การค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชากับเวียดนามยังคงที่ ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชากับเวียดนามได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดแม้จะมีการหยุดการเข้าและออกของประชาชน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันที่ถูกเรียกว่า COVID-19 โดยการพูดคุยกับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวเวียดนาม Truong Cong Nhan ของแผนกศุลกากรที่ด่านชายแดน Khanh Binh ภายใต้สำนักงานศุลกากรจังหวัด Giang กล่าวว่าการขนส่งสินค้าผ่านช่องทาง Khanh Binh – Chrey Thom ยังคงดำเนินต่อไปตามปกติ รถบรรทุกต่อวันเทียบเท่ากับจำนวนก่อนที่คำสั่งระงับการเข้า – ออกจะมีผลในวันที่ 18 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้มาตรการกักกันทางการแพทย์ได้ถูกนำไปใช้อย่างเคร่งครัดกับรถบรรทุกที่เข้าสู่เวียดนามเพื่อรับสินค้าที่ส่งออกไปยังกัมพูชา โดยกองกำลังทั้งสามของกัมพูชารวมถึงหน่วยแพทย์ชายแดนและด่านศุลกากรได้ทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อปฏิบัติตามขั้นตอนการกักกันอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการวัดอุณหภูมิร่างกายของผู้ขับขี่ จากนั้นคนขับจะรอในห้องกักกันขณะที่โหลดสินค้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50707441/trade-across-cambodia-vietnam-border-remains-stable-amid-covid-19-outbreak/

รัฐบาลเมียนมาเตรียมสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลในการจัดการผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 ได้ออกแถลงการณ์ว่าภาคเศรษฐกิจจะให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วนด้วยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำฉุกเฉินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะเน้นไปที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม โรงแรมและธุรกิจการท่องเที่ยว และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะได้รับสิทธิพิเศษในการกู้ยืมเงิน สินเชื่อมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 สำหรับธุรกิจในหมวดหมู่นี้จะถูกเบิกจ่ายจากกองทุนจำนวน 100 พันล้านจัต ที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล แบ่งออกเป็นทุนหมุนเวียน 50 พันล้านจัตและกองทุนสวัสดิการสังคม 50 พันล้านจัต ซึ่งอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 จะให้กู้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี ผู้สมัครสินเชื่อต้องแสดงให้เห็นว่ามีการสร้างรายได้ในช่วงสองปีที่ผ่านมาและมีความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ หากไม่สามารถชำระคืนเงินกู้จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย สามารถสมัครได้ระหว่างวันที่ 30 มีนาคมถึง 9 เมษายน สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) ประกาศว่าบริษัทจะร่วมมือกับรัฐบาลในการตอบสนองต่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและช่วยให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในการขอสินเชื่อรัฐบาลประกาศอย่างเป็นทางการด้วยว่าจะมีการยกเลิกภาษีล่วงหน้า 2% สำหรับการส่งออกจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-announces-priority-sectors-emergency-loans-myanmar.html

รัฐบาลเพิ่มความเข้มงวดมาตรการป้องกันไวรัส covid-19

เมื่อวันที่ 29 มีนาคมได้มีการประชุมของคณะรัฐมนตรีในการออกมาตราป้องกันภัยจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าจะมีการปิดด่านระหว่างประเทศทั้งหมดและห้ามมิให้มีการเคลื่อนไหวสาธารณะโดยมีระยะเวลาควบคุม 3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นหากกรณีการแพร่ระบาดยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่จะมีบ้างอาชีพหรือบริการบ้างอย่างที่ได้รับการยกเว้นให้ยังมีการดำเนินการได้ตามปกติได้แก่ ทหาร ตำรวจ แพทย์และพยาบาล ผู้ให้บริการไฟฟ้าและน้ำประปา นักดับเพลิงตลอดจนผู้ให้บริการโทรคมนาคมและอาสาสมัครป้องกันไวรัส รวมถึงบริการด้านการขนส่งสินค้าต่างๆ ยังได้รับอนุญาตให้ดำเนินการได้ต่อไปเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและลดการพบปะกัน ทั้งนี้มาตราการดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่ประเทศไทยมีการสั่งปิดสถานประกอบต่างๆในประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดทำให้แรงงานสปป.ลาวทะยอยกลับบ้านเกิดจำนวนมากซึ่งรัฐบาลมีความกังวลว่าแรงงานที่มาจากไทยอาจมีการนำเชื้อไวรัสมาแพร่ระบาด ทำให้ต้องมีมตราการที่เข้มงวดขึ้นกว่าเก่าเพื่อป้องกันการรุกรามของไวรัส หากสถานการณ์ยังมีแนวโน้มหนักขึ้นรัฐบาลจะมีมาตราการที่เข้มข้นขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดต่อไป

