สหภาพยุโรปถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างกัมพูชาบางส่วนแล้ว

ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมูลค่าราว 7 พันล้านดอลลาร์ต่อปีของกัมพูชากำลังจะถูกถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) บางส่วนที่สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป (EU) โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตามการตัดสินใจของสหภาพยุโรปตั้งแต่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ แม้ว่ารัฐบาลและภาคเอกชนจะพยายามเจรจาต่อรองให้ EU ไม่ดำเนินการหรืออย่างน้อยก็ชะลอการถอดถอนออกไปก่อน เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 ต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาและในเดือนกุมภาพันธ์คณะกรรมการบริหารซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการยุโรปได้แนะนำให้ถอดถอนบางส่วนของโครงการ EBA ตั้งแต่เดือนสิงหาคมโดยอ้างถึงการละเมิดหลักการของกัมพูชาอย่างร้ายแรงในด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงานภายในประเทศที่ยังไม่ถูกแก้ปัญหา โดยการระงับดังกล่าวส่งผลกระทบต่อหนึ่งในห้า (1.08 พันล้านดอลลาร์) ของการส่งออกประจำปีของกัมพูชาที่ทำการส่งออกสินค้าไปยัง 27 ประเทศ ของกลุ่มสหภาพยุโรป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50753939/the-eus-tax-free-status-partially-withdrawn/

AFD สหภาพยุโรปพยายามรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของสปป.ลาว

สหภาพยุโรป (EU) ร่วมกับ Agence Française de Développement (AFD) สนับสนุน 6.5 ล้านยูโรแก่สปป.ลาวเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและดำเนินการจัดการแบบบูรณาการของพื้นที่ที่อุดมด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ในสปป.ลาว โครงการจะดำเนินการจัดการแบบบูรณาการพื้นที่ที่อุดมด้วยความหลากหลายทางชีวภาพสามแห่งซึ่งประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติน้ำแอด-ภูเลย พื้นที่บางส่วนของจังหวัดบอริคำไซและพื้นที่ชุ่มน้ำ “Xe Champhone Ramsar” วัตถุประสงค์ความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปเพื่อสนับสนุนชุมชนและเกษตรกรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนในการบรรเทาผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการลงทุนขนาดใหญ่และโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจุบันสปป.ลาวถือเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญระดับโลกและได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน 200 bioregions ที่สำคัญที่สุดของโลกสปป.ลาวเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญระดับโลกและได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน 200 bioregions ที่สำคัญที่สุดของโลกบริษัท เอกชนดำเนินธุรกิจสีเขียว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_AFD151.php

สมาคมรองเท้ากัมพูชาเรียกร้องให้ EU เลื่อนการถอดถอน EBA ของกัมพูชา

พนักงานมากกว่า 40,000 คน ในภาคการผลิตรองเท้าได้รับผลกระทบแล้วในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากการระบาดของ COVID-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ โดยแรงงานกว่า 40,000 คน ในอุตสาหกรรมมีความเสี่ยงที่จะตกงาน ซึ่งข้อมูลถูกเปิดเผยโดยสมาคมรองเท้ากัมพูชา (CFA) ในแถลงการณ์ โดยได้ขอให้สหภาพยุโรปชะลอการถอนสิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) ซึ่งสหภาพยุโรปถอดถอนสิทธิพิเศษของกัมพูชาจากปัญหาสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ รวมถึง CFA ประกาศถึงปริมาณการสั่งซื้อที่มีอยู่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 ที่จะส่งผลให้โรงงานกว่า 70 แห่ง ของสมาชิกในกลุ่มกำลังเตรียมการสำหรับการลดการจ้างงานต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50750848/cambodia-footwear-association-appeals-to-eu-again-to-postpone-eba-withdrawal-says-80000-jobs-at-risk/

นักการทูตและนักธุรกิจยุโรปกว่า 226 คน เดินทางไปยังเวียดนามสำหรับการลงทุน

สายการบิน Bamboo Airways ออจากแฟร้งค์เฟิรต์ บินไปท่าอากาศยานนานาติโหน่ยบ่ายที่ฮานอย เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม โดยคุณ Marko Walde หัวหน้าของคณะผู้แทนสหภาพยุโรป กล่าวว่าสิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมการลงทุนและกิจกรรมการทำธุรกิจต่างๆ และจากการบินดังกล่าว ถือเป็นสัญลักษณ์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอียู-เวียดนาม รวมถึงความร่วมมือของเยอรมันอีกด้วย นับว่าเป็นก้าวแรกเมื่อทำข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA ที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิ.ค. 2563 ทั้งนี้ เวียดนามปิดสายการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศและการเดินทางเข้ามาของชาวต่างชาติในช่วงสิ้นเดือนมี.ค. แต่ว่าอนุญาตได้กรณีที่ผู้เดินทางมีหนังสือเดินทางการทูตหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญและแรงงานที่มีทักษะขั้นสูงเท่านั้น นอกจากนี้ ณ วันที่ 2 สิ.ค. เวียดนามมีจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 จำนวน 590 ราย และมีผู้เสียชีวิต 3 ราย

