ผู้ค้าผลไม้เมียนมาหันมาจับตาตลาดในประเทศ ท่ามกลางการเสียหายของสินค้าที่เกิดจากการส่งออก

ผู้ค้าผลไม้เมียนมา กล่าวถึง อุปสรรคในการคมนาคมในช่องทางเชียงตุง ช่องมองลา และพะโม ที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดขั้วในฝั่งจีน การถูกระงับที่ชายแดนเพราะนโยบายฝั่งจีนที่มีความเค้มงวดมากขึ้น ความเสียหายของสินค้าจากการคมนาคมบนถนนที่ขรุขระส่งผลต่อคุณภาพของแตงโมที่ส่งไปยังประเทศจีน ส่งผลให้ราคาสินค้าตกต่ำลง ทำให้ผู้ค้าจึงเริ่มจับตาดูตลาดภายในประเทศ เนื่องด้วย ราคาส่งออกในปัจจุบันไม่ครอบคลุมค่าขนส่งและต้นทุนทั่วไปอื่นๆ ค่าอากรที่ด่านชายแดนอยู่ที่ 35,000-40,000 หยวนต่อรถบรรทุก ทั้งนี้ รถบรรทุกแตงโม 100 คันมุ่งหน้าสู่จีน มีเพียง 10 คันเท่านั้นที่สามารถครอบคลุมค่าขนส่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าผลไม้เน้นย้ำว่าพวกเขากำลังเผชิญกับความท้าทายที่ยืดเยื้อท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนโยบายในจีน สืบเนื่องจากเมื่อปี 2021 ข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิด-19 ขัดขวางการส่งออกแตงโมและแตงไทยของเมียนมาไปยังจีน ระเบียบศุลกากรจีนเพิ่มความล่าช้า รถบรรทุกล่าช้าเป็นเวลานานส่งผลเสียต่อคุณภาพแตงโม และมีเพียง 1 ใน 5 รถบรรทุกที่มุ่งหน้าไปยังจีนเท่านั้นที่ยังคงไม่ได้รับความเสียหาย ทำให้ผู้ค้าจำเป็นต้องพิจารณาเวลาการส่งมอบ ราคา และความสามารถในการทำกำไร เนื่องจากแตงโมเป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่ายในขณะที่พยายามสำรวจตลาดใหม่นอกเหนือจากประเทศจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/traders-eye-domestic-market-amid-export-loss/

ราคาแตงโมเมียนมาในตลาดจีน ร่วงหนัก!

ก่อนวันที่ 8 ม.ค.65 ราคาแตงโมคุณภาพคุณภาพดี อยู่ที่ 7 หยวนต่อกิโลกรัม แต่ปัจจุบันลดฮวบต่ำกว่า 5 หยวนต่อกิโลกรัม  ศูนย์การค้าผลไม้ชายแดนมูเซได้ขอให้เกษตรกรรอการจัดส่งในวันที่ 10 ม.ค.65 อย่างไรก็ตาม ราคายังคงทรงตัวที่ 5 ถึง 7 หยวนต่อกิโลกรัม ความล่าช้าของรถบรรทุกทำให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพของแตงโม ปัจจุบันใช้เวลาประมาณ 20 วัน จากสวนสู่ตลาดจี นอกจากมาตรการจัดการการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 แล้ว กฎระเบียบศุลกากรของจีนยังส่งผลให้เกิดความล่าช้าและด่านชายแดนจีนจะเก็บภาษีนำเข้าที่สูงขึ้น ซึ่งการค้าจะกลับสู่ภาวะปกติหลังจากที่จีนผ่อนคลายกฎเกณฑ์และมาตรการจำกัดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้จีนจำเป็นต้องปิดด่านชายแดนมูแซเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาด นอกจากนี้ ด่านชายแดน Kyinsankyawt ระหว่างเมียนมาและจีน ได้ปิดตัวลงไปแล้วตั้งแต่ 8 ก.ค.64 และได้เปิดทำการค้าขายชั่วคราวอีกครั้งในวันที่ 26 พ.ย.64 ที่ผ่านมา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/watermelon-prices-fall-again-in-chinese-market/

