การส่งออกข้าวของเมียนมาทะลุ 712 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 11 เดือน

ตามข้อมูล สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) การส่งออกข้าวและข้าวหักของเมียนมาร์มีมูลค่า 712 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปริมาณส่งออกกว่า 1.42 ล้านตันในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ซึ่งการส่งออกดังกล่าวประกอบด้วยการค้าทางทะเล 1.343 ล้านตัน และการรค้าผ่านชายแดน มากกว่า 85,000 ตัน อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกข้าวในปีงบประมาณดังกล่าวสูงที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 โดยมีการส่งออกรวม 262,116 ตัน เป็นมูลค่า 139 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือเดือน มกราคม 2567 และธันวา 2566 ที่มีการส่งออกรวม 213,605 ตัน และ 195,829 ตัน คิดเป็นมูลค่า 111 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ประธานสมาพันธ์ข้าวเมียนมา กล่าวอีกว่า นโยบายการเงินของธนาคารกลางเมียนมาในการควบคุมรายได้จากการส่งออก ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกข้าวและผลกระทบทางการเงินแก่ผู้ส่งออก นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบด้านสภาพอากาศจากเอลนิลโญอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-exports-surpass-us712-mln-in-11-months/

กัมพูชาตั้งเป้าส่งออกข้าวสาร 1 ล้านตัน ในปี 2025

สมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) กำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าวสารไว้ที่ 750,000 ตัน ภายในปี 2023 และ ตั้งเป้าที่จะส่งออกข้าวสารให้ได้ 1 ล้านตันภายในปี 2025 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับตัวเลขการส่งออกในปี 2022 Chan Sokheang ประธาน CRF กล่าวว่าสหพันธ์ได้ตั้งเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจเกี่ยวกับข้าว ภายใต้แนวคิด ทำกำไร ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบัน CRF จะยังคงร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ และเพิ่มจำนวนการส่งออกข้าวสารไปยังจีนตามเป้าหมาย 400,000 ตัน ในปีนี้ ซึ่งในปีที่แล้ว กัมพูชาส่งออกข้าวสาร 637,004 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จาก 617,069 ตันในปีก่อนหน้า คิดเป็นมูลค่ากว่า 414 ล้านดอลลาร์ จากการส่งออกไปยัง 59 ประเทศทั่วโลก โดยจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501237171/2025-target-for-cambodia-to-export-1-million-tonnes-of-rice/

MoC ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวภายใต้ MoU ไปบังกลาเทศ

ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนมกราคม 2566 กระทรวงพาณิชย์เมียนมา (MoC) ได้อนุญาตส่งออกข้าวจำนวน 191,700 ตันที่จะส่งไปบังกลาเทศตามบันทึกข้อตกลงระหว่าง 2 ประเทศ (MoU) โดยจะมีการส่งออกข้าวจำนวน 200,000 ตันด้วยการชำระเป็นเงินหยวนของจีน ตามสัญญา ข้าวขาว (ATAP) พันธุ์ GPCT Broken STX ราคา FOB ที่ส่งออกจะอยู่ที่ 2,788.56 หยวนต่อตัน ซึ่งกรมการค้าของเมียนมาได้ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวกว่า 191,700 ตัน มูลค่ากว่า 534 ล้านหยวน ให้กับบริษัทส่งออกข้าว 41 แห่ง ซึ่ง MOU ฉบับนี้ บังคลาเทศได้ตกลงที่จะซื้อข้าวขาว 250,000 ตันและข้าวนึ่งอีก 50,000 ตัน ตั้งแต่ปี 2565-2570 ทั้งนี้ กรมอาหารของบังกลาเทศและสมาพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา (MRF) ได้ลงนาม MoU ร่วมกัน โดยได้ส่งข้าวเป็นครั้งแรกในปี 2560 จำนวน 100,000 ตัน และในปี 2564 เป็นครั้งที่ 2

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moc-issues-export-licence-for-rice-to-be-shipped-to-bangladesh-under-mou/

มูลค่าการส่งออกข้าวของสปป.ลาวครึ่งปี 2564 ชะลอตัว

เวียงจันทน์ไทมส์รายงาน มูลค่าการส่งออกข้าวของสปป.ลาวในปี 2564 ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งเนื่องจากมาตรการจำกัดโควิด-19 รายงานอ้างคำพูดของกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของสปป.ลาวว่า ข้าวสร้างรายได้กลับสู่ประเทศมากถึง 52.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่ากว่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มาจากตลาดที่ใหญ่ๆที่สำคัญได้แก่ จีน เวียดนามและสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามแม้ว่าจีนจะเปิดพรมแดนบ่อเต็นกับสปป.ลาวอีกครั้งแล้วในเดือนพฤศจิกายน 64 แต่การค้าแบบสองทางยังคงชะลอตัวเนื่องจากมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ปัจจุบันจีนซื้อผลิตผลทางการเกษตรที่ส่งออกของลาวมากกว่าร้ยละ 80 ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นมันสำปะหลัง กล้วย แตงโม อ้อย และยาง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/laos-rice-export-value-nearly-halves-in-2021/221665.vnp

