เมียนมาตั้งเป้าส่งออกพัลส์ 1.89 ล้านตันในปีงบประมาณนี้

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า เมียนมาพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายการส่งออก 1.89 ล้านตันในปีงบประมาณ 2567-2568 ผลิตผลทางการเกษตรของเมียนมาถือเป็นกระดูกสันหลังของการส่งออก รวมถึงข้าว ข้าวโพด และเมล็ดงา ซึ่งมีส่วนช่วยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในระดับดี โดยที่มูลค่าการส่งออกถั่วพัลส์ของเมียนมาในปีงบประมาณ 2566-2567 ที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 1.76 ล้านตัน (เมษายน 2566 – มีนาคม 2567) ประกอบด้วยการค้าทางทะเล 1.6 ล้านตัน มูลค่า 1.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และการค้าผ่านด่านชายแดน 157,400 ตัน มูลค่า 141.38 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ปีงบประมาณปัจจุบัน 2567-2568 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาเมียนมามีรายได้ 412 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 470,000 ตัน โดยการส่งออกพัลส์ของเมียนมาทางทะเลมีมูลค่ารวมกว่า 460,800 ตัน มูลค่า 397.8 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่พัลส์มากกว่า 17,000 ตัน มูลค่า 14.6 ล้านดอลลาร์ ถูกส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านทางชายแดน อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้มีความร่วมมือกับสมาคมผู้ค้าถั่ว ถั่ว ข้าวโพด และเมล็ดงา เพื่อมุ่งเป้าไปที่การส่งออก ทั้งนี้การบริโภคภายในประเทศคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 20 ของผลผลิตพัถั่วลส์ของเมียนมา ในขณะที่ร้อยละ 80 ของการผลิตถูกส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-aims-to-export-1-89m-tonnes-of-pulses-this-fy/

ยอดส่งออกพัลส์เมียนมาทะลุ 470,000 ตัน มูลค่า 412 ล้านดอลลาร์สหรัฐสหรัฐฯ

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยว่า เมียนมาสร้างรายได้จากการส่งออก 412 ล้านดอลลาร์สหรัฐสหรัฐจากผลผลิตพัลส์มากกว่า 470,000 ตันในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา เดือนเมษายน-พฤษภาคม ของปีการเงินปัจจุบันปี 2567-2568 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน แบ่งเป็นการส่งออกพัลส์ทางทะเลกว่า 460,800 ตัน คิดเป็นมูลค่า 397.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านพรมแดนทางบก กว่า 17,000 ตัน มูลค่า 14.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2566-2567 ที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกพัลส์ของเมียนมามีมูลค่ามากกว่า 1.484 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสหรัฐ จากมากกว่า 1.76 ล้านตัน (เมษายน-มีนาคม) ซึ่งประกอบด้วยการค้าทางทะเล 1.6 ล้านตัน มูลค่า 1.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสหรัฐ และผ่านด่านชายแดน 157,400 ตัน มูลค่า 141.38 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกถั่วดำ ถั่วเขียว และถั่วแระไปยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ในจำนวนนี้ ถั่วดำและถั่วแระจะถูกส่งไปยังอินเดียเป็นหลัก ในขณะที่ถั่วเขียวจะถูกส่งออกไปยังจีนและยุโรป นอกจากนี้ ตามบันทึกความเข้าใจระหว่างเมียนมาและอินเดียที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 อินเดียจะนำเข้าถั่วดำจำนวน 250,000 ตัน และถั่วลันเตา (tur) จำนวน 100,000 ตันจากเมียนมาเป็นเวลาห้าปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569 ซึ่งสนธิสัญญา G-to-G นี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อโควตาประจำปีของพัลส์ที่อินเดียกำหนด และผู้ส่งออกของเมียนมายังมีสิทธิ์ส่งพัลส์ไปยังอินเดียภายใต้โควต้าประจำปีนั้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/pulse-exports-cross-470000-tonnes-worth-us412m-in-apr-may/

