ธนาคารโลกเน้นย้ำโอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจสปป.ลาว

ตามรายงานของธนาคารโลกฉบับใหม่ ระบุว่าเศรษฐกิจลาวคาดว่าจะเติบโตที่ 3.6% ลดลงจากการตัวเลขคาดการณ์การเติบโตที่ 4% ในเดือนมีนาคม 2564  การฟื้นตัวคาดว่าจะได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตของการส่งออกที่แข็งแกร่ง เนื่องจากอุปสงค์ภายนอกฟื้นตัว ด้านภาคบริการก็มีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่จะกลับมาขยายตัวได้ดีในอนาคตเมื่อมีการเปิดประเทศรับนักท่องที่ยว ด้านการลงทุนคาดว่าหลังจากการสิ้นสุดของการรถไฟลาว-จีนในปีนี้ จะมีส่วนส่งเสริมสปป.ลาวอย่างยิ่งในการเติบโตด้านเศรษฐกิจและความแข็งด้านการเชื่อมต่อกลับพรหมแดนนูมิภาค นอกจากนี้ยังมีแผนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เช่น ทางด่วนระหว่างอำเภอวังเวียงในแขวงเวียงจันทน์กับชายแดนลาว-จีน และเส้นทางภาคใต้อื่นๆ ด้านการส่งออกจะได้รับประโยชน์จากช่วยเหลือและการให้โควต้าของจีนและการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตามสถานการณ์โควิดในปัจจุบันจะเป็นปัจจัยในเชิงลบต่อเศรษฐกิจของสปป.ลาว ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องให้ความสำคัญทั้งในด้านสาธารณะสุขที่ต้องมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับแผนการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_World176.php

รัฐบาลสปป.ลาวทุ่มกว่า 8.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในวังเวียง

รัฐบาลสปป.ลาวจะมีการใช้เงินมากกว่า 8.8 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการก่อสร้างถนนที่มุ่งสู่น้ำตกแก่งนุ้ยในจุดท่องเที่ยวของวังเวียงในแขวงเวียงจันทน์ โดยได้รับทุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียมากกว่า 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตวังเวียงและรอบอ่างเก็บน้ำน้ำงึม โดย 4.6 ล้านเหรียญสหรัฐได้ถูกอนุมัติแล้วในการสร้างถนนที่มีอยู่เดิมไปน้ำตกแก่งยุ้ยระยะทาง 6 กิโลเมตร รวมถึงการก่อสร้างถนนและสะพานทางฝั่งตะวันตกของอำเภอวังเวียงเป็นระยะทาง 26 กิโลเมตร และความกว้างของถนน 6 เมตร การสร้างถนนและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาแขวงเวียงจันทมากขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_OverUS_175.php

พระพุทธรูปถูกติดตั้งในเขตเศรษฐกิจเฉพาะบึงธาตุหลวงส่งเสริมการท่องเที่ยว

พระพุทธรูปสูง 100 เมตรจะถูกติดตั้งในเขตเศรษฐกิจเฉพาะบึงธาตุหลวงโดยนักพัฒนาชาวจีนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนสำหรับแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ นายกรัฐบมนตรีสปป.ลาวกล่าวว่า “มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นในสปป.ลาว ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยช่วยปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพ สร้างงาน และสร้างรายได้ให้กับประชาชนสปป.ลาว ทั้งนี้การสร้างพระพุทธรูปเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และประเพณีของสปป.ลาวให้กลับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนสปป.ลาว” ทั้งนี้รัฐบาลเชื่อว่าโครงการมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ และสร้างโอกาสในการทำงานให้กับคนในท้องถิ่น เมื่อเสร็จสิ้น โครงการสัมปทาน 99 ปีจะครอบคลุมพื้นที่ที่อยู่อาศัย สวนสาธารณะ และพื้นที่สีเขียว ทะเลสาบ โรงพยาบาล ศูนย์การศึกษา ร้านอาหาร ศูนย์กีฬา และศูนย์การค้า

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Economic_173.php

ธนาคารโลกรายงานผลสำรวจผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิดที่รุนแรงขึ้น

ผลสำรวจของธนาคารโลกจากจำนวนครัวเรือนที่สุ่มเลือก 2,000 ครัวเรือน ระบุว่า การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินต่อไปได้ทำให้ผลกระทบทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวรุนแรงขึ้นในช่วงไตรมาสที่สองของปีนี้ เนื่องจากการจ้างงานลดลงอย่างรวดเร็ว และครัวเรือนและภาคธุรกิจต่างๆ ประสบกับรายได้ที่ลดลง ด้านธุรกิจภายในเดือนพฤษภาคม 2564 ธุรกิจ 5.5% ปิดถาวร ขณะที่ 33% ปิดชั่วคราว ในบรรดาธุรกิจต่างๆ ที่ยังเปิดดำเนินการอยู่ 65% พบว่ารายได้ลดลงจากมาตรการล็อกดาวน์ของภาครัฐ รายงานยังได้รายงานอีกว่า รายได้ที่ลดลงและการสูญเสียงานทำให้หลายครัวเรือนเสี่ยงที่จะตกอยู่ในความยากจนท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและค่าครองชีพในสปป.ลาวที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Economic_173.php

