รถไฟจีน – สปป.ลาว พลิกโอกาส ศก.ไทย

โครงการรถไฟจีน-สปป.ลาว เปิดเดินรถอย่างเป็นทางการแล้วในวันที่ 2 ธันวาคม ที่ผ่านมา ตามแผนโครงการสายแถบและเส้นทาง (BRI) เชื่อมโครงข่ายคมนาคมระบบรางระหว่างจีนกับชาติอาเซียนเป็นแห่งแรก ซึ่งจะส่งผลต่อนัยสภาพแวดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์ ล้วนเป็นโอกาสและความท้าทายต่อเอกชนและเศรษฐกิจไทย ด้านกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จัดเวทีหารือระดับสูงด้านการทูตเศรษฐกิจเรื่องการปรับตัวของไทยต่อโครงการรถไฟจีน-สปป.ลาว โดยเชิญผู้แทนกระทรวงคมนาคม และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งหน่วยงานในภาคธุรกิจร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้โอกาสนี้สร้างเศรษฐกิจสัมพันธ์ ในยุคหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 “วิชาวัฒน์ อิศรภักดี” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า เมื่อมองผ่านเลนการทูตเศรษฐกิจจะเห็นโอกาสจากโครงการรถไฟจีน-ลาว ใน 3 ประการได้แก่ 1.ส่งเสริมขีดความสามารถภาคเอกชน และผู้ประกอบการไทย และในระยะยาวจะส่งผลต่อการดำเนินเศรษฐสัมพันธ์ระหว่างไทยกับนานาประเทศ 2.การขยายบทบาทของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจะยังมีอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งโครงการรถไฟจีน-ลาว เป็นเพียงหนึ่งหมุดหมายส่งผลในภาพรวม และ 3.โครงการรถไฟดังกล่าวเข้ามาประชิดพรมแดนไทย ทำให้จีนและไทยมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/pr-news/biz2u/980954

พัฒนาระบบรางไทยเชื่อมต่อ EEC กับแดนมังกร ผ่านรถไฟลาว-จีน

โดย ปุญญภพ ตันติปิฎก I Economic Intelligence Center I ธนาคารไทยพาณิชย์

ในวันที่ 2 ธันวาคม 2021 สปป. ลาว เตรียมเปิดให้บริการโครงการรถไฟลาว-จีน ในฝั่งลาวเชื่อมต่อนครหลวงเวียงจันทน์กับนครคุนหมิงของจีน หลังใช้เวลาก่อสร้างราว 5 ปี โครงการนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผน Belt and Road Initiative ของจีน จะช่วยให้การขนส่งผู้โดยสารและสินค้าระหว่างลาวกับจีนและภายในลาวเอง สะดวกรวดเร็ว ต้นทุนลดลง และดึงดูดการค้าการลงทุนเพิ่มขึ้น

การเปิดให้บริการโครงการนี้ เป็นโอกาสของไทยในการพัฒนาระบบรางฝั่งไทยให้เชื่อมต่อไปถึงจีนโดยเฉพาะเส้นทางขนส่งสินค้ากับ EEC ซึ่งเป็นฐานการค้าที่สำคัญระหว่างไทยกับจีน โดยเฉพาะในสินค้าส่งออกสำคัญ เช่น อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าเกษตรกรรม เช่น ทุเรียน ลำไย มังคุด อีกทั้ง ยังสามารถรองรับการค้าผ่านแดนไทย-จีนที่กำลังขยายตัวสูง 60%YTD ในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 ปัจจุบัน การขนส่งสินค้าระหว่าง EEC กับจีนพึ่งพิงทางทะเลและถนนเป็นหลัก ขณะที่ทางรางยังมีการใช้งานจำกัด เนื่องจากเส้นทางส่วนใหญ่ยังเป็นรถไฟทางเดี่ยว อีกทั้ง การพัฒนารถไฟทางคู่ยังติดปัญหาก่อสร้างในช่วงคลองขนาดจิตร-จิระ อยู่ระหว่างศึกษากับเตรียมประมูลช่วงขอนแก่น-หนองคาย-เวียงจันทน์ และสรรหาเอกชนเดินรถช่วงแหลมฉบัง-หนองคาย ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2026 ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงยังอยู่ระหว่างก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาและอยู่ระหว่างศึกษากับออกแบบช่วงนครราชสีมา-หนองคาย-เวียงจันทน์ โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการตลอดเส้นทางได้ในช่วงปี 2029-2032 ทำให้ในช่วงนี้จำเป็นต้องเน้นเพิ่มการใช้งานระบบรางที่มีอยู่ก่อน

