เมียนมาตั้งทีมงานเยียวยาเศรษฐกิจสำหรับ Covid-19

เมียนมาได้ตั้งคณะทำงานเพื่อร่างแผนการแก้ไขผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจาก Covid-19 โดยร่วมมือระหว่างกระทรวงและองค์กรของรัฐบาลเมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการมีหน้าที่หกประการ มีเป้าหมายเพื่อใช้มาตรการฉุกเฉินและร่างแผนระยะสั้นและระยะยาว เพื่อลดปัญหาทั้งจากการค้าและการท่องเที่ยว สร้างงานใหม่สำหรับคนที่ว่างงานทำและฝึกอบรมสายอาชีพให้ หาวิธีการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอื่น ๆ แทนที่จะพึ่งพาจีน เนื่องจากเหตุการณ์ที่คล้ายกัน เช่น Covid-19 ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ในระยะยาว บริษัทจำเป็นต้องนำระบบซัพพลายเชนมาใช้โดยการจัดตั้งอุตสาหกรรมการทอผ้า การถัก การย้อม และการตัดเย็บ คณะกรรมการจะยื่นข้อเสนอต่อสำนักงานประธานาธิบดีเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีและการลดหย่อนภาษีหาก Covid-19 มีผลกระทบต่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมในท้องถิ่น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 รัฐบาลได้สั่งห้ามให้มีการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคมถึง 30 เมษายน 2563

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-president-office-forms-economic-remedy-committee-for-covid-19

รัฐบาลกัมพูชาจัดตั้งกองทุนมูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

รัฐบาลกัมพูชาประกาศเตรียมกองทุนสำรองฉุกเฉิน 800-2,000 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อช่วยเหลือการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของกัมพูชาหลังจากการระบาดของ COVID-19 โดยในสถานการณ์แรกได้รับงบประมาณอยู่ที่ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ หากการระบาดดำเนินการต่อเป็นระยะเวลาหกเดือน สำหรับสถานการณ์ที่สองหากการระบาดยังคงอยู่นานกว่าหนึ่งปีจะใช้เงินจากกองทุนช่วยเหลือ 2,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งรัฐบาลยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องในการเปลี่ยนแปลงการชะลอตัวที่เกิดขึ้นในภาคส่วนต่างๆของประเทศอันเป็นผลมาจากไวรัส โดยกองทุนช่วยเหลือจะได้รับการอำนวยความสะดวกจาก รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และ IMF ประกาศว่าพวกเขาพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ซึ่ง ADB กล่าวว่า COVID-19 จะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจกับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย โดยในกรณีที่เลวร้ายที่สุดสำหรับกัมพูชา ABD ประมาณการว่ารายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงถึง 856.5 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3.5%  ของ GDP

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50700267/government-pledges-2billion-fund-for-economy

