อินเดียเริ่มนำเข้าข้าวโพดปลอดภาษีจากเมียนมา

อ้างถึง The Hindu Business Line มีการรายงานว่า อินเดียเริ่มนำเข้าข้าวโพดเมียนมาโดยไม่มีภาษี ด้าน Vangili Subramanian ประธานสมาคมการตลาดเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกไข่ของรัฐทมิฬนาฑู (PFMS) กล่าวว่า ณ ท่าเรือ VO Chidambaranar ในเมือง Thoothukudi ของรัฐทมิฬนาฑู มีเรือ 3 ลำที่บรรทุกข้าวโพดจอดเทียบท่าที่ท่าเรือของอินเดีย และเรืออีก 10 ลำถูกกำหนดให้เทียบท่าตามข้อตกลง ซึ่งตามโครงการปลอดภาษีของอินเดียสำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ข้าวโพดของเมียนมาได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร ตามการระบุของเจ้าหน้าที่ที่ไม่เปิดเผยนามจากสมาคมการค้าแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเดิมทีอินเดียมีการจัดเก็บภาษีศุลกากร 60 เปอร์เซ็นต์ ภาษีสินค้าและบริการ 5 เปอร์เซ็นต์ และภาษีประกันสังคม 10 เปอร์เซ็นต์ สำหรับข้าวโพดที่นำเข้าจากประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับข้าวโพดภายใต้โควตาอัตราภาษี (TRQ) รัฐบาลกลางของอินเดียให้ภาษี 15 เปอร์เซ็นต์ และนำเข้าข้าวโพดจำนวน 500,000 ตันภายใต้ TRQ ในปี 2020 ซึ่งกลุ่มธุรกิจฮินดูอ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่รัฐบาลว่าการนำเข้าข้าวโพดชุดแรกถูกกำหนดให้นำมาผลิตแป้ง และชุดที่สองสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงเอทานอล ซึ่งสำหรับการนำมาผลิตแป้งส่งออก คาดว่าจะมีการนำเข้าข้าวโพดแบบปลอดภาษีประมาณ 300,000 ตัน อย่างไรก็ดี นักวิจัยในนิวเดลี ชี้ให้เห็นว่าการนำเข้าข้าวโพดอาจต้องคำนึงถึงข้อจำกัดราคานำเข้าและข้อจำกัดของท่าเรือ เกษตรกรทางตะวันออกและทางใต้ของอินเดีย ซึ่งสภาพอากาศเลวร้ายเมื่อปีที่แล้ว คาดว่าจะมีผลผลิตสูงและมีรายได้ดีในปีนี้ นอกจากนี้ การนำเข้าข้าวโพด อาจทำให้เกิดผลกำไรที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาผลประโยชน์ การครอบครอง และอัตราภาษีพิเศษดังกล่าวอาจทำให้โครงสร้างตลาดเสียหาย ถึงแม้ว่า อินเดียจะมีความต้องการข้าวโพดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเฉพาะในภาคการเลี้ยงสัตว์ปีกเพียงอย่างเดียวก็มีความต้องการมากถึง 1 ล้านตัน ต่อปี และนอกจากภาคปศุสัตว์แล้ว อุตสาหกรรมการผลิตแป้งและเอทานอลยังมีความต้องการที่สำคัญอีกด้วย หลังจากที่รัฐบาลกลางอินเดียจำกัดการใช้อ้อยเพื่อการผลิตเอทานอล ความต้องการข้าวโพดก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยการใช้ข้าวโพดเพื่อผลิตเอทานอลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 3.4 ล้านตันในปีนี้ จาก 0.8 ล้านตันในปีงบประมาณที่แล้ว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/india-starts-to-import-myanmar-maize-duty-free/

กัมพูชา-อินเดีย ร่วมแสดงความยินดี สำหรับการเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างกัน

