เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกเครื่องนุ่งห่ม 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในประเทศ ยังคงตั้งเป้ามูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2562 แม้ว่าจะเผชิญกับอุปสรรคมากมาย เพื่อให้ได้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ อุตสาหกรรมดังกล่าวต้องมีอัตราการเจริญเติบโตในการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 11-12 ต่อปี โดยในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 9.1 ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวยังคงสูงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ผลิตรายอื่น เช่น จีน อินเดีย และบังคลาเทศ เป็นต้น และทางสมาคมหวังว่าผู้ประกอบการจะได้รับยอดคำสั่งซื้อขนาดใหญ่ เพื่อให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นในเดือนธันวาคม ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญของผู้ประกอบการ คือ การหาตลาดใหม่และการร่วมมือกับพันธมิตรทางการค้า ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี ได้แก่ EVFTA และ CPTPP เป็นต้น นอกจากนี้ ทางผู้บริหารระดับสูงของสมาคมสิ่งทอเวียดนาม มองว่าสถานการณ์ในปัจจุบัน นับว่าเป็นไปได้ยากที่อุตสาหกรรมสิ่งทอจะสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ ภายในปีนี้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/569282/garment-export-target-of-40-billion-a-long-shot.html#lGuhOAC3rkrrqwYh.97

การส่งออกมะม่วงไปเกาหลีใต้ได้รับการอนุมัติ

หลังจากการเจรจาเรื่องข้อกำหนดการส่งออกมาเป็นเวลานาน โดยการส่งออกมะม่วงในประเทศรอบแรกจะถึงเกาหลีใต้ก่อนสิ้นปีตามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเกาหลีใต้ ซึ่งการประชุมระหว่างกันในครั้งนี้ถูกจัดขึ้น ณ การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเมืองปูซานของเกาหลีใต้ โดยได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านการเกษตร ซึ่งกัมพูชาสามารถเริ่มส่งออกมะม่วงอย่างเป็นทางการไปยังตลาดเกาหลีได้ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง Veng Sakhon อธิบายว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นผลมาจากความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่างประเทศในภาคเกษตรกรรมและขอความช่วยเหลือจากเกาหลีในการปรับปรุงภาคการเกษตรของกัมพูชาให้ทันสมัย ซึ่งผู้บริโภคชาวเกาหลีมีความคาดหวังเป็นอย่างมากสำหรับมะม่วงของกัมพูชา โดยประธานสมาคมกำปงสปือได้ชื่นชมการทำงานของรัฐบาลในการขยายตลาดสำหรับผู้ส่งออกมะม่วง ซึ่งกำปงสปือสามารถผลิตผลไม้ได้ 500,000 ถึง 700,000 ตันต่อปี ราคาต่อกิโลกรัมอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.50 เหรียญสหรัฐ ถึง 0.86 เหรียญสหรัฐ ขึ้นอยู่กับคุณภาพ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50664792/mango-exports-to-south-korea-given-greenlight/

การส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนของกัมพูชายังคงอยู่ภายใต้โควตาของปีที่แล้ว

ซีอีโอของธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบท (RDB) กล่าวว่า Cofco ผู้ผลิตและผู้ค้าอาหารรายใหญ่ที่สุดของจีนยังไม่ได้ส่งคำสั่งซื้อใดๆ สำหรับข้าวสารที่ผลิตในกัมพูชาในปี 2562 โดยโควตาสำหรับปี 2562 อยู่ที่ 400,000 ตัน ซึ่งผู้ส่งออกข้าวในประเทศบางรายกำลังพยายามส่งข้าวไปยังประเทศจีนตามโควตาสำหรับปี 2018 ที่ 300,000 ตัน โดยจีนได้ให้คำมั่นที่จะซื้อข้าว 400,000 ตันจากกัมพูชาในปีนี้ ซึ่งคำปฏิญาณดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนมกราคมระหว่างการประชุมที่ปักกิ่งระหว่างนายกรัฐมนตรีฮุนเซนและประธานาธิบดีจีนจินผิงโดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคมปีนี้กัมพูชาส่งข้าวสารจำนวน 184,844 ตัน ไปยังประเทศจีน คิดเป็น 40% ของการส่งออกข้าวสารทั้งหมดของกัมพูชาที่ 457,940 ตัน เพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากข้อมูลของ SOWS-REF สหภาพยุโรปเป็นผู้ซื้อข้าวกัมพูชารายใหญ่เป็นอันดับสองโดยซื้อข้าวสารจำนวน 155,950 ตัน ในช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคมเพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รายงานแสดงให้เห็นว่า 83 บริษัท ส่งออกข้าวกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศรวมทั้ง บริษัท Baitang (Kampuchea) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50664440/rice-exports-to-china-still-under-last-years-quota-crf/