ลุ้นรัฐกระทุ้งงบ-ออกมาตรการฟื้นเศรษฐกิจ

วิจัยกรุงศรีฯ ลุ้นรัฐกระทุ้งงบ-ออกมาตรการฟื้นเศรษฐกิจ คาดไวรัสโควิดจบมี.ค.นี้หนุนนักท่องเที่ยวดีครึ่งปีหลัง ได้ประเมินเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกจะขยายตัวติดลบ 0.7% แต่เชื่อว่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในครึ่งปีหลัง โดยคาดหวังว่าจะมีนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จะลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในเดือนมี.ค.นี้เหลือ 0.75% จากปัจจุบัน 1% และรอภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มหลังจากงบประมาณ 63 มีผลบังคับใช้คาดกลางเดือนมี.ค.นี้ ทั้งนี้จากที่ประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัว 1.5% เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ค่อนข้างมากจนอาจกระทบต่อเนื่องถึงภาคการผลิต การจ้างงาน และการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ ขณะเดียวกันงบประมาณ 63 ที่ล่าช้ายังส่งผลให้งบเบิกจ่ายสูญเสียไปแล้ว 1.5 แสนล้านบาท คาดหลังจากเดือนมี.ค.นี้เมื่องบประมาณ 63 มีผลบังคับใช้ โดยรัฐบาลจะต้องเร่งเบิกจ่ายให้เร็วที่สุดอาจมีเหลือ 2.8 แสนล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมางบประมาณล่าช้ากระทบต่องบลงทุนภาครัฐและลงทุนเอกชนเพราะโครงการลงทุนภาครัฐไม่ชัดเจน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจควรเริ่มจากช่วยกระตุ้นจับจ่ายใช้สอยในประเทศ เช่นที่ผ่านมาแจกเงินเช็คช่วยชาติ ยังทำให้ห้างร้านได้ลดราคา ให้คนที่ไม่ได้เช็คช่วยชาติได้เข้าถึงสินค้าที่ลดราคานั้นด้วย ยิ่งทำให้เกิดกำลังซื้อเพิ่มได้อีก อย่างไรก็ตามไวรัสโควิด-19 คาดจะไม่ยืดเยื้อ เชื่อว่าจะกระทบเศรษฐกิจสูงสุดเดือนก.พ.-มี.ค.นี้ และจะค่อย ๆ ลดลง หลังเดือนพ.ค.จากอัตราการแพร่กระจายจะลดลง โดยครึ่งปีหลังเมื่อไวรัสฯ กลับมาดีขึ้น จะทำให้การท่องเที่ยวจะเริ่มกลับมาดีขึ้นตามไปด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/759323

คาดว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะเติบโตที่ร้อยละ 6.3 ในปี 2020

ศูนย์วิจัยนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายใต้สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ คาดการณ์เศรษฐกิจสปป.ลาวจะขยายตัวร้อยละ6.3-6.4 ในปีนี้โดยปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญหลายประการ ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Xayaboury ซึ่งเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม การพัฒนาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและเกษตรกรรมรวมถึงภาคการท่องเที่ยวมีอัตราการเติบโต 14% ในปี 2562 โดยมีผู้มาเที่ยวลาวประมาณ 4.7 ล้านคน โดยปี 63 ต้องดูสถานการณ์ของไวรัสโคโรน่าว่ามีท่าทีจะส่งผลต่อการท่องเที่ยวสปป.ลาวหรือไม่   

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Macroeconomic.php

IMF ชี้ แม้เมียนมาแม้จะเติบโตแต่ยังเต็มไปด้วยความเสี่ยง

เศรษฐกิจเมียนมามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่สะดุดด้วยความไม่แน่นอนก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้าและความต้องการภาคเอกชนที่ลดลงตามรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นักเศรษฐศาสตร์อ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤติยะไข่และจุดอ่อนในภาคธนาคาร ความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้น ความผันผวนของตลาดโลกราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น และการรั่วไหลจากการชะลอตัวของจีนยังคงมีความเสี่ยงจากต่างประเทศ IMF คาดจะเติบโต 6.5% ในปี 61-62 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 6.4% ในปี 60-61 จากการส่งออกอย่างต่อเนื่อง เช่น เสื้อผ้าก๊าซ ด้าน FDI น้อยกว่าปีที่ผ่านมาเพราะโครงการต่างๆ ล้วนเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนเงินเฟ้อจะลดลงสู่ระดับ 6-7% ในระยะปานกลางเนื่องจากราคาอาหาร ค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น สินเชื่อที่ชะลอตัว และการลงทุนที่ลดลง ไอเอ็มเอฟเรียกร้องให้การปรับโครงสร้างธนาคารควรปฏิบัติตามกฎระเบียบให้รอบคอบ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดในที่สุด และควรใช้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนหรือ PPP เพื่อปรับปรุงกรอบการเลือกโครงการและสร้างความมั่นใจในความคุ้มค่าผ่านการเสนอราคาที่แข่งขันได้ซึ่งเป็นไปตามกฎระเบียบของโครงการธนาคารปี 61

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/imf-sees-stable-growth-risks-lie-ahead-myanmar.html

