UNFPA ให้การสนับสนุนผู้หญิงและเด็กหญิงในสปป.ลาว

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) มอบเงินช่วยเหลือซึ่งประกอบด้วยรายการด้านสุขอนามัยและสิทธิต่างๆสำหรับผู้หญิงและเด็กผู้หญิงในช่วงการระบาดของ Covid-19 รวมทั้งเสบียงอาหารที่จำเป็นอีกด้วย UNFPA ทำงานอย่างแข็งขันในการสนับสนุนพันธมิตรของรัฐบาลรวมถึงการขยายพันธมิตรและความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อร่วมมือในการปรับปรุงสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิง สปป.ลาวได้ร่วมมือกับ UNFPA โดยการเป็นหุ้นส่วนมุ่งเน้นไปที่ค่านิยมการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันและการสนับสนุนในการปกป้องผู้หญิงและเด็กหญิงจากความรุนแรงรวมถึงสนับสนุนสิทธิขั้นพื้นฐานเช่นโภชนาการที่เพียงพอและการศึกษาที่เหมาะสมแก่ผู้หญิงและเด็กภายใต้กรอบสัญญาดังกล่าวนอกจากจะเป็นการส่งเสริมความเท่าเทียมทางสังคมแล้วในอีกแง่การร่วมมือดังกล่าวจะนำซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของสปป.ลาว

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2020/06/07/unfpa-lends-support-to-women-and-girls-in-laos

ภาคการก่อสร้างเมียนมาร้องขอนโยบายผ่อนปรนการใช้เงินสด

ธุรกิจก่อสร้างกำลังเรียกร้องให้มีการผ่อนปรนกฎระเบียบและการลดหย่อนภาษีผ่านความช่วยเหลือทางการเงินจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 สมาคมผู้ประกอบการก่อสร้างเมียนมา (MCEA) กล่าวว่ามีวิธีอื่นนอกเหนือจากการใช้เงินสดที่รัฐบาลสามารถช่วยบรรเทาภาระของผู้รับเหมาและนักพัฒนาในท้องถิ่น เช่น การลดอากรแสตมป์สำหรับชาวต่างชาติ การจำนองที่ราคาถูกและยืดหยุ่นมากขึ้น ในย่างกุ้งปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมประมาณ 15,000 ยูนิตอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 40% สามารถเปิดขายให้กับชาวต่างชาติ ได้ทั้งหมด 6,000 ยูนิต สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ถึง 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลาดคอนโดมิเนียมอาจดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติได้หากเงื่อนไขที่อนุญาตเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โครงการก่อสร้างจำนวนมากได้หยุดชะงักจากการขาดแคลนเงินสดความต้องการที่ลดลงและความล่าช้าในการนำเข้าวัสดุก่อสร้าง  รัฐบาลจะช่วยให้ภาคการก่อสร้างเนื่องจากเกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งจะอนุญาตให้กลับมาทำงานได้แต่ต้องปฏิบัติตามแนวทางด้านสุขภาพและการป้องกันอย่างถูกต้อง  รัฐบาลกำลังจะเปิดตัวโครงการโครงสร้างพื้นฐานใหม่โดยใช้กองทุนของรัฐและสินเชื่อระหว่างประเทศและอนุมัติการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับภาคเอกชน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-construction-sector-requests-policy-relief-over-cash.html

เมียนมาส่งออกไปบังคลาเทศผ่านชายแดนมังดอร์มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เดือนมิถุนายน 2563 เมียนมาส่งออกผ่านชายแดนผ่านชายแดนมังดอว์มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปยังบังคลาเทศและส่วนใหญ่เป็นสินค้าอย่างพลาสติก ซึ่งการค้าชายแดนมังดอร์ หยุดตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤษภาคมและเปิดในเดือนมิถุนายน 2563 จากการแพร่ระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/more-than-us-1-million-worth-products-exported-to-bangladesh-via-maungdaw-border-trade

การท่องเที่ยวกัมพูชาระหว่างการระบาดของ Covid-19

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาข้อมูลจากทางภาครัฐแสดงให้เห็นว่า COVID-19 ได้ส่งผลให้ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวปิดตัวเกือบ 3,000 แห่ง และส่งผลกระทบต่อแรงงานกว่า 45,045 คน โดยการว่างงานและหนี้สินที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจสังคม ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวคาดการณ์ว่าภาคการท่องเที่ยวจะมีรายรับ 3 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายนมีโรงแรม 18 แห่ง และเกสต์เฮาส์ 96 แห่งปิดทำการอย่างถาวร โดยยังคงมีโรงแรม 172 และเกสต์เฮาส์ 99 แห่งได้หยุดดำเนินกิจการชั่วคราวในขณะนี้ ซึ่งในปัจจุบันมีโรงแรม 40 แห่งและเกสต์เฮาส์ 66 แห่ง เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ โดยรัฐบาลจะปรับมาตรการกักกันและเตรียมการพิเศษ ซึ่งหน่วนงานกำลังตั้งคำถามหากสถานการณ์ยังคงดำเนินต่อไป ภาครัฐจะสามารถจัดการได้อย่างไรและภาคธุรกิจจะเป็นอย่างไร รวมถึงการว่างงานจะสูงขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50740504/tourism-savaged-by-covid-19/

