ธนาคารกลางเมียนมาขายเงิน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 200 ล้านบาทในตลาดการเงิน

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) ขายเงิน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 200 ล้านบาทเข้าสู่ตลาดการเงิน โดยขายเงินเข้าสู่ตลาดฟอเร็กซ์เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ได้ 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และบนแพลตฟอร์มการซื้อขายสำหรับผู้ส่งออก/ผู้นำเข้าออนไลน์ 5 ล้านดอลลาร์และ 50 ล้านบาท เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ คิดเป็นมูลค่ารวม 29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 250 ล้านบาท โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงที่กำหนดโดย CBM คือ 2,100 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มีอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดที่ไม่เป็นทางการอยู่ที่ประมาณ 3,500 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐ, 99 จ๊าดต่อบาทไทย และ 490 จ๊าดต่อหยวนจีน อย่างไรก็ดี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 ธนาคารกลางเมียนมา ขายเงินดอลลาร์ได้ 68.33 ล้านดอลลาร์ ขายเงินบาทได้ 313.5 ล้านบาท และขายเงินหยวนได้ 4.2 ล้านหยวน รวมทั้งยังมีการอัดฉีดเงินลงทุน 22.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าสู่ภาคน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-sells-us11m-200m-thai-baht-into-financial-market-on-5-feb/

Credit Suisse หนี ‘Lehman Moment’ ยันเวียดนามไม่กระทบ

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่าการช่วยเหลือครั้งประวัติศาสตร์ของตลาดการเงินโลกในครั้งนี้ ธนาคาร UBS กลุ่มธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ ได้บรรลุข้อตกลงเข้าซื้อธนาคารเครดิต สวิส (Credit Suisse) มูลค่า 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อป้องกันวิกฤตธนาคารที่จะลุกลามไปยังยุโรปและทั่วโลก โดยก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เข้ามาจัดการกับปัญหาการล่มสลายของธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) และธนาคาร Signature Bank และธนาคารรายใหญ่สหรัฐฯ บางรายต้องอัดฉีดเงิน 30 พันล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือธนาคารเฟิร์สท์ รีพับลิค แบงก์ (FRB) ในขณะเดียวกัน นาย Michael Kokalari หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุน VinaCapital แสดงความคิดเห็นว่าการล่มสลายของธนาคาร SVB และ Signature Bank และวิกฤต Credit Suisse จะไม่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเวียดนาม และมองว่าจะไม่เกิดความเสี่ยงต่อความสามารถในการทำกำไร หรือความสามารถในการชำระหนี้ของธนาคารเวียดนาม

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/credit-suisse-escapes-lehman-moment-vietnam-unaffected-post1009172.vov

“เวียดนาม” เผยปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไตรมาสแรก

การลงทุน การบริโภคในประเทศและการค้าต่างประเทศเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในเดือน ก.พ. และไตรมาสแรกของปีนี้ จากข้อมูลของกระทรวงการวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าภาวะเศรษฐกิจในเดือน ม.ค. 2566 ยังคงอยู่ในทิศทางที่เป็นบวกและเศรษฐกิจมหภาคยังอยู่ในระดับทรงตัว โดยเฉพาะดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 4.89% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ตลาดการเงิน สินเชื่อขยายตัว 0.65% เมื่อเทียบกับปี 2565 ทั้งนี้ รายรับงบประมาณในเดือน ม.ค. สูงถึง 11.3% ของประมาณการรับรายรับต่อปี การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ภาครัฐฯ เร่งปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุนและส่งเสริมให้ภาคเอกชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและสินเชื่อธุรกิจ ตลอดจนสนับสนุนกำลังซื้อภายในประเทศผ่านการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อเป็นแรงกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ

ที่มา : https://ven.vn/q1-economic-growth-drivers-46867.html

‘บลจ. VinaCapital’ ปรับลดประมาณการ GDP เวียดนาม โต 6.5% ในปีนี้

VinaCapital หนึ่งในบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีประสบการณ์มากที่สุดในเวียดนาม ประเมินการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปีนี้ มีแนวโน้มขยายตัวที่ 6.5% หรือต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 1%

คุณ Michael Kokalan หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบลจ. VinaCapital กล่าวว่าความขัดแย้งของรัสเซียและยูเครนได้สร้างผลกระทบต่อตลาดการเงินระหว่างประเทศและกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์

อย่างไรดีความขัดแย้งดังกล่าว ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจเวียดนามเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงจากสภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ คือราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้น อาจทำให้เงินเฟ้อของเวียดนามปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 1-2%

นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างกระทันหัน ซึ่งจะทำให้ค่าเงินเวียดนาม (VND) อ่อนค่าลง 1-2% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/business/vinacapital-lowers-vietnam-s-estimated-gdp-rate-to-6-5-this-year-822837.html