‘เวียดนาม’ ทำสถิติส่งออกปลาทูน่าเป็นประวัติการณ์

สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมปลาทูน่าของเวียดนาม ประสบความสำเร็จในการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ยังคงเผชิญกับกฎระเบียบการค้าที่เข็มงวดจากตลาดสำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ในขณะที่กรมศุลกากรเวียดนาม รายงานว่าการส่งออกปลาทูน่าในเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ราว 73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับปีก่อน และทำสถิติยอดการส่งออกสูงสุดในรอบ 5 ปี

อย่างไรก็ดี ในเรื่องกฎระเบียบ การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมอาหารทะเลของเวียดนาม ดังนั้น อุตสาหกรรมปลาทูน่าจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งจากภาครัฐและผู้นำในอุตสาหกรรม เพื่อปรับปรุงกรอบกฎหมาย เสริมสร้างกลไกการตรวจสอบ และให้ความช่วยเหลือแก่ชาวประมงในการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล

ที่มา : https://borneobulletin.com.bn/vietnam-tuna-exports-hit-record-sales/

เมียนมาตั้งเป้าส่งออกประมง 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2024-2025

สหพันธ์ประมงเมียนมาและสมาคมผู้แปรรูปและส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงระบุว่า เมียนมาตั้งเป้าที่จะบรรลุมูลค่าการส่งออกจากสินค้าประมง 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2024-2025 (ตั้งแต่เดือนเมษายน 2024 ถึงเดือนมีนาคม 2025) โดยเมียนมาส่งสินค้าประมงไปยังพันธมิตรการค้าต่างประเทศผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ ทางถนน เรือ และอากาศ เจ้าหน้าที่ของ MFF และ MFPPEA กล่าวว่า มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าประมงจะอยู่ที่ 735 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับปีงบประมาณปัจจุบัน โดยการส่งออกสินค้าประมงสะสม ณ เดือนมกราคม มีมูลค่า 521 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แล้ว แต่ยังมีความไม่แน่นอนว่ารายได้จะถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสสุดท้ายหรือไม่ อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกอาจต่ำกว่าเป้าหมายเล็กน้อย ช่องทางการค้าหลักในการส่งออกประมง คือ การขนส่งทางเรือ จากนั้นจึงส่งออกทางอากาศ โดยส่วนใหญ่ไปยังจีน นอกจากนี้ การส่งออกที่ชายแดนถือว่ามีมูลค่าไม่สูงมากนัก

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/myanmar-targets-700m-in-fishery-exports-for-fy-2024-2025/#article-title

เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงกว่า 400,000 เมตริกตันสู่ตลาดโลกในช่วงเมษายน-ธันวาคม 2567

ตามข้อมูลของกรมประมง เมียนมาส่งออกสินค้าประมงมากกว่า 402,300 เมตริกตันในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน 2024-2025 โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออกกว่า 521 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญกว่า 56,800 ตัน มูลค่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกสินค้าประมงไปยังตลาดต่างประเทศผ่านการค้าทางทะเลและทางอากาศกว่า 192,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 312 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนที่เหลือส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านด่านชายแดนเมียวดี เกาะสอง เชียงตุง มะริด และมอตอง เมียน มาร์ส่งออกอาหารทะเลไปยัง 40 ประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจีน ไทย บังกลาเทศ และญี่ปุ่น ผ่านช่องทางการค้าทางทะเลและชายแดน สหพันธ์ประมงเมียนมาและกรมประมงร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างการส่งออกสินค้าประมง

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-400000mt-of-fisheries-to-global-markets-in-apr-dec/

การส่งออกกุ้งของเมียนมาแตะ 21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเดือนเมษายน-ธันวาคม 2567

