ถั่วแระสด ทะลักเข้าศูนย์สินค้าโมนยวา

ศูนย์สินค้าโมนยวา (Monywa Commodity Center) เตรียมจัดส่งถั่วแระสดที่เก็บเกี่ยวใหม่ในราคา 35,000 จัตต่อตะกร้า โดยเริ่มขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ท่ามกลางความไม่แน่นอนผลผลิตที่มีจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ผลผลิตจำนวนมากทำให้ราคาลดลงเล็กน้อยที่ 5,000-7,000 จัตต่อตะกร้า จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.2563 ถึง 30 ก.ย.2564 ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกถั่วแระกว่า 214,000 ตันไปต่างประเทศ สร้างรายได้กว่า 144 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตลาดหลักจะเป็นอินเดีย และบางส่วนถูกส่งออกไปยังสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซีย ทั้งนี้ข้อตกลงการค้าแบบ G to G ระหว่างเมียนมาและอินเดีย พร้อมกับการผ่อนคลายเกี่ยวกับโควตานำเข้า จะทำให้ตลาดแข็งแกร่งในอีก 5 ปีข้างหน้า
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/fresh-pigeon-pea-flowing-into-monywa-commodity-centre/#article-title

ถั่วเมียนมาเริ่มเป็นที่ต้องการจากอินเดีย

ผู้ค้าถั่วเมียนมา เผย ตลาดถั่วและถั่วพัลส์ของเมียนมาคาดว่าจะเติบโตจากกลุ่มผู้ซื้อที่จากอินเดีย ชาวไร่ชาวสวนผู้ปลูกถั่วอินเดียประสบปัญหาสภาพอากาศเลวร้ายต่อการปลูกถั่ว ดังนั้นความต้องการจะเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า กระทรวงการเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร ของอินเดียอนุญาติให้นำเข้าถั่วดำรวมถึงถั่วพัลส์อื่น ๆ จากเมียนมา ด้วยการผ่อนคลายเงื่อนไขในการขนส่งจนถึงวันที่ 30 ธ.ค.2564ราคาของถั่วมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นราคาจึงไม่น่าจะลดลงจนถึงเดือนธ.ค. ปัจจุบัน ราคาถั่วเขียว (ชเววา) ต่อตะกร้าอยู่ที่ 44,000 จัต ถั่วเขียว 40,000 จัตต่อตะกร้า ถั่วดำ 46,000 จัตต่อตะกร้า และถั่วลิสง 59 ,000 จัตต่อตะกร้า ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาออกถั่ว 1.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกทางเรือ 966.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 1.24 ล้าน และส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านผ่านชายแดน 604.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากจำนวน 786,920 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bean-market-sees-high-potential-on-possible-demand-of-india/#article-title

อาเซียน เจรจาอินเดียผลักดันการเชื่อมต่อระหว่างกันมากขึ้น

ผู้นำอาเซียนและอินเดียตกลงที่จะขยายความร่วมมือเพื่อขยายการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน ระหว่างกัน บรรดาผู้นำเห็นพ้องที่จะผลักดันให้สร้างทางด่วนเชื่อมอินเดียกับเมียนมาร์และไทย นำไปสู่ความเชื่อมโยงกับลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในที่ประชุมยังมีการรายงานความคืบหน้าในการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการอาเซียน-อินเดียสำหรับปี 2564-2568 และกรอบความร่วมมืออื่นๆ ที่ตกลงร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพยายามร่วมกันในการต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโควิด-19 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจดิจิทัล  ด้านการลงทุนผู้เข้าร่วมประชุมเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน ที่ประชุมรับรองแผนปฏิบัติการใหม่ของอาเซียน-รัสเซียสำหรับปี 2564-2568

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_
Asean212.php

อินเดียยืดเวลานำเข้าถั่วแระเมียนมา หนุนราคาพุ่งเป็น 2 เท่า !

