ADB อนุมัติเงินกู้ยืม 250 ล้านดอลลาร์แก่กัมพูชาเพื่อต่อสู้กับ COVID-19

ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้ยืมจำนวน 250 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลกัมพูชาในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของ COVID-19 โดยการเสริมสร้างระบบการดูแลสุขภาพของประเทศเพิ่มความช่วยเหลือทางสังคมแก่คนยากจนและผู้อ่อนแอ รวมถึงองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งธนาคารได้มอบเงินช่วยเหลือภายใต้โครงการสนับสนุนการตอบสนองและการใช้จ่าย (CARES) ต่อ COVID-19 ของ ADB โดยโปรแกรมดังกล่าวรวมถึงกรอบการมีส่วนร่วมของประเทศ จะทำให้มั่นใจได้ว่ารัฐบาลและ ADB จะดำเนินการเจรจานโยบายต่อไปเกี่ยวกับการดำเนินการและติดตามการตอบสนองต่อ COVID-19 ในกัมพูชา รวมถึงการปรึกษาหารือกับภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งโปรแกรมนี้ยังเชื่อมโยงกับการสนับสนุนของ ADB ในการปฏิรูปการบริหารการคลังสาธารณะเพื่อเสริมสร้างการกำกับดูแลและความโปร่งใส ไปจนถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพในการพัฒนางบประมาณและนโยบายการติดตามค่าใช้จ่ายและการตรวจสอบ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50742799/adb-approves-250-million-loan-to-cambodia-to-combat-covid-19/

ADB คาดเศรษฐกิจเมียนมาขยายตัว 1.8% ในปีนี้

เศรษฐกิจเมียนมาคาดจะเติบโตเพียง 1.8% ในปี 2563 จากข้อมูลคาดการณ์ล่าสุดของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน เบื้องต้นในเดือนเมษายน ADB คาดว่าการเติบโตของ GDP จะอยู่ที่ 4.2% จากการขยายตัวที่ 6.8% ในปี 2562 ผลจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งรัฐบาลควรดำเนินมาตรการเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบเชิงลบของ COVID-19 และรับรองว่าจะไม่มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ แต่เมียนมายังเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอัตราการเติบโตของจีดีพีที่เป็นบวกในภูมิภาคในปีนี้หลังการคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีของเวียดนามที่ 4.1% และคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2564 จะขยายตัวที่ 6% ADB คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2564 จะโต 6.2 % แต่ยังต่ำกว่าแนวโน้มก่อนเกิดวิกฤต COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-economy-expand-18-year-adb.html

รัฐสภาเมียนมาอนุมัติสินเชื่อเพื่อใช้จ่ายและจัดการกับ COVID-19

สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐสภาได้อนุมัติเงินจำนวน 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายสาธารณะรวมถึงเงินเพื่อจัดการกับ COVID-19 ซึ่งรวมถึง 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), 30 พันล้านเยนจากสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และ 250 ล้านดอลลาร์จากสมาคมพัฒนาระหว่างประเทศของธนาคารโลก ในขณะเดียวกันก็ให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการเติบโตและการพัฒนาในระยะยาวของเมียนมา อย่าง 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เพื่อจัดตั้งบรรษัทประกันสินเชื่อแห่งแรกของเมียนมาและ 33 ล้านยูโรจากธนาคาร Unicredit ของออสเตรียเพื่อสร้างรหัสอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการลงทะเบียนประชากร

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/us25b-loans-public-spending-covid-19-response-approved-last-week.html

สปป.ลาวลงนามกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ข้อตกลงเงินกู้ 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สปป.ลาวและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ลงนามในข้อตกลงที่ ADB จะให้เงินกู้ยืมเพิ่มจำนวน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนการป้องกัน COVID-19 เงินกู้ยืมดังกล่าวซึ่งเป็นการจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมให้แก่เงินกู้เดิมและเงินสนับสนุนจำนวน 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก ADB สำหรับโครงการด้านความมั่นคงด้านสุขภาพในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ของสปป.ลาวจะช่วยกระทรวงสาธารณสุขจัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการ ชุดทดสอบอุปกรณ์การแพทย์และนอกจากนี้ยังจะช่วยรัฐบาลในการจัดหาเวชภัณฑ์และการฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแนวหน้าเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อรวมถึงยังจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการติดตามการติดต่อการสื่อสารความเสี่ยงและการแทรกแซงอื่น ๆ อีกด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos101.php