กรมประมงเมียนมาเปิดเผยว่า เมียนมาส่งออกกุ้งมากกว่า 6,250 ตันไปยังคู่ค้าระหว่างประเทศในช่วง 9 เดือนสุดท้ายของปีงบประมาณปัจจุบัน 2024-2025 โดยระหว่างวันที่ 1 เมษายนถึง 31 ธันวาคม 2024 การส่งออกกุ้งมีมูลค่ารวมประมาณ 21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออกกุ้งทางทะเลของเมียนมามากกว่า 5,070 ตัน มูลค่า 14.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และการส่งออกกุ้งผ่านชายแดนมากกว่า 1,170 ตัน มูลค่า 6.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงไปยัง 40 ประเทศทั่วโลก รวมถึงญี่ปุ่น บังกลาเทศ จีน และไทย ผ่านช่องทางการค้าทางทะเลและชายแดน เมียนมามีรายได้ 256.6 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกปลามากกว่า 240,000 ตันในช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายน ซึ่งเพิ่มขึ้น 39.344 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีงบประมาณก่อนหน้า

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/myanmar-shrimp-exports-reach-us21m-in-apri-dec/

มะริดส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมูลค่า 19.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

U Zaw Min Oo รองผู้อำนวยการกรมประมง เมืองมะริด เขตตะนาวศรี รายงานว่า ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากเขตตะนาวศรี ซึ่งส่วนใหญ่มาจากมะริด ถูกส่งออกผ่านเส้นทางการค้าชายแดนมอตอง ในขณะที่บางส่วนขนส่งโดยตรงจากเกาะสองไปยังระนอง ในปีงบประมาณ 2566-2567 ที่ผ่านมา ซึ่งมีการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำรวม 32,567.61 ตัน สร้างรายได้ 19.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ 3,854 ตันในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2567-2568 โดยมีรายได้ 3.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี อำเภอมะริดขึ้นชื่อเรื่องการผลิตปลาน้ำเค็มและกุ้ง ซึ่งผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ส่งออกสำคัญจากเขตตะนาวศรี ได้แก่ ปลา กุ้ง ปลาเลี้ยง และผลิตภัณฑ์ทางทะเลอื่นๆ จากเกาะสอง อำเภอทวาย และมะริด ที่ถูกขนส่งผ่านห้าเส้นทางเพื่อการส่งออก และสินค้าบางส่วนยังขนส่งไปยังย่างกุ้งก่อนส่งออกไปต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myeik-district-exports-us19-41-million-worth-of-aquatic-products-in-2023-24-financial-year/

กรมประมงเมียนมาบังคับใช้ข้อจำกัดในการทำประมงในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูตกปลา

ตามที่กรมประมงเมียนมาระบุ การออกใบอนุญาตทำการประมงในทะเลเมียนมานั้นขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ตกปลาที่ใช้ในช่วงนอกฤดูตกปลา แม้ว่าฤดูกาลที่ไม่ใช่ฤดูประมงของปีนี้ถูกกำหนดไว้เป็นเวลา 3 เดือนตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน แต่ก็มีการออกใบอนุญาตทำการประมงในบางภูมิภาคและรัฐ เนื่องจากประสบปัญหาของสมาคมผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีรายงานว่าอนุญาตให้ทำการประมงได้เฉพาะในเขตย่างกุ้งในเดือนเมษายน ในเขตตะนาวศรีเดือนเมษายนและพฤษภาคม และในเขตอิระวดีและรัฐมอญในเดือนเมษายน แต่เฉพาะกับเรือประมงบางประเภทเท่านั้น นอกจากนี้ เรือประมงนอกชายฝั่งอื่นๆ ทั้งหมดจะต้องหยุดดำเนินการเป็นเวลาสามเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน ซึ่งกรมประมงระบุเฉพาะเรือประมงในฝั่งเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงได้

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fd-implements-fishing-restrictions-during-non-fishing-season/#article-title

การส่งออกสินค้าประมงทะลุ 675 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 15 มีนาคม

