“สิงคโปร์” รั้งอันดับ 2 ผู้นำสินค้ารายใหญ่จากเมียนมา

จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผย ปีงบประมาณ 2563-2564 สิงคโปร์เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดับสองของเมียนมา มีมูลค่าการนำเข้าประมาณ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปีงบประมาณที่แล้ว มูลค่าการค้าของทั้งสองประเทศอยู่ที่ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯแบ่งเป็นการส่งออกมีมูลค่าถึง 207.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้ามีมูลค่ากว่า 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมียนมาขาดดุลการค้าประมาณ 2.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสิงคโปร์เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของเมียนมาในภูมิภาค รองจากไทย โดยเมียนมาส่งออกสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร รองเท้า สิ่งทอและเสื้อผ้า แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ขณะที่นำเข้าพลาสติก น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง สินค้าอุปโภคบริโภค โลหะ และเคมีภัณฑ์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/singapore-ranked-myanmars-second-largest-importer-in-fy2020-2021/

ครม.คุมเข้มนำเข้ารถผิดกฎหมาย

รัฐบาลได้มีคำสั่งให้ดำเนินการกับบุคคลและธุรกิจที่นำเข้ายานพาหนะอย่างผิดกฎหมายและเพื่อป้องกันการใช้ยานพาหนะทุกประเภทอย่างไม่เหมาะสมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่ามีการชำระภาษีศุลกากรและภาษีอื่น ๆ อย่างถูกต้อง คำสั่งดังกล่าวมีคำสั่งให้กระทรวง องค์กรเทียบเท่ากระทรวง และหน่วยงานท้องถิ่นทุกระดับป้องกันและแก้ไขปัญหาการนำเข้าและใช้งานยานพาหนะอย่างผิดกฎหมาย ทั้งนี้คำสั่งดังกล่าวยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเข้า ใช้ แลกเปลี่ยน และขายยานพาหนะให้เป็นไปตามกฎหมาย และยังเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการบรรลุวาระแห่งชาติในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_
Govt202.php

เมียนมางดนำเข้ารถยนต์ หวังลดการใช้สกุลเงินต่างประเทศ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาประกาศระงับการนำเข้ารถยนต์ต่างประเทศเพื่อลดการใช้เงินตราต่างประเทศ โดยจะระงับการนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.64 ผลพวงของการระบาดของ COVID-19 ทำให้ธุรกิจล่าช้า หวังลดการใช้เงินตราต่างประเทศอันเนื่องมาจากการส่งออกที่ลดลงของประเทศ ทั้งนี้การนำเข้าและการออกใบอนุญาตนำเข้ารายบุคคลต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้าราชการ ตำรวจ และทหารที่มีความประพฤติที่ดีหรือได้รับเหรียญตราของหน่วยงานเท่านั้น

ที่มา: https://news-eleven.com/article/216866

เมียนมานำเข้ายา พุ่ง 397.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 9 เดือนแรกของปีงบฯ ปัจจุบัน

มูลค่าการนำเข้ายาของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 397.46 ล้านดอลลาร์ในช่วงเก้าเดือน (ต.ค.63- มิ.ย.64) ของปีงบประมาณปัจจุบัน 2563-2564 โดยเมียนมานำเข้ายาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ 90% จากต่างประเทศ อินเดียเป็นแหล่งนำเข้าหลักสำหรับเมียนมา นอกจากนี้ยังมีบังคลาเทศ จีน เยอรมนี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ใต้หวัน ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม ปัจจุบันมีการนำเข้ายาอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม ราคายาเพิ่มขึ้น 5-10% จากการอ่อนค่าของจัต ส่วนกรมการค้าเมียนมาได้ยกเว้นใบอนุญาตนำเข้าชั่วคราวสำหรับสินค้า 92 HS code (รหัสศุลกากร) รายการ นาน3 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.64 เป็นต้นไป เพื่อเอื้อสำหรับการค้าในช่วงวิกฤต COVID-19 ปัจจุบันสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) พร้อมหน่วยงาน ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง กำลังเร่งดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกในการของยาในช่วงวิกฤต COVID-19