การเชื่อมต่อระบบรางระหว่าง EEC กับจีนจะก่อให้เกิดประโยชน์และเพิ่มศักยภาพการค้าการลงทุนของไทยในหลายมิติ กล่าวคือ

1. ลดต้นทุนโลจิสติกส์ ทั้งนี้ รายงานของ World Bank ปี 2020 พบว่า การขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือแหลมฉบังถึงคุนหมิงผ่านรถไฟลาว-จีนเมื่อเทียบกับทางถนนทั้งเส้นทาง ลดต้นทุนขนส่งต่อตันได้ตั้งแต่ 32% ถึง มากกว่า 50% ขึ้นอยู่กับรูปแบบการขนส่งในฝั่งไทย โดยถ้าในฝั่งไทยขนส่งด้วยรถบรรทุกต้นทุนจะลดลง 32% ขณะที่รถไฟทางเดี่ยว-คู่จะลดลงมากกว่า 40% และรถไฟความเร็วสูงซึ่งเป็นรางขนาดเดียวกันจะลดลงมากกว่า 50% นอกจากนี้ การขนส่งทางรางยังใช้เวลาเพียง 0.5-1.5 วัน ซึ่งเร็วกว่าทางถนนที่ใช้เวลา 2-3 วัน และทางทะเลที่ใช้เวลา 5-7 วัน

2. เพิ่มทางเลือกรูปแบบการขนส่งสินค้าไปยังจีนและต่อเนื่องไปถึงยุโรปผ่านเส้นทางสายไหมใหม่จีน-ยุโรปที่กำลังขยายตัวสูงด้วยระยะเวลาขนส่งที่น้อยกว่าทางทะเลมากกว่าเท่าตัวเหลือเพียงราว 15 วัน โดยเวียดนามเริ่มให้บริการเส้นทางฮานอย-เบลเยี่ยมผ่านเส้นทางนี้แล้ว อีกทั้ง การขนส่งทางรางจะช่วยกระจายความเสี่ยงจากทางทะเลดังเช่นในปัจจุบันที่การแพร่ระบาด COVID-19 ส่งผลให้การขนส่งทางทะเลติดขัดล่าช้าและค่าขนส่งเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว

3. ดึงดูดให้เกิดการลงทุนใน EEC เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มศักยภาพการขนส่ง โดยเฉพาะจากเทรนด์การปรับตัวของ supply chain โลก ที่ทำให้นักลงทุนทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติมีแนวโน้มกระจายความเสี่ยงการลงทุนออกจากจีนไปยังประเทศใกล้เคียงที่ขนส่งสินค้ากับจีนได้สะดวกรวดเร็วภายใต้ต้นทุนต่ำ

ดังนั้น ภาครัฐควรเร่งส่งเสริมให้เกิดการใช้งานระบบรางในไทยเชื่อมต่อรถไฟลาว-จีนมากขึ้น ควบคู่กับการเร่งพัฒนาโครงการรถไฟที่เกี่ยวข้องให้เปิดดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว โดยในระยะสั้น ควรสนับสนุนให้เกิดการใช้งานรถไฟทางเดี่ยว-คู่ภายใต้โครงข่ายปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพบริการ การพัฒนาระบบพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงกับต่างประเทศ รวมถึงการแก้ไขปัญหาคอขวดด้วยการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ เช่น สะพานข้ามพรมแดน ท่าเรือบก ระบบขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิสำหรับผัก-ผลไม้ เป็นต้น ส่วนในระยะกลาง-ยาว ควรเร่งพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ควบคู่กับรถไฟความเร็วสูงให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดประสานกันภายใต้ขั้นตอนที่โปร่งใส่กับงบประมาณที่กำหนด การพัฒนาระบบรางนี้จะมีส่วนช่วยผลักดันให้ไทยกลายเป็นฮับโลจิสติกส์ของอาเซียนได้

ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/product/7795

สปป.ลาวกำลังพึ่งพาจีนมากขึ้นสำหรับโครงการขนส่งที่สำคัญ

โครงการทางหลวงจำนวนหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากจีนกำลังดำเนินการอยู่ในประเทศลาวเชื่อกันว่าโครงการโครงสร้างพื้นฐานใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง ของจีน ซึ่งเป็นโครงการเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงยุโรปทั้งทางบกและทางทะเล แต่ความกังวลเพิ่มมากขึ้นว่าเงินกู้ยืมที่เกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนในโครงการอาจทำให้ลาวกลายเป็น “กับดักหนี้” หากไม่สามารถชำระคืนเจ้าหนี้ชาวจีนได้ ถึงแม้สปป.ลาวซุ่มเสี่ยงที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้ ปัจจุบันสปป.ลาวกำลังมีโครงการทางด่วน 578 กม. มูลค่า 5.1 พันล้านดอลลาร์ซึ่งได้รับการเสนอโดยสถาบัน Henan Provincial Communications Planning and Design Institute ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาของจีนที่รู้จักกันในชื่อ HNRBI ทางด่วนใหม่จะลดเวลาการเดินทางจากเวียงจันทน์ไปยังปากเซลงเสริมความแข็งแกร่งในการเชื่อมต่อกับเมืองใหญ่ในต่างประเทศ 2 เมืองที่อยู่ห่างไกลออกไปทางใต้ ได้แก่ กรุงเทพฯ และศูนย์กลางการค้าของหากโครงการเดินหน้าและแล้วเสร็จจะช่วยให้จีนเข้าถึงคาบสมุทรอินโดจีนได้ง่ายขึ้นรวมถึงสปป.ลาวจะไดเป็นประเทศที่เชื่อมโยงการขนส่งที่สำคัญระดับภูมิภาคยกระดับเศรษฐกิจในอนาคต

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Spotlight/Belt-and-Road/Laos-deepens-reliance-on-China-for-key-transport-projects

USAID เปิดตัวระบบการขนส่งและคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิในกัมพูชา

หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐฯ (USAID) ได้เปิดตัวระบบการขนส่งและคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิในกัมพูชามูลค่า 3 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาภาคการเกษตรในกัมพูชา โดยความคิดริเริ่มนี้เกิดจากผู้อำนวยการด้านภารกิจของ USAID ที่ได้กล่าวถึง “Cambodia Mission Director” ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกัมพูชา ซึ่งในโอกาสนี้ ผู้อำนวยการด้านภารกิจของ USAID เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของกัมพูชา โดยวางแผนในการร่วมพัฒนาระบบขนส่งกัมพูชาในช่วงระยะเวลา 4 ปี คาดว่าจะช่วยส่งเสริมการขนส่งสินค้าภาคการเกษตรให้ออกสู่ตลาดอย่างปลอดภัย มีคุณภาพ และ ได้ราคาที่เหมาะสม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50883062/usaid-initiates-3-million-cold-chain-logistic-system-in-cambodia/

“อีคอมเมิร์ซ” ช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมบริการขนส่งในเวียดนาม

อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซและสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันในเวียดนาม คาดว่าจะเป็นแรงผลักดันของการเติบโตการจัดส่งพัสดุ สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เนื่องมาจากมีจำนวนผู้ซื้อสินค้าจากบ้านที่เพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัส คุณ Nguyen Thi Hong Ngoc ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ของบริษัท GHN กล่าวว่านอกเหนือจากจำนวนการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในฮานอยและโฮจิมินห์แล้วนั้น ภูมิภาคอื่นๆ ก็ยังมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากปี 2563 จนถึงเดือนแรกของปีนี้ ซึ่งในช่วงต้นปี ยอดคำสั่งซื้อของบริษัท GHN ที่จัดส่งในพื้นที่ต่างจังหวัด มีสัดส่วนรวมกันมากกว่า 70% ของประชากรรวมทั่วประเทศ และเพิ่มขึ้น 25.30% ต่อปี เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ ตามรายงานของ Allied Market Research แสดงให้เห็นถึงปัจจัยต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซที่ค่อยๆเติบโต รวมถึงธุรกิจให้บริการกับลูกค้าผู้บริโภคโดยตรง (B2C) ที่เพิ่มสูงขึ้นและการเติบโตของการบริการการค้าระหว่างหว่างประเทศ สิ่งเหล่านี้ จะช่วยผลักดันการขยายตัวของตลาดโดยรวม

ที่มา : http://hanoitimes.vn/e-commerce-boosts-vietnams-express-delivery-industry-317650.html

4 เดือนแรกยอดค้าชายแดน-ผ่านแดน โต 26.4% เร่งเปิดด่านเพิ่มอีก 9 ด่าน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขการค้าชายแดนและผ่านแดน ในช่วง 4 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-เม.ย.) สามารถทำเงินเข้าประเทศได้มูลค่า 526,220 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.24% แยกเป็นการค้าชายแดน มูลค่า 295,381 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.78% โดยมาเลเซีย เพิ่ม 52.87% สปป.ลาว เพิ่ม 13.49% เมียนมา เพิ่ม 0.002% และกัมพูชา ลด 4.5% และการค้าผ่านแดน มูลค่า 230,839 ล้านบาท เพิ่ม 41.93% โดยจีน เพิ่ม 54.25% สิงค์โปร์ เพิ่ม 34.57% และเวียดนาม เพิ่ม 22.47% ทั้งนี้ การค้าชายแดนและผ่านแดนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลของการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและทำงานอย่างหนักระหว่างกระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน ในรูปของ กรอ.พาณิชย์ ทั้งการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่ติดขัด การแก้ไขปัญหาด้านการขนส่ง การเร่งรัดเปิดด่าน ทำให้เราสามารถผลักดันการค้าชายแดน การค้าผ่านแดน จนทำตัวเลขการส่งออกในภาพรวมเป็นบวกในช่วงวิกฤตโควิด-19 เพราะการค้าชายแดน การค้าผ่านแดน ก็เป็นส่วนหนึ่งในตัวเลขส่งออกรวมของประเทศ

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-681498

เวียดนามเผยโควิดระลอกใหม่ ฉุดการค้าการขนส่ง

ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ระบุว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในปัจจุบัน ทำให้การค้า การขนส่งและการท่องเที่ยวเกิดหยุดชะงัก ตลอดจนทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจประสบปัญหาในเดือนพฤษภาคม อีกทั้ง จำนวนขนส่งผู้โดยสารทั่วประเทศ อยู่ที่ 287.8 ล้านคน ลดลง 14.9% จากเดือนเมษายน และในเดือนเดียวกันนั้น ปริมาณการขนส่งสินค้า 139 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.8% ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกสินค้าและบริการ มีมูลค่า 393.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 3.1% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเวียดนาม มีจำนวนทั้งสิ้น 13,400 คน ในเดือนนี้ ลดลง 30.8% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และ 40.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่งผลให้ตัวเลขของนักท่องเที่ยวในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ลดลง 97.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุมาจากข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/new-covid19-outbreak-puts-brakes-on-trade-transport/202302.vnp