อู ยุนท์ วิน ผู้อำนวยการกรมประมง (เนปิดอ) กล่าวว่า เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงมากกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีมูลค่า 675.958 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปยัง 45 ประเทศ ณ วันที่ 15 มีนาคม ในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวมีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ สินค้าประมงจะถูกจัดส่งไปยังคู่ค้าต่างประเทศผ่านช่องทางการค้าทางทะเล และทางชายแดน โดยการส่งออกทางทะเลเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 หากเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้า อย่างไรก็ดี การส่งออกกุ้งในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอย่างมาก และกุ้งเลี้ยงจากตะนาวศรีเป็นสินค้าซื้อขายที่มีมูลค่ามากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีปลามากกว่า 20 ชนิด รวมถึงฮิลซา ปลากะพง ปลาโรหู ปลาดุกแม่น้ำ และปลาบาร์บัส โดยที่คู่ค้าหลักที่เมียนมาส่งออกไป ได้แก่ ญี่ปุ่น ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย นอกจากนี้ สหพันธ์ประมงเมียนมาและกรมประมงกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนการส่งออกประมงในฐานะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในขณะที่การส่งออกอาหารทะเลไปยังประเทศต่างๆ เช่น จีน มีการตรวจสอบที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทานกำลังพยายามปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัดเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกประมง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fishery-exports-cross-us675-mln-as-of-15-march/#article-title

เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมูลค่ากว่า 624 ล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

ตามรายงานของ U Nyunt Win ผู้อำนวยการกรมประมง (เนปิดอว์) ระหว่างเดือนเมษายน 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 ของปีการเงิน 2566-2567 เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมากกว่า 300 รายการไปยัง 45 ประเทศ สร้างรายได้กว่า 624.473 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการส่งออกเป็นประจำไปยังประเทศญี่ปุ่น ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศในสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี การส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลรวมจำนวน 435,000 ตัน มีช่องทางการส่งออกผ่านการขนส่งทางอากาศ และผ่านชายแดนเป็นหลัก ทั้งนี้ เนื่องจากการระงับเส้นทางการค้าชายแดนบางเส้นทางด้วยเหตุผลหลายประการ รายได้ในปีนี้จึงลดลง 52 ล้านเหรียญสหรัฐ หากเทียบกับยอดรวมของปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 676.528 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ กรมและผู้ส่งออกกำลังร่วมมือกันเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละประเทศที่ซื้อผลิตภัณฑ์ทางทะเลจากเมียนมา เพื่อให้มั่นใจว่ามีการส่งออกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตัวอย่างเช่น จีนมีเกณฑ์การนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่เข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานะปลอดเชื้อ COVID-19

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-aquatic-products-worth-over-us624m-in-2023-24-financial-year/

‘เมียนมา’ ส่งออกสินค้าประมงครึ่งปีแรก กว่า 40 ประเทศทั่วโลก ทะลุ 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

U Nyunt Win อธิบดีกรมประมง กล่าวว่าในช่วงครึ่งปีแรก (เม.ย.-ก.ย.) เมียนมาส่งออกสินค้าประมงไปยังตลาดต่างประเทศกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ทำรายได้ราว 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐของปีงบประมาณปัจจุบัน 2566-2567 โดยตลาดส่งออกสินค้าประมงสำคัญของเมียนมา ได้แก่ ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง สหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย ทั้งนี้ สหพันธ์ประมงเมียนมาและกรมประมงร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าประมง ตลอดจนเมียนมาปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้าอย่างเคร่งครัด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-fishery-exports-to-over-40-foreign-countries-bag-us270-mln-in-h1/#article-title

กระทรวงเกษตรกัมพูชา คาดส่งออกประมงเติบโตปีหน้า

กระทรวงเกษตรคาดว่าการส่งออกสินค้าประมงของกัมพูชาจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกปลาไปยังประเทศจีนที่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้านรองอธิบดีกรมประมง กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง กล่าวเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ว่าปัจจุบันการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงสดและแปรรูปไปยังตลาดต่างประเทศมีปริมาณรวมกว่า 3,320 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 4.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมองว่าการส่งออกประมงยังไม่แพร่หลายมากนัก รวมถึงตลาดส่งออกยังมีเพียงแค่ประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และสิงคโปร์เท่านั้น โดยรัฐบาลได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ของกรมประมง ซึ่งหวังว่าปีหน้าจะเพิ่มการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายในประเทศให้สอดรับกับความต้องการ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50989604/ministry-of-agriculture-expects-fishery-exports-to-increase-significantly-next-year/