คนเวียดนามกว่า 7.8 ล้านคนได้รับผลกระทบจาก COVID-19

กระทรวงแรงงาน ภายใต้กระทรวงแรงงาน ผู้พิการและสวัสดิการสังคม (MOLISA) เปิดเผยว่าคนตกงานสูงถึง 1.4 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูป ค้าปลีก โลจิสติกส์และภาคธุรกิจการบริการ เป็นต้น บริษัทยักษ์ใหญ่บางแห่ง ประกาศปลดพนักงานเพิ่มขึ้น อาทิ บริษัทผลิตรองเท้าสัญชาติไต้หวัน “Pouyuen Vietnam” เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างรายใหญ่ที่สุดในเมืองโฮจิมินห์ ในขณะที่ บริษัทรองเท้าอีกเมืองหนึ่ง “Hue Phong Footwear Jsc” ลดจำนวนแรงงานลงเหลือครึ่งหนึ่ง 4,600 คน ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ จำนวนผู้คนที่ได้รับประโยชน์จากการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เป็น 565,000 ราย ส่งผลให้รัฐบาลต้องจ่ายเงินประมาณ 7 ล้านล้านด่ง (300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ อัตราการขยายตัวของ GDP ในช่วงครึ่งปีแรก อยู่ที่ 1.81% ถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก การว่างงานเพิ่มขึ้นและธุรกิจมีรายได้ลดลง ท่ามกลางมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าว

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/78-million-vietnamese-workers-jobs-affected-by-covid19-415530.vov

รัฐบาลสปป.ลาวผ่อนปรนมาตรการป้องกัน COVID-19

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขรองศาสตราจารย์ดร. Bounkong Syhavong ในนามของคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการป้องกันและควบคุม COVID-19 ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการประกาศใหม่ที่ออกโดยสำนักนายกรัฐมนตรีในงานแถลงข่าวในเวียงจันทน์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยในรายละเอียดระบุไว้ว่ารัฐบาลจะมีการผ่อนปรนให้กิจกรรมต่างๆเริ่มกลับมาดำเนินการได้ เช่นกีฬาต่างๆ คาสิโน การชุมนุมทางสังคมบางอย่างจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อภายใต้การตัดสินใจของรัฐบาล หรือกิจกรรมต่างๆ โดยประกาศจะมีผลนับตั้งแต่ 1 ถึง 31 กรกฎาคม ในขณะที่ด่านชายแดนรัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะปิดการข้ามชายแดนแบบต่อไปอย่างไรก็ตามการขนส่งสินค้ายังสามารถทำได้นอกจากนี้รัฐบาลจะระงับวีซ่านักท่องเที่ยวประเทศที่สถานการณ์ COVID-19 ยังมีการระบาดต่อไป

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt125.php

บริษัทจากญี่ปุ่นเกือบ 90 แห่ง ในกัมพูชากำลังได้รับผลกระทบจาก Covid-19

ประธานสมาคมธุรกิจญี่ปุ่นแห่งกัมพูชา (JBAC) กล่าวว่าธุรกิจของญี่ปุ่นที่ดำเนินกิจกรรมในกัมพูชาประมาณ 87 แห่ง กำลังได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ได้ขอความช่วยเหลือและความร่วมมือจากกระทรวงอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่าผลกระทบของ COVID-19 ส่งผลกระทบทั่วโลกไม่จำกัดเฉพาะประเทศกัมพูชา แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ออกมาตรการและนโยบายอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ต่อด้านธุรกิจและสภาพแวดล้อมการลงทุนในประเทศกัมพูชา ซึ่งประธานเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ (PPSEZ) กล่าวว่าในการเปิดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 ว่าการเงินของบริษัทยังคงแข็งแกร่งทั้งในแง่ของผลกำไรและรายได้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยกล่าวว่าปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทาย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50739617/nearly-90-japanese-firms-in-the-kingdom-hit-by-virus/

เวิลด์แบงก์ชี้จีดีพีไทยปี’63 หดตัวกว่า 5% คาดตกงานและสูญเสียรายได้จากโควิด-19 กว่า 8.3 ล้านคน

นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยว่า ยอมรับเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากโควิด-19 โดยเวิลด์แบงก์คาดการณ์อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ (GDP) ปีนี้อาจหดตัวกว่า 5% และน่าจะใช้เวลามากกว่า 2 ปีกว่า ที่จะกลับสู่ระดับจีดีพีก่อนที่จะประสบปัญหาโควิด-19 การส่งออกคาดหดตัวประมาณ 6.3% ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงรายไตรมาสที่แรงที่สุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากความต้องการสินค้าไทยในต่างประเทศยังคงอ่อนแอ จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะลดลง 3.2% เนื่องจากมาตรการห้ามการเดินทางและรายได้ที่ลดลง ซึ่งจำกัดการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยเฉพาะในไตรมาส 2/2563 ประกอบกับมีคนตกงานกระจายไปทั่ว และกระทบต่อครัวเรือนชนชั้นกลางไปถึงครัวเรือนที่ยากจน ภาคการท่องเที่ยวที่คิดเป็นสัดส่วน 15% ของจีดีพีได้รับผลกระทบอย่างมากจากการที่ไทยเกือบจะห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศตั้งแต่เดือนมี.ค. 2563 “ประมาณการว่าไทยจะมีคนตกงานและสูญเสียรายได้จากโควิด-19 กว่า 8.3 ล้านคน ทำให้งานมากมายโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการมีความเสี่ยง ซึ่งจากรายงานยังพบอีกว่าจำนวนผู้ที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือผู้ที่มีรายได้ต่อวันต่ำกว่า 5.5 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ) จะสูงขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัวจาก 4.7 ล้านคนในไตรมาสแรกเป็น 9.7 ล้านคนในไตรมาส 2/2563 โดยเฉพาะ สัดส่วนของคนที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจในกลุ่มครัวเรือนชนชั้นกลางในภาคการผลิตและภาคบริการจะเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว จาก 6% เป็น 20%”

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_4412170

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมสนับสนุนแรงงานสปป.ลาวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค Covid-19

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ปฏิญาณว่าจะรักษาผลประโยชน์และสิทธิของแรงงานสปป.ลาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือผู้ที่ถูกปลดออกหรือหยุดงานชั่วคราวในช่วงที่มีการระบาดของ Covid-19 ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคนงานได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น เนื่องจากคนส่วนใหญ่ได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสังคม อย่างไรก็ตามการระบาดใหญ่ของโลกได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและคนงาน ส่วนใหญ่ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิประโยชน์การว่างงานไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียตำแหน่งงานชั่วคราวหรือถาวร  โดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมทั่วประเทศทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นในการให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับจำนวนคนที่ต้องการความช่วยเหลือ กระทรวงยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงสมาชิกของระบบประกันสังคมผ่านกลไกความร่วมมือการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการส่งเสริมโครงการแรงงาน กระทรวงได้สั่งให้เจ้าหน้าที่แรงงานในทุกแขวงให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนผู้ว่างงานในปัจจุบัน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานที่มีอยู่ในแต่ละแขวง โดยกระทรวงจะจัดให้มีโครงการสนับสนุนสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานบนพื้นฐานอิสระหรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระเช่นเดียวกับผู้ที่หวังจะหางานเพิ่มในประเทศอื่นเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น กระทรวงได้ร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มเสี่ยงกับสถานการณ์ Covid-19 ในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ยังคงส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่สูงการเข้าถึงโอกาสที่เป็นธรรมสำหรับทุกคนและส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของเด็กผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry124.php

รัฐบาลสปป.ลาวพยายามรักษาอัตราการเติบโตของการผลิตทางการเกษตร

รัฐบาลจะพยายามรักษาอัตราการเติบโตของการผลิตทางการเกษตรไว้ที่ 2.3-2.5% ในปีนี้เพื่อรับมือกับความท้าทายของภาคธุรกิจที่ต้องเผชิญในปีนี้ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ซึ่งการคาดการณ์ผลิตทางการเกษตรอาจหดตัวลงร้อยละ 0.4 Dr. Lien Thikeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้รายงานเศรษฐกิจภาคเกษตรในที่ประชุมสมัยที่ 9 ของรัฐสภาครั้งที่ 8 ของรัฐสภา (NA) “การผลิตพืชควรถึง 1.8 ล้านตันในปีนี้ โดยผลผลิตผลไม้ 1.3 ล้านตัน เผือก 300,000 ตัน กาแฟ 160,000 ตัน ข้าวโพดหวาน 1 ล้านตัน มันสำปะหลัง 3.3 ล้านตันและอ้อยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1.5 ล้านตัน ปศุสัตว์ควรขยายตัวร้อยละ 6 การเลี้ยงปลาขยายตัวร้อยละ 10” ในเชิงพาณิชย์ของการเกษตรและการป่าไม้รัฐบาลจะสนับสนุนการส่งออกดดยตั้งเป้าหมายที่มากกว่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ Dr. Lien Thikeoสนับสนุนแนวคิดการเกษตรที่สะอาดเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้และการจ้างงานของเกษตรกรซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt124.php