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_63.php

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเมียนมาประสบปัญหาเนื่องจากอียูยกเลิกคำสั่งซื้อ

โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าหลายแห่งในเมียนมาหยุดการดำเนินงานเนื่องจากสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญได้ยกเลิกคำสั่งซื้อเมื่อสัปดาห์ที่แล้วท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่แพร่กระจาย ประธานสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งเมียนมา (MGMA) กล่าวว่าตลาดสหภาพยุโรปคิดเป็น 70% ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ข่าวร้ายมาจากการที่วัตถุดิบจากจีนเริ่มไหลกลับเข้ามาหลังจากการหยุดงานสามเดือนเนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ในยุโรปร้านค้าทั้งหมดปิดตังลง นั่นเป็นเหตุผลที่โรงงานปิดตัวลงและลดจำนวนคนงาน  การปิดโรงงานผลิตเสื้อผ้ามากขึ้นส่งผลเกิดการประท้วงที่ Grand Enterprises Garment Co. Ltd ที่เขตอุตสาหกรรม East Dagon เนื่องจากบริษัทประกาศเลิกจ้างแรงงานหลายพันคน ก่อนที่จะยกเลิกคำสั่งซื้อมีโรงงานอย่างน้อย 20 แห่งจาก 500 โรงงานต้องปิดตัวลงทำให้มีคนว่างงานมากกว่า 10,000 คน ตั้งแต่เดือนมกราคมโรงงานตัดชุด 38 แห่งซึ่งรวมถึงโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าได้ปิดตัวลง นอกเหนือจากสหภาพยุโรปแล้วตลาดสหรัฐก็เริ่มยกเลิกคำสั่งซื้อ จนถึงตอนนี้มีเพียงบริษัทจากญี่ปุ่นและเกาหลียังไม่ได้ยกเลิกคำสั่งซื้อ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/more-woes-myanmar-garment-industry-eu-cancels-orders.html

COVID-19 ฉุดเศรษฐกิจเวียดนามลงมาอยู่ที่ 6.3% : Fitch Solution

จากรายงานของศูนย์วิจัย Fitch Solutions ในวันที่ 24 มี.ค. เปิดเผยว่าปรับลดอัตราการขยายตัวของ GDP เวียดนาม ในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 6.3 จากที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.8 ก่อนหน้านี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) อีกทั้ง แนวโน้มของตลาดเกิดใหม่ (EM) ชี้ให้เห็นว่าเวียดนามมีความยืดหยุ่นทางการคลังอยู่ในระดับต่ำ จากการที่หนี้สินภาครัฐสูง รวมถึงทางศูนย์ฯ ยังปรับลดเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่อื่นๆ “แม้ว่าจะไม่แพร่ระบาดของโควิด-19 มากนักในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ แต่คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจะลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3 ในปี 2563” ทั้งนี้ ความตึงเครียดของตลาดการเงินทั่วโลกจะแสดงให้เห็นจากความรัดกุมของสภาพคล่องในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ซึ่งทางศูนย์วิจัยมองว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ และการเทขายของตลาดหุ้นส่งผลให้ดัชนีหุ้นอ้างอิงของบริษัทในตลาดเกิดใหม่ (MSCI) ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 30 ในขณะที่ ไม่น่าแปลกใจมากนัก จากการที่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าความตึงเครียดของตลาดการเงินในตลาดเกิดใหม่ ส่งผลให้การเติบโตลดลงอย่างมากหลังจากภาวะทางการเงินที่ย่ำแย่

