“เวียดนาม” ผลผลิตอุตฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

S&P Global เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ของเวียดนาม ยังคงสูงกว่าระดับ 50 เป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันในเดือนก.ค.65 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคการผลิตยังคงมีการขยายตัว แต่มีการปรับตัวลงสู่ระดับ 51.2 จากระดับ 54.0 ในเดือนมิ.ย. ขณะที่ยอดคำสั่งซื้อใหม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน แต่มีอัตราที่ชะลอตัวลงอยู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเผชิญกับแรงกดดันด้านราคาและอุปทานที่เริ่มผ่อนคลายลงเมื่อต้นไตรมาสที่สาม ทั้งนี้ นาย Andrew Harker ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐศาสตร์ของ S&P Global Market Intelligence กล่าวว่าภาคการผลิตของเวียดนามที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเล็กน้อยในเดือนก.ค. แต่กิจการต่างๆ ยังคงสามารถรักษาปริมาณคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นได้ รวมถึงผลผลิตและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1275686/viet-nam-s-manufacturing-output-continues-to-rise.html

ภาคอุตสาหกรรม ‘เวียดนาม’ เผย เดือน ม.ค. ผลผลิตเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด

ตามโมเมนตัมของภาคอุตสาหกรรมเวียดนามเติบโตขึ้นในเดือนม.ค. เป็นผลมาจากแนวโน้มการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตามีทิศทางดีขึ้นต่อไป ตลอดจนผลผลิตเพิ่มขึ้นและยอดคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้น ขณะที่การจ้างงานปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม รายงานของไอเอชเอส มาร์กิต (IHS Markit) เปิดเผยว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ สำหรับในส่วนของดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของเวียดนาม ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 53.7 ในเดือนม.ค. จากระดับ 52.5 ในเดือนธ.ค. บ่งชี้ว่าสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีสัญญาฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง โดยได้แรงหนุนจากผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนแรกของปี เนื่องจากความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น คือค่าระวางเรือและค่าขนส่งระหว่างประเทศปรับตัวสูงขึ้น

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-manufacturing-sector-sees-sharper-rises-in-output-in-jan/

‘IHS Markit’ ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัว

จากข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายปีนี้ของ IHS Markit แสดงให้เห็นถึงโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ยังคงเผชิญกับอุปสรรคหลายประการ เนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ต่อวันกลับมาเพิ่มขึ้น รวมถึงการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ต่อวัน เริ่มลดลงในช่วงครึ่งหลังของเดือน ก.ย. และต้นเดือน ต.ค. การผ่อนตลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้โรงงานหลายแห่งกลับมาดำเนินกิจการอีกครั้ง ส่งผลให้ดัชนี PMI ภาคการผลิต พุ่งขึ้นแตะ 52.1 จุด ในเดือน ต.ค. นอกจากนี้ สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจอีก 5 ปีข้างหน้า มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้เวียดนามกลายมาเป็นหนึ่งในตลาดเกิดใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชีย ได้แก่

(ประการแรก) เวียดนามยังคงได้รับประโยชน์จากต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมต่ำ,

(ประการที่สอง) เวียดนามมีกำลังแรงงานที่มีขนาดใหญ่และมีการศึกษาที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(ประการที่สาม) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการใช้จ่ายทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน

(ประการที่สี่) เวียดนามได้รับประโยชย์ในฐานะตลาดที่มีศักยภาพ

(ประการที่ห้า) บริษัทต่างชาติกระจายห่วงโซ๋อุปทานการผลิตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงการหยุดชะงักด้านอุปทานและปัญหาทางการเมือง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/ihs-markit-optimistic-about-vietnams-economic-recovery-from-covid-19-wave-905282.vov

