เมียนมากวาดรายได้ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกพืชตระกูลถั่วต่างๆ ทุกปี

ตามข้อมูลของกรมการค้า กระทรวงพาณิชย์เมียนมา การส่งออกพืชตระกูลถั่วต่างๆ ของเมียนมามีส่วนสนับสนุนรายได้ประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยรายได้จากการส่งออกพืชตระกูลถั่วของเมียนมาคิดเป็น 38 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งสร้างรายได้มากกว่า 1,000-1,500 ล้านดอลลาร์ต่อปี เมียนมาเป็นหนึ่งในผู้ผลิตถั่วรายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งภาคการเกษตรของเมียนมามีส่วนสนับสนุนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เมียนมามีพื้นที่ปลูกข้าวเปลือกมากกว่า 17 ล้านเอเคอร์และพื้นที่ปลูกพืชตระกูลถั่วและถั่ว 10 ล้านเอเคอร์ในประเทศ ซึ่งพืชตระกูลถั่วและถั่วเป็นผลผลิตที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ และครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างวันที่ 1 เมษายนถึง 19 กรกฎาคมของปีงบประมาณปัจจุบัน 2024-2025 การส่งออกพืชตระกูลถั่วต่างๆ ของเมียนมามีจำนวนมากกว่า 775,290 ตัน มูลค่า 669.89 ล้านดอลลาร์ ซึ่งประกอบด้วยการส่งออกทางทะเล มากกว่า 748,600 ตัน มูลค่า 647.7 ล้านดอลลาร์ และการส่งออกผ่านชายแดน มากกว่า 26,600 ตัน มูลค่า 22 ล้านดอลลาร์ เมียนมาเป็นผู้ส่งออกถั่วดำ ถั่วมะแฮะ และถั่วเขียวรายใหญ่ที่สุด พื้นที่เพาะปลูกคิดเป็นร้อยละ 72 ของพื้นที่เพาะปลูกถั่วทั้งหมด และปลูกถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วสีเนย ถั่วข้าว ถั่วลันเตา และถั่วชนิดอื่นๆ ในพื้นที่เพาะปลูกร้อยละ 28 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bags-us1-5b-from-various-pulses-exports-yearly/

MAFF ประเมินผลผลิตเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ในสี่จังหวัดสำคัญของกัมพูชา

เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) ได้ดำเนินการสำรวจสถานการณ์ผลผลิตของพืชอุตสาหกรรมที่สำคัญ โดยเฉพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ใน 4 จังหวัดผู้ผลิตสำคัญอย่าง กำปงจาม, พระวิหาร, สตรึงเตรง และ รัตนคีรี ซึ่งทางการพร้อมที่จะส่งเสริมและสร้างชุมชนการเกษตรสมัยใหม่ให้กับเกษตรกรผู้เพาะปลูกมะม่วงหิมพานต์ในท้องถิ่น ขณะที่คาดว่าผลผลิตเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ในปีนี้จะสูงกว่าปี 2024 ภายใต้ราคาที่เพิ่มสูงขึ้น ตามคำแถลงของ MAFF ในวันเสาร์ที่ผ่านมา (22 ก.พ.) นำโดย Touch Bun Hour รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) ซึ่งกล่าวเสริมว่าการประมาณการเบื้องต้นบ่งชี้ว่าผลผลิตเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ในเดือนกุมภาพันธ์จะต่ำกว่าปีที่แล้ว เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นยาวนาน อย่างไรก็ตาม ด้านคุณภาพของเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ในปีนี้ดีเยี่ยม โดยมีเมล็ดที่ใหญ่กว่าและเนื้อที่ดีกว่า ส่งสัญญาณว่าผลผลิตอาจสูงกว่าปี 2024 ในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวถัดไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501644052/maff-assesses-cashew-crop-yields-in-four-provinces/

รัฐบาลกัมพูชาพร้อมส่งเสริมผลิตภัณฑ์เกษตรสู่ระดับสากล

Keo Buntheng ผู้ช่วยทางการพาณิชย์ประจำสาธารณรัฐตุรกี เข้าพบกับผู้นำเข้าจากต่างประเทศหลายราย เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผลิตภัณฑ์กัมพูชาและสำรวจโอกาสในการขยายตลาดของกัมพูชาไปยังทั่วโลก โดยได้เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติด้านอาหารและเครื่องดื่ม ครั้งที่ 31 ณ ศูนย์แสดงสินค้า Antalya Expo Center ในเมืองอันตัลยา ประเทศตุรกี ระหว่างวันที่ 28 ถึง 31 มกราคม ซึ่งทางการกัมพูชามุ่งเน้นไปที่สินค้ากลุ่มเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าว พริกไทย ผลไม้แห้ง และถั่วต่างๆ ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ (MoC) งานดังกล่าวดึงดูดผู้จัดแสดงประมาณ 300 ราย จาก 70 จังหวัดทั่วตุรกี และอีก 50 ประเทศ รวมถึงมีผู้เยี่ยมชมทั้งหมดประมาณ 20,000 คน ภายในงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501633489/cambodian-official-promotes-agricultural-products-to-intl-importers/