LDCs มีความสำคัญในการช่วยเหลือด้านเทคนิคและการเงินยังคงจำเป็นของสปป.ลาว

ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ต้องการความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการเงิน และความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถเอาชนะความท้าทายที่สำคัญได้นี่เป็นหนึ่งในข้อความที่ส่งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสปป.ลาว Mr Saleumxay Kommasith ในประชุมระดับภูมิภาคระดับสูงของโครงการปฏิบัติการอิสตันบูล (IPoA) สำหรับประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม-2 กันยายน  ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ลาวได้รวม IPoA ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในช่วงเวลาต่างๆ เพื่อเพิ่มการเติบโตและการลดความยากจน ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการช่วยเหลือการพันธมิตรทำให้หลายปีที่ผ่านเศรษฐกิจสปป.ลาวลาวขยายตัวย่างต่เนื่องและคาดว่าจะสามารถออกจากสถานะ LDC ได้ในปี 2569 ถึงอย่างไรก็ตาม โครงการที่เกิดจาก LDC เพื่อลดความยากจนจะยังคงอยู่เพื่อพัฒนาประเทศต่อไปและเป็นวาระที่รัฐบาลยังคงให้ความสำคัญ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Technical171.php

วิเคราะห์ก้าวแรกของการพัฒนา CBDC ในภูมิภาค CLMVT

โดย ดร.ปพน เกียรติสกุลเดชา ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์

ในปัจจุบัน การคิดค้นเทคโนโลยีกระจายศูนย์ข้อมูล (Distributed Ledger Technology: DLT) ที่มีความรวดเร็ว ปลอดภัย และสามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้งานในด้านการชำระเงิน ได้นำไปสู่การพัฒนาสกุลเงินคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) อย่างแพร่หลายในภาคเอกชนทั่วโลก เช่นเดียวกับภาคเอกชน ธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลกก็ได้เร่งริเริ่มที่จะนำนวัตกรรมเหล่านี้มาใช้ในระบบสถาบันการเงินในประเทศจนเกิดการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency: CBDC)

จุดมุ่งหมายของการพัฒนา CBDC โลกที่ผ่านมาเป็นอย่างไร และคาดว่าจะส่งกระทบอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจ?

การพัฒนา CBDC โดยธนาคารกลางต่าง ๆ ปัจจุบันนั้น สามารถแบ่งตามการใช้งานได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่

1.ระดับธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงิน (Wholesale CBDC) : การสร้างเครือข่ายการโอนทรัพย์สินระหว่างสถาบันการเงินทั้งในและระหว่างประเทศ

2.ระดับธุรกรรมรายย่อย (Retail CBDC) : การใช้สกุลเงินดิจิทัลแทนเงินสดในการทำธุรกรรมระหว่างประชาชนและธุรกิจรายย่อย

ในภาพรวม ทั้ง Wholesale CBDC และ Retail CBDC ได้ถูกพัฒนาขึ้นมา โดยมีเป้าหมายส่งเสริมการทำธุรกรรมทางการเงินให้รวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นประโยชน์หลักที่ได้จากการนำ DLT (โดยเฉพาะในรูปแบบบล็อกเชน) มาใช้โดยธนาคารกลาง ที่จะทำให้สามารถลดต้นทุนในการประมวลผลธุรกรรมทางการเงินลงได้อย่างมีนัย รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบตัวตนของคู่สัญญาธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ CBDC ทั้งสองประเภท หากถูกพัฒนาร่วมกันโดยกลุ่มประเทศในภูมิภาค ยังจะมีแนวโน้มนำไปสู่การเชื่อมโยงแพลตฟอร์ม และสนับสนุนให้ธุรกรรมระหว่างประเทศ (Cross-border Transactions) เป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นและด้วยต้นทุนที่ต่ำลงอีกด้วยเช่นกัน

แต่ทว่าหากมองลึกลงไปกว่าประสิทธิภาพของระบบสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นนั้น การพัฒนาในระดับ Retail CBDC จะสามารถสร้างประโยชน์เพิ่มเติมได้ในอีกหลายด้าน โดยจะเป็นก้าวสำคัญต่อการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ได้แก่

1. การเข้าถึงสถาบันการเงิน (Financial Inclusion) จะเพิ่มมากขึ้น ตามระบบ Retail CBDC ที่จะสามารถเข้าใช้งานได้ง่ายและรวดเร็วเพียงผ่านโทรศัพท์มือถือโดยไม่จำเป็นต้องผูกติดกับบัญชีธนาคาร ซึ่งข้อดีในจุดนี้ โดยเฉพาะสำหรับในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จะช่วยให้กลุ่มประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงสถาบันการเงินได้มาก่อนนั้น มีโอกาสหันมาเลือกใช้ Retail CBDC ที่สะดวกกว่าการถือเงินสดเพิ่มมากขึ้น