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-pharmaceutical-imports-top-397-46-mln-in-nine-months/

สหรัฐฯ เป็นผู้นำเข้าพลาสติกรายใหญ่ของเวียดนาม ในครึ่งแรกของปีนี้

กรมศุลกากรของเวียดนาม (GDC) รายงานว่าสหรัฐอเมริกาเป็นจุดหมายปลางทางของผลิตภัณฑ์พลาสติกของเวียดนามในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ คิดเป็นสัดส่วน 36.5% ของปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งหมด เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก ประมาณ 2.33 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 41.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี รองจากสหรัฐแล้วนั้น ญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้าพลาสติกรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของกลุ่มสินค้าดังกล่าว คิดเป็น 14.3% ของทั้งหมด ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เผยว่าบริษัท FDI เป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกหลักของประเทศ ขณะที่ธุรกิจในประเทศส่วนใหญ่จะจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติก ชิ้นส่วนและส่วนประกอบที่มีมูลค่าน้อยให้กับพาร์ทเนอร์ต่างชาติ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/foreign-investment-poured-in-vietnam-despite-covid-19-883511.vov

ผู้นำเข้าสุกรในกัมพูชา เร่งเจรจารัฐบาลอนุมัติการนำเข้าสุกรมีชีวิตเพิ่มขึ้น

ผู้นำเข้าสินค้าปศุสัตว์กำลังเร่งเจรจารัฐบาลเพื่อให้สามารถนำเข้าสุกรมายังกัมพูชาได้มากขึ้น โดยบริษัท 4 แห่ง ได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขออนุญาตนำเข้าสุกร ซึ่งคาดว่าผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากราคาเนื้อสุกรที่ถูกกว่าราคาในปัจจุบัน และจากยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีก 3 ล้านดอลลาร์ต่อปี รวมถึงเกษตรกรในท้องถิ่นจะได้รับประโยชน์จากการแข่งขันในตลาดเสรี แต่จะต้องเข้มงวดและเฝ้าระวังการเกิดโรคที่ทำให้สุกรของเกษตรกรกัมพูชาไม่มีผู้ซื้อ จนถึงขั้นทำให้สูญเสียรายได้ของเกษตรกร โดยการนำเข้าสุกรที่มีชีวิตจากเวียดนามไปยังกัมพูชานั้นถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายเนื่องจากเกิดการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ในปี 2019 ซึ่งกัมพูชาอนุญาตให้นำเข้าสุกรที่มีชีวิตได้จากประเทศไทยภายใต้การควบคุมด้านสุขภาพที่เข้มงวดเท่านั้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50918764/livestock-conflict-brewing-between-pig-farmers-importers-and-officials/

“เวียดนาม” ส่งออกไปอียูพุ่ง 15.5%

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า รายงานว่ามูลค่าจากการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 22.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน, คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, รองเท้า, เครื่องนุ่งห่มและเสื้อผ้า, อาหารทะเล, กระเป๋าถือและกระเป๋าสตางค์ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าของเวียดนามจากสหภาพยุโรป อยู่ที่ 9.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรป-เวียดนามที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 ก.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้เวียดนามได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-sees-155-percent-rise-in-exports-in-eu-market/205702.vnp

