Credit Suisse หนี ‘Lehman Moment’ ยันเวียดนามไม่กระทบ

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่าการช่วยเหลือครั้งประวัติศาสตร์ของตลาดการเงินโลกในครั้งนี้ ธนาคาร UBS กลุ่มธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ ได้บรรลุข้อตกลงเข้าซื้อธนาคารเครดิต สวิส (Credit Suisse) มูลค่า 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อป้องกันวิกฤตธนาคารที่จะลุกลามไปยังยุโรปและทั่วโลก โดยก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เข้ามาจัดการกับปัญหาการล่มสลายของธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) และธนาคาร Signature Bank และธนาคารรายใหญ่สหรัฐฯ บางรายต้องอัดฉีดเงิน 30 พันล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือธนาคารเฟิร์สท์ รีพับลิค แบงก์ (FRB) ในขณะเดียวกัน นาย Michael Kokalari หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุน VinaCapital แสดงความคิดเห็นว่าการล่มสลายของธนาคาร SVB และ Signature Bank และวิกฤต Credit Suisse จะไม่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเวียดนาม และมองว่าจะไม่เกิดความเสี่ยงต่อความสามารถในการทำกำไร หรือความสามารถในการชำระหนี้ของธนาคารเวียดนาม

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/credit-suisse-escapes-lehman-moment-vietnam-unaffected-post1009172.vov

ทุนสำรองเงินฯ ของเวียดนาม มูลค่าเติบโตสูงขึ้นในปี 2566

ตามรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ VNDirect Securities Corporation ระบุว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้และปรับเพิ่มทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเวียดนาม ซึ่งจะช่วยลดค่าเงินดองของเวียดนาม ทั้งนี้ บริษัท VNDirect ยังคาดว่าบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลการค้า 0.4% ของ GDP ในปีนี้ จากที่คาดการณ์ว่าจะขาดดุล 1.3% ของ GDP ในปีที่แล้ว ด้วยเหตุนี้ ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเวียดนามจะฟื้นตัวสู่ระดับการนำเข้าได้มากกว่า 3 เดือน และแตะระดับ 102 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในสิ้นปีนี้ จากระดับปัจจุบันที่ 89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1451472/viet-nam-s-foreign-exchange-reserves-to-grow-this-year.html

“เฟด” ขึ้นดอกเบี้ย แบงก์ชาติเวียดนามส่งสัญญาอัตราแลกเปลี่ยน

เมื่อตั้งแต่ต้นปี 2565 ตลาดการเงินระหว่างประเทศเผชิญกับความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครน ส่งผลกระทบเชิงลบต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก ตลอดจนราคาเชื้อเพลิง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานโลก ในขณะที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เป็นผลมาจากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 28 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ คุณ Pham Chi Quang รองผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารกลางเวียดนาม กล่าวว่าธนาคารกลางจะปฏิบัติตามนโยบายที่ยืดหยุ่น เพื่อให้สอดคล้องกับตลาดโลกและลดผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนและดูแลเสียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน อีกทั้ง เมื่อต้นปี 2565 ธนาคารกลางได้ขายสกุลเงินต่างประเทศ เพื่อแทรกแซงตลาดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพิ่มอุปทาน ในขณะเดียวกันก็รักษาสภาพคล่องของเงินดองเวียดนาม ซึ่งจะช่วยให้สกุลเงินดองมีเสถียรภาพ

 

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/us-fed-raises-interest-rates-sbv-gives-message-about-exchange-rate-2032548.html

ส่องจังหวะการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินอาเซียน หลังจากสหรัฐฯ ส่งสัญญาณในการปรับลดขนาดมาตรการ QE

โดย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)

สถานการณ์การระบาดของโควิดเริ่มมีทิศทางผ่อนคลายลงโดยเฉพาะในประเทศกลุ่มพัฒนาแล้ว ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นกลับมาฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญและเติบโตเหนือระดับก่อนโควิด ตลาดแรงงานที่เริ่มกลับสู่ระดับปกติมากขึ้น ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อมีสัญญาณเร่งตัวเป็นปัจจัยที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของตลาดการเงินโลกรวมทั้งตลาดการเงินของอาเซียนอีกครั้ง หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เริ่มส่งสัญญาณพิจารณาถึงการปรับลดขนาดของมาตรการ QE ที่น่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้และนำไปสู่คาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้นนโยบายสหรัฐฯ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 3/2565

 

ในทำนองเดียวกัน ธนาคารกลางยุโรปก็ได้ส่งสัญญาณที่จะลดขนาด QE ลงในการประชุมรอบล่าสุดที่ผ่านมา ขณะที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้เป็นธนาคารกลางแรกๆ ที่เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงินเดือนสิงหาคม 2564  จากหลังเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นมาสู่ระดับ 2.6% ในเดือนสิงหาคม 2564 อันเป็นระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี ตลอดจน การปรับขึ้นของหนี้ภาคครัวเรือนที่เป็นผลจากการระบาดของโควิดที่ส่งผลให้ระดับหนี้ครัวเรือนทะลุระดับ 100% ของจีดีพีเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด ธนาคารกลางยุโรป ตลอดจน ธนาคารกลางเกาหลีใต้ อาจเป็นภาพสะท้อนถึงทิศทางของคลื่นการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเงินที่กำลังเข้าใกล้เศรษฐกิจอาเซียนมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าประเทศสิงคโปร์น่าจะเป็นผู้นำของเศรษฐกิจกลุ่มอาเซียน-6 ที่เริ่มปรับท่าทีการดำเนินโนยายการเงินให้เข้มงวดขึ้นผ่านการปรับความชันของอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจจะเกิดขึ้นช่วงต้นปี 2565 หลังจากที่เศรษฐกิจสิงคโปร์กลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและขนาดเศรษฐกิจกลับไปสูงกว่าระดับก่อนโควิดแล้วเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างอัตราเงินเฟ้อจากต่างประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วนฟิลิปปินส์คงจะเป็นประเทศที่เผชิญกับแรงกดดันในการขยับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นรายต่อไป ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ตลอดจนความเสี่ยงด้านต่างๆ ที่อาจนำไปสู่การไหลออกของเงินทุน ตามมาด้วยเศรษฐกิจเวียดนามที่คงมีปรับท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินหลังจากที่เศรษฐกิจกลับมาเติบโตตามระดับศักยภาพมาระยะหนึ่งแล้ว เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจตลอดจนหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เวียดนามอาจถูกจัดในกลุ่มประเทศที่แทรกแซงค่าเงิน

 

ขณะที่มาเลเซียและอินโดนีเซียคงเลือกจังหวะในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สอดคล้องกับเฟดเนื่องจากตลาดการเงินของอินโดนีเซียและมาเลเซียมีระดับของการพึ่งพิงเงินทุนต่างชาติที่ค่อนข้างสูงโดยเปรียบเทียบ โดยช่วงเวลาดังกล่าวเศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศกลับมาฟื้นตัวเหนือระดับก่อนโควิดไปแล้ว อย่างไรก็ดี ไทยคาดว่าจะเป็นประเทศท้ายๆ ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเนื่องจากเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากโควิดมากกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน-6 อย่างมีนัยสำคัญ จึงต้องอาศัยการดำเนินโยบายการเงินผ่อนคลายที่นานกว่าประเทศอื่นๆ

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/QE-z3269.aspx