7 เดือนครึ่งของงบฯ 65-66 เมียนมาส่งออกแร่ไปแล้วกว่า 199 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 18 พฤศจิกายน 2565 ของปีงบประมาณ 2565-2566  เมียนมามีรายได้จากการส่งออกสินค้าที่ผลิตจากแร่มากกว่า 199 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่พบว่าลดลง 248.419 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 447.667 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2565-2566 ที่ผ่านมา ทั้งนี้จากการสำรวจแร่ของเมียนมาส่วนใหญ่จะอยู่ในรัฐกะยา ตะนาวยี มัณฑะเลย์ และซะไกง์ ซึ่งสินค้าส่งออกที่ผลิตจากแร่ ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ทอง หยก มุก เพชร ตะกั่ว ดีบุก ทังสเตน เงิน ทองแดง สังกะสี ถ่านหิน และสินแร่อื่นๆ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-mineral-exports-top-199-million-over-seven-and-a-half-months-this-fy/

ท่องเที่ยวฟื้น บาทอ่อน หนุนส่งออกส่งออกอัญมณีฯเดือนก.ย.โตต่อเนื่อง

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเดือนก.ย.2565 มีมูลค่า 1,012.59 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 89.49% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 1,536.45 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 99.31% และยอดรวม 9 เดือนของปี 2565 มีมูลค่า 6,089.94 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 42.26% และหากรวมทองคำ มีมูลค่า 12,413.75 ล้านเดอลลาร์เพิ่มขึ้น 72.48% ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว หลังจากที่มีการเปิดเมืองในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น และค่าเงินบาทอ่อนค่า ทำให้สินค้าไทยแข่งขันได้ดีขึ้น ขณะที่ตลาดส่งออกสำคัญหลายตลาด มีการสั่งซื้อสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยสต๊อกที่ระบายออกเร็วจากการซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่เพิ่มขึ้น

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/1035784

ทูตพาณิชย์ จีบนักค้าเพชรพลอย ร่วมงานบางกอกเจมส์ปีหน้า

“ทูตพาณิชย์ดูไบ” เชิญผู้ซื้อ ผู้นำเข้าจากกลุ่มตะวันออกกลาง ร่วมซื้อและเจรจาธุรกิจสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในงาน BGJF Special Online Edition เดือนพ.ย.นี้ และจีบเข้าร่วมงานบางกอกเจมส์ที่เลื่อนไปจัดก.พ.64 ด้วย มั่นใจดันสินค้าไทยขยายตลาดได้เพิ่มขึ้น ด้านนักธุรกิจชาวอาหรับ ยันสินค้าไทยมีคุณภาพ มาตรฐาน พร้อมร่วมมือค้าขาย นายปณต บุณยะโหตระ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับ นิว จิวเวลเลอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล มีเดีย กรุ๊ป และ ดูไบ โกลด์ แอนด์ จิวเวลรี่ กรุ๊ป ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่มีความสัมพันธ์กับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย จัดสัมมนาออนไลน์หัวข้อ “การค้าอัญมณีและเครื่องประดับระหว่างประเทศไทยและภูมิภาคตะวันออกกลาง : การเสริมสร้างความเข้มแข็งระหว่างกัน” โดยได้ใช้โอกาสนี้ เชิญชวนให้ผู้ซื้อ ผู้นำเข้า และนักธุรกิจในกลุ่มตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (MENA) เข้าร่วมชมงานและเจรจาธุรกิจในงาน BGJF Special Edition – On Ground to Online Exhibition” ระหว่างวันที่ 2–4 พ.ย.2563 เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำการค้าระหว่างกันในรูปแบบ New Normal ซึ่งได้รับการตอบจากเป็นอย่างดี และมั่นใจว่าจะสร้างโอกาสในการส่งออกให้กับผู้ประกอบการไทยได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ยังได้เชิญชวนให้ผู้ซื้อ ผู้นำเข้า เตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair ครั้งที่ 66 ที่เลื่อนการจัดไปเป็นวันที่ 23-27 ก.พ.2564 ด้วย สำหรับตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ถือเป็นตลาดสำคัญในการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึง 43% ของมูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ทั้งหมดไปประเทศกลุ่ม MENA นายเมฮรัน มหาลาตี ประธานกรรมการบริษัท มหาลาตี จิวเวลรี่ กล่าวว่า ปัจจุบันแม้จะมีตลาดอัญมณีและเครื่องประดับเกิดใหม่มากมาย เช่น เวียดนามและจีน แต่การทำธุรกิจกับไทยมีความง่าย และเมื่อเทียบฝีมือและคุณภาพของชิ้นงานแล้ว ไม่มีที่ไหนเอาชนะไทยได้ โดยยืนยันที่จะทำธุรกิจกับไทยต่อไป น.ส.มหา อัล ซีไบ นักออกแบบและผู้ก่อตั้งบริษัท มหา อัล ซีไบ จิวเวลรี่ กล่าวว่า ไทยสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับสำคัญของโลกได้ เพราะฝีมือการดีไซน์ งานหัตถศิลป์ และคุณภาพของสินค้าไทย เป็นที่ยอมรับระดับโลกมาเสมอ โดยขอแนะนำว่าควรมีแพลตฟอร์มให้นักออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับของไทยและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สามารถพบปะและและเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ และยังมีแผนที่จะเปิดฐานการผลิตในไทยด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/795118