บจ.อ่วมผลงาน’ทรุด’พิษศก.-เงินบาทแข็ง

ตลท. เผยบริษัทจดทะเบียนรับผลกระทบรอบด้าน เศรษฐกิจชะลอ กระทบค่าเงิน ราคาปิโตรฯ การแข่งขันรุนแรงฉุดยอดขายทรุด หนี้พุ่ง กำไรงวด 9 เดือนลดลง 15% เฉพาะไตรมาส 2 ร่วงไปกว่า 18% โดยนายแมนพงศ์ เสนาณรงค์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงาน ผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลักทรัพย์จดทะเบียนจำนวน 693 หลักทรัพย์ หรือคิดเป็น 97.1% จากทั้งหมด 714 หลักทรัพย์ นำส่งผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปี 2562  มียอดขายรวม 8,623,725 ล้านบาท ลดลง 1.3% มีกำไรจากการดำเนินงานหลัก 660,734 ล้านบาท ลดลง 24.6% มีกำไรสุทธิ 645,647 ล้านบาท ลดลง 15.4% จาก ช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งหมวดธุรกิจที่มีผลการดำเนินงานเติบโตได้ดี คือ หมวดเงินทุนและหลักทรัพย์  จากการขยายสินเชื่อส่วนบุคคล, หมวดอาหารและเครื่องดื่มจากกลุ่ม อาหารสด เครื่องดื่ม และการขยายตลาดไปกลุ่มประเทศ CLMV รวมถึง หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งยอดขายและกำไรสุทธิปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน

ที่มา : นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 พ.ย. 2562

การกระตุ้นเศรษฐกิจของเมียนมา

การใช้นโยบายลดความร้อนแรงในตลาดอสังหารัมทรัพย์ ในช่วงปี 58 เพราะในช่วงดังกล่าวการเก็งกำไรทำให้ราคาของอสังหาริมทรัพย์ ราคากระโดดไปสูงมาก ทำให้การลงทุนในภาคการผลิตก็หยุดชงักลง ดังนั้นจึงออกมาตรการกฎหมายเงินขาว-เงินดำ คือให้จ่ายภาษีซื้อ-ขายอสังหาริทรัพย์ด้วยอัตรา 30% ทำให้เกิดการชะงักทันที เกิดปัญหาในตลาดอสังหาฯ ในย่างกุ้งเพราะเมื่อไม่มีการซื้อขาย ทำให้กระแสเงิน M1 M2 M3 ขาดไปจากตลาดจนเกิดปัญหาเงินฝืด การลงทุนภาคการผลิตลดลง จับจ่ายใช้สอยของประชาชนฝืดเคืองลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีกฎหมายใหม่ออกมา โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 62 นี้ คือลดภาษีซื้อ-ขายสินค้าทุกชนิดรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ ในอัตราก้าวหน้าทั้งหมด กล่าวคือ การซื้อขาย ตั้งแต่ 1 ล้านถึง 100 ล้าน ให้เสียภาษี 3% 101 ล้านถึง 300 ล้าน ให้เสียภาษี 5% 301 ล้านถึง 1,000 ล้าน ให้เสียภาษี 10% 1001 ล้านถึง 3,000 ล้าน ให้เสียภาษี 15% 3001 ล้านขึ้นไป ให้เสียภาษี 30% สิ่งที่ตามมา คือ ภาษีน้อยลงไปทันที ราคาสินค้าถูกลง สิ่งที่จะตามมาคือกลับเข้าสู่ภาคเงินออม Saving Money เงินเหล่านี้มีบางส่วนจะเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปของการบริโภค เมียนมาเพียงลดอัตราดอกเบี้ยลง คนก็จะไม่นิยมฝากเงิน เพราะได้ไม่มากเท่าการนำเงินไปลงทุนในภาคการผลิตซึ่งจะส่งผลไปยังภาคการผลิตทันที ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้ว รัฐบาลมีอิสระในการจัดการแก้ปัญหา เพียงแต่ปัญหาของเมียนมาเริ่มมีมานานเกือบ 70 ปีมาแล้ว

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/603433

อุตสาหกรรมนำหรือสกัดทรัพยากรธรรมชาติจะเป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ของกัมพูชา

