โรงกลั่นน้ำมันจำเป็นต้องดำเนินการเร็วที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในประเทศ

เมื่อบ่ายวานนี้ ในการเยี่ยมชมโรงกลั่นน้ำมันในเมือง Thanlyin เขตย่างกุ้ง ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรี พลเอกอาวุโส มิน ออง หล่าย เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพิจารณาต้นทุนการนำเข้าเชื้อเพลิงสำหรับความต้องการพลังงานในประเทศ และต้นทุนอื่นในการดำเนินงานโรงกลั่นของ ประเทศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการพลังงานภายในประเทศ ซึ่งในขั้นต้นจะต้องเน้นไปที่การดำเนินงานโรงกลั่นน้ำมันหมายเลข 1 (Thanlyin) โดยมีแผนจะอัพเกรดเพิ่มเติมเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในประเทศได้สำเร็จ อย่างไรก็ดี ด้านรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน U Ko Ko Lwin และกรรมการผู้จัดการ U Aung Myint จาก Myanma Petrochemical Enterprise รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรงกลั่นน้ำมันหมายเลข 1 (Thanlyin) การเตรียมการเพื่อให้เกิดความเพียงพอด้านพลังงานของประเทศโดยอาศัยการจัดตั้งแหล่งพลังงาน การผลิตน้ำมันจากโรงกลั่นในประเทศ การปรับปรุงโรงงาน และความพร้อมของวัตถุดิบ นอกจากนี้ ยังได้มีการตรวจสอบโรงกลั่นน้ำมันหมายเลข 1 (ตันลยิน) โรงกลั่นน้ำมัน (B) โรงงานน้ำมันหล่อลื่น และถัง LNG รวมทั้งได้สั่งให้เจ้าหน้าที่พยายามดำเนินการโรงกลั่นให้เร็วที่สุดเพื่อจัดหาความต้องการเชื้อเพลิงของประเทศในด้านหนึ่ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/oil-refineries-need-soonest-operation-for-fulfilling-domestic-energy-requirement/

กัมพูชาเริ่มดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแห่งใหม่

โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำตาไตทางตอนบนของจังหวัดเกาะกง ขนาดกำลังการผลิต 150 เมกะวัตต์ คืบหน้าไปแล้วร้อยละ 31.5 โดยคาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 4 ปี และจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ราว 527 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปีเมื่อดำเนินการเต็มรูปแบบ ขณะที่นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต และ Wang Wentian เอกอัครราชทูตจีนประจำกัมพูชา ได้เป็นประธานในพิธีปิดแม่น้ำเพื่อการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าพลังน้ำในเฟสถัดไป ซึ่งใกล้กับเขื่อนในเขต Thmar Baing สำหรับโครงการดังกล่าวจัดขึ้นเป็นสัญญาสิทธิ์ในการก่อสร้าง บริหาร และโอนกรรมสิทธิ์ (BOT) เป็นเวลา 39 ปี โดยได้รับการลงทุนจากบริษัท China National Heavy Machinery Corporation (CHMC) และจะขายกระแสไฟฟ้าให้กับองค์การไฟฟ้ากัมพูชาตลอดอายุสัญญา ซึ่งคาดว่าโครงการดังกล่าวจะมีผลกระทบเชิงบวกอย่างมากต่อเศรษฐกิจกัมพูชา และจะช่วยลดการพึ่งพิงการนำเข้ากระแสไฟฟ้า รวมถึงเป็นการเพิ่มเสถียรภาพทางด้านพลังงานให้กับกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501400180/work-on-new-hydropower-plant-in-cambodia-goes-smoothly/

เรือบรรทุกน้ำมันจากต่างประเทศไหลเข้าท่าเรือเมียนมาอย่างต่อเนื่อง

เรือบรรทุกน้ำมันจากต่างประเทศได้เข้าเทียบท่าที่ท่าเรือติละวาในเขตย่างกุ้งอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 19 และ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยเรือบรรทุกน้ำมัน 3 ลำ ที่เข้าเทียบท่าได้ทำการขนถ่ายน้ำมันลงในถังเก็บตามลำดับ ด้านคณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้า การจัดเก็บ และการจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ประสานงานกับสมาคมนำเข้าและจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของเมียนมา กำลังจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับปั๊มน้ำมันในภูมิภาค/ภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเขตย่างกุ้ง ซึ่งได้ใช้รถหัวจ่ายน้ำมันในการขนส่งตลอดทั้งวันทั้งคืน อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน มีรายงานปริมาณน้ำมันทั้งหมดที่เข้ามายังถังเก็บน้ำมัน แบ่งออกเป็น น้ำมัน 92 RON (Research Octane Number บอกค่าออกเทนของน้ำมัน) กว่า 1,470,000 แกลลอน, 95 RON กว่า 300,000 แกลลอน, น้ำมันดีเซล กว่า 1,040,000 แกลลอน และดีเซลแบบพรีเมียม กว่า 1,020,000 แกลลอน ซึ่งถูกส่งโดยรถหัวจ่ายน้ำมันกว่า 1,311 คัน ไปยังสถานีจำหน่ายเชื้อเพลิง 1,960 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงในเขตย่างกุ้ง ทั้งนี้มีรายงานว่าประชาชนสามารถซื้อและใช้เชื้อเพลิงได้สะดวกมากขึ้น และเจ้าหน้าที่กำลังให้ความช่วยเหลือในการอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/steady-inflow-of-foreign-oil-tankers-ensures-smooth-distribution-nationwide/