เมียนมาส่งออกยางกว่า 19,000 ตันไปยังตลาดต่างประเทศในเดือนพฤษภาคม

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาจัดส่งยางมากกว่า 19,400 ตัน มูลค่า 26.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับคู่ค้าต่างประเทศในเดือนพฤษภาคม โดยส่งออกผ่านช่องทางการค้าทางทะเลไปยังจีน 8,270 ตัน ไปยังมาเลเซียกว่า 6,670 ตัน ไปยังเวียดนาม 2,190 ตัน ไปยังอินโดนีเซีย 500 ตัน ไปยังญี่ปุ่น 360 ตัน ไปยังอินเดีย 315 ตัน  ไปยังเกาหลีใต้กว่า 100 ตัน และส่งออกไปยังศรีลังกาและบังคลาเทศอีกเล็กน้อย เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา รวมกว่า 17,300 ตัน มูลค่า 23.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 1 ถึง 24 พฤษภาคม เมียนมาส่งมอบยางให้กับประเทศเพื่อนบ้านผ่านทางด่านชายแดน มากกว่า 1,610 ตันให้กับไทย และ 516 ตันให้กับจีน รวมกว่า 2,120 ตัน มูลค่า 2.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี ตามสถิติกระทรวงพาณิชย์เผยอีกว่า เมียนมาส่งออกถั่วดำ ถั่วแระ และถั่วเขียว จำนวน 147,170 ตัน มูลค่าประมาณ 131.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนพฤษภาคม แบ่งเป็นถั่วดำ 66,036 ตัน มูลค่า 64.48 ล้านเหรียญสหรัฐ ถั่วเขียว 53,630 ตัน มูลค่า 34.787 ล้านเหรียญสหรัฐ และถั่วแระกว่า 27,500 ตัน มูลค่า 32.26 เหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-19000-tonnes-of-rubber-to-foreign-markets-in-may/

เมียนมาส่งออกถั่วพัลส์ 1.48 ล้านตัน มูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ใน 11 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า เมียนมาส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 1.48 ล้านตัน มูลค่ากว่า 1.256 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับคู่ค้าต่างประเทศในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยแบ่งเป็นการส่งออกผ่านเส้นทางเดินเรือ คิดเป็นมูลค่า 1.131 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกพัลส์มากกว่า 1.338 ล้านตัน ในขณะที่ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านทางชายแดน กว่า 143,119.469 ตัน มูลค่า 124.722 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม เมียนมาส่งออกถั่วพัลส์หลากหลายประเภท ได้แก่ ถั่วดำ ถั่วเขียว และถั่วลันเตาไปยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยที่ถั่วดำและถั่วลันเตาจะถูกส่งไปยังอินเดียเป็นหลัก ส่วนถั่วเขียวจะถูกส่งออกไปยังจีนและยุโรป นอกจากนี้ อินเดียมีความต้องการและการบริโภคถั่วดำและถั่วลันเตาเพิ่มมากขึ้น ตามบันทึกความเข้าใจระหว่างเมียนมาและอินเดียที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ซึ่งอินเดียจะนำเข้าถั่วดำจำนวน 250,000 ตัน และถั่วลันเตา จำนวน 100,000 ตันจากเมียนมาเป็นเวลาห้าปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569 ซึ่งสนธิสัญญา G-to-G นี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อโควตาประจำปีของถั่วพัลส์ที่อินเดียกำหนด ผู้ส่งออกของเมียนมายังมีสิทธิ์ส่งพัลส์ไปยังอินเดียภายใต้โควต้าประจำปีนั้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-1-48m-tonnes-of-pulses-worth-us1b-in-11-months/

เมียนมามีรายได้ 1.123 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 1.3 ล้านตันใน 10 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า เมียนมาจัดส่งถั่วพัลส์มูลค่ากว่า 1.123 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นปริมาณกว่า 1.3 ล้านตันให้กับคู่ค้าต่างประเทศในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยแบ่งออกเป็นการส่งออกทางทะเล 1 พันล้านดอลลาร์จากการส่งออกถั่วปริมาณกว่า 1.18 ล้านตัน และส่งออกผ่านทางชายแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ประมาณ 139,132 ตัน มูลค่า 119.73 ล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 รวมมูลค่า 1.123 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออก 1,319,203.97 ตัน อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกถั่วดำ ถั่วเขียว และถั่วลันเตาไปยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยถั่วดำและถั่วลันเตาจัดส่งไปยังอินเดียเป็นหลัก ในขณะที่ถั่วสีเขียวส่งออกไปยังจีนและยุโรป อินเดียมีความต้องการและการบริโภคถั่วดำและถั่วลันเตาเพิ่มมากขึ้น ตามบันทึกความเข้าใจระหว่างเมียนมาและอินเดียที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 อินเดียจะนำเข้าถั่วดำจำนวน 250,000 ตัน และถั่วลันเตาจำนวน 100,000 ตันจากเมียนมาเป็นเวลาห้าปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569 สนธิสัญญา G-to-G นี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อโควตาประจำปีของถั่วพัลส์ที่อินเดียกำหนด ผู้ส่งออกของเมียนมามีสิทธิที่จะส่งพัลส์ไปยังอินเดียภายใต้โควตาประจำปีนั้น ทั้งนี้ราคาตลาดทั่วไปของถั่วดำอยู่ที่ 3.3 ล้านจ๊าดต่อตัน (urad), ถั่วลันเตา 4.027 ล้านจ๊าดต่อตัน (tur) และถั่วเขียว 2.04 ล้านจ๊าดต่อตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-us1-123-bln-from-over-1-3m-tonnes-of-pulse-exports-in-ten-months/