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/covid19-to-pull-vietnams-growth-down-to-63-fitch-solutions-411813.vov

จีนให้ความช่วยเหลือสปป.ลาวในการต่อต้าน Covid-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทั่วโลกและมีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดเป็นวงกว้างออกไปอีก สปป.ลาวถือเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้ออยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำโดยล่าสุดมียอดผู้ติดเชื้อ 3 คน แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ละเลยโดยมีมาตราการการป้องกันเข้มงวดขึ้นและได้รับความช่วยเหลือจากชาติพันธมิตรอย่างจีนซึ่งได้ส่งมอบชุดตรวจจับไวรัส 2,000 ชุด ชุดป้องกัน 5,000 ชุดรวมถึงหน้ากาก N95 400,000 ชุดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการช่วยในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 นอกจากนี้หน่วยงานท้องถิ่นในประเทศจีนเช่นยูนนาน หูหนาน ฉงชิ่ง ซานตงและเซี่ยงไฮ้ได้เข้าร่วมกับสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเอเชีย – จีนพันธมิตรผู้ประกอบการจีนและได้รับการสนับสนุนจากธนาคารไอซีบีซีในเวียงจันทน์และชุมชนชาวจีนในสปป.ลาว ในการแก้ปัญหาทั้งการระบาดของไวรัสและบรรเทาผลกระทบของภาคธุรกิจที่ได้รับจากการเกิดโรคระบาด ในอีกแง่ยังเป็นการสร้างสัมพันธที่ดีต่อทั้ง 2 ประเทศอีกด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Chinese_62.php

อุตสาหกรรมการบินในกัมพูชาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ COVID-19

กัมพูชารายงานถึงจำนวนเที่ยวบินที่อาจจะลดลงกว่า 40% จากการระบาดของ COVID-19 โดยรวมแล้วจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศไปและกลับจากสนามบินสามแห่งของกัมพูชาในเดือนมีนาคมคาดว่าจะลดลงประมาณ 40% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมปีที่แล้วนับตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเปิดเผยว่าในเดือนมีนาคมมีเพียง 2,575 เที่ยวบินที่ลงจอดที่สนามบินทั้งสามแห่ง ถือเป็นการลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2019 ที่มีเที่ยวบินทั้งสิ้น 4,241 เที่ยวบินระหว่างประเทศที่เดือนทางมายังกัมพูชา โดยสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ได้ปรับปรุงการวิเคราะห์ผลกระทบของ COVID-19 ต่อรายได้ในอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศทั่วโลก ซึ่งตอนนี้ประมาณการรายได้ผู้โดยสารอาจจะลดลงถึง 2.52 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 44% เมื่อเทียบกับปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50706043/cambodias-aviation-sector-hard-hit-by-coronavirus-pandemic/