กัมพูชาและอินเดีย ร่วมแสดงความยินดีต่อกัน สำหรับการเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างกรุงพนมเปญและกรุงนิวเดลี ซึ่งจะเริ่มให้บริการในเร็วๆ นี้  โดยคาดว่าเที่ยวบินตรงดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวระหว่างทั้งสองประเทศ รวมถึงจะเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าร่วมกันในระยะถัดไป สำหรับถ้อยคำดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการพบปะระหว่าง Hun Sen ประธานวุฒิสภากัมพูชา กับ Devyani Uttam Khobragade เอกอัครราชทูตอินเดียประจำกัมพูชา ณ วังวุฒิสภา เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สำหรับการประชุมครั้งนี้ Devyani Uttam Khobragade ได้แสดงความคาดหวังต่ออนาคตของความสัมพันธ์ระหว่าง กัมพูชา-อินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคง ขณะเดียวกันทางการอินเดียมีความพร้อมและมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501491947/cambodia-india-congratulate-the-upcoming-establishment-of-direct-flights/

กัมพูชาเตรียมเปิดเที่ยวบินตรงระหว่าง กัมพูชา-อินเดีย

สายการบินแคมโบเดีย อังกอร์ แอร์ สายการบินแห่งชาติของกัมพูชา ได้ประกาศเปิดตัวบริการเที่ยวบินตรงระหว่างกัมพูชาและอินเดียเป็นครั้งแรก โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย. ซึ่งจะให้บริการ 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ได้แก่ วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ และวันอาทิตย์ เชื่อมพนมเปญและนิวเดลี ด้าน Eng Molina ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์ของสายการบินกัมพูชาอังกอร์แอร์ไลน์กล่าวเสริมว่า ราคาต่อคนสำหรับการเดินทางไปกลับจากนิวเดลีไปยังพนมเปญรวมภาษีแล้วอยู่ที่ประมาณ 23,000 รูปี ขณะที่ Koy Kuong เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำอินเดีย มองอนาคตในแง่ดีว่าจะมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาระหว่างทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของทุกปี หลังจากการเชื่อมต่อเที่ยวบินตรงและความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในอินเดีย โดยคาดว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนทำให้เกิดการเติบโตด้านการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501488700/cambodia-to-begin-direct-flights-to-india-from-june-16/

‘วินฟาสต์’ เตรียมตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอินเดีย

วินฟาสต์ (VinFast) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของเวียดนาม เตรียมดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าครบวงจรในเมืองทุติโคริน รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย โดยจากการลงทุนในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ระหว่างวินฟาสต์และรัฐทมิฬนาฑู ได้มีส่วนสำคัญในการผลักดันเส้นทางการขนส่งที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของอินเดียและภูมิภาค ทั้งนี้ พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในวันที่ 6 ม.ค. ความร่วมมือดังกล่าวมุ่งไปที่การก่อสร้างโรงงาน EV ในเฟสแรกกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของบริษัทที่จะขยายกิจการไปยังทั่วโลกและทิศทางของธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าครบวงจร จะสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นประมาณ 3,000-3,500 ตำแหน่ง ไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการในอินเดีย แต่ยังรองรับในการส่งออกไปยังเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vinfast-to-break-ground-on-integrated-electric-vehicle-facility-in-india-post1078214.vov

