‘เวียดนาม’ เผย ม.ค.-พ.ค. ยอดจัดเก็บงบประมาณของรัฐ โต 7.4%

กรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าการจัดเก็บงบประมาณของรัฐที่มาจากกิจกรรมการนำเข้าและส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 165.7 ล้านล้านด่อง คิดเป็น 44.2% ของยอดเป้าหมายทั้งปี และขยายตัว 7.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ จากข้อมูลในเดือน พ.ค.67 พบว่าการนำเข้าและส่งออก เพิ่มขึ้น 9.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน มูลค่ากว่า 66.62 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภาคการส่งออกผักและผลไม้มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ในขณะเดียวกันเวียดนามมีการนำเข้าน้ำมันดิบ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ กรมศุลกากร รายงานว่าการละเมิดทางการค้าต่างประเทศในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. มีจำนวน 6,256 คดี และมูลค่าของสินค้าที่เสียหายสูงถึง 8.4 ล้านล้านด่อง

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/state-budget-revenue-from-trade-activities-grows-7-4-in-jan-may/

‘ข้าวเวียดนาม’ ราคาพุ่ง แต่กลับขายดี

กรมศุลกากรเวียดนาม (GDC) รายงานว่าการส่งออกข้าวของเวียดนาม มีจำนวนมากกว่า 1 ล้านตันในเดือน เม.ย. ปี 2566 คิดเป็นมูลค่ากว่า 620 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ พบว่ายอดการส่งออกข้าวของเวียดนามสูงถึง 3.17 ล้านตัน มูลค่า 2.04 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.5% และ 33.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ โดยราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 644 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 22% ถึงแม้ว่าราคาข้าวจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ฟิลิปินส์ที่เป็นตลาดนำเข้าข้าวเวียดนามรายใหญ่กลับซื้อข้าวปริมาณมาก

นอกจากนี้ นาย Phung Van Thanh ที่ปรึกษาการค้าเวียดนามในฟิลิปปินส์ กล่าวว่าเวียดนามมีศักยภาพและโอกาสที่จะส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้ และแนะนำว่าผู้ส่งออกข้าวเวียดนามควรร่วมมือกับผู้นำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพข้าวที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ได้ ตั้งแต่ผู้ที่มีรายได้ปานกลางไปจนถึงผู้ที่มีรายได้สูง

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/prices-stay-high-but-vietnam-s-rice-selling-well-2281252.html

‘เวียดนาม’ นำเข้ารถยนต์ 4 เดือนแรก มูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กรมศุลกากรเวียดนาม รายงานว่าเวียดนามนำเข้ารถยนต์ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ จำนวน 43,805 คัน มูลค่ากว่า 929.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 19.4% และ 23.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเฉพาะเดือน เม.ย. พบว่าเวียดนามนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตในต่างประเทศทั้งคัน (CBU) จำนวน 11,565 คัน มูลค่าอยู่ที่ 255.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ อินโดนีเซีย ไทยและจีน เป็นซัพพลายเออร์รถยนต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม โดยทั้งสามประเทศมียอดขายรถยนต์รวมกันทั้งสิ้น 42,154 คัน คิดเป็น 96.2% ของปริมาณการนำเข้ารถยนต์ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ นอกจากนี้ จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยยอดขายรถยนต์ในประเทศ ไตรมาสแรกของปีนี้ ลดลง 17% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1655591/viet-nam-spends-nearly-1b-importing-cars-in-the-first-four-months-of-2024.html

‘เวียดนาม’ ชี้คำสั่งซื้อเริ่มกลับมาฟื้นตัว

บริษัท เอบีบี ฮาร์เวสท์ แพคเกจจิ่ง เปิดเผยว่าคนงานจำนวน 400 คน เริ่มกลับมาทำงานในโรงงานแล้ว เนื่องจากมีคำสั่งซื้อในไตรมาสที่ 2-3 ของปีนี้ และบริษัทต้องจัดส่งมอบในเดือน มี.ค. และ เม.ย. นอกจากนี้ ธุรกิจหลายแห่งมีการลงทุนเชิงรุกมากขึ้นและปรับปรุงอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อที่จะตอบสนองกับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน โรงงานปั้นด้ายแห่งหนึ่งในเกาะฟู้โกว๊ก จังหวัดเกียนซาง ได้มีการปรับปรังโครงสร้างธุรกิจและการพัฒนาอุปกรณ์ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและขีดความสามารถทางการแข่งขัน

ทั้งนี้ จากข้อมูลสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม รายงานว่าตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงกลางเดือน ก.พ. การค้าระหว่างประเทศ มีมูลค่าสูงถึง 84.74 พันล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออก มูลค่า 44.42 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/export-orders-spring-back/280037.vnp

‘เวียดนาม’ เผย ม.ค.67 โทรศัพท์สินค้าส่งออกอันดับ 1 ยอดโต 6.7%

กรมศุลกากรเวียดนาม รายงานว่าการส่งออกโทรศัพท์และชิ้นส่วนในช่วงครึ่งแรกของเดือน ม.ค.67 มีมูลค่า 2.86 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และโทรศัพท์ยังคงเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ในแง่ของมูลค่าการส่งออก รวมถึงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การส่งออกโทรศัพท์และชิ้นส่วนในปี 2566 ทำรายได้สูงถึง 52.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อยู่ในอันดับที่ 2 รองจากคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ในขณะเดียวกันตลาดส่งออกหลักของเวียดนาม ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้

