EXIM BANK ร่วมกับหอการค้ากัมพูชาส่งเสริมการค้าการลงทุน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และสมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาแนต นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และหอการค้ากัมพูชา (CCC) โดยมี ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และเนก โอคนา คิท เม้ง ประธานหอการค้ากัมพูชา เป็นผู้ลงนาม โดยทั้งสองหน่วยงานจะแลกเปลี่ยนข้อมูลและบริการด้านข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และการพัฒนาอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ การค้าระหว่างกัมพูชาและไทยมีมูลค่าสูงกว่า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นคู่ค้าสำคัญของกัมพูชา นอกเหนือจากจีน สหรัฐฯ และเวียดนาม การส่งออกของไทยไปกัมพูชาในปี 2566 มีมูลค่า 6.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การนำเข้าของไทยจากกัมพูชามีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่กัมพูชาเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่สำคัญของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs เป็นผลมาจากนโยบายเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างประเทศ ธุรกิจของไทยที่ดำเนินการในกัมพูชาครอบคลุมหลายภาคส่วน

ที่มา : https://www.thebetter.co.th/news/business/13414

หอการค้าเชียงรายวอนรัฐพื้นฟูค้าชายแดน-ท่องเที่ยว

นางสาวผกายมาศ เวียร์ร่า รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย และประธานหอการค้าแม่สาย เปิดเผยว่า ปัจจุบันอำเภอแม่สาย เป็นอำเภอชายแดนเดียวของจังหวัดเชียงราย ที่ยังไม่ได้เปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 1 โดยจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 แม้จะเปิดให้ขนส่งสินค้า แต่บุคคลข้ามไม่ได้ ซึ่งการขนส่งสินค้ายังต้องไปแล้วกลับภายในวันเดียว โดยปกติจังหวัดเชียงรายมูลการค้าการค้าชายแดน ทั้ง 3 ด่านชายแดนคือ อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงของ และอำเภอเชียงแสน  ปีละประมาณ 70,000-80,000 ล้านบาท แต่ขณะนี้มูลค่าการค้าส่งออกสินค้าหายไปกว่าร้อยละ 80 เนื่องจากด่านชายแดนของจีนปิด ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://www.nationtv.tv/news/region/378883182

คาดปี 2022 การค้า กัมพูชา-เวียดนาม มูลค่าแตะหมื่นล้านดอลลาร์

คาดการค้าระหว่างกัมพูชากับเวียดนามพุ่งแตะ 10,000 ล้านดอลลาร์ ภายในสิ้นปี 2022 เนื่องจากการค้าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ที่มีมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนำเสนอโดยนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ในพิธีรำลึกครบรอบ 45 ปี การล่มสลายของเขมรแดง ด้าน Lim Heng รองประธานหอการค้ากัมพูชา (CCC) กล่าวว่าปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชากับเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา งา ข้าวโพด ถั่วเหลือง และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเวียดนามเป็นหนึ่งในตลาดหลักของกัมพูชาในภูมิภาคนี้ โดยทั้งสองประเทศให้คำมั่นที่จะเพิ่มการค้าทวิภาคีให้มีมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ ในแง่ของการลงทุนสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ระบุว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในกัมพูชามีมูลค่ารวม 39,000 ล้านดอลลาร์ โดยนักลงทุนเวียดนามคิดเป็นมูลค่า 2.5 พันล้านดอลลาร์ หรือร้อยละ 6.3 รองลงมาคือจีน ด้วยเงิน 17.3 พันล้านดอลลาร์ และเกาหลี 4.1 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501098201/cambodia-vietnam-trade-expected-to-reach-more-than-10-billion-by-end-of-2022/

หอการค้าแนะขยายช้อปดีมีคืน เพิ่มเงินคนละครึ่ง สู้วิกฤตของแพง

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สิ่งที่หอการค้าไทยอยากส่งสัญญาณไปยังรัฐบาล เพื่อให้ช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในระยะสั้นนี้ คงต้องเน้นไปที่การลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลและแก๊สหุงต้ม เพื่อไม่ให้กระทบต่อต้นทุนการผลิต และจำเป็นต้องจัดแพคเกจมากระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption ) ในระยะสั้นนี้ควบคู่กันไปด้วยส่วนมาตรการเสริมกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจ คือ โครงการคนละครึ่ง ซึ่งที่ผ่านมาเฟส 4 ได้อนุมัติเงินเพิ่มเติมเป็นคนละ 1,200 บาท ซึ่งมองว่าน้อยเกินไป และควรพิจารณาเฟส 5 เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อให้เกิดขึ้นต่อเนื่องด้วย ส่วนโครงการช๊อปดีมีคืน ที่ได้เริ่มต้นเมื่อ 1 มกราคม และจะสิ้นสุดใน 15 กุมภาพันธ์นี้ จึงเสนอขยายเวลาช๊อปดีมีคืนออกไป รวมถึงพิจารณาเพิ่มวงเงินให้ด้วย