เวียดนามเผยยอดส่งออกปลาหมึกพุ่งสูงขึ้นไปยังตลาดสหรัฐฯ ในปี 2562

จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ามูลค่าการส่งออกปลาหมึกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 จะสูงถึง 11.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 63.7 ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ปลาหมึกแห่ง ปลาหมึกหมัก ปลาหมึกแช่เย็นแช่แข็ง และปลาหมึกแปรรูป เป็นต้น ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้าปลาหมึกรายใหญ่ อยู่อันดับที่ 6 ของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.7 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเมื่อเกิดสถานการณ์กดดันทางการค้าสหรัฐฯ และจีน  ทำให้สหรัฐฯ ต้องเพิ่มอัตราภาษีในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ปลาหมึกที่มาจากจีน ขณะเดียวกัน นับว่าเหตุการณ์ดังกล่าว จะสร้างโอกาสทางการค้าแก่เวียดนาม

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-export-of-squid-octopus-to-us-surges-in-2019-406397.vov

ผู้ส่งออกตกลงราคาข้าวเปลือกอินทรีย์ในชุมชนกัมพูชา

ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียได้ตกลงลงนามซื้อข้าวเปลือกจากชุมชนเกษตรกรรมในพระวิหารบนราคาเดียวกันในฤดูเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายแม้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศจะลดลงก็ตาม  โดยราคาที่ตกลงกันสำหรับข้าวขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้าวแต่ละชนิด เช่นข้าวขาวปกติจะถูกซื้อในราคา 1,200-1,300 เรียลต่อกิโลกรัม ส่วนราคาของข้าวหอมมะลิถูกตั้งไว้ที่ 1,450-1,650 เรียลต่อกิโลกรัม ซึ่งบริษัทได้เข้าร่วมโครงการทำสัญญากับชุมชนในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการเข้าถึงตลาดให้กับเกษตรกรและช่วยให้พวกเขาเข้าถึงห่วงโซ่อุปทานในท้องถิ่น ซึ่งจะส่งออกข้าวไปยังยุโรปนอกจากนี้ยังมีผู้ซื้อในสหรัฐฯและออสเตรเลีย โดยบริษัทกำลังมองหาซัพพลายเออร์ข้าวอินทรีย์ในจังหวัดบันทายมีชัยและจังหวัดเสียมราฐเพิ่มเติม ซึ่งระบุว่าข้าวอินทรีย์มีปริมาณมากกว่าข้าวธรรมดาทั่วไป 25-30% ในตลาดต่างประเทศ ซึ่งAmru Rice คือผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่รายหนึ่งประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ว่า บริษัท ได้เข้าร่วมโครงการทำสัญญากับเกษตรกรประมาณ 5,000 รายและตั้งเป้าที่จะส่งออกข้าวอินทรีย์กว่า 20,000 ตันไปยังตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50659140/exporter-communities-agree-price-for-organic-paddy-rice/