แตงโมเขตมะกเว ยอดขาย พุ่ง เกษตรกรเฮ รายได้งาม

ผลผลิตแตงโมเมือง Gangaw Township ในเขตมะกเวเริ่มจำหน่ายในท้องถิ่นและพื้นที่แถบชายแดน เมียนมา-อินเดีย และเมืองกะเลย์ มะละกอในเขตชินวินตอนบน ซึ่งสร้างรายได้อย่างงามให้กับเกษตรกรในท้องถิ่นจากความต้องการที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยราคาอยู่ที่ 700-1,000 จัตต่อลูก ขึ้นอยู่กับขนาด อย่างไรก็ตาม ราคาลูกเล็กราคาอาจถึง 1,200 จัตต่อลูก และ 2,500 จัตสำหรับลูกโตในตลาดกะเล่, ตามู และเมาลาย ในตลาดชายแดนเมียนมา-อินเดีย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-in-magway-sells-well/#article-title

ราคาแตงโมลดฮวบลงเกือบครึ่ง! เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ผู้ส่งออกแตงด่านมูเซ เผย ราคาแตงโมลดลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากจีนปิดชายแดนในสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคมจากการระบาดของโควิด-19 ของเมียนมา ส่งผลให้ราคาตกท่ามกลางผลผลิตที่ออกมาล้นตลาด โดยรถบรรทุกแตงโมบรรทุกได้ 36,000 หยวนต่อครั้งเมื่อปีที่แล้ว แต่ปีนี้ราคาลดลงอย่างมากถึง 13,000 หยวน และยังไม่รวมอัตราค่าระวางรถบรรทุกที่ต้องจ่าย ส่งผลให้ผลไม้อย่างแตงโมและมะม่วงพึ่งพิงตลาดต่างประเทศเสียหายอย่างหนักหากจีนขยายเวลาปิดด่านออกไปเป็นเวลานาน ซึ่งภาครัฐแนะนำให้ลดพื้นที่การเพาะปลูกลง 50% เพื่อรักษาสมดุลของตลาดและรักษาคุณภาพของแตงโมไว้ ขณะที่ในปีนี้รถบรรทุกแตงโมประมาณ 30,000 คัน และเมล่อน 12,000 คัน ถูกส่งไปยังชายแดนจีนแต่เน่าเสียหายเพราะติดอยู่ด่านชายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ในทุกๆ ปี เมียนมาส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันต่อปีและเมล่อนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-price-decreases-by-half-as-against-last-year/#article-title

