ธุรกิจในเมียนมาเร่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายฉบับใหม่

เจ้าของธุรกิจควรจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเปลี่ยนจากระบบเดิมเป็นใช้ระบบยื่นก่อนมีสิทธิดีกว่า ( FIRST TO FILE SYSTEM) ภายหลังจากกระทรวงพาณิชย์ (MOC) ประกาศเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 63 ที่ผ่านมา ระบบนี้ให้สิทธิ์เจ้าของเครื่องหมายการค้าในการลงทะเบียนให้แก่ผู้ที่ยื่นคำร้องตามกฎหมายก่อน ทั้งนี้ควรยื่นใบสมัครที่นายทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ววันที่ลงทะเบียนจะนับเป็นวันที่ยื่นคำร้องให้กับกระทรวง ภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้ามีอายุ 10 ปีนับจากวันยื่นขอจะเบียน เครื่องหมายการค้าเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินธุรกิจซึ่งผู้บริโภคเลือกผลิตภัณฑ์โดยดูที่เครื่องหมายการค้า ซึ่งองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กหลายแห่งได้เตรียมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว การสมัครสามารถทำได้ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือที่ Department of Consumer Affairs ทั้งนี้จ้าของธุรกิจสามารถจดทะเบียนได้ด้วยตนเองหรือผ่านตัวแทนและทนายความ เมื่อยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเครื่องหมายที่ใช้ลิขสิทธิ์จะต้องตรงกับเครื่องหมายการค้าก่อนหน้านี้ที่จดทะเบียนกับนายทะเบียนหรือเครื่องหมายการค้าจริงซึ่งใช้อยู่ในตลาดในปัจจุบัน สินค้าและบริการที่จัดให้ภายใต้เครื่องหมายการค้าจะต้องเป็นสินค้าประเภทเดียวกันและมีการจัดประเภทระหว่างประเทศ กฎหมายเครื่องหมายการค้าเมียนมาฉบับใหม่ผ่านในเดือนมกราคม 2562 ตามด้วยกฎหมายสิทธิในการออกแบบอุตสาหกรรมกฎหมายสิทธิบัตรและกฏหมายคุ้มวรรณกรรมและศิลปะในปี 2562  กฎหมายทั้ง 4 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ประธานาธิบดีประกาศบังคับใช้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/businesses-myanmar-urged-register-trademarks-line-new-law.html

ส่งออกไทย เดือน ก.ค. ติดลบ 11.37% ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว

พาณิชย์เผยตัวเลขการส่งออก ก.ค. 63 หดตัว 11.37% เริ่มฟื้นตัวหลังจากอยู่จุดต่ำสุด การส่งออกทั้งปี ติดลบ 8-9% นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนกรกฎาคม 2563 มีมูลค่า 18,819 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 11.37% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 15,476.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 26.38% ส่งผลให้ประเทศไทยมีการค้าเกินดุล 3,343.25 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ การส่งออก 7 เดือนแรกของปี (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่า 133,162.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 7.72% ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 119,118.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 14.69% ส่งผลให้ประเทศไทยมีการค้าเกินดุล 14,044.2 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดี การส่งออกทั้งปี 2563 ประเมินว่าการส่งออกไทยจะหดตัวอยู่ที่ ติดลบ 8% หรือมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 226,567 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนจากนี้จะต้องอยู่ที่ 18,681 ล้านเหรียญสหรัฐ ถึง ส่งออก ติดลบ 9% มีมูลค่าอยู่ที่ 224,105 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนจากนี้จะต้องอยู่ที่ 18,188 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปัจจัยที่กระทบต่อการส่งออกเดือนกรกฎาคม 2563 มองว่าผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2563 ที่ผ่านมา โดยการส่งออกหลายสินค้าปรับตัวดีขึ้น ส่งออกเริ่มขยายตัว เช่น การส่งออกสินค้าอาหาร อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม ทูน่ากระป่อง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง สินค้าเครื่องใช้ภายในบ้าน อาทิ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เตาอบ ไม่โครเวฟ ส่วนการส่งออกรายตลาดทุกตลาดหดตัวในอัตราที่น้อยลง สะท้อนถึงแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากประเทศคู่ค้าหลายประเทศสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระรบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ และมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ นางสาวพิมพ์ชนก กล่าวอีกว่า กระทรวงพาณิชย์มีแผนผลักดันการค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน สู่ตลาดที่มีศักยภาพ เช่น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย กัมพูชา สหรัฐ และจัดตั้งร้านค้าท็อปไทย บนแพลตฟอร์มออนไลน์ชั้นนำของต่างประเทศ พร้อมต่อยอกบนแพลตฟอร์มไทยเทรดดอทคอมด้วย อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อเศรษฐกิจโลก ปัญหาการกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท และราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ ยังเป็นปัจจัยกดดันการส่งออกในระยะต่อไป ส่วนปัญหาสงครามการค้า ยังเชื่อว่ายังไม่น่าจะมีมาตรการใหม่ออกมาในขณะนี้ สินค้าไทยที่ส่งออกทดแทนสินค้าจีนในตลาดสหรัฐยังขยายตัวไปได้ดี พร้อมจับตาการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ย. 2563 นี้ ซึ่งจะมีมาตรการอะไรบ้างที่จะกระทบต่อการส่งออก นำเข้า ด้วย ส่วนการส่งออกไปจีนขณะนี้ กลับมาหดตัวเล็กน้อย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาด รวมทั้งปัญหาน้ำท่วมในเมืองอู่ฮั่น เป็นต้น