เวียดนามเผยการส่งออกกุ้งไปสหภาพยุโรปลดลงอย่างมาก

จากรายงานทางสถิติของสมาคมผู้ส่งออกอาหารทะเลและผู้ผลิตเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกกุ้งมูลค่า 2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ขณะที่ การส่งออกกุ้งไปสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ 20.8 นับว่าเป็นลดลงอย่างมาก เป็นผลมาจากราคากุ้งดิบลดลง ประกอบกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ สินค้าคงเหลือสูงในตลาดหลากหลาย และการนำเข้าวัตถุดิบกุ้งจากประเทศอื่นเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคานำเข้ากุ้งต่ำกว่าราคาในประเทศเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยในเดือนกันยายนที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกกุ้งมากกว่า 61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปสหภาพยุโรป ลดลงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ ตลาดจีน สถานการณ์มีแนวโน้มเป็นบวก ด้วยมูลค่า 382.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ในช่วงหลายที่ที่ผ่านมา

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/shrimp-exports-to-eu-suffer-steep-decline-405144.vov

ไทยพาณิชย์ยืนเป้าส่งออก-2.5%

เมื่อวันที่ 22 ต.ค. ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ หรืออีไอซี ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์หลังจากกระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเผยตัวเลขการส่งออก ก.ย. 62 ที่ยังคงติดลบ 1.4% ว่าหากหักทองคำออก จะติดลบเพิ่ม เป็น -2.8% ส่วนส่งออกรวม 9 เดือนของปีนี้ ติดลบ 3.1% หากหักทองคำออกจะหดตัวเป็น -5% แต่ถือว่าเป็นการหดตัวในอัตราที่ลดลง ผลจากปัจจัยฐานต่ำของการส่งออกรถยนต์ช่วง ก.ย. 61 ที่หดตัว -7.5% ส่งผลให้ส่งออกรถยนต์เดือนก.ย.ปีนี้พลิกกลับมาขยายตัว 5.4% และ ส่งออกทองคำขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเดือนก.ย.ที่ผ่านมา เติบโต 110.6% อย่างไรก็ตามยังไม่พบสัญญาณที่ชัดเจนของการฟื้นตัวของภาคส่งออก คาดว่าในไตรมาส 4 นี้ยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง แม้ว่าจีนและสหรัฐจะตกลงการค้าได้ในขั้นต้นก็ตาม แต่คาดว่าสงครามการค้ายังมีแนวโน้มยืดเยื้อ เป็นปัจจัยกดดันสำคัญต่อการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี อีไอซีจึงคงประมาณการมูลค่าการส่งออกปีนี้เติบโต -2.5% ได้ประเมินการส่งออกปีหน้าว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทยส่วนใหญ่มีแนวโน้มขยายตัวลดลง ประกอบกับความเสี่ยงจากสงครามการค้ายังมีทิศทางยืดเยื้อ ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า จึงเป็นปัจจัยกดดัน คาดว่าการส่งออกจะมีทิศทางทรงตัว ขยายตัวเพียง 0.2% เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญส่วนมากมีแนวโน้มชะลอตัว จากที่ IMF คาดการณ์ล่าสุดว่าเศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะขยายตัวที่ 3.4% เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัวที่ 3% อย่างไรก็ดี การเร่งตัวดังกล่าวได้รับผลจากฐานต่ำของประเทศในกลุ่มตะวันออกกลางเอเชียกลาง กลุ่มแอฟริกา ซาฮารา ละตินอเมริกาและแคริบเบียนเป็นสำคัญ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนต่อการส่งออกรวมของไทยเพียง 9.5% ขณะที่เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน สหรัฐ ญี่ปุ่น อาเซียน และ CLMV มีทิศทางขยายตัวใกล้เคียงหรือชะลอลงในปีหน้าเมื่อเทียบกับปีนี้

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 24 ต.ค. 2562 (กรอบบ่าย)