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/226-european-diplomats-businesspeople-arrive-in-vietnam-for-investment-activities-416822.vov

รัฐบาลสปป.ลาวให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับสหภาพยุโรป

รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมากกับความร่วมมือระหว่างประเทศกับสหภาพยุโรปในช่วง 45 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากทั้งสองฝ่ายได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตรวมถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ โดยสหภาพยุโรปให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาต่อสปป.ลาวภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างปี 2559-2563 มูลค่า 500 ล้านยูโร โดยมีโครงการต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็น ความมั่นคงด้านอาหาร สิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม การสร้างรัฐภายใต้หลักนิติธรรม การพัฒนาภาคเอกชนให้มีส่วนรวมต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสปป.ลาว ซึ่งสหภาพยุโรปได้ให้ความช่วยเหลือสปป.ลาวในกรอบการทำงานพหุภาคีผ่านองค์กรระหว่างประเทศที่หลากหลาย ในปัจจุบันที่มีการระบาดของCOVID-19 ทั่วโลกสหภาพยุโรปกำลังเตรียมที่จะช่วยเหลือสปป.ลาวในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุคหลังโควิด -19

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt140.php

เวียดนามส่งออกไปยุโรปเพิ่มขึ้น ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี “EVFTA”

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าโควตาข้าวเวียดนาม ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี อียู-เวียดนาม “EVFTA” จะช่วยผลักดันการส่งออกข้าวของเวียดนามในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิ.ค. ยุโรปตกลงจะให้โควตาข้าวแก่เวียดนาม จำนวน 80,000 ตันต่อปีและเปิดเสรีการค้าข้าวหัก (Broken Rice) รวมถึงภายใน 3-5 ปี ภาษีนำเข้าข้าวจะเป็น 0% ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการฝ่ายนำเข้าและส่งออกของ MoIT กล่าวว่าในปี 2562 การส่งออกข้าวของเวียดนามไปยุโรปที่ 10.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เหตุจากภาษีนำเข้าอยู่ในระดับสูงในตลาดนี้ โดยปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้าอียูแก่เวียดนาม อยู่ที่ 175 ยูโรต่อตันข้าวสาร เป็นต้น “โควตาข้าวจำนวน 80,000 ตันให้กับเวียดนาม ตามข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าว นับว่าเป็นโอกาสที่ดีแก่ผู้ประกอบการชาวเวียดนาม เพื่อชูการส่งออกข้าวไปยังตลาดนี้” ในขณะเดียวกัน ยุโรปได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับโควตาดังกล่าว ได้แก่ ใบรับรองแหล่งกำเนิดข้าวของเวียดนาม จะต้องมีใบรับรองความถูกต้องที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐของเวียดนาม นอกจากนี้ ตามข้อมูลกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่ารายได้จากการส่งออกข้าวอยู่ที่ 1.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวนราว 3.5 ล้านตัน ในช่วงครึ่งปีแรกนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 และ 4.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ ฟิลิปปินส์ยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ตั้งแต่เดือนม.ค.จนถึงพ.ค. ด้วยมูลค่า 598.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 40 ของยอดส่งออกข้าวรวม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/749265/viet-nam-to-increase-rice-exports-to-eu-under-evfta.html

สมาคมธุรกิจเรียกร้องให้สหภาพยุโรปยืดการถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้าของกัมพูชา