การเพิ่มผลผลิตมะเขือเทศทำให้ราคาสำหรับผู้บริโภคลดลง

ตามข้อมูลของศูนย์ค้าส่งผักในตำบล Nyaungshwe  เผยว่า ผลผลิตมะเขือเทศในพื้นที่สูงและพื้นที่อินเลย์ในตำบล Nyaungshwe รัฐ Shan ทางตอนใต้จะเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้เพลิดเพลินกับมะเขือเทศในราคาถูก นอกจากนี้ การค้าขายมะเขือเทศกำลังเป็นไปได้อย่างราบรื่นเนื่องจากมีราคาถูก อย่างไรก็ดี ในบรรดามะเขือเทศ 2 สายพันธุ์นั้น มะเขือเทศสายพันธุ์ไทเปของจีนส่วนใหญ่จะถูกขนส่งไปที่ย่างกุ้ง พะโค พยู เมาะละแหม่ง บิลิ่น และสะเทิม ในขณะที่มะเขือเทศสายพันธุ์ท้องถิ่นและมะเขือเทศเปรี้ยวของพม่ากลับมียอดขายเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาลดลง

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/increased-tomato-production-lowers-prices-for-consumers/

ผู้บริหาร MRF หารือเรื่องการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ขายในโครงการข้าวราคาประหยัด

สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) จัดการประชุมประสานงานการทำงานที่ Mingala Hall ของสหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมเมียนมา (UMFCCI) เพื่อกระตุ้นให้ผู้ขายเข้าร่วมโครงการราคาที่เอื้อมถึงได้ ซึ่งขายข้าวในราคาอ้างอิงเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม อย่างไรก็ดี การประชุมดังกล่าวเน้นย้ำถึงการประสานงานระหว่างโรงสีข้าว ผู้ค้า และผู้บริหารของสหพันธ์ข้าวเมียนมาเพื่อขายข้าวในราคาอ้างอิงในตลาดขายส่ง และการหารืออย่างต่อเนื่องเพื่อขายข้าวในราคาอ้างอิงในตลาดค้าปลีก นอกจากนี้ ยังมีการหารือเกี่ยวกับการจัดหาข้าว Ayeyawady Pawsan และ Shwebo Pawsan ให้เพียงพอในตลาดย่างกุ้ง เนปิดอว์ และมัณฑะเลย์ โดยมีการวัดและคุณภาพที่เหมาะสม การซื้อข้าวเปลือกในราคาพื้นฐานตามราคาข้าว การจัดประชุมประสานงานเพื่อกำหนดราคาอ้างอิงทุกเดือนในสัปดาห์ที่สาม และการลงทะเบียนคลังสินค้าบน MyRO

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mrf-executives-discuss-boosting-seller-participation-in-affordable-rice-scheme/#article-title

รายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรทะลุ 1.39 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในไตรมาสแรก

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาระบุว่า การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมามีมูลค่ารวม 1.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน 2024-2025 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดย ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 843.6 ล้านดอลลาร์ ที่บันทึกไว้ในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว โดยเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 549.426 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ เมียนมาดำเนินการค้าระหว่างประเทศผ่านช่องทางการค้าชายแดนและทางทะเล โดยส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยวิสาหกิจ CMP และสินค้าอุปโภคบริโภค เมียนมาส่งออกผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปผ่านช่องทางการค้าทางทะเลและชายแดน ในขณะเดียวกันเมียนมายังนำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยวิสาหกิจ CMP และสินค้าอุปโภคบริโภคอีกด้วย อย่างไรก็ดี เมียนมาได้ดำเนินการตามกลยุทธ์การส่งออกแห่งชาติ (NES) 2020-2025 เพื่อกระตุ้นการส่งออก ภาคส่วนที่มีความสำคัญของ NES ได้แก่ การผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่า การผลิตและบริการดิจิทัล บริการด้านโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรมและภาคผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-earnings-cross-us1-39-bln-in-q1/