แตงโมล้นตลาด แนะเกตรกรแก้ปัญหาลดพื้นที่เพาะปลูกลง 50%

ผลผลิตแตงโมที่ออกมาล้นตลาด เกตรกรได้รับการแนะนำให้ลดพื้นที่การเพาะปลูกลง 50% สำหรับฤดูการที่จะมาถึง การส่งออกแตงโมลดลงจากปีที่แล้วอย่างชัดเจน เห็นได้จากรถบรรทุกแตงโมประมาณ 30,000 คัน และแตงเมล่อน 12,000 คัน ถูกส่งไปยังจีนแตส่งผลกระทบเสียหายแตงโมถูกทิ้งหรือเน่าเสีย เนื่องจากผลผลิตล้นตลาด การขนส่งล่าช้า และการเข้มงวดของมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 บริเวณชายแดนสำคัญของเมียนมา-จีน เช่น ชายแดนรุ่ยลี่ ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อทำให้ต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ และเริ่มตรวจหาเชื้อทันที ส่งผลให้การซื้อขายเกิดความล่าช้า โดยต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือนกว่ารถบรรทุกจะเข้าสู่จุดตรวจ รถบรรทุกแตงโม (พันธุ์ 855) ราคาอยู่ที่ 45,000-65,000 หยวนต่อตัน ในเดือนมีนาคม ราคาลดฮวบเหลือ 13,000 หยวน ก่อนหน้านี้ตลาดแตงโมของเมียนมาร์พึ่งพาจีนเป็นหลัก ปัจจุบันเมียนมาส่งแตงโมไร้เมล็ดจำนวน 45 ตันไปยังตลาดดูไบในเดือนธันวาคม 2563 และมกราคม 2564 หลังจากที่ประเทศประสบความสำเร็จในตลาดดูไบ มีแผนที่จะขยายตลาดไปยังฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564 ศูนย์ขนถ่ายสินค้าผลไม้หลักไมล์ 105 ได้มีการกำหนดจำนวนรถบรรทุกแตงโมและแตงโมเพื่อการส่งออกเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ เมียนมาส่งออกแตงโมกว่า 800,000 ตันต่อปี และเมล่อนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีนทุกปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-growers-suggested-50-production-drop-next-growing-season/

รถบรรทุกแตงโมกว่า 1,300 คันติดค้างที่ด่านมูเซ กระทบผลผลิตล้นตลาด

Khwar Nyo Fruit Depot เผยแม้หลังตรุษจีนแตงโมจะได้ราคาดี แต่ตอนนี้รถบรรทุกประมาณ 1,300 คัน ติดอยู่ในเขตการค้า 105 ไมล์ของด่านมูเซเนื่องจากด่านชายแดนจีนปิด 2 วัน ดังนั้นอุปทานแตงโมจึงเกินความต้องการ ตอนนี้แตงโมหนึ่งตัน (855 สายพันธุ์) ราคาสูงสุดอยู่ที่ 65,000 หยวน ในขณะที่ราคาปกติอยู่ที่ประมาณ 45,000 หยวน นอกจากนี้รถบรรทุกแตงโมประมาณ 200 คันต่อวันต่อคิวเดินทางผ่านด่านมูเซไปยังจีน ก่อนหน้านี้ตลาดแตงโมพึ่งพาจีนมาตลอด เมียนมาส่งแตงโมไร้เมล็ด 45 ตันไปยังตลาดดูไบเมื่อธันวาคม 63 และมกราคม 64 และแผนที่จะขยายตลาดไปยังฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564 ศูนย์ค้าส่งผลไม้เขตการค้า 105 ไมล์ ได้แถลงการณ์ว่าจำนวนรถบรรทุกส่งออกแตงโมและแตงเมลอนมีกำหนดควบคุมตลาด ในช่วงปีที่ผ่านมาเกษตรกรและผู้ค้าประสบปัญหาขาดทุนเนื่องจากความไม่แน่นอนของราคาและความลำบากในการขนส่งซึ่งเกิดจากการระบาดของ COVID-19 แตงโมและแตงเมลอนจะเก็บเกี่ยวได้จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมทั่วประเทศยกเว้นรัฐคายาห์และชิน เมียนมาส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันต่อปีและแตงเมลอนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-supply-exceeds-demand-as-about-1300-trucks-stuck-in-muse-depot/#article-title