ตลาดอัญมณีโม่โกะกลับมาเปิดอีกครั้งหลังปิดนาน 2 เดือน

Mogok Htar Pwe ตลาดขนาดเล็กแบบดั้งเดิมที่ค้าขายอัญมณีของชาวโม่โกะ (Mogok) ได้กลับมาเปิดตามปกติตั้งแต่เดือนมิถุนายน 63 หลังจากถูกปิดเป็นเวลาสองเดือนเนื่องจากการระบาดของ Covid-19 ซึ่งได้รับการอนุญาตของเทศบาล โดยจะมีการวางสบู่ล้างมือ อ่างสำหรับล้างมือและตรวจสอบว่าผู้สวมหน้ากากอนามัยหรือไม่ ตลาดอัญมณีถูกระงับตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 63 และเปิดทำการอีกครั้งในวันที่ 1 มิถุนายน 63 จะเปิดทำการตั้งแต่เวลา 12.30-16.00 น. ชาวบ้านได้รับผลกระทบในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาเนื่องจากทั้งเมืองต้องพึ่งพาธุรกิจนี้ ซึ่งกฎหมายการขุดอัญมณีขนาดเล็กและการยังชีพซึ่งได้รับการอนุมัติที่รัฐบาลมัณฑะเลย์ในช่วงต้นเดือนนี้ยังมีความสำคัญสำหรับผู้ค้าอัญมณีจากโม่โกะและโอกาสในการทำงานสำหรับคนในท้องถิ่นซึ่งรัฐบาลภูมิภาคจะได้มีสิทธิ์ในการจัดการเอง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mogok-traditional-gem-markets-resume-normal-operation.html

เมียนมาต้องการตลาดอัญมณีที่ดีขึ้น

ประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมากำลังพัฒนาตลาดสำหรับอัญมณีดิบ แม้เมียนมาจะเป็นผู้ผลิตอัญมณีและส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ เช่น ไทยและจีน ซึ่งอัญมณีดังกล่าวถูกนำมาใช้เพื่อผลิตอัญมณีราคาแพงโดยใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย ในการติดต่อค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านต้องเพิ่มมูลค่าและความสามารถให้กับตลาดอัญมณีให้มากขึ้น ปัจจุบันความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการสมาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวทำให้ตลาดอัญมณีในเมียนมาเติบโตช้า ในขณะที่มีตลาดขนาดเล็กสำหรับอัญมณีที่ทำผลิตจากเมียนมา สินค้าสำเร็จรูปจำนวนมากขายในราคาที่ถูกกว่ามากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เหตุผลหนึ่งก็คืออัญมณีในท้องถิ่นได้ยังขาดคุณภาพ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/better-jewellery-market-needed-myanmar-official.html

อัญมณีเมียนมาได้รับการยกเว้นภาษี

จากข้อมูลของสมาคมผู้ประกอบการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ (GJEA) ชาวต่างชาติที่ซื้อเครื่องประดับและอัญมณีที่งานแสดงสินค้าอัญมณีและอัญมณีแห่งย่างกุ้งในปี 2563 จะได้รับการยกเว้นภาษีการค้า 5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเข้าร่วมงานจะได้รับการเข้าถึงวีซ่าได้ง่ายขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ซื้อสนใจในอัญมณีที่ผลิตในเมียนมา เมื่อปีที่แล้วมีพ่อค้ากว่า 700 รายจาก 27 ประเทศเข้าเยี่ยมชมงาน ปีนี้เป็นปีที่สามที่จัดงานในย่างกุ้ง โดยจัดขึ้นที่ ล็อตเต โฮเทล ย่างกุ้ง ในวันที่ 10 ถึง 13 มกราคม 63 นี้ที่จะถึงนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/gem-buyers-exempted-tax.html