ตลาดผลไม้มัณฑะเลย์ขายแอปเปิลจีนดีกว่าแอปเปิลไทย เหตุจากราคาที่ต่างกัน

แอปเปิลนำเข้าจากจีนหรือที่เรียกว่า panlonethee ขายได้ดีในตลาดผลไม้มัณฑะเลย์ เมื่อเทียบกับแอปเปิลนำเข้าจากไทย เนื่องจากราคาต่างกันมาก เฉพาะผู้ที่มีกำลังซื้อเท่านั้นจึงจะสามารถบริโภคแอปเปิลจากไทยได้ และการค้าขายแอปเปิลจากจีนก็ดีขึ้นในปีที่แล้วเช่นกัน อย่างไรก็ดี แอปเปิลจีน มีการบริโภคสูงและมีราคาที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ทุกชนชั้น นอกจากนี้ แอปเปิลไทย เนื่องจากมีราคาแพง จึงมีผู้ค้าเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่สามารถขายผลไม้นำเข้าจากไทยในเมืองมัณฑะเลย์ได้ และตลาดผลไม้ส่วนใหญ่พึ่งพาผลไม้นำเข้าจากจีนและผลไม้พันธุ์พื้นเมืองเป็นหลัก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/chinese-apples-sell-better-than-thailand-apples-in-mandalay-fruits-market-due-to-price-gap/

ภูมิภาคพะโคจะปลูกกาแฟโรบัสต้า 1,000 เอเคอร์

รัฐบาลภูมิภาคพะโคได้กำหนดพื้นที่ปลูกกาแฟโรบัสต้า 1,000 เอเคอร์ โดยบริษัท The Light House ซึ่งตั้งอยู่ในตำบล Yedashe อำเภอ Toungoo ภูมิภาคพะโค ที่ทำการรับซื้อเมล็ดกาแฟในท้องถิ่นและส่งออกผลิตภัณฑ์กาแฟที่มีมูลค่าเพิ่ม อย่าไรก็ดี ธุรกิจในกลุ่มผู้ประกอบการด้านป่าไม้จะเพิ่มรายได้ด้วยการปลูกกาแฟโรบัสต้า กาแฟของเมียนมาได้รับชื่อเสียงที่ดีในตลาดกาแฟโลกแล้ว และกำลังพยายามขยายการเพาะปลูกและการส่งออกให้เป็นพืชที่มีมูลค่าเพิ่มที่จำเป็น นอกจากนี้ ยังส่งผลให้รายได้จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น จากการปลูกกาแฟโดยรักษาคุณภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความชื้น และแสงแดด ความทนทานต่อสภาพอากาศและศัตรูพืช ซึ่งให้ผลผลิตถึง 2.82 ตันต่อเอเคอร์ ทั้งนี้ กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่ราบซึ่งมีมูลค่าในตลาดโลกนั้นเหมาะสำหรับการปลูกในระดับความสูงไม่เกิน 2,500 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล และต้องการปริมาณน้ำฝนระหว่าง 60 ถึง 100 นิ้ว เมียนมาสามารถผลิตกาแฟได้ที่ประมาณ 7,000 ตันต่อปี โดยครึ่งหนึ่งของผลผลิตส่งออกไปยังประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย และจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/bago-region-to-grow-1000-acres-of-robusta-coffee/

‘เวียดนาม’ ส่งออกสินค้าเกษตรไปรัสเซีย 5 เดือนแรก พุ่ง 48.7%

จากข้อมูลสถิติเบื้องต้นของกรมศุลกาการ เปิดเผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรไปยังรัสเซีย เพิ่มขึ้น 48.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ กาแฟ มูลค่า 161.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 39%YoY รองลงมาอาหารทะเล เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผักและผลไม้ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ตลาดรัสเซียไม่ใช่ตลาดส่งออกขนาดใหญ่ของสินค้าเกษตรเวียดนาม แต่ว่าเมื่อประเมินในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ทิศทางการส่งออกไปยังรัสเซียเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ในขณะที่สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าการส่งสินค้าจากเวียดนามไปรัสเซีย มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ขนส่งรัสเซียได้เปิดเส้นทางขนส่งจากโฮจิมินห์-ไฮฟอง-วลาดิวอสต๊อก

นอกจากนี้ ยังมีผู้ขนส่งสินค้ารายอื่นที่เปิดเส้นทางการขนส่งใหม่ ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการขนส่งและส่งสินค้าได้เร็วขึ้น ประกอบกับเวียดนามได้รับประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม- สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย หนุนให้เวียดนามยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันสินค้าเกษตรในตลาดยุโรปและรัสเซีย

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/five-month-farm-exports-to-russia-soar-by-487-post1102239.vov

การส่งออกผลผลิตทางการเกษตรของเมียนมาทะลุ 970 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนเม.ย.-พ.ค

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาเพิ่มขึ้นเป็น 971.957 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2567-2568 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญกว่า 379 ล้านดอลลาร์ เทียบกับที่บันทึกไว้ (592.7 ล้านดอลลาร์) ในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2566-2567 อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปผ่านช่องทางการค้าทางทะเลและชายแดน ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยวิสาหกิจ CMP และสินค้าอุปโภคบริโภค โดยได้ดำเนินยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) พ.ศ. 2563-2568 เพื่อกระตุ้นการส่งออก ซึ่งภาคส่วนที่มีลำดับความสำคัญของ NES ได้แก่ การผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรม และภาคผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-agri-produce-exports-cross-us970m-in-apr-may/