จับตาศักยภาพ! ยุโรปขึ้นแท่นผู้นำเข้าข้าว ‘เวียดนาม’

ตามรายงานจาก VietNam Investment Review เปิดเผยว่าความต้องการข้าวจากประเทศในแถบเอเชียเพิ่มสูงขึ้น ตลาดสหภาพยุโรป (EU) จึงถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงแก่ผู้ส่งออกข้าวของเวียดนาม โดยในปี 2564 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังยุโรป ปริมาณกว่า 60,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 41 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1% ในแง่ของปริมาณ และ 20% ในแง่ของมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งมาจากการส่งออกข้าวหอมมะลิราว 40,000 ตัน มูลค่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ส.ค.63 ช่วยให้ราคาธัญพืชของเวียดนามปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 10-20 เหรียญสหรัฐต่อตัน เนื่องมาจากจากความต้องการเพิ่มขึ้น เหตุโควิด-19 ระบาด นอกจากนี้ ตามรายงานของสำนักงานสถิติยุโรป (Eurostat) ชี้ว่ากลุ่มซัพพลายเออร์ข้าวรายใหญ่ 10 อันดับแรกของกลุ่มนี้ ข้าวจากเวียดนามมีราคาเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่สุดที่ 20.3% ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 781 เหรียญสหรัฐต่อตัน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1115829/eu-remains-highly-potential-importer-of-vietnamese-rice.html

‘เวียดนาม’ คาดบรรลุเป้าส่งออกข้าวปีนี้

เวียดนามคาดว่าในปีนี้จะบรรลุเป้าหมายการส่งออกข้าว 6.3 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นผลมาจากอุปสงค์ทั่วโลกขยับตัวสูงขึ้นและราคาส่งออกที่เพิ่มขึ้น ตามรายงานของสถิติกรมศุลกากร เปิดเผยว่าในเดือน ก.ย. เวียดนามส่งออกข้าว 593,600 ตัน เป็นมูลค่า 293.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19% ในแง่ของปริมาณ และ 20.5% ในแง่ของมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ นาย Nguyen Quoc Toan อธิบดีกรมการแปรรูปและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท ชี้ว่าการส่งออกข้าวเริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้งตั้งแต่เดือน ก.ย. ถึงแม้ว่าจะคงมีการใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในหลายๆ จังหวัดในภาคใต้ นอกจากนี้ สมาคมอาหารเวียดนาม เปิดเผยว่าราคาส่งออกข้าวหัก 5% ของเวียดนามพุ่งสูงสุดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยปัจจุบันราคาข้าวหัก 5% อยู่ที่ประมาณ 433-437 เหรียญสหรัฐต่อตัน แซงหน้าคู่แข่งรายอื่นๆ เช่น ไทย อินเดียและปากีสถาน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1059961/viet-nam-likely-to-achieve-rice-export-target-this-year.html

โอกาสการส่งออกข้าวของเวียดนามในตลาดฟิลิปปินส์

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ระบุว่าฟิลิปปินส์ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าข้าว ช่วยเปิดโอกาสแก่ธุรกิจเวียดนามคงอุปทานให้มีเสถียรภาพและปกป้องตลาดในประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาวะการแข่งขันทางด้านราคาที่รุนแรงของผู้ส่งออกแบบดั้งเดิม ได้แก่ ไทยและอินเดีย ทำให้ทางกระทรวงฯ ได้เรียกร้องให้ผู้ประกอบการในประเทศเร่งร่วมมือกับครัวเรือนเกษตร เพื่อลดต้นทุนและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกควรศึกษาและปฏิบัติตามกฎระเบียนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังต้องมั่นติดตามตลาดอยู่เสมอ เนื่องจากการปรับลดอัตราภาษีของฟิลิปปินส์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และจัดทำแผนป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/opportunities-for-vietnam-to-maintain-stable-rice-export-to-philippines/201927.vnp

