เมียนมาส่งออกปลาแห้งไปยังบังคลาเทศอย่างต่อเนื่อง

เมียนมายังคงส่งออกปลาแห้งหลายชนิดไปยังบังคลาเทศผ่านชายแดนมงดอว์ ในช่วงเดือนมกราคมมีการส่งออกปลาแห้ง 210 ตันมูลค่ากว่า 131,000 ดอลลาร์สหรัฐและเป็นการส่งออกที่มากเป็นอันดับสามผ่านศูนย์การค้าชายแดนเมืองมงดอว์ ในเดือนธันวาคมส่งออกปลาแห้งจำนวน 268 ตันมูลค่าประมาณ 192,000 ดอลลาร์สหรัฐ เมียนมามีรายรับมากกว่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกรวมถึงการส่งออกปลาแห้งในเดือนธันวาคมและมีรายรับมากกว่า 1.538 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนมกราคม สินค้าส่งออก เช่น หัวหอม ปลาคาร์พ ปลาแห้ง ถั่วพู ถั่วลูกไก่ ขิงและลูกพลัม และการส่งออกหลักคือหัวหอม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 14 กุมภาพันธ์ มูลค่าซื้อขายสินค้ามูลค่า 6.707 ล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านการค้าชายแดนมงดอว์ เพิ่มขึ้น 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-continues-dried-fish-exports-to-bangladesh

รัฐบาลกำหนดค่าธรรมเนียมและภาษีใหม่สำหรับสินค้าที่ส่งออก

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มีราชกิจจานุเบกษาสาธารณรัฐประชาชนลาวในเรื่องของการเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีใหม่สำหรับการขนส่งทางบกและการส่งออกชายแดนรวมถึงสินค้าที่นำเข้าเพื่อการส่งออกจะไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายในสปป.ลาว โดยคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ตัดสินใจปรับใหม่ด้วยสาเหตุที่ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวและในอนาคตรัฐบาลได้ลงทุนเป็นจำนวนมากในการสร้างทางรถไฟ ถนนและสะพานเพื่อเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านนิกจากนี้ยังมี โครงการลงทุนขนาดใหญ่รถไฟลาว – ​​จีนและรถไฟคุนหมิง – สิงคโปร์ รัฐบาลจึงมีความจำเป็นในการขยายฐานรายได้ของรัฐบาลเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินโยบายเพื่อการลงทุนพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry_42.php

แม้มีข้อจำกัดการเพาะปลูก กล้วยยังคงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของสปป.ลาว

มูลค่าการส่งออกของกล้วยไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะจีนและไทยในปี 62 เพิ่มขึ้น 198 ล้านเหรียญสหรัฐเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถึงแม้รัฐบาลจะมีมาตราการสั่งห้ามไม่ให้มีการเพาะปลูกเพิ่มเละยังมีการปิดโรงงานกว่า 90 บริษัทที่ลงทุนในสวนกล้วยครอบคลุม 26,177 เฮคเตอร์ทั่วประเทศลาวเนื่องจากการเพาะปลูกกล้วยของบริษัทบางส่วนมีการละเมิดกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและไม่เป็นมิตต่อระบบนิเวศโดยมีการใช้สารเคมี Paraquat และ DDTที่อาจส่งผลต่อร่างกายมนุษย์ได้ ทำให้พืชดังกล่าวถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดและหากต้องการจะปลูกต้องมีการขออนุญาตจากภาครัฐก่อน อย่างไรก็ตามกล้วยก็ยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาวเพราะมีมูลค่าเป็นอันดับ 4 ในกลุ่มสินค้าเกษตรที่สร้างรายได้แก่สปป.ลาวนอกจากนี้ยังสร้างงานและรายได้ที่มั่นคงแก่เกษตรกรอีกด้วย จึงเป็นสิ่งที่ทำให้รัฐบาลต้องกลับมาทบทวนถึงข้อจำกัดต่างๆ ที่ทำให้ผลผลิตลดลงและไม่มีนักลงทุนกล้าที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ ทั้งทีมีมูลค่าสูง ในท้ายที่สุดหากมีข้อสรุปที่เหมาะสม กล้วยจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาวต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/bananas-remain-large-slice-laos%E2%80%99-export-pie-114628

รายได้ของลาวจากการขายข้าวไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้น