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) อนุมัติเงินกู้แก่สปป.ลาวส่งเสริมการป้องกัน COVID-19

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้ยืมจำนวน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนด้านความมั่นคงด้านสุขภาพโดยรัฐบาลสปป.ลาวได้นำเงินดังกล่าวไปจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ด้านการแพทย์เพื่อป้องกันและเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดของ COVID-19 ที่อาจกลับมาแพร่ระบาดรุนแรงอีกครั้งถึงแม้สปป.ลาวจะมีมาตราการในการป้องกันอย่างเคร่งครัดทำให้ยอดผู้ติดเชื้อมีน้อยแต่ ABD มีมุมมองว่าสปป.ลาวยังคงมีความเสี่ยงสูงเนื่องจากการระบาดของโรคในประเทศอื่นๆ ยังถือว่ารุนแรง ดังนั้นหากมาตราการต่างๆถูกผ่อนปรนก็อาจมีความเสี่ยงที่สปป.ลาวอาจกลับมาระบาดได้อีกครั้ง ดังนั้นเงินกู้ดังกล่าวจะเป็นเงินที่นำมาสนับสนุนด้านสาธารณสุขของสปป.ลาวให้พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_ADB99.php

ADB ขยายสินเชื่อเพื่อการพัฒนาในเมียนมา

เมียนมาวางแผนกู้เงิน 60 ล้านเดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เพื่อจัดตั้งบรรษัทประกันสินเชื่อ (CGC)  โดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพม่ายังขาดระบบการค้ำประกันสินเชื่อ ในเมียนมา 98% ของเศรษฐกิจประกอบด้วย SMEs ในขณะที่ 95% ของแรงงานมีการจ้างงานในภาคนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/adb-extend-loans-support-development-myanmar.html

ท่าเรือใหม่จะมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนภาคท่องเที่ยวของกัมพูชา

การก่อสร้างท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยวแห่งใหม่ในจังหวัดกัมปอตเสร็จสมบูรณ์แล้วกว่า 30% และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในกลางปีตามที่สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดกัมปอตได้รายงานไว้ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้วงเงิน 8 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งท่าเรือแห่งนี้จะมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในจังหวัดและจะมอบผลประโยชน์ทางด้านต่าง ๆ ให้กับชาวกัมปอต อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีการระบาดของ COVID-19 โครงการจึงล่าช้าออกไป ท่าเรือแห่งนี้จะอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปตามชายฝั่งกัมพูชาและเพิ่มการไหลเวียนของนักท่องเที่ยวจากประเทศเวียดนามและประเทศไทย จากการศึกษาท่าเรือท่องเที่ยวจะสามารถต้อนรับนักท่องเที่ยวกว่า 4,000 คนต่อวันที่ต้องการเดินทางผ่านจังหวัดกำปอต โดยปีที่ผ่านมาจังหวัดกำปอตได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวประมาณ 1.6 ล้านคนทั้งในและต่างประเทศ ในจำนวนนั้น 10% เป็นนักท่องเที่ยวต่างประเทศและส่วนใหญ่มาจากเวียดนาม สหภาพยุโรปและเอเชียแปซิฟิก ปัจจุบันกำปอตมีแหล่งท่องเที่ยว 17 แห่ง ชุมชนท่องเที่ยว 4 แห่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50721748/new-port-will-boost-tourism/