หอการค้าฯ สปป.ลาว มองอินเดียเป็นตลาดส่งออกสินค้าขนาดใหญ่ของลาวได้

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว ได้จัดการประชุมธุรกิจลาว-อินเดีย ในเวียงจันทน์ โดยมีผู้นำทางธุรกิจมากกว่า 170 ราย จากกว่า 100 บริษัทเข้าร่วม นายทนงสิน กัลยา รองประธานบริหารหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว กล่าวว่า “อินเดียมีศักยภาพอย่างมากในการส่งออกสินค้าจากลาวไปขาย รวมถึงการลงทุนด้านอุตสาหกรรมในประเทศลาว การประชุมครั้งนี้เป็นโอกาสในการหารือเกี่ยวกับรูปแบบการลงทุนที่สามารถส่งเสริมการค้าระหว่างลาวและอินเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ” หวังว่าผู้ประกอบธุรกิจชาวอินเดียและสภาธุรกิจอาเซียน-อินเดีย จะช่วยส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาในประเทศลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมมือกับบริษัทลาวในภาคส่วนต่างๆ เพื่อการพัฒนาและผลกำไรร่วมกัน ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของ สปป.ลาว เปิดเผยว่า มูลค่าการค้าระหว่างลาวและอินเดียมีมากกว่า 108 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566 ลดลง 15.57% เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยลาวนำเข้าสินค้าจากอินเดียมูลค่า 25.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขายสินค้ามูลค่า 82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับอินเดีย ซึ่งถือว่าไม่มากนัก แต่มีศักยภาพที่จะขยายตัวได้ ด้านการลงทุนตั้งแต่ปี 2551-2565 บริษัทอินเดียได้จดทะเบียนเงินลงทุนประมาณ 314 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้จัดตั้งธุรกิจ 311 แห่ง ใน สปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_34_India_y24.php

VinFast ของเวียดนามจะสร้างโรงงาน EV มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ในอินเดีย

“วินฟาสต์” (VinFast) ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเวียดนามมีแผนลงทุนสูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์เพื่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์รายใหญ่อันดับสามของโลก สื่ออินเดียเผย VinFast และรัฐบาลทมิฬนาฑูลงนาม MOU จัดตั้งโรงงานผลิตแห่งแรกของบริษัทในอินเดียที่ Thoothukudi ซึ่งเป็นไปตามแผนวางจำหน่ายของ VinFast ใน 50 ประเทศทั่วโลกรวมถึงสหรัฐอเมริกาและตลาดสำคัญอื่น ๆ โดยนับว่าเป็นการบุกตลาดครั้งแรกของ VinFast ในอินเดีย และเป็นส่วนหนึ่งของการขยายธุรกิจไปทั่วโลกซึ่งรวมถึงการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าไปยังสหรัฐอเมริกา และกำลังสร้างโรงงาน EV มูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์ในนอร์ธแคโรไลนา ซึ่งมีกำหนดเริ่มการผลิตในปีนี้

ที่มา : https://www.mreport.co.th/news/news/industry-movement/117-vinfast-to-build-ev-plant-in-india

กัมพูชาส่งออกไปยังอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นกว่า 112%

การส่งออกของกัมพูชาไปยังอินโดนีเซียและอินเดียเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก สำหรับในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. 2023 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 111.7 และ 55.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2022 โดยสหรัฐฯ ยังคงเป็นประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ของกัมพูชาคิดเป็นกว่าร้อยละ 39.7 ของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งคิดเป็นการปรับตัวลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับสัดส่วนการนำเข้าของสหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปี 2022 ที่สัดส่วนร้อยละ 40.6 ของการส่งออกกัมพูชาในช่วงปี 2022 รายงานกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) ขณะเดียวกันการเติบโตด้านการส่งออกไปยังอินโดนีเซียและอินเดียกลับขยายตัวอย่างมาก สะท้อนจากการส่งออกของกัมพูชาไปยังอินโดนีเซียมีมูลค่าสูงถึง 70.56 ล้านดอลลาร์ และส่งออกไปยังอินเดียมีมูลค่าสูงถึง 264.5 ล้านดอลลาร์ โดยทางฟากฝั่งรัฐบาลกัมพูชาพร้อมดันภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มการเชื่อมต่อทางอากาศโดยตรงระหว่างอินเดียและกัมพูชา ภายในปี 2024 และการขยายทางหลวงไตรภาคี อินเดีย-เมียนมา-ไทย (IMT) ไปทางตะวันออก ด้วยความช่วยเหลือด้านเงินกู้จากอินเดีย ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นการค้าระหว่างทั้งสองประเทศได้เป็นอย่างมากในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501415859/cambodias-exports-to-indonesia-jump-112-percent/

