เวียดนามแซงหน้าไทยด้านราคาส่งออกข้าว

สำนักงานส่งเสริมการค้าเวียดนามในประเทศไทย เปิดเผยว่าข้าวขาวหัก 5% ต่อตันในเวียดนาม ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 15 ดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าเมื่อเทียบกับสินค้าชนิดเดียวกันจากไทยในตลาดโลก ซึ่งเมื่อวันที่ 8 สิ.ค. ราคาข้าวอยู่ที่ประมาณ 478 – 482 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน โดยราคาส่งออกข้าวของไทยที่ลดลงนั้น เป็นผลมาจากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวของกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านสูญเสียความันจากไทยในตลาดจากประเท562อน ความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ ในปัจจุบันตามระบบ FOB ชี้ให้เห็นว่าราคาข้าวหัก 5% ของไทยอยู่ที่ 460 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน สูงกว่าข้าวอินเดียราว 90 ดอลลาร์สหรัฐ และสูงกว่าข้าวเวียดนามราว 8 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลไทยเร่งพิจารณาปรับนโยบายการส่งออกข้าว เพื่อที่จะฟื้นฟูการส่งออกเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ได้แก่ เวียดนามและอินเดีย โดยจะมุ่งเน้นในการตลาด การลดต้นทุนการผลิตและการวิจัยสายพันธุ์ข้าวใหม่ นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ไทยยังร่วมมือกับสมาคมผู้ส่งออกข้าว เพื่อที่จะหาพาร์ทเนอร์รายใหม่ในการขยายตลาด อย่างไรก็ตาม กรมแปรรูปและพัฒนาตลาด ระบุว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 3.9 ล้านตัน มูลค่า 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ด้านปริมาณ ลดลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน, ด้านมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-outstrips-thailand-in-rice-export-price-417219.vov

เวียดนามเผยเดือน มิ.ย. ส่งออกน้ำมันดิบไปยังจีนเพิ่มขึ้น แม้ว่าภาพรวมจะลดลงก็ตาม

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าปริมาณส่งออกน้ำมันดิบของเวียดนามประมาณ 395,074 ตัน (99,000 บาร์เรล) เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2 ในเดือน พ.ค. จีนยังคงเป็นผู้ซื้อน้ำมันดิบรายใหญ่ของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของยอดส่งออกน้ำมันดิบทั้งหมดของเวียดนาม โดยปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของเวียดนามไปยังจีนอยู่ที่ 74,000 บาร์เรลในเดือน มิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 จากเดือน พ.ค. เป็นผลมาจากความต้องการใช้น้ำมันของจีนเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงเดือน มิ.ย. ในขณะที่ ในช่วงเวลาดังกล่าว ปริมาณน้ำมันดิบที่เหลือ เวียดนามส่งออกไปยังมาเลเซีย (5,000 บาร์เรล, ลดลง 50% จากเดือน พ.ค.), ญี่ปุ่นกับไทย ประมาณ 10,000 บาร์เรล (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และ 7 จากเดือน พ.ค. ตามลำดับ) ทั้งนี้ ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบของเวียดนามอยู่ที่ 717,691 ตัน (174,000 บาร์เรล) ในเดือน มิ.ย. ลดลงร้อยละ 28 จากเดือน พ.ค.

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-crude-oil-exports-to-china-higher-in-june-despite-a-decrease-in-total-23148.html

เวียดนามส่งออกมันสำปะหลังพุ่ง ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการส่งออกมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมันสำปะหลังที่ 1.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 542 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 ในแง่ปริมาณและร้อยละ 3 ในแง่มูลค่า โดยจีนยังคงเป็นตลาดส่งออกสำคัญของเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันสำปะหลังเส้น (Cassava Chips) ที่มียอดส่งออกพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านทางตอนเหนือต้องการสินค้าดังกล่าวอยู่ในระดับสูง ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ 2227.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน อย่างไรก็ตาม ราคาส่งออกเฉลี่ยของมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมันสำปะหลัง ปรับตัวลดลงร้อยละ 11 ด้วยราคาประมาณ 345 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ หน่วยงานแปรรูปการเกษตรและพัฒนาตลาด คาดว่าราคาส่งออกมันสำปะหลังเส้นจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้ เป็นผลมาจากการขาดแคลนวัตถุดิบและความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากจีน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/cassava-exports-increase-over-sevenmonth-period-416944.vov