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไฟฟ้าแห่งสหภาพเมียนมาร์ กลับจากการประชุมกำกับดูแลพลังงานระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกครั้งที่ 6

ตามคำเชิญของนาย Zhang Jianhua หัวหน้าคณะบริหารพลังงานแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน คณะผู้แทนที่นำโดย U Nyan Tun รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไฟฟ้าแห่งสหภาพเมียนมาร์ ได้เดินทางเยือนเซินเจิ้นและคุนหมิงระหว่างวันที่ 15-19 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เพื่อเข้าร่วมการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 6 – ด้านกำกับดูแลพลังงานระดับภูมิภาคแปซิฟิก และเรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตพลังงานลม จากนั้น รัฐมนตรีสหภาพฯ ได้พบกับนาย Zhang Jianhua หัวหน้าสำนักงานบริหารพลังงานแห่งชาติ (NEA) และหารือเกี่ยวกับการพัฒนาภาคส่วนพลังงานไฟฟ้า ทั้งนี้ยังได้เยี่ยมชมศูนย์นิทรรศการ Shenzhen Huawei Digital Power Edison Exhibition Hall และสถานีชาร์จรถยนต์ EV ที่จัดเก็บพลังงานแสงและการชาร์จ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกริดและยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ พวกเขายังได้เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าพลังงานลมฝูหยวนซี ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้ง 800 เมกะวัตต์ ซึ่งสร้างโดย State Power Investment Corporation ในมณฑลยูนนาน นอกจากนี้ ในระหว่างการเยือนยังได้พบเพื่อหารือเกี่ยวกับข้อกำหนดและแผนสำหรับการดำเนินโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ กับบริษัท China Southern Power Grid ซึ่งเป็นบริษัทของรัฐของจีน ร่วมมือกับกระทรวงพลังงานไฟฟ้า และบริษัทด้านพลังงานอื่นๆของจีนอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moep-union-minister-returns-from-6th-asia-pacific-regional-energy-regulatory-forum/

จีนพร้อมสนับสนุนภาคพลังงานกัมพูชา

ทางการกัมพูชาพร้อมตอบสนองต่อความต้องการด้านพลังงานภายในประเทศ ภายใต้การร่วมมือของนักลงทุนจีน โดยเฉพาะการช่วยลดต้นทุนการบริโภคพลังงานของภาคครัวเรือนกัมพูชาซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 0.25 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศไทยมีต้นทุนต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงอยู่ที่ 0.139-0.141 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และเวียดนามโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.073-0.078 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง สิ่งนี้พิสูจน์แล้วว่ากัมพูชามีต้นทุนทางด้านพลังงานที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน แต่ด้วยความพยายามของรัฐบาลในการปรับปรุงภาคพลังงานได้เริ่มดำเนินโครงการไว้ตั้งปี 2018 ด้วยการเปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 400 เมกะวัตต์ “Lower Sesan 2” ในจังหวัดสตึงแตรง ภายใต้เงินทุนสนับสนุนจาก China Hwaneng Group จับมือร่วมกับ Royal Group ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 800 ล้านดอลลาร์ ในการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำครอบคลุมกำลังการผลิตคิดเป็นกว่าร้อยละ 51 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501391160/china-proves-godsend-for-cambodias-energy-sector/

เมียนมา และจีนลงนามข้อตกลงซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 3 โครงการ

ตามการแถลงของสถานเอกอัครราชทูตจีนในเมียนมา การลงนามข้อตกลงระหว่างเมียนมาและจีนในการซื้อไฟฟ้าสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 3 โครงการ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเนปิดอว์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน โดยคำแถลงระบุว่า กำลังการผลิตรวมของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 3 โครงการของ Kyeon Kyeewa, Kinda และ Sedoktaya ในเขต Magway และ Mandalay ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Power China Resources Ltd. และกระทรวงพลังงานไฟฟ้าของเมียนมา อยู่ที่ 90 เมกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับรองรับการพัฒนาของ ภูมิภาค ด้านรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานไฟฟ้าแห่งสหภาพ ชื่นชมความคืบหน้าของโครงการความร่วมมือด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และหารือทัศนคติที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านไฟฟ้าจีน-เมียนมาต่อไป เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาของทั้งสองประเทศ และดึงดูดความสนใจของประชาชนเมียนมามากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการตามผลข้อตกลงของการประชุม Belt and Road Forum for International Cooperation ครั้งที่ 3 การพัฒนาการเชื่อมต่อไฟฟ้าระหว่างจีน-เมียนมา ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา “ความต้องการไฟฟ้า” ของเมียนมา และรองรับการก่อสร้าง ระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-sign-agreement-to-purchase-electricity-from-three-solar-power-plant-projects/#article-title

วิกฤตขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในเวียดนาม ทรุดตัวต่อเนื่องจนถึงปี 2050

คณะกรรมการกำกับดูแลของสมัชชาแห่งชาติ รายงานว่าแหล่งทรัพยากรพลังงานปฐมภูมิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติกำลังจะหมดไป เนื่องจากไฟฟ้าพลังน้ำถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว รวมไปถึงปริมาณน้ำมันและก๊าซจากแหล่งพลังงานหลักลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่จากรายงานของธนาคารโลก ประจำเดือน ส.ค. มีการประเมินความสูญเสียของเวียดนาม พบว่าเวียดนามสูญเสียรายได้จากวิกฤตพลังงานไฟฟ้าขาดแคลนประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 0.3% ของ GDP โดยผู้เชี่ยวชาญได้เตือนถึงการขาดแคลนไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือของประเทศ ทำให้จะไม่มีการจัดตั้งโรงงานใหม่เกิดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจำเป็นที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และอาจทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าได้จนถึงปี 2050

ที่มา : https://www.retailnews.asia/power-shortage-in-vietnam-looms-until-2050/

วิกฤตขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในเวียดนาม ทรุดตัวต่อเนื่องจนถึงปี 2050

คณะกรรมการกำกับดูแลของสมัชชาแห่งชาติ รายงานว่าแหล่งทรัพยากรพลังงานปฐมภูมิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติกำลังจะหมดไป เนื่องจากไฟฟ้าพลังน้ำถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว รวมไปถึงปริมาณน้ำมันและก๊าซจากแหล่งพลังงานหลักลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่จากรายงานของธนาคารโลก ประจำเดือน ส.ค. มีการประเมินความสูญเสียของเวียดนาม พบว่าเวียดนามสูญเสียรายได้จากวิกฤตพลังงานไฟฟ้าขาดแคลนประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 0.3% ของ GDP

โดยผู้เชี่ยวชาญได้เตือนถึงการขาดแคลนไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือของประเทศ ทำให้จะไม่มีการจัดตั้งโรงงานใหม่เกิดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจำเป็นที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และอาจทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าได้จนถึงปี 2050

ที่มา : https://www.retailnews.asia/power-shortage-in-vietnam-looms-until-2050/

8 เดือนแรกของปี กัมพูชานำเข้า น้ำมันและก๊าซ มูลค่ารวมกว่า 2.28 พันล้านดอลลาร์

สำหรับในช่วงเดือน มกราคม-สิงหาคม ปีนี้ กัมพูชานำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันและก๊าซมูลค่ารวมกว่า 2.28 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) โดยคาดว่าความต้องการในการใช้ผลิตภัณณ์ดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.8 ล้านตัน ภายในปี 2030 จากปริมาณ 2.8 ล้านตัน ในปี 2020 ซึ่งปัจจุบันกัมพูชานำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 100% ซึ่งมีแหล่งนำเข้าส่วนใหญ่มาจากไทย เวียดนาม และสิงคโปร์

ด้าน OPEC, สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ และสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ ล้วนคาดการณ์ถึงการขาดดุลของตลาดที่เพิ่มมากขึ้นในไตรมาสหน้า เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ควบคุมอุปทานการผลิตและการส่งออกทั่วโลก โดยคาดว่าอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันจ่อปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งราคาน้ำมันในกัมพูชาล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (18 ก.ย.) อยู่ที่ 1.12 ดอลลาร์ ต่อลิตร ขณะที่น้ำมันดีเซลราคาอยู่ที่ 1.15 ดอลลาร์ ต่อลิตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501362703/cambodia-imports-oil-and-gas-products-worth-2-28-billion-in-the-first-eight-months-of-the-year/

CSG พร้อมสร้างสมดุลในการจัดหาพลังงานให้แก่ สปป.ลาว

China Southern Power Grid (CSG) กำลังมองหาโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ภายในเขตลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-ลุ่มแม่น้ำโขง (LMC) โดยเฉพาะในประเทศ สปป.ลาว หลังจากที่ได้รุกลงทุนด้านพลังงานและการค้าภายในภูมิภาคแล้วในปัจจุบัน ด้าน Li Xinhao ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศของ CSG กล่าวว่า บริษัท พร้อมให้การช่วยเหลือและร่วมมือกับกลุ่มประเทศในเขตลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-ลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อสร้างสมดุลในด้านการจัดหาไฟฟ้าในภูมิภาค ซึ่งในช่วงฤดูแล้งของ สปป.ลาว ทางการจำเป็นต้องนำเข้าพลังงานไฟฟ้าเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ โดยในอนาคต CSG จะสร้างสายส่งไฟฟ้าเพิ่มขึ้นใน สปป.ลาว เพื่อเป็นการสร้างความแข็งแกร่งด้านพลังงาน ภายในสิ้นปี 2022 บริษัท ได้นำส่งไฟฟ้ากว่า 40,212 GWh ไปยังเวียดนาม 1,228 GWh ไปยัง สปป.ลาว และ 4,969 GWh ไปยังเมียนมา รวมถึงทำการซื้อไฟคืนจากเมียนมา 23,279 GWh

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_132_China_CSG_y23.php