อัตราการว่างงานกัมพูชาต่ำสุดในอาเซียน

อัตราการว่างงานของกัมพูชาคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.31 ในปีนี้ ซึ่งต่ำที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิคอาเซียน ตามการรายงานของศูนย์ข้อมูลอาเซียน ซึ่ง สปป.ลาว อยู่ในอันดับที่สองโดยมีอัตราการว่างงานประมาณร้อยละ 1 รองลงมาคือประเทศเมียนมาคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.79, สิงคโปร์ร้อยละ 2.2, เวียดนามร้อยละ 2.46, มาเลเซียร้อยละ 3.9, ฟิลิปปินส์ร้อยละ 5.8 เป็นต้น ด้าน Hong Vannak นักวิเคราะห์เศรษฐกิจของ Royal Academy of Cambodia กล่าาว่า กัมพูชาเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่จะสร้างงานให้กับประชาชนในด้านการผลิต การค้าภายในประเทศ และการส่งออก ควบคู่ไปกับความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในระดับทวิภาคี และพหุภาคี ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาสร้างรายได้กว่า 2.2 พันล้านดอลลาร์ จากการค้าระหว่างประเทศภายใน 5 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501116561/cambodias-unemployment-rate-lowest-in-asean/

‘เวียดนาม’ เผย Q1 ว่างงานลดลง

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าไตรมาส 1/2565 ผู้ว่างงานลดลงกว่า 130,000 คน มาอยู่ที่ 1.3 ล้านคนจากไตรมาสที่แล้ว สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานฟื้นตัวหลังโควิด-19 เป็นผลมาจากเวียดนามเปิดรับนโยบาย “อยู่ร่วมกับไวรัส” และการครอบคลุมการได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ค่อนข้างสูงของกลุ่มอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ คุณ Vu Quang Thanh รองผู้อำนวยการศูนย์จัดหางานฮานอย กล่าวว่าความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปีนี้ โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะพิเศษในด้านการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อิเล็กทรอนิกส์ การขนส่ง การค้าปลีกและค้าส่ง ตลอดจนคาดว่าจะมีตำแหน่งงานว่างเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมการบริการ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/q1-unemployment-rate-drops-gso/227805.vnp

 

สำรวจเศรษฐกิจกลุ่ม CLMV ยัง ‘ฟื้นตัว’ แตกต่างกันจากพิษโควิด-19

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ระบุว่า เศรษฐกิจกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) ส่งสัญญาณฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 ปี 2563 หลังเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน 2563 ทั้งนี้เศรษฐกิจ CLMV ยังคงฟื้นตัวช้าและไม่ทั่วถึง โดยระดับการฟื้นตัวที่แตกต่างกันมากขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการฟื้นตัวแบบช้าๆ และไม่ทั่วถึงของเศรษฐกิจโลก อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้น ระดับการระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 และประสิทธิภาพของมาตรการรองรับ รวมทั้งปัจจัยเฉพาะในรายประเทศที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ โดยเศรษฐกิจเวียดนามกลับมาฟื้นตัวได้ดี ด้วยแรงหนุนจากการส่งออกที่แข็งแกร่ง ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจลาวยังเผชิญแรงกดดันจากข้อจำกัดในการทำนโยบายการคลัง (Fiscal Space) และความเสี่ยงที่สูงขึ้นในประเด็นการผิดชำระหนี้ สำหรับเมียนมา การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 และมาตรการล็อกดาวน์ที่กลับมาเข้มงวดขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจเมียนมามีแนวโน้มฟื้นตัวต่ำกว่าคาดการณ์ในปีงบประมาณ 2020/2021

ที่มา : https://thestandard.co/the-clmv-economic-survey-continued-to-recover/

อัตราการหางานเพิ่ม20% ในช่วง COVID-19 ระบาดในเมียนมา

ข้อมูลของ My Jobs.com.mm พบว่าอัตราการหางานเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ในช่วงการระบาดของ COVD-19 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าและระบบการจัดหางานของนายจ้างก็เปลี่ยนไป ซึ่งธุรกิจบางแห่งลดเงินเดือนพนักงานและลดกำลังแรงงานตั้งแต่เดือนมีนาคม 63 จากนั้นการหางานผ่านทางออนไลน์ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ในปลายเดือนพฤษภาคม 63 ในปัจจุบันอุตสาหกรรมกรรมท่องเที่ยวหยุดชะงักทำให้พนักงานถูกลดเงินเดือน เลิกจ้างและมีบางส่วนลาออกไปสมัครงานอื่น ๆ ซึ่งการขาดแคลนแรงงานจะเกิดขึ้นหากภาคการท่องเที่ยวกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/job-hunting-rate-creeps-20pc-during-covid-19-myanmar.html