ข้าวที่ส่งออกไปยังจีนสร้างรายได้แก่สสป.ลาวในปี 62 มากถึง 14.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจากการลงนามการค้า ACFTA ทำให้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสปป.ลาวส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนได้มากขึ้นโดยข้อตกลงนี้จะลดหรือยกเว้นภาษีแก่สินค้าที่สปป.ลาวส่งไปยังจีนและนโยบายการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศทำให้การค้าจีนกับสปป.ลาวขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยจีนถือเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของสปป.ลาว ในแต่ละปีสปป.ลาวมีโควตาส่งออกข้าวให้แก่จีนถึง 50,000 ตันและมีแนวโน้มที่จะส่งออกได้มากกว่าเดิมจากการเติบโตของเศรษฐกิจจีนทั้งในแง่ของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น รายได้ต่อหัวที่สูงขึ้น กำลังซื้อคนในประเทศเพิ่มขึ้นปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้มีการนำเข้าข้าวจากสปป.ลาวมากขึ้นและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ 

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos%E2%80%99-earnings-rice-sales-china-rise-114545

ส่งออกผักผลไม้เวียดนามลดลง ในเดือนมกราคม

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือนมกราคม เวียดนามส่งออกผักผลไม้กว่า 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งทางกรมการนำเข้าและส่งออกภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าในเดือน ม.ค. ยอดส่งออกผักผลไม้ไปยังจีนลดลงมากกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มูลค่าส่งออกลดลงดังกล่าวเกิดจากการประกาศปิดด่านชั่วคราว เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วยเหตุนี้ กระทรวงฯ ได้เสนอให้ธุรกิจปรับการผลิตและส่งออกไปยังตลาดอื่นเพิ่มขึ้น อาทิ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ทั้งนี้ ทางสมาคมผักผลไม้เวียดนาม (VINAFRUIT) ตั้งเป้ายอดส่งออกรวมในปี 2563 อยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากข้อตกลงการค้าเสรี นอกจากนี้ ข้อตกลง CPTPP จะช่วยให้เปิดตลาดใหม่แก่สินค้าเวียดนาม รวมถึงตลาดส่งออกสำคัญที่มีการเติบโต ได้แก่ อาเซียน (26.6%), สหรัฐอเมริกา (10.7%) และสหภาพยุโรป (32.2%)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fruit-veggie-exports-decline-in-january/168921.vnp

อุตฯป่าไม้ของเวียดนาม มียอดส่งออกเพิ่มขึ้น 10% ในปีนี้

จากข้อมูลของสมาคมผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้เวียดนาม (VIFORES) เผยว่าในปีนี้ การส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้รวม มีมูลค่า 12.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยตลาดรายใหญ่ที่สุด คือ สหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่า 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รองลงมาญี่ปุ่น สหภาพยุโรปและจีน ตามลำดับ ทั้งนี้ แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯมีทิศทางในเชิงบวกในปีนี้ จากการที่ความต้องการเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้น นับว่าเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไม้เวียดนามในการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในตลาดดังกล่าว ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าสหรัฐฯเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น ธุรกิจสหรัฐฯ จะเพิ่มการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์จากตลาดอื่นๆ รวมถึงเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังคงเผชิญกับการฉ้อโกงทางการค้าด้วยการปลอมแปลงแหล่งกำเนิดสินค้า เนื่องจากสินค้าที่ผลิตในจีนได้ถูกส่งออกมายังเวียดนาม และจากนั้นส่งออกไปยังสหรัฐฯ พร้อมกับติดฉลากสินค้าที่ผลิตในเวียดนาม (made-in-Viet Nam) เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้า นอกจากนี้ กระบวนการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าควรตรวจสอบอย่างรอบคอบ เพื่อให้แน่ใจว่าใบรับรองดังกล่าวได้รับอนุมัติให้ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/602457/forestry-industry-to-gain-export-value-growth-of-10-this-year.html

การส่งออกการ์เม้นท์และสินค้าด้านการท่องเที่ยวกัมพูชามีมูลค่าถึง 9.3 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้า,รองเท้าและสินค้าด้านการท่องเที่ยวมูลค่ากว่า 9.35 พันล้านดอลลาร์ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบเป็นรายปีจากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมของกัมพูชา โดยรายงานดังกล่าวได้เผยแพร่ในการประชุมประจำปีเพื่อทบทวนและกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับปี 2563 ซึ่งรายงานระบุว่ามีโรงงานกว่า 1,069 แห่ง ในปีที่แล้วซึ่งมีโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและสิ่งทอประกอบด้วย 823 แห่ง โรงงานสินค้าด้านการท่องเที่ยว 114 และโรงงานรองเท้า 132 แห่ง มีการจ้างแรงงานรวมกัน 923,313 คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมกล่าวในการกล่าวเปิดงานว่ากระทรวงกำลังทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนในอุตสาหกรรมและจัดหาสินค้า รวมถึงบริการที่ดีขึ้น ซึ่งเป้าหมายของกระทรวงคือการช่วยให้ภาคเอกชนมีความก้าวหน้าซึ่งก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าแห่งกัมพูชา (GMAC) การส่งออกสินค้าเสื้อผ้าและสินค้าด้านการท่องเที่ยวของกัมพูชาคิดเป็น 75% ของการส่งออกสินค้าทั้งหมดของกัมพูชาและ 90% ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปซึ่งเป็นผู้ซื้อเสื้อผ้ากัมพูชารายใหญ่ที่สุด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50692028/garment-footwear-and-travel-goods-exports-valued-at-9-3-billion