ที่มา : https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3170849

ความคิดเห็นมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูทางการเงินผู้ประกอบการ

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูทางการเงินผู้ประกอบการ พบว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระรอกที่ 3 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากกว่าระรอกที่ผ่านมา ร้อยละ 41.80  ส่วนโอกาสที่ธุรกิจจะปิดกิจการ ร้อยละ 48.00 อยู่ในระดับน้อย หากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังยืดเยื้อออกไปอาจปิดกิจการภายใน 11 เดือน ภาครัฐควรผ่อนคลายมาตรการควบคุมให้กลับมาเป็นปกติภายใน 4 เดือน และโอกาสที่กิจการจะกลับมาดำเนินธุรกิจได้ปกติภายใน 4 เดือน

ทัศนะต่อมาตรการของภาครัฐในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ พบว่า มาตรการเพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ร้อยละ 40.00 อยู่ในระดับน้อย ผู้ประกอบการมองว่าได้รับประโยชน์จากมาตรการของรัฐ ร้อยละ 50.00 อยู่ในระดับน้อย ส่วนโครงการหรือมาตรการของภาครัฐธุรที่ธุรกิจเข้าร่วมมากที่สุดคือ โครงการคนละครึ่ง ร้อยละ 78.57 ด้านมาตรการมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูทางการเงินุรกิจสนใจเข้าร่วมมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจ (Soft Loan) ร้อยละ 39.39 แต่ไม่แน่ใจว่าสามารถเข้าร่วมได้ ร้อยละ 64.95 เพราะมองว่าธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อให้เพราะเต็มวงเงินและเงื่อนไขไม่ชัดเจน ร้อยละ 50.00 และวงเงินสินเชื่อที่ธุรกิจต้องการคือต่ำกว่า 1 แสนบาท ร้อยละ 60.00

นอกจากนั้น ประเด็นที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเพิ่มเติม ได้แก่ ภาครัฐควรควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเร่งการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศโดยเร็ว รวมถึงคลายล็อกดาวน์ เร่งเปิดประเทศ มีการยกเว้นภาระทางด้านภาษี รวมถึงพักชำระหนี้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ส่งเสริมมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเดิมที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการคนละครึ่ง สนับสนุนค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการลดภาระภาคเอกชน และแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นและขั้นตอนในการดำเนินงานที่ล่าช้าของรัฐบาล

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

“หอเยอรมัน” เผยผู้ประกอบการชาวเยอรมันเชื่อมั่นเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวปีหน้า

จากการสำรวจของสมาคมหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งเยอรมนี (DIHK) เผยเมื่อวันที่ 12 พ.ค. ระบุว่าผู้ประกอบการ 46% มองว่ามีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจในปีที่แล้ว และ 66% หวังว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในปีนี้ ตามาด้วย 30% เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในปี 2565 “เวียดนามกลายเป็นจุดหมายปลายทางด้านการลงทุนในการปรับโครงสร้างการผลิตใหม่ในระดับโลกและยังเป็นห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาค” ทั้งนี้ เมื่อถามถึง 10 เดือนข้างหน้า พบว่านักธุรกิจส่วนใหญ่ 55% มองว่าเศรษฐกิจเวียดนามในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ดี และ 11% มองว่าแย่ ในขณะเดียวกัน ข้อสังเกตอื่นๆ บริษัทเยอรมัน 47% มั่นใจว่าจะขยายการทำธุรกิจในเวียดนาม และ 50% จะจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นในปีนี้และปีหน้า อย่างไรก็ตาม หอเยอรมัน ระบุเพิ่มเติมว่า เวียดนามยังขาดแรงงานที่มีคุณภาพและความต้องการอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นความท้าทายครั้งสำคัญของนักธุรกิจชาวเยอรมันในเวียดนา

ที่มา : http://hanoitimes.vn/german-businesses-expect-vietnam-economic-recovery-by-2022-dihk-317333.html

การค้าทวิภาคีระหว่างไทยและกัมพูชาลดลงในช่วง 2 เดือนแรกของปี

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.298 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2021 ลดลงร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ของไทยกล่าวถึงการส่งออกของกัมพูชามายังไทยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวอยู่ที่ 225 ล้านดอลลาร์ ลดลงถึงร้อยละ 47 ส่วนการนำเข้าสินค้าของกัมพูชาจากไทยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.073 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งสินค้าเกษตรคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกส่วนใหญ่ของกัมพูชาไปยังประเทศไทย ส่วนสินค้าส่งออกของไทยไปกัมพูชาประกอบด้วย น้ำมัน ปุ๋ย อาหารและเครื่องสำอางเป็นหลัก โดยรองประธานหอการค้ากัมพูชากล่าวว่าหากในอนาคตอันใกล้มีการกระจายวัคซีนไปทั่วประเทศของทั้งสองประเทศ คาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะดีขึ้นและจะช่วยกระตุ้นการค้าและการส่งออกของทั้งสองประเทศให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งการค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 7.236 พันล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้วลดลงร้อยละ 23 จากปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50831807/cambodia-thailand-bilateral-trade-down-jan-feb/

