เมียนมามุ่นมั่นส่งออกกาแฟเพิ่มเป็น 2 เท่าในปี 66

เมื่อวันพุธที่ 22 มีนาคม 2566  กระทรวงพาณิชย์ เผย ภายในปี 2566  เมียนมาตั้งเป้าส่งออกกาแฟเพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็นจำนวน 10,000 ตัน ซึ่งในปี 2565 ที่ผ่านเมียนมาส่งออกกาแฟ 5,800 ตัน โดยตลาดนำเข้าสำคัญได้แก่  เช่น จีน ไทย สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม และสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนพื้นที่เพาะปลูกกาแฟของเมียนมา พบว่า มีประมาณ 50,000 เอเคอร์ แบ่งเป็น 38,000 เอเคอร์เป็นกาแฟพันธุ์อาราบิก้า และ 12,000 เอเคอร์เป็นกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ซึ่งไร่กาแฟส่วนใหญ่อยู่ในเขตมัณฑะเลย์ รัฐฉาน และรัฐกะเหรี่ยง ทั้งนี้ ผลผลิตกาแฟต่อปีของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 9,000 ตัน

ที่มา : https://english.news.cn/20230323/84c83a24e49a4f049de088aadea7879f/c.html

เมียนมา-จีน ร่วมหารือส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าชายแดน

เมื่อวันอังคารที่ 21 มีนาคม 2566 ณ กระทรวงพาณิชย์ในกรุงเนปยีดอ ของเมียนมา Mr. U Myint Thura อธิบดีกรมการค้า กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา และ Mr. Du Jianhui นายกเทศมนตรีเมืองล้านช้าง จากประเทศจีน ได้ร่วมหารือเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ การลงนามข้อตกลงว่าด้วยการค้าผ่านแดนระหว่างเมียนมาและจีน และการอำนวยความสะดวกในการนำค้าสินค้าจากประเทศที่ 3 ผ่านชายแดนเมียนมา-จีน และการส่งเสริมเพื่อยกระดับการค้าชายแดนให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-economic-trade-promotion-meeting-held/

ถั่วลิสงล้นตลาด กระทบราคาน้ำมันถั่วลิสง ดิ่งลงอย่างหนัก

ผู้ค้าในมัณฑะเลย์ เผย  ผลผลิตถั่วลิสงจำนวนมากที่ส่งไปขายยังตลาดมัณฑะเลย์ ส่งผลให้ราคาน้ำมันถั่วลิสงลดลงเหลือ 12,000 จัตต่อ viss จากเดือนก่อน ที่ 14,000 จัตต่อ viss โดยราคาของผลผลิตถั่วเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ที่ 7,000-7,600 จัตต่อ viss แต่ราคาในสัปดาห์นี้ร่วงลงเหลือ 6,300-7,000 จัตต่อ viss เนื่องจากผลผลิตออกมาล้นตลาดจึงส่งผลให้ราคาน้ำมันถั่วลิสงลดลงไปด้วย จากสถานการณ์ดังกล่าวย่อมส่งผลดีต่อผู้บริโภคภายในประเทศ ทั้งนี้ การปลูกถั่วลิสงในเมียนมาส่วนใหญ่มีการเพาะปลูกในภูมิภาคมัณฑะเลย์ ภาคซะไกง์ ภาคมะกเว และเขตอิระวดี ซึ่งนอกเหนือจากการผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศแล้ว เมียนมายังส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/abundant-supply-of-peanuts-slashes-peanut-oil-prices/

เดือนม.ค. 66 นทท.ต่างชาติเยือนเมียนมา พุ่ง 214%

กระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวของเมียนมา เผย นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าเมียนมาในเดือนมกราคม 2566 อยู่ที่ 35,722 คน เพิ่มขึ้นถึง 214% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศเพียง 11,372 คน ซึ่งก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี 2562 มีนักเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าเมียนมามากกว่า 4.36 ล้านคน แต่ภายหลังจากการแพร่ระบาดพบว่านักท่องเที่ยวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565  มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 230,000 คน เท่านั้นที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/international-tourist-arrivals-surge-by-214/

เมียนมาเร่งกระตุ้นสินค้าในประเทศผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