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-510243

จีนและกัมพูชาอาจจะลงนาม FTA ภายในสิ้นเดือนสิงหาคม

การลงนาม FTA ระหว่างจีนกับกัมพูชาที่อาจจะเกิดขึ้นภายในสิ้นเดือนสิงหาคม จะเพิ่มรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากเดิมอีกราว 340 รายการ ที่จะส่งออกไปยังประเทศจีนภายใต้ข้อตกลง โดยกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าสินค้าส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเกษตรและแปรรูปสินค้าทางการเกษตร รวมถึงสินค้าที่นอกเหนือจากที่กัมพูชาได้รับ FTA จากกลุ่มประเทศอาเซียนและจีน ซึ่งผลิตภัณฑ์ 340 รายการ จะประกอบด้วยพริกไทย พริก สับปะรด ผัก ผลไม้ ปลา เนื้อสัตว์ (รวมทั้งแปรรูป) ธัญพืช ปู อาหารทะเล และผลิตภัณฑ์กระป๋อง อื่นๆ โดยกว่าร้อยละ 95 ของสินค้าเหล่านี้จะไม่ต้องเสียภาษี และในส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 5 จะทยอยลดหย่อนภาษีลงมาภายในระยะเวลา 10 ปี รวมถึงการลงนามบน FTA ในครั้งนี้ยังคาดว่าจะกระตุ้นการแปรรูปสินค้าทางการเกษตรและการลงทุนในภาคส่วนนี้ โดยเฉพาะจีนและบริษัทอื่น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากผลประโยชน์ของข้อตกลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50755511/china-cambodia-fta-signing-may-be-inked-by-late-august/

‘พาณิชย์’ เผยข่าวดี FTA อาเซียน-จีน ดันส่งออกทุเรียนไปจีนครึ่งปีแรกพุ่ง 140%

 ‘นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยครึ่งปีแรก ไทยส่งออกทุเรียนสดไปตลาดโลก พุ่งถึง 1,411 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะตลาดจีน ขยายตัว 140% ชี้! ผู้ประกอบการขอใช้สิทธิส่งออกด้วย FTA อาเซียน-จีน สัดส่วนเต็ม 100% ของมูลค่าการส่งออกทุเรียนสดไปจีน แนะรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้า เน้นการผลิตแบบปลอดสารพิษ ใช้ช่องทางขายออนไลน์เจาะตลาดมากขึ้น สินค้าเกษตร ซึ่งเป็นเศรษฐกิจสำคัญของประเทศและรายได้หลักของเกษตรกรไทย พบข่าวดี ไทยยังคงครองแชมป์ประเทศผู้ส่งออกทุเรียนอันดับหนึ่งของโลก ได้รับความนิยมสูงสุดในตลาดต่างประเทศ โดยทุเรียนสดมีสัดส่วนการส่งออก 69% ของการส่งออกผลไม้สดทั้งหมดของไทย ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค. – มิ.ย. 2563) ไทยส่งออกทุเรียนสดไปตลาดโลก พุ่งถึง 1,411 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ถึง 73% โดยจีนถือเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทย มีมูลค่า 1,022 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนแบ่งตลาด 73% ของการส่งออกทุเรียนสดทั้งหมด ขยายตัวกว่า 140% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ตามด้วยฮ่องกง มูลค่า 207 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนแบ่งตลาด 15% ขยายตัว 34% และอาเซียน มูลค่า 164 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนแบ่งตลาด 12% ขยายตัว 25% (เวียดนามเป็นตลาดส่งออกหลัก)