ผู้ค้าข้าวในกัมพูชาเริ่มส่งออกข้าวไปยังตลาดจีนมากขึ้น

เจ้าหน้าที่ของจีนตกลงที่จะเร่งการตรวจสอบใบสมัครของ บริษัท ในกัมพูชากว่า 40 แห่ง ที่ต้องการส่งออกข้าวไปยังตลาดจีน โดยสำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรค (AQSIQ) ของประเทศจีน และกระทรวงเกษตรของกัมพูชาพบกันเพื่อหารือเกี่ยวกับการส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังประเทศจีน ซึ่งประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชากล่าวว่าการส่งมอบข้าวไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงเก้าเดือนแรกของปีเพิ่มขึ้น 44% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยจากข้อมูลของ CRF กัมพูชาส่งออกข่าว 157,793 ตันไปยังประเทศจีนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายนคิดเป็นกว่า 39.6% ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของกัมพูชา ซึ่งเมื่อปีที่แล้วไม่สามารถส่งออกข้าวได้ตามโควต้าที่ทางจีนกำหนดโดยส่งออกไปเพียง 170,000 ตันจากจำนวนโควต้าที่ได้รับอนุญาตที่ 300,000 ตัน อย่างไรก็ตามในปีนี้ CRF มั่นใจว่ากัมพูชาจะสามารถส่งออกข้าวได้เต็มจำนวนโควต้าที่ได้รับอนุญาต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50653395/more-local-rice-traders-set-to-export-to-chinese-market/

เวียดนามเผยยอดส่งออกผักผลไม้ลดลง ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากรายงานทางสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าการส่งออกผักและผลไม้ลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 2.81 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 ในขณะเดียวกัน กรมการนำเข้าและส่งออก ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าการส่งออกผักและผลไม้ไปยังตลาดต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน ฮ่องกง และไทย ล้วนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การส่งออกที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยการส่งออกไปยังตลาดจีน ที่ยังคงชะลอตัว ซึ่งสาเหตุดังกล่าวมาจากสถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ทำให้จีนส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดสหรัฐฯลดลง และกลุ่มประเทศที่มีความได้เปรียบสินค้าเกษตรนั้น หันมาบริโภคภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเกษตรกรรมต่างประเทศสามารถได้รับประโยชน์ทางการค้า ด้วยอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 0 รวมไปถึงมีการส่งสัญญาเป็นบวก สำหรับกลุ่มธุรกิจผักและผลไม้ในประเทศในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/fruit-and-vegetable-exports-plummet-in-nine-months-404787.vov

พาณิชย์ กางแผนเร่งด่วนกระตุ้นส่งออก 3 เดือนแรกปีงบ 63 กว่า 50 โครงการ เน้นรักษาตลาดเดิม-เพิ่มตลาดใหม่-ขยายตลาดออนไลน์

ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ติดตามสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจกระทบต่อเศรษฐกิจและการค้าของไทยอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันได้วางกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นการส่งออกของไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2563 เน้นการเร่งรัดการส่งออกสินค้าและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์ม ผักและผลไม้ รวมทั้งสินค้าบริการต่างๆ อาทิ สินค้าโอท็อป สินค้าเสื้อผ้า เครื่องประดับ วัสดุก่อสร้าง แอนิเมชันและดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งชู 4 กลยุทธ์หลัก คือ (1) รักษาและขยายตลาดเดิม อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น อาเซียน และจีน (2) เพิ่มตลาดใหม่ อาทิ เอเชียใต้ (อินเดีย) ลาตินอเมริกา แอฟริกา และตะวันออกกลาง (3) ฟื้นฟูตลาดเก่า เช่น ตลาดข้าวในประเทศอิรัก โลจิสติกส์เพื่อการส่งออกในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ การจัดตั้งแหล่ง Thai Mart เพื่อกระจายสินค้าและศูนย์ค้าส่ง-ปลีกสินค้าสำคัญของไทยในบาห์เรนและ (4) มุ่งเน้นการค้าชายแดนและข้ามแดนมากขึ้น  พร้อมผลักดันเศรษฐกิจยุคใหม่

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/3055611