มณฑลจื้อเจียงรุกจัดงานแสดงสินค้าออนไลน์ เร่งดันไทยเป็นประตูการค้าบุกอาเซียน

สำนักงานพาณิชย์แห่งมณฑลจื้อเจียงจัดงานแสดงสินค้าออนไลน์ 2021 Zhejiang Export Online Fair (Thailand ? Hardware &Electromachanical) ฝ่าวิกฤติโควิด-19 โดยตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นประตูการค้าในการขยายตลาดอาเซียน ภายหลังความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP มีผลบังคับใช้งาน 2021 Zhejiang Export Online Fair (Thailand – Hardware&Electromachanical Products) ได้รับความสนใจจากบริษัทผู้ผลิตชั้นนำด้านเครื่องจักร เครื่องมือกล และอุปกรณ์ จากมณฑลจื้อเจียงกว่า 40 บริษัท ที่มองหาพันธมิตรและคู่ค้าในประเทศไทย นอกจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีในรูปแบบออนไลน์แล้ว ยังมีการเจรจาธุรกิจออนไลน์ผ่านโปรแกรมซูมกับผู้ประกอบการไทยตลอดระยะเวลา 5 วันของการจัดงาน โดยคาดว่าจะมีการประชุมเจรจาธุรกิจออนไลน์ไม่ต่ำกว่า 200 รอบ และนำไปสู่มูลค่าการซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านดอลลาร์ภายหลังการลงนามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ได้นำไปสู่การลดภาษีของสินค้ากว่า 90% เป็นศูนย์ ซึ่งเอื้อประโยชน์ทางการค้าระหว่างจีนและอาเซียนเป็นอย่างมาก โดยปัจจุบันมูลค่าการค้าอาเซียน-จีนมีมูลค่าเกือบ 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนเป็นเกือบ 60% ของการค้าในภูมิภาคเอเซีย และ 13% ของมูลค่าการค้าโลก ซึ่งถือได้ว่าเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองจากสหภาพยุโรป และ เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือ NAFTA ดังนั้นประเทศไทยจึงเป็นประเทศยุทธศาสตร์สำหรับการเปิดประตูสู่การค้ากับประเทศสมาชิกอาเซียนได้เป็นอย่างดี

  ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/3207095

เวียดนามเผยช่วงครึ่งแรกของ ม.ค. ขาดดุลการค้า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามรายงานสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าเวียดนามขาดดุลการค้า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งแรกของเดือนมกราคม มูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวมอยู่ที่ 26.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าว มูลค่าการส่งออกของเวียดนามรวม 12.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนำเข้า 13.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกของเดือนมกราคม เวียดนามมีสินค้าส่งออก 4 กลุ่มที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ เครื่องจักรและชิ้นส่วน 1.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พุ่ง 72% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รองลงมาโทรศัพท์และชิ้นส่วน, คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/nation-records-trade-deficit-of-us250-million-in-first-half-of-january-832166.vov

จีนประกาศสนับสนุนสปป.ลาวเพิ่มเติม

จีนได้ตกลงที่จะสนับสนุนสปป.ลาวผ่านสามโครงการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการกระชับความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างสองประเทศ คือจีนจะจัดหาวัสดุเพื่อต่อสู้กับโรคไข้เลือดออกในสปป.ลาว การเปิดตัวโครงการพัฒนาชนบทโครงสร้างพื้นฐานระยะที่ 2 และจีนเสนอระบบ Generalized System of Preferences (GSP) สำหรับสินค้าส่งออกของสปป.ลาว 97 % ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องในหลักการที่จะอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่างสปป.ลาวและจีน นอกจากนี้ทั้งสองประเทศยังตกลงที่จะดำเนินนโยบายตรวจคนเข้าเมืองอย่างรวดเร็วสำหรับจีนซึ่งจะให้สิทธิพิเศษบางประการแก่บุคคลเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้าออกโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่การทูต ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและแรงงานต่างชาติที่จำเป็นสำหรับโครงการพิเศษ มาตรการเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวในขณะเดียวกันก็ทำให้โครงการพัฒนาของจีนในประเทศดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด -19 ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีทั้งสองได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือในอนาคต นอกจากนี้จีนยังเดินทางเยือนกัมพูชา มาเลเซีย ไทย และสิงคโปร์ระหว่างวันที่ 11-15 ตุลาคม เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศในอาเซียน กระทรวงพาณิชย์ของจีนกล่าวว่าอาเซียนและจีนกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกันและกัน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_China201.php

