารณรัฐเกาหลีหรือเกาหลีใต้ (Republic of Korea : ROK) มีแผนที่จะส่งนักธุรกิจจำนวนมากไปยังเวียดนามและจีนผ่านเที่ยวบินเช่าเหมาลำ ซึ่งแผนการดังกล่าวมาจากกระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงานที่จะนำนักธุรกิจจำนวน 240 คน จากบริษัท 240 แห่ง เดินทางไปยังเวียดนามผ่านเที่ยวบินเช่าเหมาลำภายในวันที่ 22 ก.ค. หลังจากการจราจรทางอากาศทั่วโลกระงับเป็นเวลานาน ยิ่งกว่านั้น เกาหลีใต้ยังมีแผนที่จะส่งคนงานจำนวน 1,500 ไปยังเวียดนามในเดือนสิ.ค. ทั้งนี้ หลังจากที่นักธุรกิจเดินทางถึงจุดมุ่งหมายแล้ว ต้องถูกกักตัวเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนจะได้รับอนุญาตเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางสุดท้าย ขณะที่ เกาหลีใต้ยังคงทำงานอย่างใกล้ชิดกับพาร์ทเนอร์รายใหญ่ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางการค้า ท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัส

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/chartered-flights-to-bring-businessmen-into-vietnam-from-rok-416340.vov