สมัชชาแห่งชาติปรับลดเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจหลังการระบาด Covid-19

รัฐบาลสปป.ลาวคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อีกครั้งหลังจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเนื่องจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 คณะรัฐมนตรีกำลังสรุปรายงานและคาดว่าจะลดเป้าหมายการเติบโตของ GDP ของประเทศจากร้อยละ 6.4 เหลือร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ตามสรุปรายงานของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติได้ส่งรายงานของเดือนเมษายนที่ระบุว่าจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 ส่งผลในทุกภาคส่วนของประเทศทั้ง แรงงานที่ตกงานจนอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 23 ภาคธุรกิจประสบปัญหาจนต้องปิดตัวรวมถึงภาคการท่องเที่ยวสูญเสียเงินมากกว่า 450,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองเดือนแรกของปี 2563 ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ GDP ของสปป.ลาวคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/06/23/national-assembly-to-address-gdp-target-amid-economic-downturn/

ผู้บริโภคสปป.ลาวได้รับผลกระทบจากราคาอาหารที่จำเป็นเพิ่มขึ้น

จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้มีกิจการปิดตัวลงมากมาย ทำให้มีแรงงานตกงานจำนวนมากจากตัวเลขอัตราการว่างงานในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 25 ซึ่งจากเดิมที่อยู่ที่ร้อยละ 3 ในปีที่แล้ว ไม่เพียงแค่ปัญหาดังกล่าวที่สปป.ลาวต้องเผชิญในปัจจุบัน  แต่ในปัจจุบันระดับราคาสินค้าที่จำเป็นปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารสดจำพวกผักเช่น หัวหอม ผักชี พริกและมะเขือ ราคาเพิ่มขึ้นไปเกือบ 2 ซึ่งเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรได้ให้ความเห็นว่า “เป็นการยากที่จะควบคุมต้นทุนผักและสินค้าจำเป็นอื่น ๆ ในตลาดเนื่องจากการปรับตัวเป็นไปตามกฎอุปสงค์และอุปทานโดยคาดว่าราคาสินค้าดังกล่าวจะปรับตัวลงมาในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพราะจะเข้าสู่ช่วงหน้าฝนซึ่งจะทำให้มีผลผลิตออกมาจำนวนมากจนส่งผลให้ระดับราคามีการปรับตัวลง” ถึงอย่างไรก็ตามรัฐบาลกำลังหารือถึงแนวทางในการช่วยเหลือผู้บริโภคหากราคามีแนวโน้มสูงขึ้นไปอีก

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/laos/prices-06162020154319.html

งาน Job Fest by 108-1009 สร้างตำแหน่งกว่า 500 อัตรา

หลังจากการระบาดของ COVID-19 เริ่มเกิดขึ้นหลายธุรกิจกลับมาดำเนินทำให้มีความต้องการแรงงานเช่นกันดังนั้นโอกาสสำหรับทั้งผู้หางานและภาคธุรกิจ จึงเกิดเป็นเป็น Job Fest by 108-1009 ที่จะเป็นตัวกลางในการนำทั้ง 2 ฝ่ายมาเจอกันในงานโดยงานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-30 มิถุนายน 2563 ในรูปแบบออนไลน์ 100% โดยผู้จัดงานมีเป้าหมายที่จะสร้างตำแหน่งงานแก่แรงงานกว่า 500 อัตราและภาคธุรกิจอีกนับร้อย งานจะมีกิจกรรมที่หลากหลายรวมถึงตลาดงานออนไลน์โดยผ่านทาง www.JobFest.la นอกจากนี้ยังมีการสัมมนาสดบน Facebook “Job Fest by 108” สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วม ปัจจุบันจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้อัตราการว่างงานของาสปป.ลาวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 มาเป็นร้อยละ 25 ซึ่งงานดังกล่าวจะช่วยบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 ด้านแรงงาน ในอีกด้านยังถือเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจากการลงทุนและการจ้างงานที่มากขึ้นอีกด้วย

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/06/09/78851/