เมียนมาส่งออกมูลค่า 0.5 ล้านเหรียญสหรัฐไปยังจีนหลังไวรัสโคโรน่าระบาด

ก่อนหน้านี้เมียนมานำเข้าสินค้ามูลค่าประมาณ 20 ดอลลาร์สหรัฐไปยังจีนในทุกวันก่อนการระบาดของไวรัสโคโรน่า (covid-19) แต่ปัจจุบันสามารถส่งออกสินค้าได้เพียงประมาณ 0.5 ล้านชิ้นเท่านั้น แม้ว่าเมียนมาจะไม่สามารถส่งออกสินค้าไปยังจีน ซึ่งเมียนมาต้องหาตลาดใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ สินค้าบางรายการไม่สามารถหาตลาดใหม่ในประเทศอื่นในเวลาอันสั้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่เน่าหรือเสียหายได้ง่าย ปัจจุบันเมียนมากำลังติดตามสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าอย่างใกล้ชิด ซึ่งไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานเท่าใด ในระหว่างนี้เมียนมาต้องหาตลาดใหม่ๆ ให้ได้ ปัจจุบันเมียนมาส่งออกสินค้าไปไทยอย่างสม่ำเสมอและมีข่าวว่าจีนจะเปิดศูนย์การค้าชายแดนอีกครั้งในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-exports-only-us05-m-worth-of-products-to-china-after-covid-19

โอกาสในการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคเวียดนามเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ : สัมมนา

งามสัมมนาเรื่องการส่งเสริมในการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ ที่จะจัดขึ้นในวันอังคาร นครโฮจิมินห์, ผู้อำนวยการบริษัท Vietway เปิดเผยว่าบริษัทฯดำเนินการขายสินค้าเวียดนามในสหรัฐฯ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งในหลายๆประเทศทั่วโลก รวมถึงเวียดนามเห็นว่าตลาดสหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกหลัก ทั้งนี้ สถานการณ์การส่งออกสินค้าเวียดนามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะเน้นส่งออกสินค้าสมาร์ทโฟน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งล้วนแต่เป็นบริษัทต่างชาติ ในขณะเดียวกัน สินค้าอุตสาหกรรมที่เจ้าของเป็นบริษัทเวียดนามได้เผชิญกับอุปสรรคจากการส่งออกในตลาดโลก ทั้งนี้ สหรัฐฯ ถือว่ามีความเข็มงวดต่อการนำเข้าสินค้า แต่ก็มีความต้องการนำเข้าสินค้าที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นสินค้าไฮเทคไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภคที่ราคาถูก ซึ่งเป็นจุดแข็งของสินค้าเวียดนาม นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติการค้า พบว่าในสิ้นเดือนม.ค. 2563 มูลค่าส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอยู่ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592126/opportunities-to-boost-consumer-goods-exports-to-the-us-market-seminar.html

กัมพูชาส่งออกมะม่วงมากกว่า 5.8 หมื่นตันในปี 2562

กัมพูชาส่งออกมะม่วงมากกว่า 58,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในปี 2562 ซึ่งรายงานโดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศและโฆษกของกระทรวงพาณิชย์เมื่อเร็วๆนี้ โดยตลาดสำหรับการส่งออกมะม่วงในปี 2562 ยังคงดำเนินต่อไป ในกลุ่มคู่ค้าสำคัญ เช่นสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก เบลเยียม ออสเตรเลียเป็นต้น ที่เป็นตลาดศักยภาพในสินค้ามะม่วงของกัมพูชา ซึ่งถูกส่งออกทั้งโดยตรงและผ่านประเทศเพื่อนบ้านทั้งในรูปแบบมะม่วงสดและแยมมะม่วง โดยกระทรวงพาณิชย์กำลังพิจารณาที่จะขยายตลาดต่างประเทศสำหรับมะม่วงของกัมพูชาเพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50690166/over-58000-tonnes-of-cambodian-mangoes-exported-in-2019