ผู้ค้าในถั่วมัณฑะเลย์ เผย ราคาของถั่วแระเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาหลังจากข่าวการขยายเวลาการนำเข้าของอินเดียแพร่กระจายออกไป ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวของเดือนมีนาคม ราคาถั่วแระอยู่ที่ 6,800 จัตต่อ 3 ถุงตะกร้า หลังจากข่าวยืดเวลาการนำเข้า ราคาพุ่งขึ้นเป็น 135,000 จัตต่อถุง โดยอินเดียขยายระยะเวลาการนำเข้าจากเดือนตุลาคมเป็นธันวาคม 64 นอกจากนี้ ยังมีผลมาจากค่าเงินจัตที่อ่อนค่าและความต้องการที่ที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรพอใจกับราคาที่เพิ่มขึ้น โดยตลาดถั่วแระเมียนมาอาศัยอินเดียเป็นหลัก การปลูกถั่วแระส่วนใหญ่มักพบในตอนบนของภูมิภาค เช่น มะกเว มัณฑะเลย์ และซะไกง์ ซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ทั้งนี้สภาพอากาศต้องเอื้ออำนวยจะทำให้ถั่วแระเติบโตและให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-prices-double-on-extension-of-import-validity-period-by-india/?__cf_chl_managed_tk__=pmd_B7qlq6wvmcQXIk4pOwFeaKVO9EufyEzJ3z4KoOpIf7o-1632320088-0-gqNtZGzNA5CjcnBszTAl#article-title

ปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียนมา-อินเดีย พุ่ง 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การค้าระหว่างเมียนมาและอินเดียเพิ่มสูงขึ้นกว่า 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 โดยมูลค่าการค้าชายแดนของเมียนมาแตะ 194 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ วันที่ 20 ส.ค. ของปีงบประมาณนี้ ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมี.ค.64 แบ่งเป็นการส่งออก 192 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 1.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การค้าชายแดนส่วนใหญ่ผ่าชายแดน Tamu, Reed และ Thantlang ในขณะที่การค้าของสองประเทศส่วนใหญ่ส่งทางเรือ โดยสินค้าส่งออกหลักๆ จะเป็น ผักและผลไม้ ประมง และผลิตภัณฑ์ป่าไม้ ขณะที่การนำเข้าจะเป็น ยา สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รถจักรยานยนต์ เส้นด้าย ฝ้าย เหล็กกล้าไม่เจือ และวัสดุก่อสร้างอื่นๆ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-india-border-trade-rises-as-of-20-aug/

ค้าชายแดนเมียนมา-อินเดียพุ่ง 111.94 ล้านดอลลาร์ฯ

ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 2 ก.ค.64 ของปีงบประมาณ 63-64  มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างเมียนมาร์และอินเดียพุ่งขึ้นเป็น 193.2 ล้านดอลลาร์ แม้อินเดียจะยกระดับคุมเข้มการระบาดของโควิด-19 บริเวณชายแดน เพิ่มขึ้น 111.94 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมียนมาทำการค้าชายแดนกับอินเดียผ่านชายแดนตามู, ชายแดน Reed และชายแดนทันท์ลอง ในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมา มูลค่าการค้ามีการจดทะเบียนมากกว่า 32.39 ล้านดอลลาร์ผ่านชายแดนตามู และ 160.8 ล้านดอลลาร์ผ่านชายแดนReed แต่ชายแดนทันท์ลองไม่มีการบันทึกข้อมูล เมียนมาส่งออกถั่วเขียว ถั่วลันเตา ถั่วเขียว ถั่วลันเตา ขิง หญ้าฝรั่น ขมิ้น ใบกระวาน ผลิตภัณฑ์ประมง ผลไม้ และผักไปยังอินเดีย ขณะที่นำเข้าจะเป็น ยา เค้ก น้ำมัน เครื่องใช้ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ เหล็ก และอุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องจักร และวัสดุก่อสร้าง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-india-border-trade-up-by-111-94-mln-as-of-2-july/

กัมพูชาเร่งส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีระหว่างอินเดีย

กัมพูชาและอินเดียยังคงเดินหน้าในการเสริมสร้างความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกัน โดยได้ตกลงในร่างการเจรจาความตกลงการให้สิทธิพิเศษทางการค้า (PTA) ซึ่งการส่งออกของอินเดียในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค. ไปยังกัมพูชาสูงถึง 60 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 71.7 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังอินเดียมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 12.7 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 นับจากไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ซึ่งทั้งสองประเทศเห็นพ้องต้องกันในหลักการที่จะจัดทำข้อตกลงการค้าพิเศษระหว่างกัน เพื่อเป็นการสนับสนุนภาคการค้าของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50883358/india-and-kingdoms-trade-talks-heat-up/