‘ราคาส่งออกข้าวเวียดนาม’ พุ่งแซงไทย

จากข้อมูลของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าราคาส่งออกข้าวของเวียดนามยังคงแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 117 เหรียญสหรัฐต่อตัน แซงหน้าข้าวไทย และจากข้อมูลเมื่อวันที่ 31 ต.ค. พบว่าราคาส่งออกข้าวเวียดนามปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-10 เหรียญสหรัฐต่อตัน โดยเฉพาะราคาข้าวหัก 5% ที่เพิ่มสูงขึ้น 10 เหรียญสหรัฐต่อตัน อยู่ที่ 653 เหรียญสหรัฐ แซงหน้าข้าวไทยที่ 92 เหรียญสหรัฐต่อตัน

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ทางการอินเดียห้ามการส่งออกข้าวเมื่อปลายเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาข้าวเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแตะระดับสูงสุดใหม่ในรอบกว่า 15 ปี

นอกจากนี้ กรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวมากกว่า 7.1 ล้านตัน มูลค่าราว 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 17% และ 35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ

ที่มา : https://en.nhandan.vn/vietnams-seaport-throughput-rebounds-in-10-months-post130835.html

‘เมียนมา’ โกยรายได้ส่งออกถั่วพัลส์ ครึ่งแรกปีนี้ ทะลุ 715 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์ รายงานว่าเมียนมาส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 860,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 715 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2566-2567 (เม.ย.-ก.ย.) โดยแบ่งออกเป็นผ่านการค้าทางทะเลและผ่านชายแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทำรายได้ราว 603.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 111.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกถั่วพัลส์ของเมียนมา ได้แก่ ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวและถั่วแระ ในขณะที่ตลาดส่งออกหลักของถั่วพัลส์ ประกอบไปด้วยอินเดีย จีน และสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอินเดียที่มีความต้องการถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระจากเมียนมาจำนวนมาก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-various-pulses-exports-bag-us715-mln-in-h1/#article-title

รัฐบาล ปัดฝุ่น FTA ไทย-อินเดีย เปิดตลาดยา เวชภัณฑ์ ยุทโธปกรณ์

นางนลินี ทวีสิน ผู้แทนการค้าไทย เปิดเผยว่า ได้หารือกับนายนาเคศ สิงห์ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินเดียประจำประเทศไทย โดยอินเดียพร้อมฟื้นฟูความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) ไทย-อินเดีย อีกครั้ง และพร้อมแก้ไขปัญหาอุปสรรคร่วมกันอย่างเข้มแข็งและรวดเร็วที่สุด ทั้งนี้ ที่ผ่านมาไทยและอินเดียได้ทำความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA โดยได้เปิดตลาดสินค้าส่วนแรก (Early Harvest Scheme) จำนวน 83 รายการ ครอบคลุมทั้งสินค้าผลไม้สด ธัญพืช อาหารปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์แร่ เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยได้ยกเลิกภาษีตั้งแต่ปี 2549 ทำให้การค้าทั้ง 2 ฝ่ายขยายตัว และไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า แต่ได้หยุดชะงักไปเมื่อปี 2559 เนื่องจากอินเดียได้หันมาผลักดันการเจรจา FTA ระหว่างอาเซียน-อินเดียแทน เพื่อขยายตลาดมายังกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ทั้งนี้ในการหารือทั้ง 2 ฝ่ายเห็นตรงกันว่า ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ หรือ BIMSTEC จะเป็นเวทีที่จะช่วยขจัดอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเป็นไปอย่างราบรื่น โดยนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ตั้งใจอย่างมากที่จะมาร่วมการประชุมระดับผู้นำ BIMSTEC ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2566 นี้ จากข้อมูลรายงานการค้าระหว่างประเทศของไทย ประจำปี 2565 ของกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า อินเดีย ขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 7 จากอันดับที่ 10 ในปีก่อน โดยขยายตัวถึง 22.5% โดย การค้าระหว่างไทยและอินเดีย มีมูลค่า 17,702.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 18.06% โดยไทยส่งออกไปอินเดีย มูลค่า 10,524.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยนำเข้าจากอินเดีย มูลค่า 7,178.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญของไทย อาทิ เม็ดพลาสติก ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญของอินเดีย อาทิ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะ เคมีภัณฑ์ และพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช

ที่มา : https://www.thansettakij.com/business/economy/577107