อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในกัมพูชาขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากรัฐบาล

ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเรียกร้องให้รัฐบาลหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการชะลอการจ่ายดอกเบี้ยและการชำระคืนเงินต้นสำหรับธุรกิจในภาคที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19 ณ วันที่ 17 เมษายน มีโรงแรม 2,698 แห่ง, เกสต์เฮาส์, ร้านอาหารและตัวแทนการท่องเที่ยวในธุรกิจการบริการในภาคการท่องเที่ยวได้ถูกสั่งปิดทั่วประเทศ โดยในเดือนกุมภาพันธ์รัฐบาลประกาศว่าธุรกิจการบริการที่ได้รับการจดทะเบียนในจังหวัดเสียมราฐที่ได้รับผลกระทบจากการลดน้อยลงของจำนวนนักท่องเที่ยวจนแทบไม่มีนักท่องเที่ยวเลย ได้รับการลดหย่อนภาษีจนถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลยังได้ยกเว้นภาษียืดไปอีกสามเดือน (ครอบคลุมเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม) สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบในจังหวัดต่าง ๆ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50715483/tourism-industry-asks-for-further-govt-help/

นายกฯ มอบ มท.-พาณิชย์จัดการ แก้ปัญหาขนส่งสินค้าข้ามเขต ชี้เคอร์ฟิวเป็นเหตุน้ำพริกบูด

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ รมว.กลาโหม มอบหมายในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้หน่วยงานกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทยและฝ่ายความมั่นคง ร่วมกันหาทางแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่จำเป็นต้องส่งสินค้าข้ามจังหวัดในช่วงที่มีการเคอร์ฟิว หลังพบการร้องเรียนจากผู้ประกอบธุรกิจหลายรายว่า แต่ละจังหวัดมีมาตรการการตรวจสอบไม่เหมือนกัน ทำให้การขนส่งสินค้าไม่สะดวก โดยผลการประชุมสำคัญเรื่องแรกเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส โควิด-19 มาตรการการกีดกันการเคลื่อนย้ายพรมแดนควรขึ้นอยู่กับการพิจารณาด้านสาธารณสุข ไม่ควรมีการจำกัดการค้าในภูมิภาคโดยไม่จำเป็น รวมถึงได้ข้อตกลงร่วมกันเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาด พร้อมเห็นชอบในหลักการการลดค่าธรรมเนียมการให้บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศให้เป็นอัตราเดียวกันในอาเซียน โดยรอผลการพิจารณาจากองค์กรรายสาขาที่เกี่ยวข้อง และยังเห็นชอบให้มีการลงนามความตกลงยอมรับร่วมสาขายานยนต์อาเซียนภายใน ส.ค.63 นี้

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/1827079

โครงการรถไฟฟ้าลาว-จีนยังคงมีการก่อสร้างในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19

แรงงานสปป.ลาวกว่า 30 คน กำลังก่อสร้างโครงการรถไฟลาว-จีนที่เกือบจะแล้วเสร็จซึ่งจะเชื่อมโยงสปป.ลาวกับประเทศจีน แต่จากการระบาดCOVID-19 ทำให้นายจ้างผู้รับเหมาที่เป็นชาวจีนต้องกลับประเทศทำให้แรงงานก่อสร้างได้เงินเดือนล่าช้าพวกเขามีความกังวลเกี่ยวกับการได้เงินเดือนที่ล่าช้า ภาคการก่อสร้างเป็นส่วนที่รัฐบาลออกคำสั่งให้จำกัดจำนวนคนงานและกำหนดให้คนงานที่ไม่จำเป็นต้องอยู่บ้านเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคทำให้อุตสาหกรรมบางแห่งหยุดทำงานอย่างไรก็ตามภาคการก่อสร้างได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อไปแม้ว่าจะมีคนงานน้อยลงโครงการดังกล่าวขณะนี้เสร็จสมบูรณ์ 90% ได้รับการคาดการณ์ว่าจะทำให้ภาคธุรกิจลดต้นทุนการส่งออกได้ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/laos/railway-workers-04212020175011.html