‘เมียนมา’ เผยส่งออกถั่ว เม.ย.-ส.ค. พุ่ง 630,000 ตัน

สมาคมผู้ค้าเมล็ดพันธุ์ถั่วพัลส์ ถั่วฝัก ข้าวโพด และงาแห่งเมียนมา รายงานว่าเมียนมาส่งออกถั่วและถั่วพัลส์ในช่วง เม.ย.-ส.ค. ปริมาณ 630,000 ตัน ทำรายได้เกินกว่า 511 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระ โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตลาดอินเดียและจีน นอกจากนี้ พื้นที่เพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตรของเมียนมา มีสัดส่วน 33% ขณะที่พื้นที่ปลูกถั่ว มีสัดส่วนเพียง 20% ของพื้นที่ทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-630000-tonnes-of-beans-pulses-in-april-august/#article-title

ราคาถั่วชิกพีพุ่งขึ้นเป็นสองเท่าในปีนี้

ผู้ค้าถั่วในมัณฑะเลย์ เผยความต้องการราคาถั่วชิกพีมีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาพุ่งไปอยู่ที่ 132,000 จัตต่อถุง จาก 80,000 จัตต่อถุง ชาวเมียนมาส่วนใหญ่ชื่นชอบการบริโภคถั่วชิกพีเพราะมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์และรสชาติที่เข้มข้น แกงที่ทำจากถั่วชิกพีเป็นหนึ่งในอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ความต้องการในประเทศที่สูงขึ้นกระตุ้นให้โรงงานในมัณฑะเลย์เร่งเปิดดำเนินการ สามารถสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นได้อีกด้วย ด้านการส่งออกตลาดหลัก คือ อินเดีย ปากีสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี เป็นต้น ทั้งนี้พื้นที่การเพาะปลูกถั่วชิกพีทั่วประเทศอยู่ที่ 890,000 เอเคอร์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พะโค ซะไกง์ อิรวดี และเนปิดอว์ การเพาะปลูกจะอยู่ในช่วงเดือนต.ค.และพ.ย.และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนม.ค.ถึงเม.ย. ของแต่ละปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/chickpea-prices-rise-to-double-this-year/

ถั่วเมียนมาเริ่มเป็นที่ต้องการจากอินเดีย

ผู้ค้าถั่วเมียนมา เผย ตลาดถั่วและถั่วพัลส์ของเมียนมาคาดว่าจะเติบโตจากกลุ่มผู้ซื้อที่จากอินเดีย ชาวไร่ชาวสวนผู้ปลูกถั่วอินเดียประสบปัญหาสภาพอากาศเลวร้ายต่อการปลูกถั่ว ดังนั้นความต้องการจะเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า กระทรวงการเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร ของอินเดียอนุญาติให้นำเข้าถั่วดำรวมถึงถั่วพัลส์อื่น ๆ จากเมียนมา ด้วยการผ่อนคลายเงื่อนไขในการขนส่งจนถึงวันที่ 30 ธ.ค.2564ราคาของถั่วมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นราคาจึงไม่น่าจะลดลงจนถึงเดือนธ.ค. ปัจจุบัน ราคาถั่วเขียว (ชเววา) ต่อตะกร้าอยู่ที่ 44,000 จัต ถั่วเขียว 40,000 จัตต่อตะกร้า ถั่วดำ 46,000 จัตต่อตะกร้า และถั่วลิสง 59 ,000 จัตต่อตะกร้า ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาออกถั่ว 1.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกทางเรือ 966.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 1.24 ล้าน และส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านผ่านชายแดน 604.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากจำนวน 786,920 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bean-market-sees-high-potential-on-possible-demand-of-india/#article-title

ราคาถั่วลิมาในตลาดปะโคะกูลดลง ผลจากอุปทานล้นตลาด

ราคาถั่วลิมากำลังลดลงเนื่องจากมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดถึง  40,000 visses ( 1 Viss เท่ากับ 1.65 กิโลกรัม) จากเเมืองเยซาเกียวตลาดปะโคะกู (Pakokku) ในเขตมะกเว ในทุกๆ วัน โดยราคาถั่วลิมาที่ตลาดปะโคะกู อยู่ที่ราคา 14,000 ต่จัตอตะกร้า แต่ราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว พบว่ามีการบริโภคน้อยภายในประเทศและส่วนใหญ่ส่งออกไปยังอินเดีย จีน และประเทศในยุโรป ปีที่แล้วราคาอยู่ที่ 15,000 จัตต่อตะกร้า ถั่วลิมา 1 ตะกร้ามี 19 visses จากข้อมูลพบว่าราคามาลดลง 1,000 จัตต่อตะกร้าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/lima-bean-price-drops-due-to-immense-supply-into-pakokku-market/#article-title