หอการค้านานาชาติเรียกร้องกรมภาษีอากรขยายกำหนดการยื่นภาษี

หอการค้านานาชาติเรียกร้องให้ กรมภาษีอากร (GDT) ชะลอการเสียภาษีประจำปีในหมวดภาษีเงินได้นิติบุคคล (TOI) เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบากของโควิด-19 โดยสมาชิกหอการค้านานาชาติได้ยื่นจดหมายไปยังกรมภาษีอากร (GDT) ทบทวนการยื่นชำระภาษี รวมถึงให้จัดการประชุมผ่านทางออนไลน์เพื่อเป็นการติดต่อระหว่างผู้เสียภาษีและหน่วยงานในการพูดคุยและร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ได้เรียกร้องให้ประชาชนปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาด รวมถึงการรักษาระยะห่างทางสังคมที่ปลอดภัยจากผู้อื่นจึงทำให้เกิดความไม่สะดวกในการทำธุรกรรมในรูปแบบต่างๆ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50824262/international-business-chamber-of-commerce-requests-gdt-push-tax-deadline-amid-outbreak/

หอการค้า จี้แก้ค่าเงินบาทแข็ง โลจิสติกส์ เจรจาการค้าให้คืบหน้า ก่อนไทยเสียหายแข่งขันไม่ได้

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าอาหารไทยขยายตัวไม่เต็มศักยภาพ เนื่องจากมีปัจจัยหลายด้านยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งทางหอการค้าไทยเห็นว่าวิกฤตระยะสั้นที่ต้องเร่งแก้ไขคือ ค่าเงินบาทของไทยที่ยังคงแข็งค่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียนประเทศไทยแข็งค่ากว่าประเทศคู่แข่งมาก ส่งผลทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง โดยมองว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถแข่งขันได้ควรอยู่ที่ 32 บาท นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเรื่องของโลจิสติกส์การขนส่งทางเรือและการขาดแคลนคอนเทนเนอร์ในการขนส่ง การปรับค่าระวางเรือที่สูงขึ้นแบบไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และอีกปัญหาสำคัญคือการเจรจาข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่ประเทศไทยไม่มีความคืบหน้าในขณะที่ประเทศคู่แข่งหลายประเทศได้แต้มต่อเรื่องของภาษีและมีการเข้าร่วมการเจรจาต่าง ๆ แล้ว ทั้งการทำ FTA ไทย-อียู,อังกฤษ และ CPTPP รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/economy/news_45591/

หอการค้าชี้ส่งออกปี 63 ติดลบหนักสุดรอบ10ปี

ม.หอการค้าฯ แนะทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ของรัฐบาล เร่งสนับสนุนให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เข้าถึงแหล่งเงินทุนฝ่าวิกฤติโควิด-19  เผยส่งออกปีนี้ติดลบหนักสุดในรอบ 10 ปี นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผล “การวิเคราะห์การส่งออกไทยครึ่งปีหลังปี 2563 : ไร้วัคซีนโควิด-19” ว่า แนวโน้มการส่งออกไทยในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 ยังคงเผชิญแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยสมมติฐานหากสถานการณ์โลกมีการผลิตวัคซีนโควิดได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ การส่งออกไทยในปี 2563 จะหดตัวลงที่ 5.5% และ ถ้าสามารถผลิตวัคซีนได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 จะหดตัวประมาณ 9.6% แต่ถ้ายังไม่มีวัคซีน จะส่งผลให้การส่งออกไทยทั้งปี อาจติดลบสูงถึง 13.5% หรือคิดเป็นมูลค่าการส่งออกที่หายไปประมาณ 7 แสนล้านบาทถึง 1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นตัวเลขติดลบหนักที่สุดในรอบ 10 ปี โดยสินค้าส่งออกที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ สินค้าในกลุ่มรถยนต์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน และเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนการส่งออกไทยในครึ่งปีแรกหดตัวอย่างรุนแรงโดยเฉพาะเดือนมิถุนายน หดตัวถึง 23.1% แต่ก็ยังมีสินค้าบางส่วนที่ยังสามารถขยายตัวได้ อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ,แผงวงจรไฟฟ้า,เคมีภัณฑ์,อากาศยานและชิ้นส่วน,เครื่องสำอาง,ผลิตภัณฑ์ยาง,ผลไม้และข้าว

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/443605