สมาคมภาคธุรกิจสามแห่งในหมวด เสื้อผ้า รองเท้าและสินค้าด้านการท่องเที่ยว และเชิงพาณิชย์ ได้ทำการส่งจดหมายไปยังรัฐสภายุโรปอีกครั้งเพื่อขอเลื่อนการถอดถอน สิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) บางส่วนออกไปก่อน เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อภาคการผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าในกัมพูชา ถูกส่งโดยสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในกัมพูชา (GMAC) สมาคมรองเท้าในกัมพูชา (CFA) และหอการค้ายุโรปแห่งกัมพูชา (EuroCham) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้สำหรับการถอดถอนบางส่วนของ EBA ในกัมพูชาในวันที่ 12 สิงหาคม โดยเนื้อความบนจดหมายจากสมาคมกล่าวว่าตั้งแต่มีการระบาดใหญ่มีโรงงานได้รับผลกระทบถึง 400 แห่ง ในภาคเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและสินค้าการท่องเที่ยวของกัมพูชาต้องหยุดการดำเนินงานชั่วคราว ซึ่งธุรกิจภาคการผลิตเสื้อผ้า รองเท้าและสินค้าการท่องเที่ยว ถือเป็นกลุ่มผู้จ้างงานที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชาและให้การสนับสนุนแรงงานถึงประมาณ 1 ล้านคน ในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50740483/industry-makes-another-appeal-against-eu-tariffs/

สหภาพยุโรปจะยกเลิกภาษีปลาทูน่าจากเวียดนาม เมื่อข้อตกลงการค้ามีผลบังคับใช้

สหภาพยุโรปจะปรับลด/ยกเลิกภาษีผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าของเวียดนาม (สด,แช่เย็นแช่แข็ง) ประกอบไปด้วยปลาทูน่ากระป๋อง ปริมาณ 11,500 ตัน และลูกชิ้นปลาทูน่ากระป๋อง 500 ตัน ล้วนได้รับการยกเว้นทุกปี เมื่อข้อตกลงการค้าเสรีทั้งสองฝ่ายมีผลบังคับใช้ในเดือนสิ.ค. ซึ่งข้อตกลงดังกล่าว คาดว่าจะสร้างโอกาสอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมปลาทูน่าของเวียดนามเกี่ยวกับการเข้าถึงตลาดใหม่ ได้รับการลดภาษีและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ อาทิ ไทยและจีน ในขณะที่ กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่มีส่วนแบ่งการตลาดขนาดใหญ่ในตลาดอียู แต่ว่ายังไม่ได้รับข้อตกลงการค้าเสรีใดๆเลย ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเล (VASEP) ระบุว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดในตลาดส่งออกสำคัญ ยังไม่อาจคาดการณ์ได้ ซึ่งคู่แข่งขันสำคัญ ได้แก่ เอกวาดอร์ ไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA ถือเป็นข้อตกลงทันสมัยที่สุด ครอบคลุมด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอียูกับประเทศกำลังพัฒนา

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/738477/eu-to-remove-tariffs-on-vietnamese-tuna-once-trade-deal-takes-effect.html

เวียดนามเผยยอดส่งออกปลาสวายไปยังยุโรปดิ่งลงฮวบ เหตุโควิด-19

จากรายงานของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ากลางเดือนพ.ค. การส่งออกปลาสวาย (Pangasius) ของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรป มีมูลค่า 53.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลก รวมถึงสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกปลาสวายของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรปลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ราคาปลาสวายที่ขายเพื่อเป็นวัตถุดิบปรับตัวลดลง เช่นเดียวกับจีนที่ยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ที่มีแนวโน้มชะลอตัว นอกจากนี้ เพื่อลดผลกระทบจากปัจจัยข้างต้น ภาคการประมงเร่งส่งเสริมสร้างความเข็มแข็งในการควบคุมสภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและคุณภาพของการผลิต ช่วยให้เกษตรกรและธุรกิจเข้าร่วมการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/tra-fish-exports-to-eu-see-a-sharp-fall-due-to-covid19-414903.vov

สหภาพยุโรปจะให้ความช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยวกัมพูชาหลังการระบาด Covid-19

กัมพูชาได้ขอให้สหภาพยุโรปให้ความช่วยเหลือในภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 โดยคำร้องขอดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวทองคอนและเอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำกัมพูชา ได้หารือทวิภาคีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อหารือเกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสี่เสาหลักเศรษฐกิจของประเทศ โดยทางกัมพูชาได้ขอคำแนะนำจากสหภาพแรงงานในการฟื้นฟูภาค ในขณะเดียวกันก็พยายามส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวของกัมพูชาในตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งเอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปกล่าวว่าสหภาพยุโรปจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวของกัมพูชา โดยหวังว่าการร่วมมือกันจะช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกัมพูชาและสหภาพยุโรปต่อไป ซึ่งกัมพูชามีนักท่องเที่ยวจากสหภาพยุโรปจำนวน 793,937 คน ลดลง 3% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยในไตรมาสแรกของปี 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงถึง 24% โดยมีผู้เข้าชมเพียง 221,066 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50728834/eu-to-assist-tourism-sector-post-covid-19/