IMF ฟันธง “เศรษฐกิจไทย” รอดตำแหน่งบ๊วยอาเซียน

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WEO) โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 จะติดลบ 7.1% ในปีนี้ ซึ่งดีกว่าที่คาดการณ์ในเดือนมิ.ย.ว่าจะติดลบ 7.7% ขณะที่เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์จะติดลบ 8.3% ในปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์ต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ส่วนปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 4.0% ส่วนเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน-5 ซึ่งประกอบด้วยไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม คาดเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะหดตัว 1.5% ในปีนี้ และขยายตัว 6.1% ในปีหน้า, มาเลเซียจะหดตัว 6.0% ในปีนี้ และขยายตัว 7.8% ในปีหน้า, ฟิลิปปินส์จะหดตัว 8.3% ในปีนี้ และขยายตัว 7.4% ในปีหน้า ส่วนเวียดนามเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีการขยายตัวในปีนี้ โดยอยู่ที่ระดับ 1.6% ขณะที่ปีหน้าขยายตัว 6.7% IMF ยังคาดการณ์ว่าไทยมีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดในอาเซียน โดยทรงตัวที่ระดับ 1.0% ในปีนี้ และปีหน้า เช่นเดียวกับในปี 2562

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/money_market/452697

เมียนมาอนุมัติกู้สินเชื่อของ ADB หนี้คงค้างที่ 8.8 ล้านล้านจัตในปี 61-62

หนี้ในประเทศและต่างประเทศของเมียนมาอยู่ที่ 40.8 ล้านล้านจัต ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 ซึ่งใกล้เคียงกับร้อยละ 40 ของ GDP ตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและอุตสาหกรรมแจ้งให้รัฐสภาทราบเกี่ยวกับรายงานหนี้สินประจำปี 2561- 2562  ในวันที่ 24 กรกฎาคม หนี้ของประเทศประมาณร้อยละ 63 เป็นหนึ้ภายในท้องถิ่น ในขณะเดียวกันเงินทุนต่างประเทศส่วนใหญ่ถูกจัดสรรให้กับกระทรวงการก่อสร้างและกระทรวงการไฟฟ้าและพลังงาน คาดว่าในปีนี้หนี้จะเพิ่มขึ้นอีกโดยรัฐบาลได้กู้ยืมเงินจาก ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อสนับสนุนโครงการระดับประเทศและโครงการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของ COVID-19 สภาผู้แทนราษฎรของเมียนมาอนุมัติการกู้ยืมเงิน 171.3 ล้านดอลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ใช้ในโครงการไฟฟ้าเขตชนบทในรัฐกะเหรี่ยง เขตอิรวดี เขตพะโค และเขตมะกเว คาดว่าจะสร้างประโยชน์ให้กับ 2,815 หมู่บ้าน จำนวน 400,400 ครัวเรือน เงินกู้ดังกล่าวมีระยะเวลา 32 ปี รวมระยะเวลาผ่อนผันแปดปีซึ่งจะเรียกเก็บดอกเบี้ยที่ร้อยละ 1 สำหรับส่วนที่เหลืออีก 24 ปี อัตราดอกเบี้ยจะเป็นร้อยละ 1.5 โดยอัตราผลตอบแทนภายในทางเศรษฐกิจคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 15

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-approves-adb-loan-outstanding-debt-hits-k408-trillion-2018-19.html

รัฐสภาเมียนมาอนุมัติสินเชื่อเพื่อใช้จ่ายและจัดการกับ COVID-19

สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐสภาได้อนุมัติเงินจำนวน 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายสาธารณะรวมถึงเงินเพื่อจัดการกับ COVID-19 ซึ่งรวมถึง 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), 30 พันล้านเยนจากสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และ 250 ล้านดอลลาร์จากสมาคมพัฒนาระหว่างประเทศของธนาคารโลก ในขณะเดียวกันก็ให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการเติบโตและการพัฒนาในระยะยาวของเมียนมา อย่าง 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เพื่อจัดตั้งบรรษัทประกันสินเชื่อแห่งแรกของเมียนมาและ 33 ล้านยูโรจากธนาคาร Unicredit ของออสเตรียเพื่อสร้างรหัสอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการลงทะเบียนประชากร

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/us25b-loans-public-spending-covid-19-response-approved-last-week.html

ดิจิทัลไลเซชั่นดีสำหรับการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในกัมพูชาท่ามกลางการระบาด Covid-19

คนในวงการกล่าวว่า digitalization มีบทบาทสำคัญในการทำธุรกรรมทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากการดิ้นรนภายใต้การระบาดใหญ่ของ Covid-19 จากการพูดคุยในระหว่างการสัมมนาทางเว็บที่จัดทำโดย realestate.com.kh ได้พูดถึง Covid-19 จะให้บทเรียนในรูปแบบใหม่ในการทำธุรกิจโดยเฉพาะในตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่าการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศจีนและตลาดหลักในปี 2564 จะช่วยปรับปรุงแนวโน้มการเติบโตของกัมพูชาในปีหน้า ตามรายงานจาก บริษัท อสังหาริมทรัพย์ CBRE ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2020 ตลาดจะยังคงเห็นการปรับลดลงของราคาขายในกลุ่มคอนโดมิเนียมระดับกลางและระดับบน ส่วนราคาขายช่วงกลางอ่อนตัวลง 1.4% และกลุ่มสินค้าระดับบนปรับตัวลงเพียง 0.5% ในขณะที่กลุ่มที่มีราคาไม่แพงได้เห็นการเพิ่ม 0.3% ราคาขายเฉลี่ยในส่วนนี้อยู่ที่ 1,549 ดอลลาร์ ต่อตารางเมตร ซึ่งในไตรมาสที่ 1 ค่าเช่าคงที่ประมาณ 14.2 ดอลลาร์ต่อตารางเมตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50722122/digitalisation-said-to-be-good-for-real-estate-transactions-amid-pandemic/

IMF คาดการณ์การเติบโตของ GDP เวียดนาม ไว้ที่ 7% ในปี 2563

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มชะลอตัวลงแตะที่ร้อยละ 2.7 ในปีนี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ มาตรการควบคุมโรคเข้มงวดของเวียดนาม, ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกและอุปสงค์ในประเทศอ่อนแอลง คาดว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยทางเศรษฐกิจของเวียดนามที่ระดับร้อยละ 7 ในช่วงปี 2561-2562 ‘บางภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว การขนส่งและที่อยู่อาศัย’  อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเวียดนามอาจกลับมาฟื้นตัวที่ระดับร้อยละ 7 ในปี 2564 ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการผ่อนคลายทางการเงินและการคลัง รวมถึงเวียดนามมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจมหภาคที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-gdp-to-grow-by-7-in-2020-imf-forecasts-413573.vov

IMF ชี้ แม้เมียนมาแม้จะเติบโตแต่ยังเต็มไปด้วยความเสี่ยง

เศรษฐกิจเมียนมามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่สะดุดด้วยความไม่แน่นอนก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้าและความต้องการภาคเอกชนที่ลดลงตามรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นักเศรษฐศาสตร์อ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤติยะไข่และจุดอ่อนในภาคธนาคาร ความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้น ความผันผวนของตลาดโลกราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น และการรั่วไหลจากการชะลอตัวของจีนยังคงมีความเสี่ยงจากต่างประเทศ IMF คาดจะเติบโต 6.5% ในปี 61-62 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 6.4% ในปี 60-61 จากการส่งออกอย่างต่อเนื่อง เช่น เสื้อผ้าก๊าซ ด้าน FDI น้อยกว่าปีที่ผ่านมาเพราะโครงการต่างๆ ล้วนเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนเงินเฟ้อจะลดลงสู่ระดับ 6-7% ในระยะปานกลางเนื่องจากราคาอาหาร ค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น สินเชื่อที่ชะลอตัว และการลงทุนที่ลดลง ไอเอ็มเอฟเรียกร้องให้การปรับโครงสร้างธนาคารควรปฏิบัติตามกฎระเบียบให้รอบคอบ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดในที่สุด และควรใช้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนหรือ PPP เพื่อปรับปรุงกรอบการเลือกโครงการและสร้างความมั่นใจในความคุ้มค่าผ่านการเสนอราคาที่แข่งขันได้ซึ่งเป็นไปตามกฎระเบียบของโครงการธนาคารปี 61

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/imf-sees-stable-growth-risks-lie-ahead-myanmar.html