กัมพูชาอาจได้รับผลกระทบเชิงบวก หลังเวียดนามโครงสร้างพื้นฐานดีขึ้น

แผนการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในจังหวัดลองอันของเวียดนาม อาจมีส่วนช่วยทำให้การค้าข้ามพรมแดนของกัมพูชาปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลองอันกำลังจัดตั้งศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง 6 แห่ง เพื่อช่วยส่งเสริมการนำเข้าและส่งออก และปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันของชุมชนท้องถิ่น โดยศูนย์ทั้งหมดเชื่อมต่อกับถนน แม่น้ำ และทะเล ที่ถือเป็นข้อได้เปรียบสำหรับการจัดส่งและการกระจายสินค้า ซึ่งจังหวัดลองอันตั้งอยู่ติดกับตะวันออกเฉียงใต้ของกัมพูชาระหว่างนครโฮจิมินห์ทางตอนเหนือและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง โดยทั้งกัมพูชาและเวียดนามได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะเพิ่มปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างกัน ซึ่งในปัจจุบันการค้าระหว่างเวียดนามและกัมพูชามีมูลค่าสูงถึง 5.3 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 443 ในไตรมาสแรกของปี 2021 สู่มูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยางพารา และพืชผลทางการเกษตร ส่วนการส่งออกของเวียดนามมายังกัมพูชาเติบโตเกือบร้อยละ 16 คิดเป็นมูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สินค้าสำคัญ ได้แก่ เหล็ก น้ำมันและก๊าซ รวมถึงเสื้อผ้าและรองเท้า เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50898290/cambodia-may-gain-from-vietnam-investing-in-better-infrastructure/

กัมพูชานำเข้าสุกรลดลงอย่างมาก เนื่องจากเกษตรกรหันมาเพาะเลี้ยงเอง

กัมพูชานำเข้าเนื้อหมูลดลงเนื่องจากเกษตรกรในท้องถิ่นเริ่มเพาะเลี้ยงหมูมากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในช่วงของการแพร่ระบาด โดยประธานสมาคมผู้เลี้ยงปศุสัตว์กัมพูชา กล่าวว่าการนำเข้าเนื้อหมูที่ลดลง เนื่องจากอุปทานในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันอุปทานสุกรในตลาดท้องถิ่นจากเกษตรกรและผู้เพาะพันธุ์อยู่ที่ประมาณร้อยละ 85 ส่วนอีกร้อยละ 15 คือหมูที่ต้องทำการนำเข้า โดยปริมาณเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสุกรในประเทศมากขึ้น เนื่องจากผู้คนจำนวนมากตกงานในช่วงของการระบาดใหญ่ที่ได้หันไปเลี้ยงปศุสัตว์เป็นทางเลือก เนื่องจากราคาสุกรและสัตว์ชนิดอื่นๆ มีราคาสูงในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50897550/pig-imports-fall-to-15-percent-of-demand-as-more-turn-to-farming/

บริษัทขนส่งในกัมพูชาอาจจะเผชิญกับปัญหาหากการแพร่ระบาดไม่คลี่คลาย

ท่าเรือสีหนุวิลล์ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ดำเนินกิจการท่าเรือน้ำลึกในกัมพูชา รายงานว่าบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ในช่วงครึ่งแรกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020 มาอยู่ที่ 44 ล้านดอลลาร์ โดยปริมาณขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 5 คิดเป็นกว่า 3.5 ล้านตัน ซึ่งแบ่งออกเป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 5 คิดเป็น 2.6 ล้านตัน การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 สู่ 830,000 ตัน โดยการจัดส่งสินค้าจากกัมพูชาส่วนใหญ่ได้แก่ วัตถุดิบผ้า เสื้อผ้า รองเท้า ข้าว เครื่องจักร ไม้แปรรูป และบุหรี่ เป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม ประธานสมาคมโลจิสติกส์แห่งกัมพูชา ได้เตือนว่าบริษัทภายในประเทศมากกว่าร้อยละ 60 กำลังประสบกับปัญหารายรับที่ลดลง และอีกร้อยละ 30 กำลังจะล้มละลายหรือมีแนวโน้มว่าจะเลิกกิจการลง เว้นแต่สถานการณ์โดยภาพรวมจะดีขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50893244/transport-firms-face-bankruptcy-if-pandemic-worsens/