อุตสาหกรรมอะโวคาโดของเมียนมาเตรียมส่งออกไปดูไบ สิงคโปร์

นาย U Myo Nyunt รองประธานสมาคมผู้ผลิตและส่งออกอะโวคาโดของเมียนมา เผย กำลังเตรียมการส่งออกอะโวคาโดพันธุ์แฮส (Hass) ซึ่งจะถูกเก็บเกี่ยวได้ในเดือนธันวาคม ตามคำสั่งซื้อของดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสิงคโปร์ ซึ่งอะโวคาโดเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา  นอกจากนี้ยังหาตลาดใหม่ๆ เพื่อการส่งออก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-avocado-industry-gearing-up-for-exports-to-dubai-singapore/#article-title

5 เดือน ของปีงบ 65-66 MIC ไฟเขียวให้ต่างชาติมาลงทุน 35 โครงการ เม็ดเงินทะลุ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเมษายน-เดือนสิงหาคม 2565) ของปีงบประมาณปัจจุบัน 2565-2566 สำนักงานคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) ให้ไฟเขียวโครงการต่างประเทศ 35 โครงการจาก 6 ประเทศ มีเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เป็นการลงทุนในภาคเกษตรกรรม การผลิต พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ และบริการตามลำดับ โดยมีสิงคโปร์เป็นอันดับหนึ่งที่เข้ามาลงทุนในเมียนมา มีมูลค่าการลงทุน 1.089 พันล้านดอลลาร์ รองลงมา คือ ฮ่องกง 70.239 ล้านดอลลาร์จากโครงการ 7 โครงการ ส่วนจีนอยู่ในอันดับที่สาม 56.7 ล้านดอลลาร์จาก 15 โครงการ ที่ผ่านมาเมียนมาดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจำนวน 647 ล้านดอลลาร์ในช่วงงบประมาณย่อยปี 2564-2565 (เดือนตุลาคม 2564 ถึง เดือนมีนาคม 2565)

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mic-nods-35-foreign-projects-worth-1-2-bln-in-5-months/

จ.ประจวบคีรีขันธ์ เตรียมความพร้อมเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขรเต็มรูปแบบ กระตุ้นเศรษฐกิจการค้าชายแดนหลังสถานการณ์โควิด -19 คลี่คลาย

นายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันจังหวัดได้ผ่อนปรนการเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร ต.คลองวาฬ อ.เมือง เฉพาะเพื่อการขนถ่ายสินค้าข้ามแดน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการนำเข้าส่งออกสินค้าไทย-เมียนมา ส่วนในระยะต่อไปได้เตรียมพร้อมเปิดด่านสิงขรเต็มรูปแบบให้ยานพาหนะ บุคคล และสิ่งของสามารถผ่านเข้าออกได้อีกครั้ง โดยได้สำรวจความพร้อมของอาคารด่านพรหมแดนสิงขร ซึ่งปัจจุบันสร้างเสร็จแล้วเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบบุุคคล การออกบัตรผ่านแดนและบัตรผ่านแดนชั่วคราว รวมถึงการตรวจพืช ตรวจสัตว์ และสิ่งของข้ามแดน

โดยขณะนี้ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือแนวทางปฏิบัติของการเดินทางข้ามแดน เช่น มาตรการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ระยะเวลาการอยู่พำนักของชาวเมียนมาที่เข้ามาในไทย จากนั้นจะมีการประสานกับทางการเมียนมาเพื่อทำความตกลงร่วมกันต่อไป คาดว่าหากเปิดด่านสิงขรเต็มรูปแบบแล้วจะสร้างมูลค่าเศรษฐกิจการค้าชายแดนได้เป็นอย่างมาก หลังจากเมื่อปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด -19 เคยมีมูลค่าการนำเข้าส่งออกสินค้าผ่านด่านสิงขรรวมกว่าพันล้านบาท

ที่มา : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220913090615824

Q 2 ของงบประมาณย่อย 64-65 เมียนมาส่งออกสินค้า CMP คิดเป็น 26% ของรายได้การส่งออกสินค้าทั้งหมด

กระทรวงการวางแผนและการคลังของเมียนมา เผย การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตแบบการตัด การผลิต และบรรจุภัณฑ์ (CMP) ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณย่อย 2564-2565 (เดือนต.ค. 2564 – เดือนมี.ค. 2565) คิดเป็น 26%  ของรายได้การส่งออกทั้งหมด ซึ่งไตรมาสที่ 1  ของงบประมาณรายย่อย เมียนมามีรายได้จากการส่งออกสินค้า CMP กว่า 1.055 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ส่วนไตรมาสที่ 2 สามารถทำรายได้อีกกว่า 1.174 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าสถานประกอบการหรือบริษัทที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากต้องประสบปัญหาทางด้านการเงินจากวิกฤตโควิด-19 และปัญหาทางการเมืองในประเทศ แต่ขณะสถานการณ์ของธุรกิจกำลังกลับสู่ภาวะปกติหลังจากเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับแรงงาน ทั้งนี้ภาคการผลิตของเมียนมาส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่มีการผลิตแบบ CMP และเป็นส่วนสำคัญของ GDP ของประเทศ ซึ่งตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cmp-constitutes-26-of-overall-export-values-in-q2-of-mini-budget-period/#article-title

ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในเมียนมาปรับตัวลดลง 2 วันติด

ราคาขายน้ำมัน ณ เมืองย่างกุ้งที่ขายในวันที่ 9 กันยายน 2565 ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2  โดยราคาน้ำมันเบ็นซิน 92 ลดลงเหลือ 2,310 จัตต่อลิตร และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดาลดลงเลือ 2,485 จัตต่อลิตร ส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซินลดลงมากกว่า 100 จัตต่อลิตร ในขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลงเพียง 10 จัตต่อลิตร ซึ่งราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงภายหลังมีข่าวว่าธนาคารกลางเมียนมาจัดหาเงิน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อพยุงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงเนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศประมาณร้อยละ 90 เพื่อบริโภคภายในประเทศ และผลิตเองได้เยงร้อยละ 10 เท่านั้น ทั้งนี้ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ประธานสภาการวางแผนและบริหารแห่งรัฐ เปิดเผยว่า เมียนมากำลังวางแผนที่จะซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากรัสเซียเพื่อให้เพียงพอกับการใช้ในประเทศ

ที่มา: https://news-eleven.com/article/237107

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เมียนมาพุ่งขึ้น จากความต้องการที่ต่ำลง กระทบ ต่ออุตสาหกรรมขนส่งสินค้า

การขนส่งสินค้าปกติของเมียนมาจะลดลงในฤดูมรสุม แต่ในปีนี้ ด้วยปริมาณการขนส่งสินค้าที่ลดลง ความล่าช้าในจากการจราจรในบางเส้นทาง และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น ส่งผลเสียต่อการบริการขนส่งสินค้าของรถบรรทุกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น ปริมาณการขนส่งสินค้าที่มีสั่งซื้อจากเมืองย่างกุ้งและเมืองอื่นก็ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะวัสดุก่อสร้าง อีกทั้ง การส่งมอบน้ำมันปาล์มจากย่างกุ้งไปยังภูมิภาคและรัฐอื่นๆ ลดลงมากกว่าครึ่ง นอกจากนี้ ในเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา รถบรรทุกที่เคยวิ่งรับส่งสินค้าในเมืองบุเรงนองจากเดิมที่เคยวิ่ง 10 เที่ยวต่อวัน ลดลงเหลือเพียง 4 เที่ยวต่อวันเท่านั้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/rising-commodities-prices-low-demand-affect-freight-forwarding-service/#article-title

5 เดือนแรกของปีงบฯ 65 เมียนมามีรายได้จากการส่งออกข้าว พุ่งแตะ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) เผย 5 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเมย.-เดือนส.ค.2565) ของปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักจำนวน 889,991 ตัน จากบริษัทผู้ส่งออกข้าวประมาณ 44 แห่ง ทำรายได้เข้าประเทศประมาณ 302 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย 731,590 ตันส่งออกผ่านทางทะเล ไปยังประเทศในแอฟริกาและสหภาพยุโรป ในขณะที่กว่า 158,400 ตัน ส่งออกผ่านชายแดนไปยังจีน ซึ่งหลายเดือนที่ผ่านมาเมียนมาส่งออกข้าวไปยัง 20 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นจีน (108,269 ตัน) และฟิลิปปินส์ (95,019 ตัน) ขณะที่ราคาข้าวเมื่อเดือนที่แล้ว ราคาข้าวเกรดพรีเมี่ยมเพิ่มขึ้นเป็น 60,000-90,000 จัตต่อถุง ส่วนราคาข้าวเกรดต่ำจะอยู่ระหว่าง 35,500-50,000 จัตต่อถุง ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาได้ส่งออกข้าวไปยังตลาดต่างประเทศ สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-300-mln-from-rice-export-in-past-5-months/#article-title

เมียนมาส่งออกข้าวหักผ่านชายแดนมูเซไปจีนพุ่งสูงขึ้น

นาย อู มิน เต็ง รองประธานของ Muse Rice Commodity Exchange เผย รายได้จากส่งออกข้าวหักไปยังจีนผ่านชายแดนมูเซเพิ่มขึ้นเนื่องจากค่าเงินจัตอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินหยวนของจีน ซึ่งการส่งออกข้าวหักไปจีนในแต่ละวันจะถูกลำเลียงผ่านชายแดนมูเซ – จี่งซานเจ้าะ ด้วยรถบรรทุกประมาณ 50 คัน โดยในตลาดชายแดน การส่งออกข้าวหักจะมีมากกว่าข้าวสารทั่วไป ซึ่งราคาข้าวหัก 50 กิโลกรัม ราคาจะอยู่ระหว่าง 140 -150 หยวน ส่วนราคาข้าวและข้าวหักในประเทศ มีแนวโน้วเพิ่มขึ้นตามราคาส่งออกข้าวหักที่สูงขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/broken-rice-export-rising-through-muse-border/