ราคาถั่วดำในประเทศพุ่งถึง 1.1 พันล้าน จัตต่อตัน

รายงานของหอการค้าและอุตสาหกรรมเขตย่างกุ้ง (Bayintnaung Commodity Depot) เผยราคาถั่วดำในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 1,110,000 จัตต่อตัน แม้ราคาในวันที่ 1 พฤษภาคม 64 จะอยู่ที่ 888,500 จัตต่อตัน แต่พุ่งไปถึง 1,110,000 K จัตตันในวันที่ 17 มิถุนายน 64 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 221,500 จัตต่อตัน ตั้งแต่ปี 60 อินเดียได้กำหนดโควตานำเข้าถั่ว ซึ่งรวมถึงถั่วดำและถั่วแระ ภายใต้นโยบายการค้าต่างประเทศ ปี 58-63 ขณะที่สวนปลูกถั่วดำให้ผลผลิตประมาณ 400,000 ตันต่อปี ด้านถั่วแระมีผลผลิตประมาณ 50,000 ตันต่อปี ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังอินเดีย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/domestic-black-bean-price-rises-to-k-1-1-bln-per-tonne/

ข้าวเวียดนาม เผชิญการแข่งขันจากอินเดียและฟิลิปปินส์

ตามรายงานของสำนักงานส่งเสริมแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ชี้ให้เห็นว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการส่งออกข้าวของเวียดนาม อยู่ที่ 2.7 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าราว 1.48 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 11.3% ในด้านปริมาณ และ 5% ในด้านมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ ราคาข้าวของเวียดนามนั้น สูงกว่าราคาข้าวของอินเดียและไทยค่อนข้างมาก ข้าวเวียดนาม 1 ตัน สูงกว่าข้าวไทย 20 เหรียญสหรัฐ และสูงกว่าข้าวอินเดีย 100 เหรียญสหรัฐต่อตัน หากเฉลี่ยราคาข้าวของเวียดนามในช่วง 4 เดือยแรกของปีนี้ แตะ 543 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 15.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆนี้ ฟิลิปปินส์ประกาศยกเลิกภาษีนำเข้าแก่กลุ่มประเทศในอาเซียนและนอกอาเซียน ตลอดจนประเทศที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการนำเข้าข้าวราคาถูกจากอินเดียและปากีสถาน อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังคงเป็นผู้จัดหาข้าวรายใหญ่ที่สุดให้แก่ฟิลิปปินส์ แต่ว่าฟิลิปปินส์ยังรับซื้อข้าวจากไทยและอินเดีย รวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnamese-rice-faces-competition-from-india-in-philippines-4293486.html

พ่อค้าถั่วชี้ เกษตรควรปลูกถั่วดำ ถั่วแระเพิ่ม คาดราคาพุ่งขึ้นถึงปีหน้า

ผู้ค้าถั่ว เผย เกษตรกรควรหันมาปลูกถั่วดำและถั่วแระให้มากขึ้นเนื่องจากราคามีแนวโน้มสูงขึ้นจนถึงปีหน้าจากความต้องการของอินเดียที่เพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันอินเดียขอโควต้าการนำเข้า 400,000 ตัน ขณะที่สต๊อกถั่วมีประมาณ 250,000 ตัน ส่งผลให้ราคาเพิ่มตามไปด้วย โดยถั่วดำจะทำการเพาะปลูกในเดือนตุลาคมพฤศจิกายนและธันวาคม ในเขตพะโคและเขตอิระวดี พื้นที่ตอนบนของมัณฑะเลย์และเขตมะกเว ส่วนถั่วแระจะมีการเพาะปลูกอยู่ทั่วประเทศและส่วนใหญ่ผลิตในตอนกลางของประเทศ ราคาของถั่วดำและถั่วแระขึ้นอยู่กับความต้องการของอินเดีย โดยราคาส่งออกถั่วเมียนมาลดลง 97,000 จาก 120,000 จัตในปี 2558 ซึ่งตั้งแต่ปี 60 จะเห็นว่าราคถั่วเมียนมาลดลงเรื่อยๆ แต่เมื่อปีที่แล้วการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของอินเดียส่งผลต่อพื้นที่เพาะปลูกในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงเริ่มหันมานำเข้าถั่วจากเมียนมามากขึ้น เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 64 ราคาถั่วดำอยู่ที่ 100,000-130,000 จัตต่อ 60 visses ในขณะที่ถั่วแระราคาอยู่ที่ 86,000-95,000 จัตต่อ 60 visses (1 visses เท่ากับ 1.66 กิโลกรัม)

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/more-black-beans-pigeon-peas-to-be-grown-as-prices-likely-to-rise-higher-until-next-year/