เศรษฐกิจของรัฐมีแนวโน้มเติบโต มูลค่าสกุลเงินจะพุ่งสูงขึ้นหลังการคว่ำบาตรและความท้าทายทางการค้า

เช้าวานนี้ ได้มีการประชุมรัฐบาลสหภาพครั้งที่ 4/2567 จัดขึ้นที่สำนักงานประธาน SAC ในเมืองเนปิดอว์ โดยมีประธานสภาบริหารแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรี พลเอกอาวุโส มิน ออง หล่าย เป็นประธาน ซึ่งนายกรัฐมนตรี มิน ออง หล่ายได้เปิดเผยว่ารัฐบาลมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพด้วยหลักนิติธรรม จัดการราคาสินค้าอุปโภคบริโภคให้มีความยุติธรรม และรับประกันมูลค่าสกุลเงินที่แข็งแกร่งของประเทศ โดยเขากล่าวต่อว่า เมียนมากำลังเผชิญกับการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการปิดกั้นเส้นทางการค้าเพื่อชะลอการไหลของสินค้าโภคภัณฑ์เนื่องจากขาดความสงบสุขและเสถียรภาพที่กระทำโดยบุคคลที่ไร้ศีลธรรมบางคน อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวเพิ่มเติมในภาคส่วนอื่นๆ อีกว่า หากเกษตรกรสามารถพัฒนารูปแบบการปลูกพืชอย่างเป็นระบบ ผลผลิตทางการเกษตรจะดีขึ้นในประเทศ เพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหาร และสนับสนุนการจัดหาอาหารให้กับประชาคมระหว่างประเทศ สำหรับในภาคส่วนน้ำมันเพื่อการบริโภค นายกรัฐมนตรียังสั่งเจ้าหน้าที่ว่า ผลผลิตพืชน้ำมันต่อเอเคอร์ที่สูงจะช่วยตอบสนองความต้องการน้ำมันสำหรับบริโภค และลดการใช้จ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ ในส่วนของภาคการเพาะปลูกฝ้าย นายกรัฐมนตรีชี้ว่าการผลิตเส้นด้ายคุณภาพจากสำลีที่บ้านสามารถลดปริมาณการนำเข้าเส้นด้ายและสิ่งทอได้ นอกจากนี้ เขาเน้นย้ำถึง การเพิ่มพื้นที่ป่าในพื้นที่หมู่บ้านที่เกี่ยวข้องเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า และในภาคการศึกษา พลเอกอาวุโสกล่าวว่าโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานในบางภูมิภาคกำลังเผชิญกับความล่าช้าในการเรียนรู้ด้วยเหตุผลหลายประการ และจำเป็นต้องเตรียมการสำหรับการเปิดโรงเรียนอีกครั้งและการกลับมาเรียนอีกครั้ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/prospects-brighten-state-economy-set-to-thrive-currency-value-to-surge-in-post-sanctions-and-trade-challenges/

รัฐมนตรีสหภาพอุตสาหกรรมหารือเรื่องการยกระดับพืชน้ำมันเพื่อการบริโภค การผลิตฝ้าย และผลผลิตของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า

วานนี้ ดร. ชาร์ลี ธาน รัฐมนตรีสหภาพอุตสาหกรรมกล่าวว่า สภาบริหารแห่งรัฐได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจจัดการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาโรงงานน้ำมันขึ้น ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยมีหน้าที่จัดหาเงินกู้เพื่อยกระดับและขยายโรงงานน้ำมันเพื่อเพิ่มการผลิตน้ำมันบริโภคและลดการพึ่งพาการนำเข้า ทั้งนี้ การรีไซเคิลน้ำมันบริโภคบางชนิด ยกเว้นน้ำมันสกัดเย็นบริสุทธิ์และน้ำมันสกัดเย็น ผู้ประกอบการอาจสามารถเพิ่มการผลิตน้ำมันได้ และยังเน้นย้ำว่ากระบวนการผลิตจะต้องเป็นไปตาม GMP และได้รับการอนุมัติจาก อย. นอกจากนี้ ตามสถิติ สวนฝ้ายที่ตอบโจทย์การบริโภคในท้องถิ่น มีกระทรวงดำเนินการโรงงานฝ้าย 16 แห่ง และภาคเอกชนมี 191 แห่ง สำหรับโรงงานฝ้ายและตัดเย็บเสื้อผ้าโดยกระทรวงมี 14 แห่ง ซึ่ง 2 แห่งในนั้นให้เช่าโดยนักธุรกิจ ในขณะที่ภาคเอกชนดำเนินการโรงงาน 9 แห่ง รวมถึง รัฐมนตรีสหภาพฯ ยังได้สั่งการซ่อมแซมโรงปั่นฝ้ายเพื่อเพิ่มการผลิต การจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูปเพื่อเพิ่มรายได้ การสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้ประกอบการ MSME เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของโรงงาน การจัดการการเพิ่มการผลิต การซ่อมแซมเครื่องจักรอัตโนมัติ การจัดการให้เต็มกำลังการผลิต เครื่องจักร โกดังวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป และการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับกระบวนการผลิตฝ้าย และสนับสนุนให้เปิดหลักสูตรฝึกอบรมการซ่อมเครื่องจักรในโรงงานอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/industry-union-minister-talks-to-elevate-edible-oil-crops-cotton-production-productivity-of-garment-factories/