สองเดือนเมียนมาส่งออกหยกมูลค่ากว่า 420 เหรียญสหรัฐ

420 ล้านเหรียญสหรัฐได้รับจากส่งออกหยกไปต่างประเทศในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาในปีงบประมาณนี้มากกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 419 เหรียญสหรัฐ ซึ่งปีที่แล้วมีมูลค่าเพียง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การจัดแสดงอัญมณีของเมียนมาเมื่อกลางปีที่ผ่านมาจัดขึ้นที่ หอหยกมณียาดานา ในเนปิดอว์ วันที่ 16-25 ก.ย.62 ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/420-m-earned-from-jade-export-in-two-months

ส่งออกอัญมณีเครื่องประดับ แรงไม่หยุด10เดือนเพิ่ม37.59% ผลจากทองคำ-พลอยสี-ตลาดอาเซียน

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในช่วง 10 เดือนของปี2562 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่า 13,974.58 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.59 หากหักทองคำ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความผันผวนออก การส่งออกมีมูลค่า6,900.81 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.24 โดยปัจจัยที่ทำให้การส่งออกในช่วง 10 เดือนของปีนี้เพิ่มขึ้น ยังคงมาจากการส่งออกทองคำที่ยังคงขยายตัว แม้ว่าเฉพาะเดือน ต.ค.2562 จะชะลอตัวลง เป็นผลจากราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง และนักลงทุนมีการเทขายทองคำออก รวมไปถึงหันไปลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงแทน ทั้งนี้หากดูเป็นรายสินค้า พลอยสียังคงเป็นสินค้าดาวรุ่ง ทั้งพลอยก้อน พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน สำหรับตลาดส่งออกที่ขยายตัวสูง ได้แก่ อาเซียน อินเดีย กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ส่วนฮ่องกงที่ยังคงเป็นตลาดอันดับ 1 แต่มีการชะลอตัวลดลง เพราะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าและการประท้วง นักท่องเที่ยวลด ทำให้ร้านค้าปลีกหลายรายปิดตัวลง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ และขยายตัวในการส่งออกไปยังตลาดที่เติบโตได้ดีอยู่ ประกอบกับใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA และสร้างมูลค่าสินค้าด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/ news_1782723

FTA อียู-เวียดนาม จะกระเทือนส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในอียู?

สหภาพยุโรปและเวียดนาม ได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรี (EVFTA) เมื่อปลายปี 2558 ในสาระสำคัญของความตกลง EVFTA คือ การลดภาษีสินค้านำเข้ากว่าร้อยละ 99 ของสินค้านำเข้าทั้งหมด ซึ่งการลดภาษีสินค้าดังกล่าว จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเวียดนามมากขึ้น แต่หากพิจารณาเฉพาะหมวดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับนั้น ในระยะสั้นถึงกลาง ไม่ได้ส่งผลให้เวียดนามได้เปรียบไทยมากนัก เพราะแม้ว่าไทยจะต้องเสียภาษีนำเข้าสินค้าประเภทนี้ในปัจจุบัน แต่อัตราภาษีนำเข้าในอียูก็อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ คืออยู่ที่ร้อยละ 0-4 ประกอบกับไทยมีฝีมือการเจียระไนอัญมณีที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จึงทำให้ไทยยังคงเป็นที่ต้องการจของตลาดโลกรวมถึงตลาดอียูอีกด้วย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในระยะยาว EVFTA อาจกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของไทย เพราะแม้ว่ามูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของเวียดนามไปยังอียูจะยังค่อนข้างต่ำ แต่ก็มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น หากเวียดนามได้พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน และสินค้าอัญมณีเวียดนามก็อาจแย่งส่วนแบ่งการตลาดของไทยในอียูได้ในอนาคต เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการไทยควรเร่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้า รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตและการตลาดเพิ่มมากขึ้น

ที่มา : https://infocenter.git.or.th/Content_View.aspx?id=2605&Lang=TH&mail=1