กระทรวงอุตสาหกรรมของเมียนมาได้เชิญผู้ประกอบการและผู้ผลิตในประเทศให้ขายสินค้าของตนเองผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่รัฐบาลจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการส่งออก โดยผู้ประกอบการที่ต้องการใช้แพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมต่อกับหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกได้ภายในวันที่ 28 เมษายน 2566 ทั้งนี้แพลตฟอร์มดังกล่าวจะให้บริการจัดส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็วและมีวิธีการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สะดวกมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ซื้อจากประเทศ

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20230319/9075354d3e6f4711968d2411ca797057/c.html

เดือนก.พ. 66 ค้าชายแดนท่าขี้เหล็ก-เกาะสอง ของเมียนมา แตะ 32.549 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย เดือนกุมภาพันธ์ 2566 การค้าระหว่างประเทศของเมียนมากับประเทศเพื่อนบ้าน ณ ชายแดนท่าขี้เหล็กและเกาะสอง มีมูลค่าประมาณ 32.549 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย ชายแดนท่าขี้เหล็กมีมูลค่าการค้ารวม 12.573 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกมูลค่า 6.268 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 6.305 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ส่วนการค้าชายแดนเกาะสองมีมูลค่ารวม 19.976 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกมูลค่า 17.537 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้ามูลค่า 2.439 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย มูลค่าการค้ารวมของเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เมื่อนำมาเทียบกับช่วงเดียวกับของปีก่อน (กุมภาพันธ์ 2565) พบว่า ลดลงถึง 9.003 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-carries-out-trade-worth-32-549-mln-via-tachilek-kawthoung-borders-in-feb/

11 เดือนของปีงบฯ 65-66 เมียนมาส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปแบบ CMP โกยรายได้กว่า 4.7 พันล้านดอลลาร์ฯ

จากสถิติของสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าเมียนมา เผย 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565-2566 (เดือนเมษายน 2565 ถึงกุมภาพันธ์ 2566) เมียนมาส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปแบบ CMP (Cut, manufacture and produce) สร้างรายได้กว่า 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในเมียนมาดำเนินธุรกิจโดยผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ เช่น  จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย ส่วนผู้นำเข้าหลักคือ จีน ไทย สิงคโปร์ รวมถึงประเทศในแถบยุโรป ถือได้ว่าอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในเมียนมาเป็นแหล่งโอกาสในการทำงานที่สำคัญและเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตซึ่งจำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีทักษะเป็นหลัก ปัจจุบันมีโรงงานทั้งหมด 738 แห่งทั่วประเทศ ประกอบไปด้วยโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า 505 แห่ง โรงงานผลิตรองเท้า 48 แห่ง โรงงานผลิตวิกผม 8 แห่ง รวมถึงโรงงานที่เกี่ยวข้องกับกระเป๋า ชุดกีฬา รองเท้ากีฬา และถุงเท้า 117 แห่ง ฯลฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cmp-garment-export-brings-in-over-4-7-bln-in-11-months-of-this-fy/#article-title

เมียนมาตั้งเป้าส่งออกหัวหอม ปีงบฯ 66-67 ทะลุ 100,000 ตัน

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาตั้งเป้าในปีงบประมาณ 2566-2567 จะส่งออกหัวหอม 100,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ โดยมีแผนในการส่งออก ดังนี้ เดือนเมษายน-มิถุนายน 2566 จำนวน 300,000 ตัน เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2566 จำนวน 15,000 ตัน เดือนตุลาคมและธันวาคม  2566 จำนวน 20,000 ตัน และเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 จำนวน 35,000 ตัน ซึ่งตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ เวียดนาม ไทย บังกลาเทศ และจีน ด้านราคาหัวหอมในประเทศจะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1,000 ถึง 1,750 จัตต่อ viss จากความต้องการในประเทศลดลงทำให้ราคาตลาดดิ่งลงอย่างมาก ทั้งนี้ จากสถิติของกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทาน ในปีงบประมาณ 2561-2562 การเพาะปลูกหัวหอมในเมียนมาครอบคลุมพื้นที่กว่า 170,000 เอเคอร์ มีผลผลิตเฉลี่ย 3,600 viss ต่อเอเคอร์ โดยภาคมัณฑะเลย์มีผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 36 ของผลผลิตหัวหอมทั้งประเทศ รองลงมาคือภาคซะไกง์ ร้อยละ 32 และภาคมะกเว ร้อยละ 26

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-to-export-100000-tonnes-of-onions-in-fy-2023-2024/#article-title