สปป.ลาวปรับปรุงถนนหมายเลข 13 North

ถนนหมายเลข 13 North กำลังได้รับการปรับปรุงในบางจุดที่ได้รับความเสียหาย โดยการพัฒนาจะเกิดขึ้นในระยะทาง 58 กม. ระหว่างทางแยกสียุทธในเวียงจันทน์และโพนหงในเวียงจันทน์ การปรับปรุงจะใช้เวลาสามปีปัจจุบันดำเนินการไปแล้วประมาณหนึ่งปี ถนนหมายเลข 13 North ถือเป็นถนนเส้นที่มีความสำคัญต่อสปป.ลาวอย่างมากและจำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากถนนสายดังกล่าวเป็นสายหลักในการขนส่งสินค้าเพื่อส่งออกไปยังจีนและยังเป็นถนนที่ใช้ลำเรียงสินค้าจากรอบนอกสปป.ลาวเข้ามายังเมืองหลวงของสปป.ลาว ก่อนหน้านี้ถนนหมายเลข 13 North ได้รับเสียหายจนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางและการขนส่ง การปรับปรุงแก้ไขถนนหมายเลข 13 North จะเป็นส่วนช่วยสนับสนุนให้ระบบคมนาคมมีประสิทธิภาพมากขึ้นสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติสปป.ลาว ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของสปป.ลาวในอนาคต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Upgrade_3.php

โอกาส-ความท้าทายโครงการรถไฟและทางด่วนสปป.ลาว-จีน

ถึงแม้จะมีโอกาสมากมายที่เข้ามายังสปป.ลาวผ่านโครงการลงทุนรถไฟสปป.ลาว – ​​จีนและทางด่วนเวียงจันทน์ – โบเตน แต่สปป.ลาวก็จำเป็นต้องจัดการกับความท้าทายที่มาพร้อมกับโอกาสครั้งนี้ ทางรถไฟและทางด่วนเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาลสปป.ลาวที่จะเปลี่ยนประเทศจากการไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นแผ่นดินที่เชื่อมต่อในภูมิภาค อย่างไรก็ตามยังมีข้อควรพิจารณาที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อที่จะได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ประการแรกจำเป็นต้องสร้างถนนที่เชื่อมทางรถไฟกับแหล่งผลิตเพื่อให้ขนส่งสินค้าได้สะดวก ประการที่สองต้องบูรณาการโลจิสติกส์และบริการข้ามพรมแดนเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า ประการที่สามการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อดึงดูดการค้าและการลงทุนมากขึ้น ประการที่สี่ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มาที่สปป.ลาวมากขึ้น โครงการดังกล่าวไม่เพียงแค่สร้างการพัฒนาแก่สปป.ลาวตามรายงานของซินหัว หากจีนและประเทศในอาเซียนทำการค้าโดยใช้ทางรถไฟผ่านสปป.ลาวจะได้รับประโยชน์มากขึ้นและจะสร้างมูลค่าการค้าที่สูงขึ้นจากการขนส่งที่มีคุณภาพและรวดเร็วขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Expert_2.php

รัฐบาลสปป.ลาว-จีน ลงนามข้อตกลงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบรถไฟสปป.ลาว-จีน

รัฐบาลและ บริษัท การรถไฟสปป.ลาว – ​​จีน จำกัด ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟในเมืองหลวงและแขวงอุดมไซเวียงจันทน์และหลวงพระบางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ นายเสี่ยวเฉียนเหวินตัวแทนจากทางการจีนกล่าวในงานลงนามว่า              “การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟเหล่านี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพในพื้นที่เหล่านี้สำหรับการเติบโตของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์การพาณิชย์และเศรษฐกิจในท้องถิ่น” ทางรถไฟสปป.ลาว – ​​จีนเป็นส่วนสำคัญทางยุทธศาสตร์ของ China’s Belt and Road Initiative และแผนการของรัฐบาลที่จะเปลี่ยนแปลงสปป.ลาวจากการไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นแผ่นดินที่เชื่อมโยงภายในภูมิภาค เมื่อเปิดให้บริการทางรถไฟจะลดต้นทุนการขนส่งผ่านทางตะวันตกเฉียงเหนือของสปป.ลาวได้ถึงร้อยละ 30-40 เมื่อเทียบกับการขนส่งทางถนนรัฐบาลมั่นใจว่าการรถไฟจะกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและทำให้สปป.ลาวก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_lao_china_242.php