สปป.ลาว – เมียนมา ประชุมร่วมทบทวนแนวทางความร่วมมือด้านชายแดน

สปป.ลาว และเมียนมา ร่วมประชุมเพื่อทบทวนแนวทางการตรวจสอบ การซ่อมแซม และการสร้างเครื่องหมายชายแดนระหว่าง สปป.ลาว และเมียนมา โดยจัดขึ้นที่แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายประเมินความคืบหน้าของงานและรับทราบความสำเร็จของการตรวจสอบแนวเขตแดนระยะทาง 236 กม. ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ได้ตรวจสอบและบำรุงรักษาบริเวณชายแดน นอกจากนี้ คณะทำงานของทั้งสองประเทศได้ใช้อุปกรณ์ GPSรวบรวมข้อมูล 172 จุดตามแนวชายแดนแม่น้ำโขง ให้บริการวิจัยและปรับปรุงระบบแผนที่ชายแดนของทั้งสองประเทศจากระบบเก่าตามข้อตกลงเมื่อปี 2537 ทำให้ระบบใหม่และทันสมัยยิ่งขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/laos-myanmar-review-border-cooperation/284818.vnp

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เร่งการส่งออก

ในขณะที่รัฐบาลส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศด้วยการเพิ่มการส่งออก กระทรวงพาณิชย์และสมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมาจึงร่วมมือกันเพื่อปรับปรุงภาคการส่งออก โดยเมื่อวันที่ 20 เมษายน มีการส่งออกข้าวโพดจำนวน 12,700 ตันผ่านทาง The Myanmar Terminal – TMT (เดิมชื่อ Bo Aung Kyaw Jetty) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ ในวันที่ 21 เมษายน ข้าวโพดจำนวน 6,600 ตันจะถูกส่งออกจากท่าเรือ Ahlon International Port Terminal 3 ในวันที่ 22 เมษายน ข้าวโพด 2,700 ตันจากท่าเรือ Min Htet Min และอีก 7,150 ตันจากท่าเรือเมียนมา ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/commerce-ministry-boosts-export/#article-title

การค้าชายแดนเมียนมา-จีนพุ่งขึ้นเป็น 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยว่า มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนมีมูลค่าทะลุ 3.279 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐที่บันทึกไว้ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งที่ 178.25 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2565-2566 อย่างไรก็ดี เมียนมาดำเนินการค้าขายข้ามพรมแดนกับจีนเพื่อนบ้านผ่านทาง มูเซ, แลวแจ, ชีงชเวห่อ, กัมปติ และ เชียงตุง โดยด่านมูเซบันทึกตัวเลขการค้าสูงสุดที่ 2.055 พันล้านดอลลาร์ รองลงมาคือด่านชีงชเวห่อมูลค่าการค้าอยู่ที่กว่า 703 ล้านดอลลาร์, ด่านกัมปติ มูลค่าการค้ากว่า 208 ล้านดอลลาร์, ด่านแลวแจมูลค่าการค้าอยู่ที่ 158.568 ล้านดอลลาร์ และด่านเชียงตุง 154.239 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-border-trade-surges-to-us3-2b-in-fy2023-2024/#article-title

เศรษฐกิจ CLMV เร่งตัวปี 2567 แต่ยังโตช้ากว่าช่วงก่อนโควิด-19

โดย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)

เศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นในปี 2024

SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นในปี 2024 ตามการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ซึ่งจะสนับสนุนให้อุปสงค์ในประเทศปรับดีขึ้นผ่านการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ในระยะปานกลางเศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตของธุรกิจข้ามชาติออกไปลงทุนในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคตามยุทธศาสตร์ “China +1” เพื่อลดความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในระยะต่อไป ในปีนี้ SCB EIC ประเมินว่า เศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวต่อเนื่อง 6.0% (จาก 5.6% ในปี 2023) สปป.ลาว 4.7% (จาก 4.5%) เมียนมา 3.0% (จาก 2.5%) และเวียดนาม 6.3% (จาก 5.1%)