กัมพูชามองหาข้อตกลงทางการค้าทวิภาคีเพิ่มเติม

กัมพูชากำลังเตรียมพร้อมสำหรับข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับประเทศคู่ค้าหลักเพื่อทำการทดแทนจากการถูกเพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้าบางส่วนของสหภาพยุโรปหรือที่เรียกว่า Everything but Arms (EBA) โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ากัมพูชาควรเร่งความพยายามในการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งจีนเป็นประเทศแรกที่ได้ลงนาม FTA อย่างเป็นทางการกับกัมพูชา โดยปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างจีนและกัมพูชาอยู่ที่ 9.42 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ซึ่งทั้งสองประเทศตั้งเป้าไว้ว่าจะมีปริมาณการค้าระหว่างกันให้ถึงถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2023 โดยในปัจจุบันกัมพูชาอยู่ระหว่างการเจรจา FTA กับเกาหลีใต้ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มการค้าทวิภาคีระหว่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50773321/kingdom-seeks-more-trade-deals/

พาณิชย์เมียนมาคาดภาคการค้าขยายตัว 109.73%

กระทรวงพาณิชย์ เผยเมียนมามีรายได้จากการค้าเกินเป้าหมายสำหรับปีงบประมาณ 2562-2563 ปริมาณการค้ามีมูลค่า 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่ 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐและเทียบกับ 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณที่แล้ว โดยในปีนี้ได้ร่วมมือกับสมาคมผู้ผลิตและส่งออกผลไม้ดอกไม้และผักของเมียนมาเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดผลไม้ในท้องถิ่นในช่วง COVID-19 นอกจากนี้ยังจัดตั้ง Myanmar Online Expo Park และจัดงาน Myanmar International Expo of Organic and Natural Products ทางออนไลน์ในเดือนสิงหาคม ปีงบประมาณนี้มีการส่งออกมีมูลค่าประมาณ 17,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 18.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2561-2562 โดยการส่งออกพบว่าเพิ่มขึ้น 851 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การค้าต่างประเทศขยายตัวกว่า 10%  ส่วนใหญ่ โดยภาคการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าและสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่การนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลา งวัสดุเสื้อผ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งอุปสงค์จากต่างประเทศมีแนวโน้มเชิงบวก ตัวอย่างเช่น ความต้องการหัวหอมจากบังกลาเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ด้านการส่งออก ความต้องการสินค้าอื่น ๆ เช่น น้ำผึ้งและกาแฟมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งน้ำผึ้งสามารถส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (EU) ส่วนความต้องการกาแฟจากต่างประเทศก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยมีการถูกส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และยุโรป ในช่วงห้าปีที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกกาแฟเพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่าคิดเป็นมูลค่ากว่า 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้จาก 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2557 และเมียนมายังเริ่มส่งออกเบียร์ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว Carlsberg Myanmar ได้เริ่มส่งออกเบียร์ Tuborg Beer ไปยังจีน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/trade-sector-exceeds-10973pc-estimates-minister-commerce.html

เงินจัตแข็งค่ากระทบส่งออก ถือเป็นโอกาสการนำเข้าของเมียนมา

สมาชิกคณะกรรมการของสมาพันธ์ข้าวเมียนมาเผย การส่งออกของเมียนมาได้รับแรงกดดันจากการที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงซึ่งส่งผลให้การส่งออกที่สำคัญเช่นข้าวมีราคาแพงขึ้นในตลาดต่างประเทศ เงินจัตแข็งค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐนับตั้งแต่ปี 61โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของธนาคารกลางเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมลดลงแหลือ 1,300 จัตต่อดอลลาร์ แม้ว่าธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) จะซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อพยายามรักษาเสถียรภาพ ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ได้จำกัดการส่งออกข้าวเพื่อให้มีปริมาณสำรองเพียงพอสำหรับในประเทศในกรณีฉุกเฉินในช่วง COVID-19 แต่ถูกยกเลิกเนื่องจากฤดูเก็บเกี่ยวใหม่ใกล้เข้ามา จากข้อมูลจนถึงวันที่ 11 กันยายนระหว่างปีงบประมาณ 62-63 มีการส่งออกข้าวและปลายข้าวกว่า 2.5 ล้านตันไปยังกว่า 60 ประเทศ สร้างรายได้มากกว่า 774 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในทางกลับกันเงินจัตที่แข็งค่าสามารถเพิ่มการนำเข้าสินค้าสำคัญ เช่น ข้าวโพด เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังจีนและไทยเป็นจำนวนมากและขณะนี้ยังขาดแคลนสินค้าภายในประเทศซึ่งใช้เป็นอาหารสัตว์ เมื่อเดือนที่ผ่านมาผู้ค้าและผู้เพาะพันธุ์ปศุสัตว์ได้ขอใบอนุญาตนำเข้าข้าวโพด แต่ได้รับการคัดค้านจากเกษตรกรในพื้นที่ซึ่งกลัวว่าจะมีผลผลิตมากเกินไปหากไม่มีการควบคุม โดยทั่วไปแล้วจะมีข้าวโพดส่วนเกินในตลาดในประเทศแต่หลังจากส่งออกมากกว่า 2 ล้านตันในปีงบประมาณ 61-63  จึงมีความเป็นไปได้ที่จะต้องหันมานำเข้าแทน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/stronger-kyat-threatens-exports-presents-import-opportunities.html