‘ภาคการผลิตเวียดนาม’ กลับมาเติบโต เหตุสถานการณ์โควิดดีขึ้น

ตามรายงานของ IHS Markit ได้เปิดเผยว่าสถานการณ์ด้านสาธารณสุขดีขึ้นและการผ่อนคลายข้อจำกัดจากเชื้อไวรัส ทำให้ภาคการผลิตของเวียดนามกลับมาเติบโตอีกครั้งในเดือน ต.ค. สะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของผลผลิต ยอดคำสั่งซื้อใหม่และกิจกรรมการจัดซื้อ ในขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจพุ่งอย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ดี ตัวเลขการจ้างงานยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากพื้นที่อาศัยของคนงานอยู่ท่ามกลางการระบาดของเชื้อโรค ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของเวียดนาม ในเดือน ต.ค. กลับมาอยู่เหนือกว่าระดับไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม (50.0) มาอยู่ที่ระดับ 52.1 จุด จาก 40.2 จุดในเดือน ก.ย. ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงสัญญาการฟื้นตัวของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในทุกภาคส่วนและสิ้นสุดการลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ตลอดจนการผ่อนคลายข้อจำกัดของโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้งในเดือน ต.ค.

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-manufacturing-sector-returns-to-growth-as-pandemic-situation-improves/

‘ภาคการผลิตของเวียดนาม’ ปรับตัวลดลง เหตุโควิด-19 ระบาด

ผลสำรวจโดยนิกเกอิ ชี้ว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนาม ปรับตัวลงสู่ระดับ 40.2 ในเดือนสิ.ค. จากระดับ 45.1 ในเดือนก.ค. สะท้อนให้เห็นว่าภาคการผลิตของเวียดนามต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2563 ทั้งนี้ แอนดรูว์ ฮาร์เกอร์ รองผู้อำนวยการ IHS Markit กล่าวว่าผู้ผลิตของเวียดนามกำลังเผชิญกับปัญหาการดำเนินงานในปัจจุบันที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากมาตรการข้อจำกัดต่างๆ ที่ควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้า อีกทั้งธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะขยายเวลาต่อไปมากขึ้น ในขณะเดียวกันตลาดแรงงานของภาคการผลิต ประสบปัญหาจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ภาคธุรกิจยังคงให้พนักงานบางส่วนอยู่ในสถานที่ทำงาน แต่พนักงานบางส่วนยังไม่สามารถเข้ามาทำงานได้ เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้วนั้น การจ้างงานลดลงเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน

ที่มา : https://hanoitimes.vn/vietnam-manufacturing-output-declines-on-covid-19-outbreak-318571.html

เวียดนามเผชิญการผลิตและผลผลิตทรุดหนัก เดือนก.ค. เหตุโควิด-19 ระลอก 4

ตามรายงาน IHS Markit เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 45.1 ในเดือนก.ค. จากระดับ 44.1 ในเดือนมิ.ย. บ่งชี้ว่าสภาพธุรกิจในภาคส่วนต่างๆ ลดลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน เป็นผลมาจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ธุรกิจบางส่วนจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราว ในขณะที่ธุรกิจอีกจำนวนหนึ่งดำเนินกงานได้ลดลง เนื่องจากมาตรการเว้นระยะหางทางสังคม โดยสิ่งเหล่านี้ ส่งผลต่อยอดคำสั่งซื้อใหม่และการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ อีกทั้ง กิจการยังเผชิญกับปัญหาด้านการขนส่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหตุจากการระบาดและการขาดแคลนวัตถุดิบ ตลอดจนต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/83506/vietnam-faces-steep-decline-in-production-output-in-july.html

เวียดนามเผยผลผลิตอุตฯ เติบโตเร็วที่สุดนับตั้งแต่ พ.ย. 61

ตามรายงานของ IHS Markit ระบุว่าอุตสาหกรรมการผลิตในเดือนเมษายน 2564 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 ท่ามกลางยอดคำสั่งซื้อใหม่พุ่งสูงขึ้น ต้นทุนของปัจจัยการผลิตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้ราคาขายปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน มีสัญญาบ่งชี้ว่าการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานเริ่มคลี่คลายลงในเดือนนี้ ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของภาคอุตสาหกรรมเวียดนาม เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน อยู่ที่ระดับ 54.7 เดือนเมษายน ซึ่งภาคการผลิตของเวียดนามในเดือนเมษายน ได้รับแรงหนุนมาจากลูกค้าสั่งซื้อจำนวนมากขึ้นเมื่อเทียบกับครั้งก่อน เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นและการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/81734/vietnam%e2%80%99s-production-rises-at-fastest-pace-since-nov-2018-.html