ส่งออกข้าวไทยยังซึม ปีนี้ตั้งเป้าแค่6ล้านตัน

พาณิชย์ มักน้อย ตั้งเป้าส่งออกข้าวปีนี้ แค่ 6 ล้านตัน หลังเจอสารพัด มรสุม ทั้งข้าวไทยราคาแพงกว่าคู่แข่ง ค่าบาทแข็ง พิษโควิด นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศ และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ได้กำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าวไทยในปี 64 ปริมาณ 6 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณใกล้เคียงกับการส่งออกในปี 63 ที่ส่งออกได้ทั้งปี 5.72 ล้านตัน โดยปัจจัยหลักที่กระทบต่อการส่งออกข้าวไทยในปี 64 ได้แก่ ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่งสำคัญ เช่น อินเดีย และ เวียดนาม ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นระยะ ปัญหาตู้คอนเทเนอร์ที่ยังคงมีไม่เพียงพอใช้ส่งออก ประกอบกับผู้นำเข้าหลายประเทศยังคงได้รับผลกระทบจากโควิดทำให้กำลังซื้อลดลง ดังนั้น การกำหนดเป้าส่งออกข้าวไทยที่ปริมาณ 6 ล้านตัน ถือว่าเป็นปริมาณที่เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาดข้าวทั้งในและต่างประเทศ สำหรับแผนการตลาดส่งเสริมการส่งออกข้าวไทยในต่างประเทศในปี 64 จะเน้นประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในต่างประเทศผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการรักษากลุ่มลูกค้าเดิมและการแสวงหากลุ่มลูกค้าใหม่ให้ครอบคลุมตลาดข้าว โดยมีกิจกรรมสำคัญ เช่น การหารือกระชับความสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่นกับประเทศคู่ค้าสำคัญ ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย อิรัก บังกลาเทศ เป็นต้น รวมทั้งหารือประเทศผู้ส่งออกข้าว เช่น เวียดนาม เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์การผลิตและตลาดข้าว การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ข้าวไทยเพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ และจัดกิจกรรมต่อยอดข้าวหอมมะลิไทยที่ได้เเชมป์ข้าวที่ดีที่สุดในโลกปี 63 เป็นต้น สำหรับการส่งออกข้าวปี 63 มีปริมาณรวมทั้งปี 5.72 ล้านตัน มูลค่า 1.16 แสนล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 62 ที่มีปริมาณ 7.58 ล้านตัน มูลค่า 1.31 แสนล้านบาท โดยมีปริมาณการส่งออกลดลง 24.54% และมูลค่าลดลง 11.23%

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/821272

เวียดนามส่งออกข้าวไปยังฟิลิปปินส์ สูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กรมศุลกากรเวียดนาม เผยการส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดฟิลิปปินส์ในปีที่แล้ว ถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีมูลค่าเกินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งทางสำนักงานดังกล่าว ตั้งข้อสังเกตว่าฟิลิปปินส์เป็นผู้บริโภคข้าวเวียดนามรายใหญ่ที่สุด ด้วยปริมาณการนำเข้า 2.22 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4% และ 19.3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ นอกจากเรื่องปริมาณการส่งออกข้าวจำนวนมากไปยังฟิลิปปินส์แล้วนั้น ราคาส่งออกข้าวไปยังตลาดดังกล่าว ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยอยู่ที่ 476 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 14.7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ ตลาดฟิลิปปินส์ยังคงเป็นผู้บริโภคข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยสัดส่วน 35.5% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด และ 33.9% ของมูลค่าการส่งออกข้าวรวม

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-rice-exports-to-the-philippines-reached-over-us1-billion-831365.vov

เวียดนามส่งออกข้าวไปยังแอฟริกา ‘เป็นที่น่าพอใจ’

การส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดแอฟริกา มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ โดยเฉพาะประเทศแอลจีเรียและเซเนกัลที่คาดว่าจะบริโภคข้าวเวียดนามเพิ่มสูงขึ้นอีก ส่วนใหญ่นิยมบริโภคข้าวหัก ทั้งนี้ จากรายงานของสำนักงานการค้าในแอลจีเรีย ระบุว่าตลาดแอฟริกามีความต้องการบริโภคข้าวอยู่ในระดับสูง เป็นผลมาจากแรงงานชาวเอเชียที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ว่าอุปสรรคจากการนำเข้าข้าวของแอฟริกาส่วนใหญ่เป็นปัญหาทางด้านการผลิตในท้องถิ่น รวมถึงผลผลิตที่ไม่เพียงพอ, ภัยธรรมชาติ, ความล้มเหลวทางการเมืองและโรคระบาด เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันข้าวเวียดนามเผชิญกับการแข่งขันจากคู่แข่งในตลาดแอฟริกา ได้แก่ อินเดีย, ไทย, ปากีสถาน, ทาจิกิสถาน, อุรุกวัยและจีน นอกจากนี้ ในปี 2562 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังเซเนกัล อยู่ที่ 96,000 ตัน ติดเป็นมูลค่า 32.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ในง่ของปริมาณ และเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าในแง่ของมูลค่า

ที่มา : https://vnexplorer.net/vietnam-enjoys-boost-in-rice-exports-to-africa-a202091956.html