รัฐบาลออกมาตราการช่วยเหลือแรงงานและภาคธุรกิจจากผลกระทบ COVID-19

พนักงานที่เป็นสมาชิกของโครงการประกันสังคมของธุรกิจจะมีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือประมาณ 500,000 กีบเป็นระยะเวลาสองเดือนในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 จัดทำโดยกองทุนประกันสังคมแห่งชาติ (NSSF) การจ่ายเงินจะทำเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ว่างงานในขณะนี้หลังจากที่โรงงานได้รับคำสั่งให้ปิดกิจการชั่วคราว ทำให้แรงงานอย่างน้อย 551,200 คนหรือประมาณ 70% ของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมว่างงานและต้องความช่วยเหลือทางการเงินอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ภาคธุรกิจยังเรียกร้องรัฐบาลขอให้ธนาคารขยายระยะเวลาการชำระคืนสำหรับสินเชื่อและดอกเบี้ยรวมถึงกองทุนกู้เงินฉุกเฉินแบบด่วนสำหรับธุรกิจ สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID ในสปป.ลาวมีแนวโน้มดีขึ้นและคาดว่าจะกลับมาเป็นปกติในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt75.php

หน่วยงานของสหประชาชาติเริ่มดำเนินการเพื่อช่วยเหลือภาคเกษตรกรรมในกัมพูชา

กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการเกษตร (IFAD) ซึ่งเป็นองค์กรด้านการเงินระดับโลกและหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ (UN) ได้ประกาศแผนการที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลกัมพูชาเพื่อยกระดับภาคเกษตรกรรม และบรรเทาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ ที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 โดยความร่วมมือดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจของชุมชนในชนบทโดยการสร้างโอกาสให้กับแรงงานเกษตรกรและการขยายโอกาสสำหรับเกษตรกรรายย่อยด้วยการสนับสนุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งโครงการบริการการเกษตรเพื่อนวัตกรรมความยืดหยุ่นและการขยายตัว (ASPIRE) จะถูกนำโดย MAFF และมุ่งเน้นในทันทีคือการรักษาการผลิตผักใบเขียวและไข่ไก่เป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหารท้องถิ่น พร้อมกันกับโครงการเร่งรัดการรวมตลาดสำหรับผู้ถือครองรายย่อย (AIMS) ที่นำโดยกระทรวงพาณิชย์จะเป็นช่องทางในการจัดหาทรัพยากรเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านชลประทานในฟาร์มแก่เกษตรกรเพื่อสนับสนุนในการผลิตสินค้าเหล่านี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50715086/un-agency-springs-into-action-to-aid-agriculture-sector/

ผ้าไหมในกัมพูชาอาจเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่น่าสนใจหลังการระบาด Covid-19

เจ้าหน้าที่อาวุโสของมหาวิทยาลัย Royal University of Phnom Penh (RUPP) ได้เรียกร้องให้ชุมชนท้องถิ่นภาคเอกชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในการพัฒนาโครงการผ้าไหมในประเทศกัมพูชา โดยประธานคณะกรรมาธิการ RUPP และผู้อยู่เบื้องหลังศูนย์วิจัยผ้าไหมกล่าวว่าสถาบันของเขามีความรู้และทรัพยากรเพียงพอที่จะมอบไหมที่มีคุณภาพและต้นหม่อนให้กับชุมชนในชนบท ซึ่งเสริมว่า COVID-19 จะสร้าง “New Normal” สำหรับประเทศกัมพูชา โดยการเรียนรู้อย่างหนึ่งคือประเทศกัมพูชาต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจในชนบทเพื่อให้เศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในอนาคต ภายในบริบทนี้ผ้าไหมอาจเป็นองค์ประกอบหนึ่ง จากข้อมูลของ Mey มีการใช้ไหมถึง 400 ตัน ในประเทศทุกปีส่วนใหญ่จะทำการนำเข้ามามากกว่าการผลิตไหมเอง ซึ่งการผลิตผ้าไหมจะช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืนตลอดระยะเวลาหลายปีที่พวกเขาสามารถขายใบหม่อนหรือรังไหมให้โรงงานในกำปงสปรือ โดยสามารถสร้างรายได้ระหว่าง 500-600 เหรียญสหรัฐ ในทุกรอบการเก็บเกี่ยวต่อเฮกตาร์และถ้าเกษตรกรสามมรถทำได้ถึง 6 รอบต่อปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50715091/silk-could-be-a-slick-way-forward-post-covid-19/