เวียดนามเผยการส่งออกรองเท้า 7 เดือนแรก พลาดเป้า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 เวียดนามส่งออกเครื่องหนังและรองเท้าเพียง 9.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นสินค้าส่งออก 10 อันดับแรกจะมีมูลค่ามากกว่า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้การส่งออกรองเท้าหดตัวลงร้อยละ 7.9 คิดเป็นมูลค่า 9.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ หลังจากตั้งเป้ายอดส่งออกเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ 22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าได้ตั้งเป้าที่จะส่งออก 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ แม้ว่าจุดมุ่งหมายดังกล่าวมีความทะเยอทะยานก็ตาม ด้วยเหตุนี้ ทางสมาคมเครื่องหนังและรองเท้าเวียดนามจึงปรับเป้าหมายการส่งออกลดลงร้อยละ 10 จากผลกระทบเชิงลบของการระบาด COVID-19 นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA จะช่วยให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ในปีนี้ เพื่อที่ชดเชยความเสียหายในช่วงต้นปีนี้ และในปัจจุบันสหภาพยุโรปยังคงเป็นตลาดดั้งเดิมสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของยอดส่งออกรวมต่อปี หรือประมาณ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/footwear-exports-in-seven-months-fails-to-break-us10-billion-mark-416895.vov

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยช่วง 7 เดือนแรก ยอดส่งออกของภาคเกษตร ป่าไม้และประมงที่ 22.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง อยู่ที่ 22.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่

  • ผลผลิตการทำฟาร์ม 10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ผลผลิตป่าไม้ 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ผลผลิตการประมง 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/sevenmonth-agroforestryaquaculture-export-reaches-223-billion-usd/179675.vnp

เวียดนามเผยรายการสินค้าส่งออก 23 รายการที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าสินค้าส่งออกทั้งหมด 23 รายการที่มีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 87 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ซึ่งสินค้าส่งออกดังกล่าว ประกอบด้วยโทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วน, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ, เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ, เครื่องจักร, ชิ้นส่วนอะไหล่, รองเท้า, ไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้, ยานพาหนะและชิ้นส่วน, อาหารทะเล, เหล็กและเหล็กกล้า เป็นต้น สำหรับภาคเศรษฐกิจในประเทศยังคงมีแนวโน้มสดใส ด้วยมูลค่าการส่งออกรวม 50.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ในขณะเดียวกัน ภาคการลงทุนจากต่างชาติ ลดลงร้อยละ 5.7 มูลค่า 95.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (65.2% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) ทั้งนี้ สำนักงานนำเข้าและส่งออก ระบุว่ากระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนในการบริหารองค์กรควบคู่กับดิจิทัล

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/23-commodities-see-exports-reach-over-us1-billion-each-416715.vov

มูลค่าการส่งออกกัมพูชาเพิ่มขึ้น สวนทางการนำเข้าที่ลดลง

มูลค่าการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาอยู่ที่ 5.9 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบเป็นรายปีในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ โดยมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของกัมพูชาอยู่ที่ 8.1 พันล้านล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 1 ในช่วงเวลาเดียวกัน จากข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ (MFAIC) ซึ่งมูลค่าการนำเข้าที่ลดลงเป็นผลมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในเดือนมีนาคม (0.4%) และการเติบโตติดลบในเดือนเมษายน (13.9%) และพฤษภาคม (26.5%) ขณะที่การนำเข้าสินค้าสำคัญลดลงโดยเฉพาะวัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ (โดยเฉพาะผ้า) และเครื่องจักรกล โดยการส่งออกของกัมพูชายังคงรักษาระดับการเติบโตที่ดีแม้ว่าประเทศคู่ค้าทั่วโลกจะเผชิญกับการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งการเติบโตมาจากการส่งออกที่ขยายตัวสูงในเดือนมกราคม (25.4%) และกุมภาพันธ์ (22.8%) และพฤษภาคม (25.3%) โดยการเจริญเติบโตของการส่งออกมาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 45 จักรยานร้อยละ 18 ข้าวร้อยละ 29 และผลิตภัณฑ์อื่นๆร้อยละ 30

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50749966/exports-rise-in-value-lower-imports/