ที่มา : https://en.vneconomy.vn/phone-exports-rank-top-in-1h-january.htm

‘เวียดนาม’ เผยเดือน ม.ค. ยอดส่งออกผักผลไม้ แตะ 459 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลเบื้องต้นของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือน ม.ค.2567 มูลค่าการส่งออกผักและผลไม้อยู่ที่ 459 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 89% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่นาย Dang Phuc Nguyen เลขาธิการของสมาคมผักและผลไม้เวียดนาม กล่าวว่าว่าถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของปีนี้ที่คาดหวังว่าจะทำรายได้จากการส่งออกกว่า 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปีนี้มองว่ามีทิศทางเขิงบวก เนื่องจากการปรับปรุงคุณภาพผักและผลไม้ของเวียดนามที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เข็มงวด ซึ่งในปีนี้ เวียดนามได้ตั้งเป้าที่จะขยายการส่งออก โดยเฉพาะมะพร้าว แตงโมและผลไม้ที่แปลกใหม่อย่างเช่น ทุเรียนแช่แข็งที่จะส่งออกไปยังตลาดจีน หากประสบความสำเร็จจากการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศจะทำให้เวียดนามมีรายได้มากขึ้น

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/veggie-fruit-exports-hit-us459-million-in-first-half-of-jan/

‘ฟิลิปปินส์’ กลายเป็นผู้บริโภคข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ปี 66

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในปี 2566 เวียดนามส่งออกข้าวมากกว่า 8 ล้านตัน และฟิลิปปินส์เป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดจากเวียดนาม โดยจากตัวเลขทางสถิติแสดงให้เห็นว่าเวียดนามส่งออกข้าว 8.34 ล้านตันในปีที่แล้ว ทำรายได้ราว 4.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.4% และ 35.3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี แม้ว่าฟิลิปปินส์จะเป็นผู้นำเข้าข้าวเวียดนามมากที่สุด แต่อินโดนีเซียก็เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตในระดับสูง ปริมาณการนำเข้าข้าวของอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2565

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญมองว่าทิศทางการส่งออกข้าวของเวียดนามในปีนี้ จะได้รับแรงหนุนมาจากราคาในตลาดโลกที่คงอยู่ในระดับสูง และผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนิโญ รวมถึงการซื้อข้าวจากกลุ่มประเทศในเอเชียและแอฟริกา คาดว่าจะผลักดันราคาในตลาดโลกให้สูงขึ้นในปี 2567

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/philippines-is-vietnams-largest-rice-consumer-in-2023-post1072880.vov

‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ชี้ผู้ส่งออกเวียดนามควรเดินหน้าขยายไปยังกลุ่มประเทศยูเรเซีย

จากข้อมูลสถิติของกรมศุลกากร เปิดเผยว่าจากวิกฤตความผันผวนของเศรษฐกิจและการเมืองโลก ยอดการค้าเวียดนามและยูเรเซีย มีมูลค่าสูงถึง 13.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 ลดลง 9.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าลดลง 6.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม นาย Ta Hoang Linh ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดยุโรป-อเมริกา ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าตลาดยูเรเซียยังคงมีศักยภาพอย่างมากต่อผลิตภัณฑ์ของเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามส่งออกไปยังตลาดนี้ มีสัดส่วนเพียง 0.4% ของมูลค่าการนำเข้ารวม

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายมีการจัดตั้งหน่วยงานและจัดทำกรอบความร่วมมือทางการค้าต่างๆ ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU), ตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) รวมถึงคณะกรรมการร่วม จำนวน 14 คณะ และคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/eurasia-a-promising-market-for-vietnamese-exporters-experts/272378.vnp

‘เวียดนาม’ เผยยอดค้าต่างประเทศ ทะลุ 500 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ต.ค. ว่าการส่งออกและการนำเข้าของเวียดนาม อยู่ที่ 523 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และจากข้อมูลตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงเดือน ต.ค. พบว่า เวียดนามมีมูลค่าการส่งออก 272.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงราว 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 250.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามเกินดุลการค้า 22.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ โทรศัพท์และชิ้นส่วนเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้มากที่สุด มีมูลค่า 41.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและอะไหล่ เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีการเติบโตมากที่สุดในกลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม เพิ่มขึ้น 75.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/viet-nam-s-foreign-trade-exceeds-us-500-bln-2206129.html

สหรัฐฯ ขึ้นแท่นจุดหมายปลายทางการส่งออกสำคัญของกัมพูชา

สหรัฐฯ ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางด้านการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา โดยคิดเป็นร้อยละ 40 ของการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชา สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯ มีมูลค่ารวมสูงถึง 6.8 พันล้านดอลลาร์ ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 2.1 จากมูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ของกัมพูชาลดลงร้อยละ 27.8 มาอยู่ที่มูลค่า 181 ล้านดอลลาร์ ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา (GDCE) แม้ปัจจุบันกัมพูชาจะถูกถอนถอนสิทธิพิเศษ GSP ของทางสหรัฐฯ โดยสินค้าหลักของกัมพูชาที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์เสื้อผ้า เครื่องหนัง สินค้าสำหรับเดินทาง กระเป๋าถือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า และรองเท้า ในขณะที่การนำเข้าของกัมพูชาจากสหรัฐฯ ได้แก่ ยานพาหนะ เครื่องจักรและเครื่องใช้เครื่องจักรกล เครื่องมือทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์ยา เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501375662/united-states-remains-cambodias-biggest-export-destination/