เดือน เม.ย. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เมียนมา ลดฮวบลง 5 เท่า

ผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ในภาคการผลิตของเมียนมาลดลงถึง 5 เท่า จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่เผยแพร่โดย IHS Markit เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 64 ที่ผ่านมา ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ตัวแปร ได้แก่ ยอดสั่งซื้อใหม่ ปริมาณสินค้าคงคลัง สายการผลิต การส่งสินค้าซัพพลาย และการจ้างงาน โดยการจัดซื้อลดลงหนักในเดือนเมษายน บริษัทร้อยละ 60% ให้ข้อมูลว่าการผลิตในเดือนเมษายนลดลงจากเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จากการขาดแคลนวัสดุ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนและต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้นล้วนส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของสูงขึ้นนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 การสำรวจดำเนินการโดย IHS Markit ซึ่งได้ข้อมูลจากภาคการผลิตและได้รับการสนับสนุนโดย Nikkei Inc จากประเทศญี่ปุ่น

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/output-and-new-orders-in-april-fall-fivefold-ihs-markit

เวียดนามเผยภาคอุตสาหกรรมกลับมาเติบโตในเดือนก.พ.

ผลสำรวจที่จัดขึ้นโดยนิกเกอิ ระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนามในเดือนก.พ. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 51.6 จากระดับ 51.3 ในเดือนม.ค. สะท้อนให้เห็นว่าสภาพธุรกิจดีขึ้น ทั้งนี้ ยอดคำสั่งซื้อใหม่กลับมาดีขึ้น ส่งผลต่อดีต่อธุรกิจส่งออก ท่ามกลางสัญญาของอุปสงค์จากต่างประเทศที่ดีขึ้น ประกอบการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทต่างๆ ต้องการเพิ่มกำลังการผลิต นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในส่วนของความเชื่อมั่นทางธุรกิจ พบว่ามีแนวโน้มลดลงในเดือนก.พ. ซึ่งปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่สาม ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิ.ค. 2563 เนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ธุรกิจส่วนใหญ่มองไปในทิศทางที่ดี โดยหวังว่าเวียดนามจะสามารถควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสได้

ที่มา : http://hanoitimes.vn/manufacturing-output-returns-to-growth-in-february-316473.html

ภาคการผลิตเมียนมาได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ครั้งใหม่

จากข้อมูลล่าสุดของการสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) โดย IHS Markit ในเดือนกันยายนภาคการผลิตของเมียนมาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการล็อกดาวน์ครั้งใหม่ภายหลังพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น ให้โรงงานปิดตัวลงเป็นเวลาสองสัปดาห์และให้พนักงานบางส่วนทำงานจากที่บ้าน ดัชนี PMI ของเมียนมาลดลงสู่ระดับ 35.9 ในเดือนกันยายนจาก 53.2 ในเดือนสิงหาคม และ 51.7 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งดัชนีจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 100 โดยค่าที่สูงกว่า 50 แสดงถึงการซื้อโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนคะแนนที่ต่ำกว่า 50 หมายถึงการซื้อลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ผลกระทบดังกล่าวมีความรุนแรงในเดือนเมษายนเมื่อดัชนี PMI อยู่ที่ 29 อุปสงค์ในประเทศลดลงท่ามกลางข้อจำกัดครั้งใหม่ในขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศก็ซบเซาลงเช่นกัน โดยความต้องการที่ลดลงมาจากตลาดเอเชีย ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม และกาตาร์ เนื่องจากโรงงานหลายแห่งปิดทำการชั่วคราวในเดือนกันยายนระดับการจ้างงานโดยรวมลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-manufacturing-sector-hit-new-lockdown-measures.html