ยอดคำสั่งซื้ออาหารทะเลดิ่งลง เนื่องจากผลกระทบเชิงลบของโควิด-19

จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ายอดสั่งซื้ออาหารทะเลของธุรกิจลดลง ประมาณร้อยละ 20-50  โดยยอดคำสั่งซื้อลดลงในช่วงต้นเดือนมี.ค. เป็นผลมาจากผลกระทบเชิงลบของโควิด-19 ยกตัวอย่างเช่น บริษัทปลาสวายที่ส่งออกไปยังตลาดจีน ด้วยกำไรสูง แต่ได้หยุดชะงักในช่วงเดือนม.ค.ของปีนี้ จากสถานการณ์แพร่ไวรัส ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงต้นเดือนมี.ค. สถานการณ์แพร่ระบาดหนักไปทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ได้ระงับการทำธุรกรรมทั้งหมดและนโยบายปิดภัตตาคาร โรงแรม ส่งผลให้สินค้าคงเหลือมีจำนวนมากและคำสั่งซื้อใหม่ยังไม่ได้ทำสัญญาอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ กิจกรรมการผลิตอาหารทะเลของธุรกิจส่วนใหญ่ล้วนได้รับผลกระทบเชิงลบ จากการที่ขาดวัตถุดิบ ยกเว้นธุรกิจปลาสวาย (Pangasius) ในขณะที่ ยอดคำสั่งซื้อกุ้งลดลงร้อยละ 20-50 จากการส่งออกไปยังสหรัฐฯและยุโรป จากการล่าช้าในการขนส่งหรือยกเลิก เป็นผลมาจากทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้ามีสินค้าคงเหลือจำนวนมาก นอกจากนี้ แนวทางในการจัดการกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทางสมาคมฯ ได้เรียกรองให้สมาชิกเร่งดำเนินตามกฎหมาย เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข และสิ่งที่ควรทำ คือ กาควบคุมกำลังการผลิตและร่วมมือกับภาครัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/654053/foreign-investors-pour-855b-in-vn-in-q1.html

World Bank จับมือ ADB ช่วยเหลือเมียนมาจัดการกับผลกระทบของ COVID-19

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (MIFER) ธนาคารโลกของเมียนมาและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ร่วมหารือในการจัดการกับผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ MIFER กล่าวว่าธนาคารโลกได้ใช้งบ 14 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนประเทศสมาชิกในการเผชิญกับ COVID-19 โดยมอบ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะให้แก่เมียนมาภายใต้ระบบ Fast Track และธนาคารโลกกำลังประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของเมียนมา จากนั้นธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียแจ้งว่าจะจัดสรรความช่วยเหลือมูลค่า 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการพัฒนาประเทศสมาชิก ADB ประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬาเพื่อให้สินเชื่อและเงินช่วยเหลือเพื่อใช้ในความพยายามในการป้องกันและควบคุม COVID-19 นอกจากนี้ยังได้หารือกับ ADB จัดสรรเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายใต้กองทุนโครงการประกันสุขภาพของ The Greater Mekong Subregion (GMS)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/world-bank-adb-assist-myanmars-efforts-deal-covid-19s-effects.html

รัฐบาลสปป.ลาวเพิ่มมาตราการรับมือ Covid-19

นายกรัฐมนตรีทองหลวงศรีสุลิศได้บอกให้ทุกภาคส่วนพิจารณาอนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ coronavirus (Covid-19) หลังจากที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยืนยันผู้ติดเชื้อรายที่สามของสปป.ลาวซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายแรก ในขณะเดียวกันจากมาตราการป้องกันของประเทศไทยทำให้แรงงานสปป.ลาวตกงานทำให้มีการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงานที่กลับจากไทยทำให้เพิ่มโอกาสที่จะแพร่กระจาย Covid-19 ในสปป.ลาวได้ ทำให้ตอนนี้สปป.ลาวต้องมีการยกระดับการป้องกันเพื่อที่จะควบคุมการแพร่ระบาดให้ได้ โดยทางการสปป.ลาวได้ออกมาขอความร่วมมือของประชาชนให้เริ่มมีการกักตัวเองอยู่บ้าน 14 วัน และลดการพบปะหรือชุมนุมในช่วงนี้นอกจากนี้ยังขอความร่วมมือไปยังภาคเอกชนในการอนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้ทั้งนี้มองว่าการให้มีการ Working from home จะทำให้ลดโอกาสการแพร่ระบาดร่วมถึงภาคธุรกิจยังสามารถดำเนินงานได้ไปในบ้างส่วนและลดผลกระทบต่างๆที่ทางบริษัทจะได้รับในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามการยกระดับการรับมือกับ Covid-19 จะต้องพิจารณาวันต่อวันหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นอาจต้องมีมาตราการที่เข้มข้นกว่านี้ นายกรัฐมนตรีกล่าว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Working.php