ผู้ค้าแตงโมเมียนมาประเมินความต้องการในฤดูการส่งออก

สมาคมผู้ปลูก ผู้ผลิต และผู้ส่งออกแตงโมเมลอนเมียนมา เผยกลยุทธ์ที่จะผลิตเพื่อการส่งออกและคาดการณ์ว่าจะสูญเสียรายได้ในปีที่จะมาถึงนี้  จากผลของ COVID-19 ผู้ส่งออกแตงโมมีผลขาดทุนเป็นจำนวนมากจากการสูญเสียและความต้องการที่ลดลงในเขตชายแดนเมียนมา- จีนในปีนี้ โดยปกติฤดูกาลส่งออกแตงโมจะเริ่มในเดือนกันยายนและอย่างเร็วในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงพฤษภาคม มีการคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอดีตที่ผ่านมามีการส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันและตอนนี้เหลือเพียง 500,000 ตันเท่านั้น ผลไม้ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีนที่เขตชายแดน ก่อนการระบาดของ COVID-19 แตงโมและแตงกวาคือการส่งออกผลไม้หลักและรายได้เพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ในปีนี้การส่งออกลดลงถูกชดเชยด้วยอุปสงค์กล้วยที่เพิ่มขึ้นในช่วงต้นปีตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ รายได้จากการส่งออกผลไม้ของเมียนมาสูงถึง 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งมีแม้จะมีการระบาดของ COVID-19 หากไม่มีการระบาดเมียนมาจะมีรายได้จากการส่งออกผลไม้เพิ่มขึ้นในปีนี้หากมีการจัดเก็บรักษาที่เหมาะสมของชายแดนเมียนมา – จีน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-traders-gauge-demand-melons-upcoming-export-season.html

แตงโมได้รับผลกระทบมากที่สุดหลังจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

การค้าระหว่างเมียนมาและจีนได้หยุดชะงักไปเกือบ 20 วันเนื่องจากไวรัสโคโรนา ที่มีแตงโมและแตงเมลอนได้รับผลกระทบมากที่สุด Facebook ของศูนย์ขายส่งกล่าวว่าจีนจะเปิดเส้นทางการขนส่งภายในไม่กี่วัน แต่ตลาดจะยังคงหายไปเจ็ดจังหวัดที่มีการระบาด จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่ารัฐบาลกำลังช่วยเหลือพ่อค้าในการหาตลาดท้องถิ่นและจำหน่ายในย่างกุ้ง แผนการตลาดในท้องที่นั้นรวมถึงการขายแตงในงานเทศกาลและตลาดในเมืองย่างกุ้งด้วยการเปิดร้านค้าในเขตเย่างกุ้งและการขายสินค้าแบบถึงมือผู้รับ (Door To Door) เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนมูเซ (Muse 105th Mile Border Trade Zone) ออกแถลงการณ์ว่ามีความยากลำบากมากในการขายผลไม้เนื่องจากการจำกัดเส้นทางคมนาคมของจีนเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/melon-sales-most-affected-following-coronavirus-outbreak-in-china

ราคาขายแตงโมเมียนมาในประเทศลดลงอย่างมาก

การปลูกแตงโมของเมียนมาส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับตลาดจีนเป็นหลักกำลังประสบกับการชะลอตัวครั้งใหญ่ ราคาแตงโมลดลง 50% ในตลาดชายแดนมูเซ และยอดขายลดลงมากถึง 99%  ปกติชายแดนมูเซในช่วงเวลานี้จะมีพ่อค้าจากจีนถึง 600-700 คนมาซื้อในทุกๆวัน แต่ในวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมามีพ่อค้าเพียง 55 รายที่มาซื้อผลผลิตและไม่ใช่ทั้งหมดที่สนใจซื้อแตงโม ปกติแล้วแตงโมประมาณ 12,000 ตันจะถูกส่งไปขายที่จีนในทุกวัน แต่ตอนนี้ยอดขายทั้งหมดยังไม่ถึง 120 ตัน ความต้องการแตงโมจากต่างประเทศมักจะสูงกว่าในดังนั้นเกษตรกรจึงประสบปัญหาจึงไม่มีรายได้เพียงพอที่จะใช้จ่ายในการขนส่ง กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกแตงโม ผู้ผลิต และผู้ส่งออกกำลังเรียกร้องให้ผู้ซื้อภายในประเทศช่วยเหลือเกษตรกรด้วยการซื้อพืชผลให้มากขึ้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/prices-sales-watermelons-plunge-dramatically-myanmar.html