อัตราการขยายตัวของแต่ละประเทศใน CLMV ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อน COVID-19 จากปัจจัยกดดันต่าง ๆ  อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเศรษฐกิจภูมิภาค CLMV มีความสัมพันธ์สูงทั้งด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงการท่องเที่ยวและภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะเดียวกัน บางประเทศ เช่น กัมพูชาและเวียดนามมีอัตราส่วนหนี้เสีย (Non-performing loans ratio) สูงขึ้นหลังมาตรการช่วยเหลือในช่วง COVID-19 สิ้นสุดลง ประกอบกับภาวะการเงินในประเทศที่ตึงตัวขึ้น อาจกระทบการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและการเข้าถึงสภาพคล่องของธุรกิจได้ นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยที่ต้องจับตาต่อเนื่อง ในระยะสั้นการค้าโลกอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาการขนส่งบริเวณทะเลแดงและคลองปานามาที่แห้งแล้งและอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งสินค้าส่งออกของภูมิภาค CLMV ได้ ในระยะยาวเศรษฐกิจ CLMV จะต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับโลกที่มีแนวโน้มจะกีดกันการค้าและตั้งกำแพงภาษีมากขึ้น

ความเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV แตกต่างกัน

ความเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV แตกต่างกัน ขึ้นกับปัจจัยเฉพาะประเทศ โดยเฉพาะในสปป.ลาวที่เผชิญความเสี่ยงจากระดับหนี้สาธารณะซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงเทียบกับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ ท่ามกลางภาวะการเงินโลกตึงตัว ทำให้เงินกีบอ่อนค่ารวดเร็ว ซ้ำเติมภาระการชำระหนี้ต่างประเทศ และทำให้เงินเฟ้อในประเทศพุ่งสูงขึ้นมากและปรับตัวลดลงได้ช้าในปีนี้ ปัจจัยเหล่านี้กดดันศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะปานกลาง โดยสปป.ลาวกำลังดำเนินการรัดเข็มขัดทางการคลัง ควบคู่กับการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้และการหาแหล่งระดมทุนใหม่เพื่อรักษาเสถียรภาพการคลังไว้ ขณะที่เมียนมาเป็นอีกประเทศที่กำลังเผชิญปัจจัยกดดันเชิงโครงสร้าง ซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองตั้งแต่ปี 2021 และทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายปี 2023 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศซบเซา ขณะที่มาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกมีส่วนทำให้อุปสงค์ต่างประเทศอ่อนแอลงมาก ประกอบกับปัญหาอื่น ๆ เช่น การขาดแคลนเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เงินจัตอ่อนค่าและเงินเฟ้อเร่งตัว ตลอดจนปัญหาระบบขนส่งและโครงข่ายไฟฟ้าหยุดชะงัก การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ยังดูเป็นไปได้ยากในระยะสั้น เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยทางการเมืองที่มีเสถียรภาพ

ค่าเงินของกลุ่มประเทศ CLMV จะเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าลดลง

ธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลักมีแนวโน้มเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่กลางปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลกลับเข้าประเทศกำลังพัฒนา รวมถึง CLMV มากขึ้น และจะกระตุ้นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศตามต้นทุนการระดมทุนที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเฉพาะประเทศยังคงเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อแนวโน้มค่าเงิน ส่งผลให้ค่าเงินบางประเทศอาจยังอ่อนค่าต่อ

การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับ CLMV

การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับ CLMV มีแนวโน้มดีขึ้นในปีนี้ หลังจากค่อนข้างซบเซาในปี 2023 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการค้าโลกที่ปรับดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคการผลิต และเศรษฐกิจประเทศในภูมิภาคที่ฟื้นตัว นอกจากนี้ ภาวะการเงินโลกและไทยที่คาดว่าจะผ่อนคลายลงบ้างในปีนี้จะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้บริษัทไทยลงทุนใน CLMV ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามเสถียรภาพเศรษฐกิจของ CLMV บางประเทศที่ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนมากนัก ทั้งนี้ในระยะยาว SCB EIC ยังมีมุมมองบวกต่อเศรษฐกิจ CLMV และคาดว่าจะเป็นหนึ่งในภูมิภาคของโลกที่เติบโตสูง และยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างชาติ จากปัจจัยประชากรที่มีอายุเฉลี่ยน้อย การมีข้อตกลงสนธิสัญญาการค้าเสรีต่าง ๆ และแหล่งที่ตั้งที่มีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ ติดตลาดใหญ่ เช่น จีนและอินเดีย

ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/product/clmv-outlook-mar24?utm_source=Twitter&utm_medium=Link&utm_campaign=CLMV_OUTLOOK_MAR_2024