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างไทยกัมกัมพูชาขยายตัวเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 1.09

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างประเทศของไทยลดลงร้อยละ 7.42 ในช่วง 8 เดือนแรกเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 และ เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านมีมูลค่าอยู่ที่ 497 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.5 จากการส่งออกทั้งหมดอยู่ที่ 293 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.63 และการนำเข้า 204 พันล้าน ลดลงร้อยละ 14 ซึ่งยกเว้นกัมพูชาที่มีการค้าระหว่างประเทศเติบโตเล็กน้อยอยู่ที่ 1.09 หรือคิดเป็น 108 ล้านบาท โดยการค้าระหว่างประเทศกับมาเลเซียมีมูลค่ารวม 152 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 21 ตามด้วยการค้ากับ สปป.ลาว 123 พันล้าน ลดลงร้อยละ 6.33 และเมียนมาอยู่ที่ 114 พันล้านลดลงร้อยละ 13

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50771249/cross-border-shipments-between-thailand-cambodia-shows-modest-1-09-percent-growth-in-first-8-months/

การค้าระหว่างกัมพูชากับญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 7.42

การค้าทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นกับกัมพูชาลดลงร้อยละ 7.42 อยู่ที่ 1.346 พันล้านดอลลาร์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2020 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ตามสถิติที่เปิดเผยโดยองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 5.3 ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 1.045 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2020 ในขณะที่การนำเข้าจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกจากกัมพูชาไปยังญี่ปุ่น ได้แก่ เครื่องแต่งกาย รองเท้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้การส่งออกจาก PPSEZ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งนักลงทุนต่างชาติได้ขอให้รัฐบาลกัมพูชาลดค่าใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (CO) ที่ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50770683/two-way-cambodia-japan-trade-dips-by-7-42-percent/

การปิดเมืองชายแดนอาจส่งผลต่อการค้าเมียนมากับจีน

การค้าระหว่างเมียนมาและจีนอาจหยุดชะงักหลังจากชายแดนหลุ่ยลี่ (RUILI) ซึ่งเป็นจุดผ่านแดนสำคัญใกล้กับมูเซในรัฐฉานถูกปิดไปเมื่อวันที่ 15 กันยายน 63 หลังตรวจพบเชื้อ COVID-19  คาดว่าจะปิดเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์และห้ามเดินทางออกนอกเมือง ซึ่งการซื้อขายผ่านชายแดนผ่านกำลังดำเนินการในเมือง Wan Ting ทางฝั่งจีน อย่างไรก็ตามสำนักงานศุลกากรของจีนส่วนใหญ่ปิดตัวการซื้อขายลง แต่ยังสามารถซื้อขายผลไม้ได้ ในขณะที่ทางหลวงของจีนถูกปิดกั้นการขนส่งจึงจำเป็นต้องใช้ถนนเส้นเก่าในการค้าขาย และหากยืดเยื้อต่อไปการค้าชายแดนอาจส่งผลเสียหายสำหรับผู้ค้าในพื้นที่ ผู้ค้าในมูเซให้ข้อมูลว่าการปิดชายแดนเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐได้ทำการตรวจสอบประชากรราว 400,000 คน ในเมืองซ่วยหลี่ (Shweli )เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดจากการติดไวรัสหากพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอาจขยายระยะเวลาการปิดชายแดนออกไป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/border-town-lockdown-might-affect-myanmar-china-trade.html

“พาณิชย์” ประกาศเริ่มใช้งานระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองใหม่ 20 ก.ย.นี้

กรมการค้าต่างประเทศประกาศเริ่มใช้ระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองแบบใหม่ ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.นี้เป็นต้นไป นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สำนักเลขาธิการอาเซียน แจ้งว่าประเทศสมาชิกสามารถใช้ระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองแบบใหม่ หรือที่เรียกว่าระบบ AWSC (ASEAN Wide Self-Certification) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในการขึ้นทะเบียนเป็น “ผู้ส่งออกที่ได้รับการรับรอง” (Certified Exporter) โดยผู้ส่งออกสามารถขึ้นทะเบียนได้ผ่านเว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ (www.dft.go.th) เพื่อดำเนินการกรอกข้อมูลการขึ้นทะเบียน Certified Exporter พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบการขึ้นทะเบียนผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องเดินทางมายื่นเอกสารที่กรมฯ นอกจากนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนเป็น Certified Exporter เพิ่มขึ้น กรมฯ ได้จัดกิจกรรมขึ้นทะเบียนสัญจร ณ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 16 ก.ย. 2563 เพื่อให้คำแนะนำในการขึ้นทะเบียน และการใช้ประโยชน์จากระบบ AWSC ในการส่งออกไปยังอาเซียน

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9630000092441