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3150029

กัมพูชาส่งออกกล้วยกว่า 1.4 แสนตัน ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020

กัมพูชาส่งออกกล้วยสดกว่า 140,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยจีนเป็นตลาดหลักสำหรับการส่งออกกล้วยของกัมพูชา ซึ่งตัวเลขจากกระทรวงพาณิชย์แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนปีนี้มีรายได้ประมาณ 68 ล้านดอลลาร์จากการส่งออกกล้วยสดไปยังต่างประเทศ ปัจจุบันมีบริษัท 9 แห่ง ได้รับการรับรองให้มีสิทธิ์ส่งออกกล้วยไปยังตลาดจีนได้ โดยนอกจากจีนแล้วยังมีการส่งกล้วยสดไปยังสหภาพยุโรป เอเชียและโอเชียเนียอีกด้วย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเคารพมาตรฐานด้านสุขอนามัยเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคเพื่อรักษาระดับการเติบโตของการส่งออกกล้วยให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกกล้วยสดจำนวน 150,000 ตัน ไปยังต่างประเทศมีรายได้รวมจากการส่งออกอยู่ที่ 59 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50746833/cambodia-exports-140000-tons-of-banana-and-earns-68-million-in-first-half-of-the-year/

พาณิชย์ เผย FTA ดันส่งออกมังคุดไทยช่วง 5 เดือนแรกขยายตัว 16%

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเปิดเผยว่า จากการติดตามการส่งออก “มังคุด” พบว่าขยายตัว 16% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 และมีมูลค่าส่งออกถึง 290 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้ยังอยู่ในช่วงสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ก็ตาม จีน อาเซียน และฮ่องกง เป็นตลาดส่งออกสำคัญ มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันถึง 99% ของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งไทยมีความตกลงเอฟทีเอ กับทั้ง 3 ประเทศปัจจุบันประเทศคู่เอฟทีเอของไทยมีทั้งหมด 14 ประเทศ ได้ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ามังคุดจากไทยแล้ว เหลือเพียง 4 ประเทศ ที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้า ได้แก่ เกาหลีใต้ (อัตราภาษีนำเข้า 24%) กัมพูชา มาเลเซีย และลาว (อัตราภาษีนำเข้า 5%) จึงถือเป็นโอกาสทองของผลไม้ไทยที่ได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้เอฟทีเอ จะขยายการส่งออกผลไม้ต่างๆ ของไทยไปยังต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น ควบคู่กับการรักษามาตรฐานสินค้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งสร้างเอกลักษณ์ด้วยการพัฒนาสร้างตราสินค้า เพื่อผลักดันให้ผลไม้ไทยครองใจผู้บริโภค”

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2020/25924

“พาณิชย์” เบรก 2 บริษัท ขอนำเข้าข้าวกรอบอาฟต้า

แหล่งข่าวกระทรวงพาณิชย์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการนำเข้าข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน เพื่อให้เป็นไปตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่ไทยจะต้องเปิดตลาดนำเข้าข้าวตั้งแต่ปี 2553 โดยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ในปี 2563 มี 2 บริษัท ขอนำเข้าภายใต้กรอบอาฟต้า ได้แก่ บริษัท วราวุธ อุตสาหกรรม จำกัด เป็นผู้ผลิตและส่งออกแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียว ทั้งชนิดโม่แห้งและโม่น้ำภายใต้เครื่องหมายการค้า “ชวนชม” (DESERT ROSE) และ “ฟลาวริช” และ บริษัท บูรพา พรอสเพอร์ จำกัด เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายแป้งข้าวรายแรกในภาคตะวันออกของประเทศไทยภายใต้ตราสินค้า “หมีคู่ดาว” เพื่อขอนำเข้าข้าวเหนียว อย่างไรก็ดีในขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน จึงยังไม่อนุญาตให้นำเข้าในช่วงนี้ ทั้งนี้ ด้านนายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 คณะกรรมการโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ได้เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารการนำเข้าข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน เพื่อให้เป็นไปตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่ไทยจะต้องเปิดตลาดนำเข้าข้าวตั้งแต่ปี 2553 โดยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการฯ ได้ประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการเปิดตลาดและได้ยกร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอน หลักเกณฑ์ เงื่อนไขในการนำเข้าข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/441112?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=Macro_econ