รัฐบาลกล่าวว่าอุตสาหกรรมสกัดเป็นเส้นทางหลักทางเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกัมพูชาส่วนใหญ่ได้แรงหนุนจากการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยว เสื้อผ้าและภาคการเกษตร ซึ่งรัฐบาลกำลังมองหาความหลากหลายในอุตสาหกรรม โดยภาคการผลิตจะกลายเป็นแรงหลักในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญ กล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน ในระหว่างการประชุมฟอรั่มอุตสาหกรรมสกัดครั้งที่ 8 ณ กรุงพนมเปญ ซึ่งอุตสาหกรรมนี้จะเป็นแรงหลังของเศรษฐกิจกัมพูชา ที่จะสร้างแหล่งรายได้ใหม่และสร้างงานให้กับชุมชนท้องถิ่น ซึ่งบริษัท KrisEnergy จากสิงคโปร์คาดว่าจะเริ่มการสกัดน้ำมันได้ในปีหน้า โดยรายได้จากน้ำมันที่สกัดในกัมพูชาจะถูกนำไปใช้ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงด้านการศึกษา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่ารายได้จากภาคเหมืองแร่และน้ำมันสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนคือรายได้จากภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี โดยรายได้ที่มิใช่ภาษีหมายถึงค่าธรรมเนียมใบอนุญาตสัญญาเช่าที่ดินและค่าสิทธิที่จ่ายให้กับรัฐบาล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50663802/extractive-industry-to-become-new-economic-driver-ministry/

รัฐมั่นใจ อีอีซี ดันไทยผงาดเอเชีย

สุริยะ เร่งเดินหน้า อีอีซี ดึงทุกภาคส่วนร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาเศรษฐกิจ ให้ประเทศพ้นปัจจัยลบเศรษฐกิจโลกผันผวนย้ำ อีอีซี คือความหวังดันไทยผงาดภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ อุตตม กล่าวถึงนักลงทุนทั้งไทย-ต่างประเทศต่างสนใจลงทุนภายในประเทศ มั่นใจเป็นโอกาสและจุดเปลี่ยนประเทศ ด้าน ณัฏฐพล เร่งแผนผลิตบุคลากรป้อน อีอีซี โดยนายสุริยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนา “EEC NEXT: ทุนไทย-เทศ ปักหมุด EEC” หัวข้อ “ดึงอุตสาหกรรม เป้าหมายลงพื้นที่ EEC” ถึงสถานการณ์การแข่งขันทางการค้าและระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมาที่สงครามการค้าระหว่างประเทศ ยักษ์ใหญ่อย่างจีนและสหรัฐ ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การส่งออกในภาพรวมของโลกชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่มั่นใจว่า อีอีซี จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจไทยได้ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีความได้เปรียบในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ ที่เป็นประตูสู่เชื่อมต่อไปยังประเทศเศรษฐกิจ

ที่มา : นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 พ.ย. 2562

นายกรัฐมนตรีเล็งเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ในสปป.ลาว

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาว แสดงความมั่นใจว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นในปีหน้าเนื่องจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งจะเริ่มเปิดตัว เช่น รถไฟสปป.ลาว – จีนซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 64 และทางด่วนทางรถไฟและสะพานที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการเปลี่ยนแปลงของสปป.ลาวจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นเส้นทางเชื่อมโยงภูมิภาคจะนำไปสู่การเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะในภาคธุรกิจการเกษตรและการท่องเที่ยว ตามรายงานของรัฐบาล เศรษฐกิจจะเติบโตเพียง 6.4% ในปี 62 ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขที่รับรองโดยสมัชชา 0.3% เพื่อให้มั่นใจว่าในปี 63 เศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง รัฐบาลได้ให้คำมั่นที่จะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการเติบโตและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีจะพบกันในวันที่ 18 พ.ย.เพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการบริการการลงทุนแบบครบวงจร ปรับปรุงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสร้างเงื่อนไขให้กับธุรกิจเพื่อให้บริการด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลายและดึงดูดนักท่องเที่ยวระดับสูงให้มากขึ้น จะเร่งปรับปรุงระบบการจัดเก็บรายได้ให้มีความทันสมัย นอกจากนี้รัฐบาลจะรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนและอัดฉีดเงินเข้าสู่ธุรกิจ SMEs เพื่อกระตุ้นการเติบโตและการสร้างงาน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_PM_sees_251.php