ธนาคารร่วมพัฒนาด้านการแข่งขันในธุรกิจทางการเกษตรของกัมพูชา

ธนาคารเพื่อการเกษตรและการพัฒนาชนบทแห่งรัฐของกัมพูชา (ARDB) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้ริเริ่มโครงการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรผ่านการเพิ่มมูลค่าให้กับห่วงโซ่การผลิตของการทำฟาร์มในประเทศกัมพูชา โดยโครงการพัฒนาการเกษตรจะช่วยสนับสนุนเงินทุนให้กับเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรเพื่อขยายสู่วงจรการผลิตทั้งหมด ซึ่งความคิดริเริ่มดังกล่าวได้เกิดขึ้นในการประชุมทางไกลระหว่าง ARDB และ ADB โดยอธิบดี ARDB กล่าวว่าโครงการนี้สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือการมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับปัจจัยหลักแต่ละประการของห่วงโซ่การผลิตทางการเกษตรเพื่อส่งเสริมการพัฒนาของเกษตรกร โดยในการดำเนินการโครงการมูลค่า 110 ล้านดอลลาร์ จะได้รับการสนับสนุนในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าสำหรับเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร รวมถึงจะดำเนินการในช่วงปี 2564 ถึง 2570 ตามที่ระบุว่าฐานการผลิตทางการเกษตรใน 6 จังหวัดจะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50718266/banks-to-partner-on-competitive-agribusiness-development/

ADB คาดเศรษฐกิจเมียนมาฟื้นตัวเร็วสุดปีหน้าหากหยุดการระบาดของ COVID-19

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ชี้เศรษฐกิจเมียนมาจะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญถึง 4.2% ในปีนี้ภายใต้วิกฤต COVID-19 แต่อาจฟื้นตัวเป็น 6.8% ในปี 2564 หากไวรัสถูกกำจัดอย่างรวดเร็ว ADB คาดการณ์การเติบโต GDP ของเมียนมาในปี 63 สูงที่สุดเป็นอันดับสองในอาเซียนรองจากเวียดนามที่คาดว่าจะโตที่ 4.8% รายงานระบุว่าแม้ว่าการผลิตภาคเกษตรจะขยายตัว แต่อุปสงค์จากต่างประเทศและในประเทศก็เพิ่มขึ้นสำหรับราคาอาหารบางรายการแม้จะมีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในปี 2562 อัตราเงินเฟ้อคาดลดลงเล็กน้อยที่ 7.5% ในปี 63 และ 64 ในขณะที่ GDP ต่อหัวคาดว่าจะอยู่ที่ 3.3% ในปี 2563 และ 5.9% ในปี 2564

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-growth-rebound-next-year-if-virus-confined-quickly-adb.html

รัฐบาลคาดการณ์การฟื้นตัวในรูปแบบ V-shaped สวนทางกับผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจ

รัฐบาลกัมพูชามองโลกในแง่ดีว่าเศรษฐกิจของประเทศจะเห็นการเติบโตในรูป V-shaped หลังจากการระบาดของ Covid-19 ในทางตรงข้ามกับผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจกลับมองว่าการฟื้นตัวจะอยู่ในรูป U-shape ซึ่งในแง่เศรษฐกิจผู้เชี่ยวชาญธุรกิจและ Bloomberg.com อธิบายการกู้คืนในรูปแบบ V-shaped ว่าเป็นวิถีการเคลื่อนที่ซึ่งการฟื้นตัวจะรวดเร็ว แต่นักวิจัยด้านธุรกิจหลายคนเตือนว่าการฟื้นตัวมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในรูปแบบ U-shaped ซึ่งหมายความว่าอาจใช้เวลาถึงสองปีในการฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยธนาคารโลกและ ADB คาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของกัมพูชาจะชะลอตัวลงราว 2.5% และ 2.3% ในปีนี้ตามลำดับอันเป็นผลมาจากการระบาดโดยตรง ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศปี 2563 ของกัมพูชาจะหดตัวถึง -1.7% ในปีนี้ อย่างไรก็ตามอัตราการเติบโตจะฟื้นตัวเป็น 5.9% ในปี 2564 ภายใต้สถานการณ์พื้นฐานตามรายงานของธนาคารโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50714665/govt-predicts-v-shaped-recovery-economic-experts-disagree/