พาณิชย์ ลุยปี 64 เจรจา FTA เพิ่ม

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่าขณะนี้กรมฯอยู่ระหว่างการจัดทำแผนงบประมาณปี 2564 โดยยังคงเดินหน้าภารกิจการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในกรอบการเจรจาที่ดำเนินการอยู่ คือ ไทย-ปากีสถาน ซึ่งเจรจาไปแล้ว 9 รอบ แต่มีปัญหาการเมืองภายในปากีสถานทำให้การเจราต้องหยุดชะงัก คาดว่าหลังโควิดคลี่คลายจะกลับเจรจากันต่อ ,ไทย-ตุรกี มีเป้าหมายว่าจะสรุปผลการเจรจาใน ปี2564 ซึ่งช่วงเดือนธ.ค.จะมีการประชุมครั้งที่ 7 ที่ตุรกีและในปี 2564 จะมีประชุมอีก 3-4 ครั้งเพื่อหาข้อสรุป , ไทย-ศรีลังกา มีการเจรจาไปแล้ว 2รอบแต่ศรีลังกามีการเลือกตั้งทำให้ต้องชะลอการเจรจาเอฟทีเอไปก่อน ,ความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่อยู่ในอนุทวีปเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (บิมสเทค) ที่ประกอบด้วยบังคลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย ไทย เมียนมา เนปาล และภูฏาน แต่มีความคืบหน้าช้ามาก ส่วนความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป คาดว่าน่าจบได้ภายในเดือนก.ค.นี้ และเมื่อความตกลงสรุปได้ทั้งหมด กรมฯ จะรีบแปลเป็นภาษาไทยออกเผยแพร่ และจากนั้นจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในช่วงเดือนต.ค.2563 เพื่อขอความเห็นชอบการลงนามความตกลงอาร์เซ็ปในเดือนพ.ย.2563 ที่เวียดนามอย่างไรก็ตาม ฮ่องกง และไต้หวัน ได้แจ้งมายังอาเซียนว่า ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ของอาร์เซ็ป แต่การรับสมาชิกใหม่ จะเกิดขึ้นภายหลังจากความตกลงมีผลบังคับใช้ไปแล้ว 18 เดือน

ที่มา ; https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/887531?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

ส่งออกสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มและไลฟ์สไตล์ไทย 4 เดือนแรกปี’63 ร่วง 10%

นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว การแข่งขันทางการค้าที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ตลอดจนการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการค้าและการส่งออกของหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สะสม) ช่วง 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย. 2563) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 2,032.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปี 2562 มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มลดลง 10.7% โดยแยกเป็นการส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 1,280.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 13.4% และ การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 752.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.8% ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จึงมีแนวคิดในการพลิกฟื้นการค้าและการส่งออกของประเทศโดยการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเพื่อรองรับธุรกิจตามวิถีใหม่ (New normal) สำหรับภาคธุรกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยนำร่องพัฒนา 30 ผลิตภัณฑ์ นำไปทดสอบตลาดคาดว่าจะทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 10% หรือมูลค่าไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_4326769

ค้าชายแดน-ผ่านแดน 4 เดือนแรกหดตัว 9.45%

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผยสถิติการค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยในช่วง 4 เดือนแรกปี 2563 (ม.ค.-เม.ย.) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 415,241 ล้านบาท หดตัวลง 9.45% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น การส่งออก 239,495 ล้านบาท ลดลง 9.68% และการนำเข้า 175,746 ล้านบาท ลดลง 9.13% ทำให้ไทยเกินดุลการค้า 63,749 ล้านบาท โดยการค้าชายแดน 4 ประเทศ พบว่า มาเลเซียเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งมีมูลค่าการค้ารวมทั้งสิ้น 70,022 ล้านบาท หดตัว 32.35% รองลงมาคือ เมียนมา มูลค่า 60,194 ล้านบาท หดตัว 7.08% ตามมาด้วยกัมพูชามูลค่า 59,619 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.06% และ สปป.ลาว มูลค่า 62,745 ล้านบาท หดตัว 2.63% ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปยังสปป.ลาว ได้แก่น้ำมันดีเซล สินค้าปศุสัตว์อื่นๆ สินค้าแร่และเชื้อเพลิงอื่นๆ และกัมพูชา ได้แก่ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สินค้าปศุสัตว์ และรถยนต์ อุปกรณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการค้าชายแดนและผ่านแดนลดลง เนื่องจากมีการประกาศปิดจุดผ่านแดนถาวรของไทยโดยจากเดิมทั่วประเทศจำนวน 42 จุด เหลือเพียง 26 จุด ประกอบกับความต้องการสินค้าและปัจจัยการผลิตของประเทศเพื่อนบ้านลดลง

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/437679?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=Macro_econ