ดอน เตรียมร่วมประชุม รมว.ต่างประเทศอาเซียน-สหรัฐ รับมือโควิด

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สหรัฐ สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ผ่านระบบการประชุมทางไกล ในวันพฤหัสบดีที่ 23 เม.ย. 2563  เวลา 08.00 – 10.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย โดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของลาว ในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐ จะเป็นประธานการประชุมร่วมกับนายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ทั้งสองฝ่ายจะเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างโปร่งใสและทันท่วงที การเสริมสร้างขีดความสามารถในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขโดยใช้กลไกด้านสาธารณสุขที่อาเซียนมีบทบาทนำ อย่างไรก็ตาม ภายหลังการประชุมนั้น รมว.ต่างประเทศลาว และสหรัฐ ในฐานะประธานร่วมของการประชุมจะออกแถลงการณ์ร่วม เพื่อสะท้อนเจตนารมณ์ที่อาเซียนและสหรัฐ จะร่วมมือกันรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านสาธารณสุขและเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในอนาคตด้วย

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/877160?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=foreign

การลงทุนของเกาหลีใต้ในเมียนมาหยุดชะงักจากการระบาดของ COVID-19

ข้อมูลจากเอกอัครราชทูตเกาหลีใต้กล่าวว่าการให้สินเชื่อและโครงการที่ดำเนินการโดยความร่วมมือระหว่างประเทศเกาหลีและแผนการลงทุนของบริษัทเกาหลีถูกระงับหรือเลื่อนออกไปจากวิกฤตทั่วโลก เศรษฐกิจเมียนมาอาจมีผลกระทบอย่างมากและต้องใช้เวลาอีกนานกว่าวิกฤติจะหยุดลง หากเป็นเช่นนั้นรัฐบาลเกาหลีจะทำการช่วยเหลือประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้แผนการลงทุนจะได้รับผลกระทบแต่การค้าทวิภาคีจะยังคงดำเนินต่อไป เกาหลีใต้เป็นหนึ่งใน 10 อันดับต้น ๆ ที่ลงทุนในเมียนมา และคิดเป็นตัวเลขการลงทุนสะสมจากประเทศเอเชียตะวันออกถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ เดือนมีนาคม 2563 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2562-2563 การค้าทวิภาคีมีมูลค่าสูงกว่า 337 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีมูลค่าการส่งออก 178 ล้านดอลลาร์และนำเข้า 158 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/south-korean-investments-myanmar-halted-pandemic.html

รัฐบาลสปป.ลาวกำชับหน่วยงานท้องถิ่นในการบังคับใช้มาตราการป้องกัน COVID-19

หน่วยงานท้องถิ่นข้อความร่วมมือประชาชนในท้องที่ในการปฎิบัติตามมาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19ซึ่งเป็นคำสั่งบังคับใช้ทั่วสปป.ลาว โดยมีให้ประชาชนกักตัวอยู่ที่บ้าน สั่งปิดพื้นที่ต่างๆตั้งแต่ 1 เมษยนถึง19 เมษายน และได้มีการขยายระยะออกไปอีกเพื่อประสิทธิภาพของมาตราการการป้องกัน ดร. รัตนลักษณ์เพ็ชรวณิชอธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อภายใต้กระทรวงสาธารณสุขได้กล่าวเพิ่มเติมถึงประเด็นดังกล่าว “ทุกคนควรร่วมมือกับผู้ปกครองและปฏิบัติตามคำสั่งเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสในส่วนหน่วยงานท้องถิ่นต้องทำคือการกำชับมาตรการที่จะใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี” ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของสปป.ลาวมีแนวโน้มดีต่อเนื่องจากการที่ไม่พบผู้ติดเชื้อในช่วง 7 วันที่ผ่านมาอย่างไรก็ตามรัฐบาลยังขอร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันทำตามมาตราการที่กำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Local74.php