GDP เมียนมา โดยได้แรงหนุนจากภาคบริการถึง 58%

ระหว่างพิธีเปิดตัวแว็บไซต์เวอร์ชันใหม่ของ Services Trade and Investment Portal-STIP ที่จัดขึ้น ณ กรุงเนปยีดอ เมื่อวานนี้ (25 พ.ค.2565) โดย Dr. Pwint San รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา กล่าวว่า GDP ของประเทศมาจากการค้าบริการคิดเป็นร้อยละ 58 และรั้งอันดับ 4 ของประเทศอาเซียนในปี 2562  ซึ่ง  STIP Web Portal เป็นเว็บไซต์ที่เสนอกฎหมาย กฎและข้อบังคับของของการค้าบริการ และการบังคับใช้ตามพันธสัญญาของเขตการค้าเสรี ไว้ในแพลตฟอร์มเดียว ซึ่งการค้าและการบริการมีบทบาทสำคัญในเมียนมาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนับสนุนอย่างเต็มที่

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-gets-58-of-gdp-growth-from-services-trade/

ยอดจำหน่ายข้าวสาลีในตลาดมัณฑะเลย์ พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว

ผู้ค้าธัญพืชและถั่ว เผย ทุกวันนี้ข้าวสาลีเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดมัณฑะเลย์ ทำให้ราคายังพุ่งขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยราคาเมื่อเดือน ม.ค.65 ที่ผ่านมาราคาอยู่ที่ 90,000 จัตต่อถุง (สามตะกร้า) แต่เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาราคาพุ่งขึ้นเป็น 125,000 จัตต่อถุง ซึ่งข้าวสาลีเป็นพืชที่นิยมบริโภคสูงเป็นอันดับ 2 ในประเทศรองจากข้าว โดยปกติแล้วเมียนมาจะอาศัยการนำเข้าเป็นหลัก เพื่อเป็นการลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ ผู้ค้าข้าวสาลีจึงแนะนำให้เกษตรเพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูกให้มากขึ้นและปรับปรุงกระบวนการการผลิต เพราะการบริโภคข้าวสาลีในประเทศก็เพิ่มขึ้นทุกปีและกลายเป็นพืชผลสำคัญชนิดหนึ่งหนึ่งของประเทศ ทั้งนี้ เมียนมาสามารถปลูกข้าวสาลีได้ปีละครั้ง และพบได้ทั่วไปในรัฐฉานทางตอนใต้และตอนเหนือ รัฐชิน และรัฐกะยา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mandalay-market-sees-brisk-sales-of-wheat-crops/#article-title

กัมพูชา-เมียนมา เร่งเจรจาข้อตกลงทางการค้า 2 ฉบับ

เมียนมาและกัมพูชาเร่งการเจรจาร่างข้อตกลง 2 ฉบับ เพื่อยกระดับความร่วมมือทางด้านการค้า โดย Pan Sorasak รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกัน ภายใต้กรอบระดับภูมิภาคและทวิภาคีที่มุ่งเพิ่มปริมาณการค้าและส่งเสริมการฟื้นทางเศรษฐกิจ ซึ่ง Aung Naing Oo รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเมียนมา เห็นด้วยกับความร่วมมือที่จะเกิดขึ้น หลังเห็นถึงความสำคัญของข้อตกลงที่ผ่านมา โดยเฉพาะครั้งล่าสุดของกัมพูชาที่ได้ทำข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีกับจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งการเจรจาร่างข้อตกลงการลงทุน กัมพูชา-เมียนมา และข้อตกลงการยกเว้นภาษีระหว่างสองประเทศกำลังอยู่ในกระบวนการ โดยปริมาณการนำเข้าและส่งออกของกัมพูชาไปยังเมียนมาร์ในปี 2020 อยู่ที่ 24.93 ล้านดอลลาร์ และ 3.27 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ ลดลงเล็กน้อยจากปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501081773/myanmar-cambodia-expedite-talks-on-two-trade-cooperation-deals/

เดือนเม.ย.66 ของงบฯ 65-66 เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมาทะลุ! 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการบริษัทแห่งการบริหารการลงทุนและบริษัท (DICA)  เปิดเผยว่า ในเดือนเม.ย. 2565 เมียนมามีเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเกือบ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการลงทุนของจีน 2.782 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยไต้หวัน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฮ่องกง 1.215 ล้านดอลลาร์ และประเทศอื่นๆ รวมเป็น 5.997 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในช่วงหกเดือนของงบประมาณย่อยปี  2564-2565 พบว่าประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ในเมียนมา คือ สิงคโปร์ 297.349 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามด้วย จีน 142.137 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ฮ่องกง  109.140 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ,  เกาหลีใต้ 62.693 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ใต้หวัน 8.641 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนไทย 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฯลฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/us6-mln-foreign-investment-flows-in-april-this-2022-2023fy/

หนี้สินเพื่อการเกษตรของมัณฑะเลย์ จากปี 57 ถึง 63 เหลือเพียง 987.10 ล้านจัต !

จากข้อมูลของธนาคารพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมา (เขตมัณฑะเลย์) ชาวนาจาก 23 เมืองของเขตมัณฑะเลย์ มียอดหนี้กู้เพื่อการเกษตรในช่วงมรสุมตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปี 2563 เหลือยอดหนี้ 987.10 ล้านจัต  จากยอดกู้รวมทั้งสิ้น  590,572.33 ล้านจัต โดยสามารถเก็บยอดชำระหนี้ได้ถึงร้อยละ  99.83 จากยอดหนี้ทั้งหมด อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคาร ซึ่งก่อนนี้จะที่ 8% แต่สำหรับเกษตรกรที่เคยกู้ยืมเงินจะลดลงเหลือ 5% ทั้งนี้ ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมา (เขตมัณฑะเลย์) ยังเผยด้วยว่า อัตราดอกเบี้ยแบบ Two Step Loan ของ Myanma Economic Bank (MEB) จะลดลงจากปัจจุบัน 9% เป็น 6.5%

ที่มา: https://news-eleven.com/article/231181