2. ช่องทางการดำเนินนโยบายทางการคลัง (Fiscal Policy) ของภาครัฐที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหลังมีการใช้ CBDC แทนเงินสดอย่างแพร่หลาย ตัวอย่างเช่น ภาครัฐสามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน CBDC โดยประชากรสามารถนำเงินช่วยเหลือในรูปแบบดิจิทัลออกมาจับจ่ายใช้สอยได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนการเปิดบัญชีธนาคารหรือเบิกจ่ายกับหน่วยงานของรัฐ นอกจากนี้ ภาครัฐยังสามารถเข้าถึงข้อมูลการจับจ่ายใช้สอยของประชากรในแต่ละกลุ่มสังคมเศรษฐกิจ (socioeconomic group) ซึ่งอาจต้องการความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน การมี Retail CBDC platform จะช่วยให้ภาครัฐสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายและตั้งเงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น

3. การเพิ่มประสิทธิภาพของธนาคารกลางในการดำเนินนโยบายทางการเงิน (Monetary Policy) โดยการใช้ Retail CBDC แทนเงินสดนั้น จะช่วยให้ธนาคารกลางสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณและการไหลเวียนของเงินในระบบได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางแผนนโยบายการเงินที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมี CBDC อีกประเภทที่มีการจ่ายอัตราดอกเบี้ยในการถือครอง ซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ธนาคารกลางใช้ส่งผ่านผลของอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้โดยตรง

สถานะการพัฒนา CBDC โลกเป็นอย่างไรและภูมิภาค CLMVT อยู่ตรงจุดไหน?

ผลสำรวจล่าสุดโดย Bank of International Settlement พบว่า 86% ของธนาคารทั่วโลกกำลังดำเนินงานวิจัยเทคโนโลยี CBDC โดย 60% อยู่ในขั้นทดสอบระบบ ขณะที่เพียง 14% ได้เริ่มมีการทดลองใช้จริงในกลุ่มประชากรตัวอย่าง แม้ว่ากลุ่มประเทศที่มีการทดลองใช้ CBDC จริงแล้วประกอบด้วยกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักในโลก เช่น จีน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และ สหภาพยุโรป แต่เป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่าภูมิภาค CLMVT อยู่ในจุดที่ล้ำหน้ากว่าหลายชาติอื่นในโลกด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะไทยและกัมพูชา ซึ่งถูกจัดอันดับโดย PwC ว่าอยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลกในด้านการพัฒนา Wholesale CBDC และ Retail CBDC ตามลำดับ

สำหรับไทยนั้น โครงการอินทนนท์ซึ่งเป็น Wholesale CBDC ได้ถูกพัฒนาโดยธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561 จนถึงในปี 2563 ได้พัฒนาไปถึงจุดที่มีการทดสอบการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนโดยเชื่อมต่อกับ Project LionRock ของฮ่องกงได้สำเร็จ นอกจากนี้ ล่าสุดในปีนี้ ทาง ธปท. ยังได้เริ่มทำการศึกษาวิจัยต่อยอดไปสู่การทำ Retail CBDC แล้วเช่นกัน โดยมีเป้าหมายเบื้องต้นว่าจะมีการทดสอบใช้จริงในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2565

แนวโน้มการพัฒนา Retail CBDC สำหรับประเทศ LMVT (สปป.ลาว, เมียนมา, เวียดนาม และไทย) จะเป็นอย่างไร? บทเรียนล่าสุดที่ได้จากกัมพูชาคือ ประเทศกำลังพัฒนาที่มีการเข้าถึงสถาบันการเงินในระดับต่ำ แต่มีโครงสร้างประชากรที่พร้อมตอบรับเทคโนโลยีใหม่ นับได้ว่าเป็นจุดตั้งต้นที่สำคัญต่อการพัฒนาเงินดิจิทัลให้เข้ามาทดแทนเงินสดและดึงประชากรส่วนมากเข้าสู่ระบบสถาบันการเงินมากขึ้น สำหรับปัจจัยเหล่านี้ทั้ง สปป.ลาว เมียนมา และ เวียดนาม ล้วนมีประชากรน้อยกว่า 30% ที่เข้าถึงบัญชีธนาคาร ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ยังมีอายุน้อย (ค่ามัธยฐานต่ำกว่า 30 ปี) แต่มีการเข้าถึงบริการโทรศัพท์มือถือในระดับที่สูง (เฉลี่ยมากกว่า 1 เบอร์โทรศัพท์ต่อคน) ด้วยปัจจัยแวดล้อมด้านประชากรที่คล้ายคลึงกับกัมพูชา ทำให้คาดได้ว่าการพัฒนา  Retail CBDC จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประเทศเหล่านี้เช่นกัน และมีศักยภาพที่จะตามทันกัมพูชามาได้ในเวลาไม่ช้า

ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/product/7775