หอการค้าชี้ส่งออกปี 63 ติดลบหนักสุดรอบ10ปี

ม.หอการค้าฯ แนะทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ของรัฐบาล เร่งสนับสนุนให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เข้าถึงแหล่งเงินทุนฝ่าวิกฤติโควิด-19  เผยส่งออกปีนี้ติดลบหนักสุดในรอบ 10 ปี นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผล “การวิเคราะห์การส่งออกไทยครึ่งปีหลังปี 2563 : ไร้วัคซีนโควิด-19” ว่า แนวโน้มการส่งออกไทยในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 ยังคงเผชิญแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยสมมติฐานหากสถานการณ์โลกมีการผลิตวัคซีนโควิดได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ การส่งออกไทยในปี 2563 จะหดตัวลงที่ 5.5% และ ถ้าสามารถผลิตวัคซีนได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 จะหดตัวประมาณ 9.6% แต่ถ้ายังไม่มีวัคซีน จะส่งผลให้การส่งออกไทยทั้งปี อาจติดลบสูงถึง 13.5% หรือคิดเป็นมูลค่าการส่งออกที่หายไปประมาณ 7 แสนล้านบาทถึง 1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นตัวเลขติดลบหนักที่สุดในรอบ 10 ปี โดยสินค้าส่งออกที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ สินค้าในกลุ่มรถยนต์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน และเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนการส่งออกไทยในครึ่งปีแรกหดตัวอย่างรุนแรงโดยเฉพาะเดือนมิถุนายน หดตัวถึง 23.1% แต่ก็ยังมีสินค้าบางส่วนที่ยังสามารถขยายตัวได้ อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ,แผงวงจรไฟฟ้า,เคมีภัณฑ์,อากาศยานและชิ้นส่วน,เครื่องสำอาง,ผลิตภัณฑ์ยาง,ผลไม้และข้าว

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/443605

เวียดนามเผยกลางเดือน ก.ค. ส่งออกพริกไทยสูงถึง 385 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่ากลางเดือนกรกฎาคม ปริมาณการส่งออกพริกไทยของเวียดนามอยู่ที่ 182,000 ตัน มูลค่าราว 385 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับการระบาดของไวรัส COVID-19 ไปทั่วโลก แต่การส่งออกพริกไทยของเวียดนามไปยังตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ อียิปต์และสหราชอาณาจักร ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ สมาคมพริกไทยเวียดนาม (VPA) แนะนำให้ผู้ส่งออกควรมุ่งเน้นการส่งออกไปยังตลาดที่มีศักยภาพ ซึ่งมีการผ่อนคลายมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ได้แก่ จีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น เป็นต้น และส่งเสริมการบริโภคในประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เผยว่าผลผลิตพริกไทยของเวียดนามมีสัดส่วนร้อยละ 95 เพื่อเตรียมส่งออกไปยังต่างประเทศ และอีกร้อยละ 5 เพื่อการบริโภคในประเทศ โดยทางกระทรวงฯ เน้นในการวางแผนเตรียมพื้นที่เพาะปลูกพริกไทย และส่งเสริมการผลิตผ่านวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี เพื่อได้มีมาตรฐานการทำฟาร์มและเชื่อมโยงการผลิตเกษตรเชิงอนุรักษ์

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pepper-export-turnover-hits-385-million-usd-by-midjuly/179349.vnp

เวียดนามอาจส่งออกข้าวแซงไทย

เวียดนามอาจส่งออกข้าวแซงไทยในปีนี้ เนื่องจากราคาที่แข่งขันกันได้และการยกเลิกโควต้าส่งออกข้าว โดยข้อมูลทางสถิติจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่าปริมาณการส่งออกข้าวของไทยอยู่ที่ 2.57 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 54.2 พันล้านบาท (1.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 31.9 ในแง่ปริมาณ และร้อยละ 13.2 ในแง่มูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ในขณะเดียวกัน ข้อมูลจากสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) ระบุว่าช่วงเวลาเดียวกันนั้น ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามอยู่ที่ราว 2.9 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.41 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ในแง่ปริมาณ และร้อยละ 18.9 ในแง่มูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยมองว่าในปีนี้ ปริมาณการส่งออกข้าวจะอยู่ที่ 6.5 ล้านตัน ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาและต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 7.5 ล้านตัน เป็นผลมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ ความต้องการทั่วโลกที่หดตัวลงจากการระบาดของไวรัส เงินบาทแข็งค่าและผลผลิตที่อยู่ในระดับต่ำ จากภัยแล้งที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA คาดว่าจะช่วยให้เวียดนามสามารถกระจายตลาดการส่งออกข้าวให้หลากหลายมากขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-may-surpass-thailand-in-rice-export/179355.vnp